Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

ธรรมะนําชีวิต

ธรรมะนําชีวิต

บทเกริ่นนำ

พระพุทธศาสนา

หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยอดเยี่ยม เป็นศาสนาที่เปิดกว้าง เป็นศาสนาที่เมตตา เป็นศาสนาที่ใข้การวิเคราะห์วิจารณ์ถึงเหตุถึงผลได้ไม่ปิดบัง บุคคลจะวิเคราะห์วิจารณ์ไปถึงไหน ปฏิบัติไปถึงไหน ไม่มีความขัดข้อง ไม่มีปกปิดเอาไว้ เป็นศาสนาที่เปิดเผยเปิดกว้าง เป็นศาสนาสากลที่ทันสมัยไม่มีเสื่อม เมื่อพระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานแล้วก็ตาม ศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์นั้นไม่เสื่อมไปไหน ดีอยู่ตลอด ตรงนี้จึงเรียกว่า คำสอนในพระพุทธศาสนานี้มั่นคง ถ้าบุคคลนำไปปฏิบัติย่อมได้รับความสุขอย่างแท้จริง

โลกทั้งโลกเป็นของเราไม่ได้ เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น เราก็เกิดมาพบมันในโลกนี้ โลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่อย่างนี้ เคลื่อนไหวไปมาพร้อมเป็นอนิจจัง

โลกขังเราไว้เป็นกรงขังมีเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกในวัฏสงสาร ติดทุกอย่างอยู่ในโลกใครจะพ้นโลกได้ต้องเรียนโลกให้รู้เพื่อจะวางโลกไม่ติด

ที่มา : หนังสือปัญญาปทีโปนุสรณ์ ๒๕๖๒

สมมุติ วิมุตติ

หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป หลงในความสมมุตินี่แหละจึงเรียกว่ามันหลงโลก โลกธรรมก็คือโลก โลกมันสมมุติไว้เราก็หลงไปตามความสมมุติของโลก นี้แหละเป็นข้อที่สำคัญที่เราจะต้องศึกษาพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้รู้ให้ศึกษาให้เข้าใจถึงที่สุด ทุกอย่างจึงจะไม่หลง เมื่อหากให้เราไม่หลงเราจึงปล่อยวางได้ ถ้าเราเข้าใจในสมมุติแจ่มแจ้งชัด เราจึงจะถึงวิมุตติ คือหลุดพ้นจากสมมุตินี้

ความว่างสุดท้าย

เราต้องการความว่างสุดท้าย ว่างไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ต้องเป็นผู้มีสติปัญญาว่องไว เฉลียวฉลาด สอนจิตของตนเองให้รู้โทษของสิ่งเหล่านี้ จึงจะปล่อยวางได้

บุคคลใดที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ห้า จิตของบุคคลนั้นแลจะหลุดพ้นไปเข้าสู่เมืองนฤพานได้

พระนิพพาน

ทำคนเมาให้สร่าง ไม่เมาแล้ว ฉลาดแล้ว นำความกระหายออกจากที่มันเคยกระหายมันหิวสิ้นไปแห่งความอาลัย ไม่มีอาลัยอาวรณ์ตัดวัฏสงสารสิ้นไปแห่งตัณหาความทะเยอทะยานอยาก คลายความกำหนัด สิ้นความยินดีไม่ปรารถนา ดับสนิท จึงจะเข้านิพพานได้

คำนำ

หนังสือเล่มนี้ได้นำอมฤตพจนา ไปใช้กับประสบการณ์ส่วนตัวในชีวิตจริง ในรูปแบบ “คติสอนใจ” ซึ่งไม่ใช่การแปลความหมายของอมฤตพจนา ดังนั้น ข้อคิดที่นำมาใช้ในชีวิตจริง จะเป็นการนำคำสอนของอมฤตพจนามาดัดแปลง เพื่อนำมาใช้สอนใจผู้เขียน

ความเห็นที่ได้แสดงทั้งหมดอาจจะไม่ตรงกับท่านอื่น ผู้เขียนไม่ได้ต้องการให้ผู้อื่นต้องเชื่อและทำตาม แต่ผู้เขียนเพียงแต่สะท้อนความคิดที่ผู้เขียนมีความคิดอย่างไร และนำไปใช้อย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ  เช่น การเรียน การทำงาน การลงทุน และการทำบุญ ซึ่งผู้เขียนพอใจกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต  ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลกที่เต็มไปด้วยการเปรียบเทียบและแข่งขัน กล่าวโดยสรุป คติสอนใจ ผู้เขียนใช้อมฤตพจนาสอนใจในเรื่องต่างๆ อย่างไร และพึงพอใจต่อผลรวมที่ได้รับมาทั้งหมดตลอดชีวิตสะท้อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ความพึงพอใจของผู้เขียนอาจจะมีความแตกต่างจากผู้อื่น แต่เป็นความสุขและความสำเร็จในชีวิตตามมาตรฐานของผู้เขียนเท่านั้น ย่อมไม่เหมือนระดับความพอใจของผู้อื่น

ความเห็นของผู้เขียนอาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนท่านอื่น ซึ่งผู้เขียนอยากจะบอกว่าชีวิตของผู้เขียนเริ่มจากไม่มีอะไร ได้ใช้อมฤตพจนาตามการตีความของผู้เขียน นำทางชีวิตมาตลอดจนเป็น ดร.ชัยยุทธ  ปิลันธน์โอวาท จบปริญญาเอกทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ ได้ทุนปริญญาโทจากรัฐบาล  และทุนปริญญาเอกจาก New York University ทำงานกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ๒ กลุ่ม ในตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารมืออาชีพ มีเงินลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สามารถทำให้มีความมั่นคงทั้งครอบครัว มีเงินทำบุญสร้างกุศลตามที่ต้องการ (ในระดับที่พอใจที่จะตอบแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์) มีครอบครัวที่มีความสุข (ไม่ฟุ่มเฟือย)

“ความสุขอยู่ที่รู้จักคำว่า “พอ”

คำว่าพออยู่ที่ใจ ใช่ที่ตัวเลข

ตัวเลขเป็นที่มาของความโลภ

จะหยุดความโลภ เมื่อสูญสิ้นฤา

หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน  ขอท่านจงโชคดี”

ที่มาของหนังสือ : อมฤตพจนา พระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ๑

ธรรมะนำชีวิต

อมฤตพจนา : คติสอนใจ

บทที่ ๑ คน

บทที่ ๒ ฝึกตน – รับผิดชอบตน

บทที่ ๓ จิตใจ

บทที่ ๔ การศึกษา

บทที่ ๕ ปัญญา

บทที่ ๖ เลี้ยงชีพ – สร้างตัว

บทที่ ๗ เพียรพยายาม -ทำหน้าที่

บทที่ ๘ ครอบครัว – ญาติมิตร

บทที่ ๙ การคบหา

บทที่ ๑๐ การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน

บทที่ ๑๑ สามัคคี

บทที่ ๑๒ การปกครอง

บทที่ ๑๓ บุญ-บาป  ธรรม-อธรรม  ความดี-ความชั่ว

บทที่ ๑๔ กรรม

บทที่ ๑๕ กิเลส

บทที่ ๑๖ คุณธรรม

บทที่ ๑๗ วาจา

บทที่ ๑๘ ชีวิต – ความตาย

บทที่ ๑๙ พ้นทุกข์ – พบสุข

พระพุทธสุภาษิต คำสอนประเภทนี้ แม้จะสั้น แต่ก็กินความหมายกว้างขวาง อีกทั้งมีความหมายลึกซึ้ง ทั้งจดจำง่าย กะทัดรัดเหมาะที่จะถือเป็นคติประจำใจ

บทสรุป : พึงเข้าใจว่า พุทธศาสนสุภาษิตทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ เป็นเพียงคำสอนส่วนเล็กน้อยจากพระไตรปิฎก ผู้อ่านควรที่จะศึกษาเพิ่มเติมเอง   

หากมีข้อผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว หวังว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนี้  

ขอขอบคุณ

ที่มาของหนังสือธรรมะนำชีวิต (อมฤตพจนา : คติสอนใจ)

สืบเนื่องมาจากผู้เขียนได้อ่านหนังสือ “อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต” ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) หลายรอบ  มีความประทับใจในหนังสือเล่มดังกล่าว จนกระทั่งอยากให้ชาวพุทธทุกคนมีหนังสือเล่มดังกล่าว ใช้เป็นคู่มือในการดำเนินชีวิต  เพราะเป็นสุภาษิตของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก  ที่คัดพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ และสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริง จึงได้ให้มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต และพิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนาจัดพิมพ์เพื่อถวาย/แจกให้แก่ วัด พระภิกษุสงฆ์ (ท่านเจ้าอาวาส) กว่า ๔๓,๐๐๐  แห่งทั่วประเทศ  และโรงเรียนทั่วประเทศกว่า ๓๕,๐๐๐ แห่ง  โรงพยาบาล จำนวนกว่า ๒๕๕ แห่ง  โรงเรียนพระปริยัติกว่า ๒๓๙ แห่ง และผ่านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ  จำนวนที่จัดพิมพ์คือ ๑ ล้านเล่ม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สมเด็จพระสังฆราชเจริญพระชนมายุครบ ๘ รอบเมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา

หลังจากที่ได้ถวาย/แจกหนังสืออมฤตพจนาไปแล้ว ได้รับเสียงสะท้อนว่าต้องการให้มีคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการนำไปใช้ในชีวิตจริง ซึ่งผู้เขียนได้เลือก อมฤตพจนาบางหัวข้อมาอธิบายเพิ่มเติมเป็นคติคำสอนควบคู่ไปด้วยกัน และขอเรียกชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “ธรรมะนำชีวิต” ซึ่งแต่ละหน้าจะประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ

  1. อมฤตพจนา : พุทศาสนสุภาษิต โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
  2. คติสอนใจ โดยดร.ชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท

ธรรมะนำชีวิต ถูกจัดแบ่งเป็น ๑๙ บท เหมือนอมฤพจนา พุทธศาสนสุภาษิต มี ๑๙ บท เป็นการอธิบายให้ทราบว่า ผู้เขียนได้นำไปใช้กับชีวิตจริงอย่างไร ในแต่ละเรื่องที่คัดออกมา 

ธรรมะนำชีวิต เป็นการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปใช้ในการดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงของชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวพุทธเท่านั้น เป็นหลักธรรมที่สามารถนำไปใช้กับทุกชนชาติและศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาพูดแต่ความเป็นจริง  ดังนั้น จึงเป็นหลักธรรมที่ใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ไม่มีการล้าสมัยตามกาลเวลาและสถานที่

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ และนำไปใช้กับชีวิตจริงของท่านตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้าย หากมีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องประการใด  ผู้เขียนขอเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับการคัดเลือกหัวข้อจากหนังสือ อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิตของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) 

ผู้เขียน  ขอกราบขอบพระคุณท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ที่ได้บรรจงนิพนธ์ หนังสืออมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต ขึ้นมา

คำขอบพระคุณ

หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นได้ ก็เพราะได้รับอานิสงส์จากหนังสือ “อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต ฉบับบาลี-ไทย”   นิพนธ์โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ.  ปยุตฺโต) หนังสืออมฤตพจนา เป็นการรวบรวมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ที่สุด  ที่เกี่ยวกับวงจรชีวิตของมนุษย์  เป็นความจริงที่ตั้งแต่เกิดเป็นคนจนกระทั่งตาย หลักธรรมที่สำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข การสร้างตัวให้มีความมั่นคงในชีวิต การศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา ความเพียรพยายามทำหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จ การสร้างครอบครัวและญาติมิตร และการคบหาคนให้เป็น การเบียดเบียน การช่วยเหลือกัน ความสามัคคี การปกครอง บุญ-บาป ธรรม-อธรรม ความดี-ความชั่ว ความเข้าใจเรื่องกรรม กิเลส คุณธรรม วาจา ชีวิต-ความตาย ท้ายที่สุดเกี่ยวกับหลักธรรมที่ทำให้พ้นทุกข์แล้วจึงพบสุข

ลำดับของอมฤตพจนา โดยการจัดกลุ่มหลักธรรมตามวงจรชีวิตของมนุษย์  ทำให้มีความเข้าใจในชีวิตของคนๆ หนึ่ง มีการพัฒนาชีวิตตั้งแต่เกิดเป็นคนต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ในชีวิต เพื่อที่จะได้พบกับโลกธรรม ๘ กล่าวคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข  เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ และแล้วก็จากโลกไป จะไปที่ใด มี ๒ เส้นทางคือ โลกียภูมิ (เวียนว่ายตายเกิด ๓๑ ภูมิ)  หรือโลกุตรภูมิ (หยุดการเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งเส้นทางของชีวิตหลังความตายเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำการศึกษาต่อไปในเรื่อง บาป-บุญ ความดี-ความชั่ว และแนวทางปฏิบัติเพื่อไปโลกียภูมิ หรือโลกุตรภูมิ อย่างไรก็ตามอมฤตพจนา มีหัวข้อที่ครอบคลุมหลักธรรมสำคัญที่เราใช้เป็นเข็มทิศทำการศึกษาต่อ

ขอกราบขอบพระคุณ     ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)  ที่ปูพื้นหลักธรรมสำคัญในหนังสืออมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต โดยคัดเลือกหลักธรรมที่สำคัญแต่ละช่วงของชีวิตของการเกิดมาเป็นคน จะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร เพื่อที่จะทำให้ชีวิตมีความสำเร็จและความสุขในการทำงานนอกจากนี้ ผมต้องขอบคุณดร.อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ซึ่งเป็นภรรยาที่รัก ที่ให้กำลังใจในการเขียนหนังสือ “ธรรมะนำชีวิต” โดยการนำหลักธรรม อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิตมาขยายความในชีวิตจริง  เพื่อจะได้นำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตจริง และตั้งชื่อหนังสือชื่อ “ธรรมะนำชีวิต”

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post