โลกียภูมิ หรือสังสารวัฏ 31 ภูมิ เป็นภูมิที่จะต้องมีการเวียนว่ายตายเกิด มีทั้งหมด 31 ภูมิ แบ่งออกเป็น
- โลกเบื้องต่ำ 4 ชั้น (อบายภูมิ 4)
- โลกเบื้องกลาง 7 ชั้น (มนุษยภูมิ 1 และเทวภูมิ 6)
- โลกเบื้องสูง 20 ชั้น (พรหมโลก 20)
- โลกเบื้องต่ำ 4 ชั้น ประกอบด้วย
- ดิรัจฉานภูมิ (โลกเดรัจฉานอยู่ในโลกมนุษย์)
- เปตติวิสยภูมิ (โลกเปรต)
- อสุรกายภูมิ (โลกอสุรกาย)
- นรกภูมิ ประกอบด้วย
- มหานรก 8 ขุม
- อุสสทนรก 128 ขุม
- ยมโลกนรก 320 ขุม
- โลกันตร์นรก 1 ขุม
- โลกเบื้องกลาง 7 ชั้น ประกอบด้วย
- มนุษยภูมิ 1
- เทวภูมิ 6
- จาตุมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ 1)
- ดาวดึงส์ หรือดาวดึงสา (สวรรค์ชั้นที่ 2)
- ยามาภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ 3)
- ดุสิตาภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ 4)
- นิมมานรดีเทวภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ 5)
- ปรนิมมิตวสี วัตตีเทวภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ 6)
- โลกเบื้องสูง 20 ชั้น ประกอบด้วย
- รูปพรหม 16
พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 1
พรหมปุโรหิตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 2
มหาพรหมาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 3
ปริตตาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 4
อัปปมาณาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 5
อาภัสสราภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 6
ปริตตสุภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 7
อัปปมาณสุภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 8
สุภกิณหาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 9
เวหัปผลาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 10
อสัญญสัตตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 11
อวิหาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 12
อตัปปาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 13
สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 14
สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 15
อกนิฎฐาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 16
- อรูปพรหม 4
อากาสานัญจายตนภูมิ พรมโลก ชั้นที่ 17
วิญญาณัญจายตนภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 18
อากิญจัญญายตนภูมิ พรมโลก ชั้นที่ 19
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 20
สังสารวัฏ 31 ภูมิ และบุพกรรมในชั้นต่างๆ
โลกเบื้องต่ำ 4 ชั้น (อบายภูมิ 4) | |||
ภูมิ | บุพกรรม | ||
ดิรัจฉานภูมิ (โลกเดรัจฉานอยู่ในโลกมนุษย์) | บุพกรรม เป็นมนุษย์จิตไม่บริสุทธิ์ ประพฤติอกุศลกรรมอันหยาบช้าลามกทั้งหลายหรือเพราะอำนาจของเศษบาปอกุศลกรรมที่ตนทำไว้ให้ผล หรือเป็นเพราะเมื่อเป็นมนุษย์ไม่ได้ก่อกรรมทำชั่วอะไร แต่เวลาใกล้จะตายจิตประกอบด้วยโมหะ หลงผิด ขาดสติ ไม่มีสรณะเป็นที่พึ่งจะให้ยึดมั่นคง | ||
เปตติวิสยภูมิ (โลกเปรต) | บุพกรรม ประพฤติอกุศลกรรมบท 10 ประการ เมื่อขาดใจตายจากมนุษยโลก หากอกุศลกรรมสามารถนำไปสู่นิรยภูมิได้ ต้องไปเสวยทุกขโทษในนรกก่อน พอสิ้นกรรมจากนรกแล้ว เศษบาปยังมีก็ไปเสวยผลกรรมเป็นเปรตต่อภายหลังหรือมีอกุศลกรรมที่เกิดจากโลภะนำมาเกิด | ||
อสุรกายภูมิ (โลกอสุรกาย) | อายุและบุพกรรม เช่นเดียวกันกับในโลกเปรต | ||
นรกภูมิ | |||
มหานรก 8 ขุม | |||
– นรกขุมที่ 1 สัญชีวนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ มนุษย์ที่มีจิตไม่บริสุทธิ์ หยาบช้าลามก ใจสกปรก ก่อกรรมทำเข็ญ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนเป็นนิจ | ||
– นรกขุมที่ 2 กาฬสุตตนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ | ||
– จับเอาสัตว์สี่เท้ามาทรมานให้ได้รับความลำบาก | |||
– ทำร้ายร่างกายบุพการี โดยมิได้เจตนา เช่น เมาสุราจนขาดสติ เผลอตัวทำร้ายบิดามารดาตนเอง | |||
– ฆ่าสัตว์ต้องห้าม 3 ชนิด คือ เต่า หมี เสือ โดยไม่เจตนา | |||
– นรกขุมที่ 3 สังฆาฏนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ ผู้ที่ฆ่าคนโดยไม่เจตนา เมาแล้วขับรถชนคนตาย ทำร้ายร่างกาย ทุบตีผู้มีพระคุณ ครูบาอาจารย์ พระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทำร้ายผู้ที่ประกอบคุณงามความดีเพื่อสังคมส่วนรวมเป็นที่ประจักษ์จนได้รับความเคารพนับถือดังเช่นมีผู้มีพระคุณ เจตนาฆ่าสัตว์ต้องห้าม 3 ชนิด ได้แก่ เต่า หมี เสือ | ||
– นรกขุมที่ 4 โรรุวนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ | ||
– จับเอาสัตว์เป็นๆมาเผาไฟหรือปิ้งเพื่อกินเป็นอาหาร | |||
– ผู้พิพากษาคดีความอย่างไม่ยุติธรรม | |||
-ผู้ที่โลภเจตนาบุกรุกที่ดิน บ้านเรือกสวนไร่นาของผู้อื่นเอามาเป็นของตน | |||
– หญิงคบชู้แล้ว ให้ชู้ฆ่าสามีให้ตาย | |||
-ผู้ที่ฉ้อโกง เบียดบังทรัพย์สมบัติเอามาเป็นของตน | |||
-ฆ่าผู้มีพระคุณ | |||
-ฆ่าคนโดยเจตนาตอนรบกันในฐานะผู้บุกรุกราน | |||
– นรกขุมที่ 5 มหาโรรุวนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ | ||
-โหดร้าย ตัดศีรษะสัตว์และมนุษย์ | |||
– ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตด้วยอำนาจของความโกรธ | |||
-โจรกรรมสิ่งของ -ทำชั่วด้วยความอาฆาต | |||
-ปล้นขโมยสิ่งของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ของพ่อแม่ ของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ | |||
– นรกขุมที่ 6 ตาปนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ | ||
– ผู้ที่ฆ่าสัตว์โดยทิ่มแทงให้ตาย | |||
– ฆ่าคนโดยเจตนา เป็นผู้สั่งฆ่าจงใจตัดตอนสังสารวัฏของผู้อื่น | |||
– การฆ่าพลีชีพ | |||
– เผาบ้าน กุฎิ โบสถ์ วิหาร ทำลายเจดีย์ | |||
– นรกขุมที่ 7 มหาตาปนนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ | ||
-ผู้ที่ฆ่าบุพการี | |||
-ผู้สั่งฆ่าคนหมู่มากที่บริสุทธิ์โดยเจตนา | |||
-ผู้ที่ปองร้าย ลอบทำร้าย มีเจตนาต่อต้านพระพุทธเจ้า | |||
– นรกขุมที่ 8 อเวจีนรก | ผู้ที่จะต้องมาใช้กรรมในนรกขุมนี้ | ||
– ฆ่ามารดาบิดาของตัวเอง | |||
– ฆ่าพระอรหันต์ ให้ตาย หรือใช้ให้คนอื่นฆ่า | |||
– ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต | |||
– ทำสังฆเภท คือ ยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน | |||
– ผู้ที่ติเตียนพระอริยบุคคลพระสงฆ์ที่มีคุณแก่ตน | |||
– ผู้ที่ทำลายพระพุทธรูป พุทธเจดีย์ | |||
อุสสทนรก 128 ขุม | |||
ยมโลกนรก 320 ขุม | |||
– โลหกุมภีนรก | บุพกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆมาต้มในน้ำร้อนแล้วเอามากินเป็นอาหาร | ||
– สิมพลีนรก | บุพกรรม เช่น คบชู้สู่สาว ผิดศีลธรรมประเพณี ชายเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น หญิงเป็นชู้สามีของผู้อื่น หรือชายหญิงที่มีภรรยาหรือสามี ประพฤตินอกใจไปสู่หาเป็นชู้กับผู้อื่น มักมากในกามคุณ | ||
– อสินขะนรก | บุพกรรม เช่น เมื่อเป็นมนุษย์ชอบลักเล็กขโมยน้อย ขโมยของในสถานที่สาธารณะและของที่เขาถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ | ||
– ตามโพทะนรก | บุพกรรม ด้วยผลกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนๆ เป็นคนใจอ่อน มัวเมาประมาท ดื่มกินสุราเมรัย แสดงอาการคล้ายคนบ้าเป็นเนืองนิจ | ||
– อโยคุฬะนรก | บุพกรรม เช่น แสดงตนว่าเป็นคนใจบุญใจกุศล เรี่ยไรทรัพย์ว่าจะนำไปทำบุญสร้างกุศล แต่กลับยักยอกเงินทำบุญของผู้อื่นมาเป็นของตน การกุศลก็ทำบ้างไม่ทำบ้างตามที่อ้างไว้ หลอกลวงผู้อื่น | ||
– ปิสสกปัพพตะนรก | บุพกรรม เช่น เคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองประพฤติตนเป็นคนอันธพาล กดขี่ข่มเหงราษฎร ทำร้ายร่างกาย เอาทรัพย์เขามาให้เกินพิกัดอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่มีความกรุณาแก่คนทั้งหลาย | ||
– ธุสะนรก | บุพกรรม เช่น คดโกง ไม่มีความซื่อสัตย์ ปนปลอมแปลงอาหารและเครื่องใช้แล้วหลอกขายผู้อื่น ได้ทรัพย์สินเงินทองมาโดยมิชอบ | ||
– สีตโลสิตะนรก | บุพกรรม เช่น จับสัตว์เป็นๆโยนลงไปในบ่อ ในเหว ในสระน้ำ หรือมัดสัตว์เป็นๆทิ้งน้ำให้จมน้ำตาย หรือทำให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้รับความทุกข์ และตายเพราะน้ำ | ||
– สุนขะนรก | บุพกรรม คือ ด่าว่าบิดามารดา ปู่ย่าตายาย พี่ชายพี่สาวและญาติทั้งหลายไม่เลือกหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ตลอดจนพระภิกษุสามเณร | ||
– ยันตปาสาณะนรก | บุพกรรม เช่น เป็นหญิงชายใจบาปหยาบช้า ด่าตีคู่ครองด้วยความโกรธ แล้วหันเหประพฤตินอกใจไปคบชู้เป็นสามีภรรยากับคนอื่นตามใจชอบ | ||
โลกันตร์นรก 1 ขุม | ผลกรรมชั่ว เช่น ทรมานประทุษร้ายต่อบิดามารดา และผู้ทรงศีล ทรงธรรม หรือทำปาณาติบาตเป็นอาจิณ ฆ่าตัวตายเป็นต้น |
โลกเบื้องกลาง 7 ชั้น | ||
ภูมิ | บุพกรรม | |
มนุษย์ภูมิ 1 แบ่งเป็น 4 จำพวก | บุพกรรม กรรมของมนุษย์ที่ทำในกาลก่อนส่งผลให้ปฎิปทาต่างกัน เช่น บางคนเป็นคนดี บางคนบ้า บางคนรวย บางคนจน บางคนมีปัญญา บางคนเขลา ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัยต่างๆ | |
1 ผู้มืดมาแล้วมืดไป | ||
2 ผู้ที่มืดมาแล้วสว่างไป | ||
3 ผู้สว่างมาแล้วมืดไป | ||
4 ผู้สว่างมาแล้วสว่างไป | ||
เทวภูมิ 6 | ||
– จาตุมหาราชิกา (สวรรค์ ชั้น ที่ 1) | เส้นทางไปสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เมื่อเป็นมนุษย์ชอบทำความดี สันโดษ ยินดีแต่ของๆ ตนชักชวนให้ผู้อื่นประกอบการกุศล ชอบให้ทานและหวังผลบุญแห่งการให้ทานนั้น มุ่งการสั่งสมให้ทาน ด้วยคิดว่าเราตายไปแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนั้น และเป็นผู้มีศีล | |
– ดาวดึงส์ หรือ ดาวดึงสา (สวรรค์ ชั้นที่ 2) | ทางไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ทำบุญกุศล เป็นคนดีมีศีลธรรม ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าลามก ทำทานโดยไม่หวังผลบุญหรือผลแห่งทานที่ได้ทำไปนั้น ไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “ตายแล้วเราจักได้เสวยผลทานนี้” แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า “การให้ทานเป็นการกระทำดี” | |
– ยามาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 3) | ทางไปสวรรค์ชั้นยามา ต้องพยายามสร้างบุญ ต้องเป็นผู้หนักแน่นในการบำเพ็ญบุญ ผู้ที่ทำทานโดยไม่คิดว่าเป็นการทำดี แต่คิดว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เคยทำบุญทำทานมาโดยตลอด เราก็ควรได้ทำตามประเพณีที่ท่านเคยทำมา | |
– ดุสิตาภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 4) | ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต ผู้ที่สร้างบุญกุศล ชอบฟังพระธรรมเทศนาให้ทาน โดยไม่คิดว่าทำตามบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เคยทำมาจนเป็นประเพณีแต่ให้ทานโดยคิดว่าเราหุงหากิน สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทานก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง | |
– นิมมานรดีเทวภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 5) | ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ต้องเป็นผู้ที่เพียรบริจาคทานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย มีจิตใจบริสุทธิ์ รักษาศีลมิขาดตกบกพร่อง และเป็นผู้ที่อุตส่าห์ก่อสร้างกองบุญกุศลให้ยิ่งใหญ่ อบรมจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ให้สกปรกลามกมีมลทิน มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล ผู้ที่ทำทานโดยไม่คิดว่าเราหุงหากิน แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ได้หุงหากิน เราจะไม่ให้ทานก็ไม่บังควรอย่างยิ่ง แต่ได้คิดว่าจะให้ทานเหมือนอย่างฤาษีทั้งหลายที่ได้กระทำมาในอดีต | |
– ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ (สวรรค์ ชั้นที่ 6) | ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ผู้ที่อุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่ อบรมจิตใจให้สูงส่งด้วยคุณธรรม บำเพ็ญทานและรักษาศีลอย่างจริงจังด้วยศรัทธาอย่างยิ่งยวดและถูกต้อง ผลวิบากแห่งทานและศีลอันสูงยิ่งเท่านั้นจึงจะบันดาลให้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้ได้ ผู้ที่ทำทานโดยไม่หวังผลในทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทาน และไม่ได้คิดว่าทำทานตามฤาษีในอดีตที่เคยทำมา แต่คิดว่าทำทานเพื่อให้จิตเกิดความปลาบปลื้มปิติในบุญที่ทำ | |
โลกเบื้องสูง 20 ชั้น | ||
ภูมิ | บุพกรรม | |
รูปพรหม 16 | ||
– พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 1 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จปฐมฌานได้อย่างสามัญ | |
– พรหมปุโรหิตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 2 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จได้ปฐมฌานอย่างปานกลาง | |
– มหาพรหมาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 3 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จปฐมฌานได้อย่างประณีต | |
– ปริตตาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 4 | บุพกรรม ผู้ที่จะมาบังเกิดในชั้นนี้ได้ ต้องสำเร็จทุติยฌานได้อย่างสามัญ | |
– อัปปมาณาภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 5 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จทุติยฌานได้อย่างปานกลาง | |
– อาภัสสราภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 6 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จทุติยฌานได้อย่างประณีต | |
– ปริตตสุภาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 7 | บุพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ต้องสำเร็จตติยฌาน ได้อย่างสามัญ | |
– อัปปมาณสุภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 8 | บุพกรรม ผู้ที่จะมาบังเกิดในชั้นนี้ได้ ต้องสำเร็จตติยฌานได้อย่างปานกลาง | |
– สุภกิณหาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 9 | บุพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดในชั้นนี้ได้ ต้องสำเร็จตติยฌานได้อย่างประณีต | |
– เวหัปผลาภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 10 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาสำเร็จจตุตถฌาน | |
– อสัญญสัตตาภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 11 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌาน และเป็นผู้มีสัญญาวิราคภาวนา | |
– อวิหาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 12 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีสัทธินทรีย์แก่กล้า | |
– อตัปปาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 13 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌาน และเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล โดยมีวิริยินทรีย์แก่กล้า | |
– สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 14 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนาได้จตุตถฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลโดยมีสตินทรีย์แก่กล้า | |
– สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 15 | บุพกรรม ผุ้เจริญสมถภาวนา ได้จตุตถฌาน และเจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล โดยมีสมาธินทรีย์แก่กล้า | |
– อกนิฎฐาสุทธาวาสภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 16 | บุพกรรม ผู้เจริญสมถภาวนา ได้จตุตถฌาน และ เจริญวิปัสสนาภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล โดยมีปัญญินทรีย์แก่กล้า | |
อรูปพรหม 4 | ||
– อากาสานัญจายตนภูมิ พรมโลก ชั้นที่ 17 | บุพกรรม โยคีฤาษี ผู้ได้จตุตถฌานแล้ว และสำเร็จอากาสานัญจายตนฌาน | |
– วิญญาณัญจายตนภูมิ พรหมโลกชั้นที่ 18 | บุพกรรม โยคีฤาษีผู้ได้อากาสานัญจายตนฌานและสำเร็จวิญญาณัญจายตนฌาน | |
– อากิญจัญญายตนภูมิ พรมโลก ชั้นที่ 19 | บุพกรรม โยคีฤาษี ผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน และสำเร็จอากิญจัญญายตนฌาน | |
– เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมโลก ชั้นที่ 20 | บุพกรรม โยคีฤาษี ผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน และสำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน | |
โลกียภูมิ 31 ภูมิ
สรุปโลกียภูมิ หรือ สังสารวัฏ 31 ภูมิ
หลังจากได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ ขึ้นอยู่กับบุพกรรมที่แต่ละคนเป็นผู้กระทำเอง ตามกฎแห่งกรรม “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
ถามใจท่านเองว่า ถ้าต้องเกิดใหม่อยากจะเกิดเป็นอะไร? เชื่อได้ว่า ไม่มีใครอยากเกิดในอบายภูมิ 4 เพราะต้องพบความทุกข์ทรมานยิ่งกว่าการเป็นคนหลายเท่า และเป็นความทุกข์ที่ยาวนานมาก กว่าจะมีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง มีการเปรียบเทียบโอกาสจะเกิดเป็นมนุษย์ได้เสมือนงมเข็มในมหาสมุทร หรือเต่าโผล่หัวขึ้นมากลางห่วงเล็กๆ ที่ลอยอยู่กลางมหาสมุทร ดังนั้น คนส่วนใหญ่คงต้องการเกิดในโลกชั้นกลาง (เป็นมนุษย์หรือเทวดา) หรือโลกชั้นสูง (พรหมโลก) จะต้องทำอย่างไร? โซน 4 (พิเศษ) จะสรุปเรื่องสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวิธีสร้างบุญบารมีเพื่อการบรรลุในโลกียภูมิชั้นกลางขึ้นไป ด้วยหลักธรรมปฏิบัติคือ การให้ทาน รักษาศีล และภาวนา บุพกรรมของแต่ละโลกียภูมิระบุไว้เป็นแนวทางให้ปฏิบัติ