ธาตุรู้ = ใจ ไม่มีวันแตกดับหรือเสื่อมสลาย
ธาตุรู้ = ตัวเรา
ธาตุรู้ส่งกระแสเพื่อจะรับรู้ผ่านอายตนะ (ตา/หู/จมูก/ลิ้น/กาย/สัมผัส)
ร่างกาย = ธาตุ 4 (ดิน + น้ำ + ลม + ไฟ)
ธาตุรู้มีอวิชา 🡪 ทำให้เข้าใจผิดว่าตนเองคือร่างกาย 🡪 เมื่อร่างกายเกิดความแปรปรวน
ผู้รู้แจ้งแห่งธรรมชาติทั้งปวง
ผู้ตื่นจากมายาแห่งคลื่นความคิด
ผู้เบิกบานด้วยธรรมชาติอันบริสุทธิ์แห่ง ธาตุรู้
ธาตุ 6 = ดิน/น้ำ/ลม/ไฟ/อากาศ/ธาตุ : พุทธพจน์
ใจไม่ดับ
ร่างกาย = ดับ (อนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา)
ใจ = ไม่ดับ
ผู้รู้/เป็นผู้รู้ = ไม่ดับ
ทุกข์เกิดขึ้นเพราะ กฎปฏิจจสมุปบาท (สมุทยวาร)
เราคือใคร?
เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิยญาณ : ไม่ใช่ตัวเรา
เราคือ ใจ หรือผู้รู้
เรา = ผู้รู้ = ธาตุรู้ = จิตใจ = ดวงวิญญาณ = กายทิพย์
สัพเพ ธัมมา อนัตตา
ธรรม = อสังขาร + สังขาร
อสังขาร = ธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) อากาศธาตุ + ธาตุรู้
ธาตุ 4 รวมกันแยกกันตามเหตุปัจจัย แต่ไม่เสื่อมจากความเป็นธาตุ จึงไม่เป็นอนิจจัง
แต่เป็นอนัตตา
สังขาร สิ่งที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุ 4 และอากาศธาตุ
สังขาร ถ้ามีธาตุรู้ไปครอบครอง = คนและสัตว์
สังขารนี้ไม่เที่ยง (อนิจจัง) ทำให้เกิดทุกข์ในธาตุรู้ (ทุกขัง)
และแตกสลายกลับกลายเป็นธาตุ 4 (อนัตตา)
เมื่อ ธรรม = อสังขาร + สังขาร
ธรรมทั้งปวงจึงเป็นอนัตตา
ทุกข์ของ “ธาตุรู้”
- เมื่อมีธาตุรู้ไปครอบครองสังขาร ก็คือคนและสัตว์
- ธาตุรู้ ที่มีอวิชชาครอบงำ ก็ไม่มี “ความอยาก” ในสังขารที่เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา
- ธาตุรู้ ที่ไม่มีอวิชชา คือมีปัญญา ก็จะไม่อยากให้เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา
- เพราะรู้ว่าเป็นไปไม่ได้ อยากแล้วก็จะทุกข์
ธาตุรู้ คือใจที่เป็นเจ้านายของกาย “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”
- ธาตุรู้เป็นทั้งผู้รู้และผู้รับรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามาทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
- ส่วนอวิชชาปัจจยา สังขารา ก็คือไม่รู้ว่าร่างกายเป็นเพียงธาตุ กลับไปคิดว่าเป็นตัวเราของเรา
การเวียนว่ายตายเกิด และการดับอุปทานขันธ์
ขันธ์ 5 เป็นภาระให้เกิดทุกข์
การปล่อยวาง
เห็นอะไรก็พิจารณาเป็นธาตุ
- ธาตุดินเป็นส่วนแข็ง ธาตุน้ำเป็นส่วนเหลว ทุกสิ่งทุกอย่างมีส่วนผสมของธาตุ 4
- ไม่เที่ยง รวมตัวกันแล้วก็แยกออกจากกัน ธรรมชาติของธาตุจะกลับคืนสู่ธาตุเดิมเสมอ
- ถ้าธาตุส่วนใดส่วนหนึ่งหมดไปก็จะอยู่ไม่ได้ ถ้าพลังที่จะทำให้แยกออกจากกันมีกำลังมากกว่าก็จะต้องตายไป
(หลักในการพิจารณารูปร่างกาย)
ปัญญา
ปัญญามีหลายชั้น:
- ชั้นหยาบ เกี่ยวกับภายนอกคือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ
- ชั้นกลาง เกี่ยวกับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
- ชั้นละเอียด เกี่ยวกับ จิต
ต้องตัดภายนอกออกก่อนถึงจะเข้าสู่ภายในได้ ตอนเริ่มต้นปฏิบัติควรตั้งสติที่กาย เพราะง่ายกว่าตั้งที่จิต
ธาตุรู้
ธาตุรู้ต้องการคืออะไร ก็คือต้องการ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะได้ไปเสพไปสัมผัสกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะต่างๆ นี้เอง เพราะในธาตุนี้มีตัณหาความอยาก ความอยากเสพรูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ เลยทำให้ธาตุรู้นี้มาเกาะติดกับร่างกายของมนุษย์หรือของสัตว์
ปัญหาของการเกาะติดกับร่างกายก็คือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของร่างกาย (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เมื่อร่างกายไม่สามารถตอบสนองธาตุรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป/รส/กลิ่น/เสียง/สัมผัส ก็จะทำให้ร่างกายเกิดความทุกข์ขึ้นมา
- นี่เป็นที่มาของความทุกข์ใจของพวกเราทุกคน ก็คือธาตุรู้
- เรามาจากธาตุรู้ ธาตุรู้สมมติตัวเองว่าเป็นเรา เพราะมีความคิด ความคิดนี้แหละเป็นผู้สร้างความสมมติขึ้นมา
- พวกเรานี้แหละคือธาตุรู้ แต่เราไม่รู้ว่าเราเป็นธาตุรู้
ธาตุรู้นี้ไม่มีรูปร่างหน้าตา ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ธาตุรู้เป็นนาย ร่างกายเป็นบ่าว
ธาตุรู้สั่งการให้ร่างกายทำงาน
ธาตุรู้ (ใจ) มาเกาะติดร่างกาย
นิพพาน
ความสุขที่เกิดจากการระงับความอยากต่างๆ ไม่ใช่ความสุขของรูปฌาณ ไม่ใช่เป็นความสุขของอรูปฌาณ ไม่ใช่ความสุขของกามคุณทั้ง 5
ไตรลักษณ์
สิ่งต่างๆ ทั้งหลายในโลกนี้เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา คือสิ่งที่เราไม่สามารถสั่งให้มันให้ความสุขกับเราได้ตลอดเวลา
ถ้าไม่มีความอยากทั้ง 3 ชนิดคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาแล้ว ในใจนี้จะไม่มีอะไรมาสร้างความทุกข์ให้กับใจอีกต่อไป แล้วก็ไม่มีอะไรที่จะดึงใจให้ไปเกาะติดให้กับใจอีกต่อไป เพราะใจไม่ต้องใช้ร่างกาย
นิพพานัง ปรมัง สุญญัง
ผู้ปฏิบัติไม่สูญไปกับการชำระใจของผู้ปฏิบัติ สิ่งที่สูญคือ คราบสกปรกที่ติดอยู่ในใจของผู้ปฏิบัตินั้นเอง
ถ้ามีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ก็เหมือนมีอาวุธไว้ต่อสู้กับศัตรูที่จะสร้างความทุกข์ต่างๆ ให้เกิดขึ้น ตอนใกล้ตายจะไม่หวั่นไหวเดือดร้อน จะปล่อยวางร่างกายใจก็จะสงบ
ถ้าไม่เห็นความตายก็จะไม่รีบขวนขวาย
ตายแล้วสูญ ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ วิธีพิสูจน์คือ การนั่งกรรมฐาน
จิตเป็นผู้รู้ เป็นผู้ที่มีความรู้สึกนึกคิด ผู้สั่งให้ร่างกายทำอะไรต่างๆ ร่างกายไม่รู้เรื่อง ร่างกายทำตามคำสั่งของจิต
ถ้าปฏิบัติไม่เสร็จแล้วร่างกายตายไป ก็ต้องรอให้ร่างกายใหม่ถึงจะปฏิบัติต่อได้
ผู้รู้ เราก็ใช้ชื่อหลายอย่าง ใช้เรียกเป็นจิตใจบ้าง เป็นดวงวิญญาณบ้าง กายทิพย์บ้าง คือธาตุรู้ทั้งนั้น
ธาตุรู้เป็นอมตะ เป็นหนึ่งในธาตุที่เป็นอมตะ “มหาธาตุ” เป็นสิ่งที่ไม่มีวันสูญ สิ่งที่ไม่มีวันดับ
เราใช้วิญญาณไปเชื่อมติดกับร่างกายคือ ตา/หู/จมูก/ลิ้น/กาย เพื่อเราจะได้เสพรูป เสียง กลิ่น รส เราก็เลยต้องมีร่างกายเป็นเครื่องมือ ใจก็ส่งวิญญาณมาเกาะที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย มี 5 วิญญาณ : จักษุวิญญาณ/โสตวิญญาณ/ชิวหาวิญญาณ/กายวิญญาณ/ผัสสะวิญญาณ
เป็นเครื่องมือของผู้รู้ ผู้รู้นี้มีความโลภ โกรธ หลง ถ้าเรามาปฏิบัติก็คือเรามาแก้ที่ตัวธาตุรู้ ไม่ให้หลงกับสิ่งต่างๆ ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างสุดท้ายก็คือ ดิน/น้ำ/ลม/ไฟ
ต้องใช้สมถภาวนาถึงจะสามารถถอนความอยากได้ ตัวความอยาก ธาตุรู้เกิดจากอวิชชาความหลง
ต้องพิจารณาตามแนวทางไตรลักษณ์ พิจารณาว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเราของเรา ถ้าจะปล่อยวางร่างกาย ส่วนอาการกายนี้ พิจารณาเพื่อละกามระคะมากกว่า ให้ดูว่ามันไม่สวยงาม สกปรก มันจะได้ละกามราคะได้
จุดอุเบกขากของธาตุรู้
การปฏิบัติเพื่อให้ใจตั้งอยู่บนจุดของความสงบของใจ ตั้งอยู่บนอุเบกขาก็ถือว่าสำเร็จ ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว เพราะใจจะไม่มีวันเคลื่อนออกจากจุดนี้อีกต่อไปชั่วฟ้าดินสลาย
ธาตุรู้ของพวกเรามันมีปัญหา มันไม่ได้ตั้งอยู่บนจุดอุเบกขา มันถูกความหลงหลอกให้ไปตั้งอยู่บนจุดของ ดิน/น้ำ/ลม/ไฟ
ธาตุรู้เป็นตัวอยาก กามตันหา/ภวตัณหา/วิภวตัณหา อยู่ในธาตุรู้ ใช้สังขารเป็นตัวตอบสนองความอยาก แล้วก็ส่งวิญญาณไปทางตา/หู/จมูก/ลิ้น/กาย เพื่อจะไปหาสิ่งที่ใจอยากได้ ธาตุรู้อยากได้
ต้องพิจารณาตามแนวทางพระไตรลักษณ์ ต้องพิจารณาว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเราของเรา ถ้าจะปล่อยวางร่างกาย ส่วนอาการ 32 นี้พิจารณาเพื่อละกามราคะมากกว่า ให้ดูว่ามันไม่สวยงาม มันสกปรก มันก็จะละกามราคะได้
พิจารณาอสุภะก็เพื่อพิจารณาดูคนที่เราไปรักไปหลงต่างหาก
ร่างกายมีหลายมิติที่เราต้องเข้าใจ
มิติของอสุภะนี่หมายถึงร่างกายของคนอื่นที่เราไปหลงรักด้วย
มิติของอนิจจัง อันนี้เป็นมิติที่ร่างกายเราต้องเห็นว่ามันจะต้องแก่ เจ็บ ตาย พอตายแล้วก็เป็นซากศพไป เราต้องยอมรับสภาพของมันเวลามันเป็นเพราะเราห้ามมันไม่ได้ มันเป็นอนัตตา
ความเป็นจริง สิ่งปรุงแต่งของโลกประกอบด้วยธาตุทั้ง 6 คือ ดืน/น้ำ/ลม/ไฟ/ อากาศ/วิญญาณ
- สิ่งปรุงแต่งที่ไม่มีวิญญาณเช่นต้นไม้ ประกอบด้วยธาตุดิน/น้ำ/ลม/ไฟ และอากาศ
- สิ่งปรุงแต่งที่มีวิญญาณเช่นคน ประกอบด้วย ดิน/น้ำ/ลม/ไฟ/อากาศ/วิญญาณ รวมตัวเป็นอายาตนะ 6 คือ ตา/หู/จมูก/ลิ้น/กาย/ใจ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กายและใจ (จิต หรือ วิญญาณ) กาย หรือส่วนที่เป็นขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา) ย่อยสลายกลับเป็นธาตุเดิมคือ ดิน/น้ำ/ลม/ไฟ
ใจหรือวิญญาณเป็นอมตะ ย้ายจากร่างเดิมไปหาร่างใหม่ ใจหรือจิต/วิญญาณ มีหน้าที่จะต้องดูแลขันธ์ 5 จิตเป็นเพียงผู้อาศัยขันธ์ 5 ทั้งในอดีต/ปัจจุบัน/อนาคต ทำให้ใจทุกข์ เพราะมีขันธ์ 5
สัมมาทิฏฐิ วิชชา ดับอวิชชา
ขันธ์ 5 อดีต/ปัจจุบัน/อนาคต/อริยสัจสี่/
ทุกข์/สมุทัย/นิโรธ/มรรค
ปฏิจจสมุปบาท