ภาพที่เห็น คือ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร กำลังบวชกับพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ก่อนบวช ทั้ง สองบวชเป็นปริพาชกในฐานะเป็นศิษย์สาวกของสญชัย สญชัยเป็นศาสดาปริพาชกที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งใน แคว้นมคธ มีลูกศิษยและคนนับถือมาก โมคคัลลาน์ สารีบุตร เคยอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาหาความรู้ทางพ้นทุกข์ แต่ ครั้นศึกษาจบแล้วเห็นว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงลาอาจารย์สญชัยออกแสวงหาความรู้ใหม่ต่อไป แล้วจึงมาพบ พระอัสสชิในเมืองราชคฤห์
พระอัสสชิเป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนา ท่านทราบ ว่าเวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ท่านจึงเดินทางเพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นั่นระหว่าง ทางมาได้พบพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า 'อุปติสสปริพาชก' พระสารีบุตรเห็นกิริยาท่าทางพระอัสสชิน่า เลื่อมใสจึงเข้าไปสนทนาถามถึงทางปฏิบัติและผู้เป็นพระศาสดา เมื่อได้ฟังก็ชอบใจ ภายหลังจากนั้นจึงกลับมา ชวนสหาย คือ โมคคัลลาน์ หรือ 'โกลิตปริพาชก' ก็เรียก ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยปริพาชกบริวารที่ติด ตามมาอีก ๒๕๐ คน
ครั้งนั้น สารีบุตร โมคคัลลานะ ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้วได้ซบเศียรลงที่พระบาท ของผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอพวกข้าพระพุทธเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ เถิด พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น คนทั้งหมดได้เป็นผู้ทรงบาตรจีวรอันสำเร็จด้วย ฤทธิ์ ราวกะว่าพระเถระ ๑๐๐ พรรษา ภายหลังบวชแล้วไม่นาน ท่านทั้งสองได้ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จอรหันต์ ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศ พระศาสนาช่วยพระพุทธเจ้ามากที่สุด พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านทั้งสองให้ ดำรงตำแหน่งพระอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลาน์ฝ่ายซ้าย ว่าอย่างสามัญ ก็เท่ากับเป็นมือขวามมือซ้ายของพระพุทธเจ้านั่นเอง ท่านทั้งสองนี้นิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคประจำตัว ส่วนพระโมคคัลลาน์ถูกอันธพาลจากคนในศาสนาอื่น(เดียรถีย์) จ้างมาฆ่า
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะ มี ปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.
วิ. มหา. ๔/๖๕/๕๗. พระอัสสชิเถระแสดงธรรมแด่สารีบุตรปริพาชก
ภิกษุ ท.! สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาแน่นหนา มีปัญญาให้เกิดความร่าเริงใจ มีปัญญาไว มีปัญญาแก่กล้า มีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส. ภิกษุ ท.! สารีบุตร
เห็นแจ้งซึ่งวิปัสสนาในธรรมตามลำดับ ชั่วเวลากึ่งเดือน. ภิกษุ ท.! ใน เรื่องนั้น นี้เป็นเรื่องแห่งการเห็นแจ้งในธรรมตามลำดับ ของสารีบุตร
ม. อุ. ๑๔/๑๕๔/๑๑๖ ทรงยกย่องพระสารีบุตรในฐานะธรรมโอรส
(พุทธทาสภิกขุ : พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๓๔๒)
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250