Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

ภาพที่ ๑๙เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้

พระพุทธเจ้า
ภาพวาดพุทธประวัติ 80 ภาพ (ครูเหม เวชกร)

ภาพที่ ๑๙เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้

๑๙

ภาพที่ ๑๙เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้

 

ในสมัยที่กล่าวนี้ แคว้นมคธมีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมาก คณะด้วยกัน แต่ละคณะต่างก็มีศิษย์สาวกและมีคนนับถือมาก กรุงราชคฤห์ก็เป็นที่ สัญจรจาริกผ่านไปมาของเจ้าลัทธิต่างๆ เพื่อเผยแพร่ลัทธิของตนให้คนเลื่อมใส คณา- จารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช ซึ่งอยู่ในแคว้นนี้มีสอง คณะด้วยกันคือ คณะอาฬารดาบสกาลามโคตร และคณะอุทกดาบสรามบุตร ทั้งสอง คณะนี้ตั้งอาศรมสอนศิษย์อยู่ในป่านอกเมือง พระมหาบุรุษจึงเสด็จไปยังที่นี่ เพื่อทรง ศึษาเล่าเรียนและทดลองดูว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่ เสด็จไปทรงศึกษาที่สำนักแรก ก่อน ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของท่านคณาจารย์เจ้าสำนักแล้วทรง เห็นว่ายังมิใช่ทาง ตรัสรู้ จึงเสด็จไปทรงศึกษาในสำนักคณาจารย์ที่สอง ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิด- หน่อย แต่ก็ได้เพียงสมาบัติแปด

'สมาบัติ' หมายถึง ฌาณ คือวิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไปจนถึง ละเอียดที่สุด ทั้งหมดมีแปดขั้นด้วยกัน ทรงเห็นว่าจิตใจในระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของ โลกีย์ ปุถุชนสามารถมีได้ แต่มีแล้วยังเสื่อมได้ ยังไม่ใช่โลกุตตระคือทางหลุดพ้น

ท่านคณาจารย์ทั้งสองสำนักชวนพระมหาบุรุษให้อยู่ด้วยกัน เพื่อช่วยสั่งสอนศิษย์ สาวกต่อไป ทั้งสองท่านสรรเสริญพระมหาบุรุษว่า ทรงมีความรู้ยอดเยี่ยมเทียบกับตน แต่พระมหาบุรุษทรง ปฏิเสธคำเชิญชวนนั้นเสีย เมื่อทรงทดลองลัทธิของคณาจารย์ที่ มหาชนยกย่องนับถือว่ามีความรู้สูงสุดแต่ทรง เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ได้ด้วยพระปรีชา- ญาณของพระองค์ พระมหาบุรุษจึงทรงดำริจะลองทดลองสิ่งที่นักบวชนักพรตจำนวน มากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน ที่หมายถึงการบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวด เกินที่วิสัยสามัญ มนุษย์จะทำได้ ที่คนทั่วไปเรียกว่าทรมานตนให้ได้รับความลำบากนั่นเอง

...เมื่อเราบวชแล้วอย่างนี้ แสวงหาสิ่งไรจะเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหาอาฬาร- ดาบสกาลามโคตรถึงสำนักแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรม- วินัยนี้. ดูกร ภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำ ลัทธิของอาจารย์ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า ในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่า เรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลัน ไม่นานเลย. เรากล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่ว กาลที่พูดตอบเท่านั้น อนึ่ง ทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น. เรามีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลาม- โคตรจะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองด้วยเข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียว ดังนี้หามิได้ ที่แท้อาฬารดาบสกาลามโคตร รู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้นเราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอ?

เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ. เราได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่ อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียร เพื่อจะทำให้แจ้งชัด ซึ่งธรรมที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด. เรานั้นได้ ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่โดยฉับพลันไม่นานเลย. ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอาฬาร- ดาบสกาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศ ให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือหนอ? อาฬารดาบสกาลามโคตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้. เราได้กล่าวว่า แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้แจ้ง ชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. อาฬารดาบสกาลามโคตรกล่าวว่า อาวุโส เป็นลาภของพวกเรา พวก เราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุ แล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ท่านทำธรรมใดให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้วประกาศให้ทราบ ดัง นี้ เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่น นั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะนี้เถิด. ดูกรภารทวาชะ อาฬารดาบสกาลาม- โคตร เป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเราผู้เป็นศิษย์ไว้เสมอกับตน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เรามีความคิดเห็น ว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น. เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้น หลีกไป.

ดูกรภารทวาชะ เราเป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าอะไรจะเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหา อุทกดาบสรามบุตรถึงสำนักแล้วกล่าวว่า ดูกรท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุทกดาบสรามบุตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตนให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า ในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลัน ไม่ นานเลย. ย่อมกล่าวญาณวาท และเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น อนึ่ง เราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น. เรามีความคิดเห็นว่า รามะจะได้ประกาศธรรมนี้ว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียวแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ หามิได้ ที่แท้รามะรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุ แล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อุทกดาบสรามบุตรได้ประกาศเนวสัญญา- นาสัญญายตนะ. เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่ท่านรามบุตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา

มิใช่ท่านรามบุตร เท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความ เพียรเพื่อทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรมที่ท่านรามบุตรประกาศว่า เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด. เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ โดยฉับพลันไม่นานเลย. ลำดับนั้น เราได้เข้าไป หาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า ท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้ แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ด้วย เหตุเพียงเท่านี้หรือหนอ? อุทกดาบสรามบุตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุ แล้ว ประกาศด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล. เรากล่าวว่า อาวุโส แม้เราก็ทำธรรมให้แจ้ง ชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้า ถึงอยู่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า อาวุโสเป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบ ท่านก็ ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเองบรรลุ แล้ว ประกาศให้ทราบดังนี้ เรารู้ ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่น นั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด. ดูกรภารทวาชะ อุทกดาบส รามบุตร เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ได้ตั้งเราไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. เรามีความ คิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น. เราจึงไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้น หลีกไป.

ม.ม. ๑๓/๗๓๘-๗๓๙/๕๐๖-๕๐๘

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post