Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระพุทธจริยวัตร ๖๐ ปาง

พระพุทธเจ้า

พระพุทธจริยวัตร ๖๐ ปาง

บันทึก

 

พระพุทธจริยวัตร ๖๐ ปาง เป็นการศึกษาพุทธประวัติผ่านพระพุทธรูปปางต่าง ๆ รวมทั้งหมด ๖๐ ปาง ซึ่งได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้ในหนังสือพุทธจริยวัตร ๖๐ ปาง โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก นักวิชาการด้านศาสนาพุทธ และราชบัณฑิตสาขาศาสนศาตร์ (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๘) ซึ่งเนื้อหาที่จัดพิมพ์ในหนังสือที่ท่านกำลังถืออยู่นี้ ได้อิงมาจากข้อมูลที่จัดแสดงไว้ในโซนที่ ๑ ของพิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่สำหรับจัดแสดงเนื้อหาของโซนนี้ค่อนข้างจำกัด ทางพิพิธภัณฑ์ฯ จึงได้คัดย่อสรุปเนื้อหามาเพียงบางส่วนแต่ให้สื่อความหมายและใจความสำคัญตามต้นฉบับ ผู้ที่สนใจอ่านเนื้อหาแบบละเอียดและครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถศึกษาได้จากหนังสือพระพุทธจริยวัติ ๖๐ ปางเล่มดังกล่าว

 

หนังสืออนุญาตให้จัดพิมพ์

โดยคุณนิโลบล วรรณปก

 

เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนา  มูลนิธิธรรมทานกุศลจิตได้ติดต่อดิฉันเพื่อขอ อนุญาตจัดพิมพ์ภาพประกอบและข้อความบางส่วนในหนังสือ พระพุทธจริยวัตร ๖๐ ปาง เขียน โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๘

 

ภาพและข้อความดังกล่าวเคยจัดแสดงให้ในโซนที่ ๑ ของพิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๒ บัดนี้เจ้าหน้าที่ได้ขออนุญาตนำภาพและข้อความไปพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพระพุทธเจ้า ตรัสรู้อะไร เขียนโดย ดร. ชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท และมีกำหนดจัดพิมพ์ในพ.ศ. ๒๕๖๖ 

 

ฉันยินดีอนุญาตตามความประสงค์ของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฯ และขออนุโมทนาการจัดพิมพ์ในครั้งนี้

 

นิโลบล วรรณปก

        ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖

ชีวิตและผลงาน

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  (๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ – ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็นอาจารย์และนักวิชาการทางด้านศาสนาพุทธและภาษาบาลี ราชบัณฑิตสาขาศาสนศาสตร์ และยังเป็นนักเขียนบทกวี ตำรา และบทความในนิตยสารหลายฉบับ เริ่มเขียนบทความให้นิตยสารต่วย’ตูน แล้วได้รับการชักนำให้เขียนลงคอลัมน์ประจำให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก่อนจะย้ายไปเขียนประจำให้หนังสือพิมพ์ในเครือมติชนและข่าวสด มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเขียนวิจารณ์พระสงฆ์ที่ปฏิบัตินอกรีต โดยเฉพาะกรณีอดีตพระยันตระ อมโร รวมทั้งยังนับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการตั้งชื่อเป็นมงคลนามแก่ตัวเจ้าของชื่อด้วย

    ประวัติและการศึกษา

เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่บ้านโนนสูง ตำบลเลิงแฝก (ปัจจุบันคือตำบลหนองแวง) อำเภอบรบือ (ปัจจุบันคืออำเภอกุดรัง) จังหวัดมหาสารคาม เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอัมพวัน ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน ศึกษานักธรรมและบาลีไวยากรณ์กับอาจารย์มหาบุดดี ปุญญากโร (บุดดี สุวรรณคำ) เจ้าอาวาส จนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นโทจึงได้ย้ายไปศึกษาต่อที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยเป็นลูกศิษย์พระมหาชม ธมฺมธีโร (พระราชปริยัตยาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครพนม) สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๔ ประโยค
หลังจากนั้นกลับไปอยู่ที่วัดอัมพวันในบ้านเกิด สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค แล้วจึงเดินทางมาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดทองนพคุณ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นศิษย์ของพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้เดินทางไปศึกษาภาษาสันสกฤต ณ วิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Trinity College, Cambridge University) ประเทศอังกฤษ โดยการติดต่อประสานงานของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ และได้รับทุนจากมูลนิธิเอเชียและมูลนิธิการศึกษาวัดทองนพคุณ พ.ศ. ๒๕๑๒ สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยม) เมื่อเดินทางกลับประเทศไทยได้สอนพระปริยัติธรรม ณ วัดทองนพคุณ ดังเดิม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้ลาสิกขาและรับราชการเป็นอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๑๙ โอนไปเป็นอาจารย์สอนวิชาศาสนาเปรียบเทียบที่คณะ

เดิม จนได้รับการแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ระดับ ๙ ก่อนจะลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิทยฐานะ

เปรียญธรรม ๙ ประโยคขณะเป็นสามเณร (รูปแรกในรัชกาลที่ ๙ สมัยเริ่มสอบด้วยข้อเขียน และเป็นรูปที่สามในสมัยรัตนโกสินทร์) อุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์

ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

ปริญญาโท สาขาภาษาตะวันออกโบราณ (บาลี-สันสกฤต) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๔๘

ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๐

ผลงานประพันธ์

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ได้เขียนบทความลงในวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ เมื่อครั้งเป็นพระภิกษุ โดยการชักชวนของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ภายหลังได้เขียนบทความลงในนิตยสารต่าง ๆ เช่น ต่วย’ตูน, แม่และเด็ก, รักลูก, ชีวจิต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และหนังสือพิมพ์มติชน และมีผลงานหนังสือทางวิชาการและกึ่งวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่มากกว่า ๒๐๐ เล่ม

นามปากกา

ไต้ ตามทาง ใช้เขียนเรื่องประเภทขำขันทีเล่นทีจริง

“เปรียญเก้าประโยค” ใช้เขียนเรื่องประเภทการใช้ภาษา

เสฐียรพงษ์ วรรณปก ใช้เขียนเรื่องประเภทวิชาการและสารคดี

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก ได้เสียชีวิตลง ขณะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ 

– – – – – – – – – – – – – – – – ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  – – – – – – – – – – – – – – – –

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เป็นอาจารย์หรือนักวิชาการทางด้านศาสนาพุทธและภาษาบาลี ราชบัณฑิตสาขาศาสนศาสตร์ และยังเป็นนักเขียนบทกวี ตำรา และบทความในนิตยสารหลายฉบับ เริ่มเขียนบทความให้นิตยสารต่วยตูน, แม่และเด็ก, รักลูก, ชีวจิต เป็นต้น แล้วได้รับการชักนำให้เขียนลงคอลัมน์ประจำให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ก่อนจะย้ายไปเขียนประจำให้หนังสือพิมพ์ในเครือมติชนและข่าวสด มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเขียนวิจารณ์พระสงฆ์ที่ปฏิบัตินอกรีต โดยเฉพาะกรณีอดีตพระยันตระ อมโร รวมทั้งยังนับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการตั้งชื่อเป็นมงคลนามแก่ตัวเจ้าของชื่อด้วย

เกิดเมื่อวันที่  1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ที่บ้านโนนสูง ตำบลเลิงแฝก (ปัจจุบันคือ ตำบลหนองแวง) อำเภอบรบือ (ปัจจุบันคืออำเภอกุดรัง) จังหวัดมหาสารคาม

สำเร็จการศึกษา

เปรียญธรรม 9 ประโยคขณะเป็นสามเณร และเป็นสามเณรนาคหลวงรูปแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สังกัดวัดทองนพคุณ เมื่อปี 2503

ก่อนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอักษรศาสตร์ และปริญญาโท สาขาภาษาตะวันออกโบราณ (บาลี-สันสกฤต) ซึ่งทั้ง 2 ระดับได้เกียรตินิยม  ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยมหิดล และลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ.2535 ผลงานประพันธ์ ได้เขียนบทความลงในวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์เมื่อครั้งเป็นภิกษุ โดยการชักชวนของ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์

นามปากกา

ไต้ ตามทาง ใช้เขียนเรื่องประเภทขำขันทีเล่นทีจริง

“เปรียญเก้าประโยค” ใช้เขียนเรื่องประเภทการใช้ภาษา

เสฐียรพงษ์ วรรณปก ใช้เขียนเรื่องประเภทวิชาการและสารคดี

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post