ตา หู จมูก ลิ้น กาย : ใจ
กาย : ใจ = จิต
ขันธ์ 5 (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
อายตนะภายใน + อายตนะภายนอก = วิญญาณ 6
(1) รูปขันธ์
1) | ตา + รูป | 1) | = จักษุวิญญาณ (เห็น) |
2) | หู + เสียง | 2) | = โสตวิญญาณ (ได้ยิน) |
3) | จมูก + กลิ่น | 3) | = ฆะนะวิญญาณ (ได้กลิ่น) |
4) | ลิ้น + รส | 4) | = ชิวหาวิญญาณ (รู้รส) |
5) | กาย + สัมผัส | 5) | = กายวิญญาณ (รู้สิ่งต้องกาย) |
6) | ใจ (จิต) + ธรรมารมณ์ | 6) | = มโนวิญญาณ / จิตวิญญาณ |
(1) รูปขันธ์
(2) เวทนาขันธ์
(3) สัญญาขันธ์
(4) สังขารขันธ์
(5) วิญญาณขันธ์
(นามขันธ์)
ขันธ์ 5 = รูปขันธ์ (1) + นามขันธ์ (4)
= รูปขันธ์ + (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
ขันธ์ 5 รวมเรียกว่า “รูปร่างกาย”
“ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ 5 เกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่ออาการ 5 อย่าง (ขันธ์) เหล่านั้นดับไป เป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5”
ดังนั้น สมการชีวิตคืออะไร?
สำหรับ มโนวิญญาณหรือจิตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) เวียนว่ายตายเกิด เริ่มชีวิตตั้งแต่มีปฏิสนธิและจากร่างกายไปเมื่อรูปขันธ์ดับ (ตาย)
2.1 ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
2.2 พุทธพจน์เกี่ยวกับขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)
“ภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
2.3 ใจ (จิต) เป็นอมตะ ไม่ตาย เวียนว่ายตายเกิด หากยังไม่บรรลุขั้นพระนิพพาน โดยจิตวิญญาณจะออกจากร่างกาย (ขันธ์ 5) เมื่อรูปขันธ์ดับ (ตาย) ไปเกิดใหม่ตามกรรมที่สร้างไว้
ชีวิต = กาย + จิต
กาย = ขันธ์ 5 (ไม่เที่ยง) เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
จิต = ใจ = จิตเป็นอมตะ (เที่ยง) ไม่ตาย
จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและจิตของพระอรหันต์ “เที่ยง” เป็นอมตะจิต จิตไม่เคยตาย ไม่มีการเกิดอีกแล้ว (สำหรับองค์พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์) แต่มนุษย์ที่ยังไม่บรรลุการเป็นพระอรหันต์ จิตของทุกคนก็เป็นอมตะแต่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด
เพื่อความเข้าใจความหมายของ “จิต” ตามคำอธิบายของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ได้แสดงเทศนาธรรมให้แก่พระสงฆ์ (ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ) เป็นดังนี้
จิต เข้าถึงธรรมชาติแท้ คือ จิตนี้เป็นธรรมชาติ เป็นมหาวิมุตติ เป็นมหานิพพาน เป็นธรรมชาติ เป็นอมตะจิต เป็นอมตะธรรม สมกับว่าจิตนี้ไม่เคยตาย จิตนี้ไม่เคยตายที่สุดแห่งความไม่เคยตายของจิตคืออะไร คือ ธรรมธาตุ จิตถึงวิมุตติหลุดพ้นเรียกว่าถึงธรรมธาตุแล้ว ที่สุดแห่งสมมุติทั้งหลายจะสุดสิ้นที่ตรงนั้น วิมุตติผ่าง (ปรากฏ) ขึ้นมาแล้วจิตบริสุทธิ์ไม่มีสมมุติแม้นิดหนึ่งปรากฏเลย จิตดวงที่บริสุทธิ์ จิตดวงที่เคยเกิดเคยตายมาเหมือนกับสัตว์ทั้งหลายทั่วแดนโลกธาตุนี้ ขาดสะบั้นลงไปในขณะที่จิตอวิชชาขาดลงไปจากใจ จิตครองวิมุตติ หลุดพ้น ไม่มี
สมมุติใดๆ เข้าไปเกี่ยวข้อง
เพราะฉะนั้นจิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระอรหันต์ ท่านจึงไม่เคยมีทุกข์ ตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ธรรม หรือบรรลุธรรมขึ้นมาเป็นพระอรหันต์ในเวลานั้นแล้ว จากนั้นไปเป็นอนันตกาลตั้งกัปตั้งกัลป์ เรียกว่า “เที่ยง” ท่านไม่เคยทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นไม่ได้ตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้คือสังหารกิเลส พอกิเลสนี้ขาดซึ่งเป็นตัวสร้างทุกข์นี้ขาดสะบั้นลงไปจากจิตใจแล้ว ไม่มีสมมุติในใจเลย แล้วทุกข์ก็ไม่มี กิเลสไม่มี ความทุกข์ไม่มี ความทุกข์ในใจของพระอรหันต์จึงไม่มี ตั้งแต่ในขณะท่านตรัสรู้แล้ว
หมายเหตุ : ฟังธรรมเทศนาเพิ่มเติม : จิตเที่ยง (จิตไม่เคยตาย) โดย:
รูป-นาม(ขันธ์ 5) ตาย (ไม่เที่ยง) แต่จิตไม่เคยตาย (เที่ยง)
จิตไม่มีตัวตน เหมือนอากาศ
2.4 อุปาทานขันธ์ 5 คืออะไร? ก็คือ ขันธ์ 5 ที่มีอุปาทานยึดถือยึดครอง ท่านใช้คำแบบทางการว่า “ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน จะว่าขันธ์ 5 ที่เกิดจากอุปาทานเป็นที่วุ่นวายของอุปาทาน หรือที่รับใช้อุปาทานก็ได้ทั้งนั้น เป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาอุปาทาน อันนี้แหละคือ ทุกข์ที่เป็นข้อ 1 ในอริยสัจ 4 เมื่อได้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่จะมองแล้ว ก็มาศึกษาพุทธพจน์ที่ตรัสในเรื่องความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ 5 กับอุปาทานขันธ์ 5
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เธอทั้งหลายจงฟัง”
ขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม....เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ 5
“อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ) เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5
2.5 ความทุกข์ ใครไปยึดขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้นเข้า ก็กลายเป็นอุปาทานขันธ์ 5 เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250