Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๑๕

กิเลส

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๗๖)

อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา

ความอยากได้ ไม่มีที่จบสิ้นเลย

๓๗๖ [๑๕.๐๑] (๒๗/๓๓๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. กิเลส หรือ ความอยากได้ มีไม่สิ้นสุด
  2. โลภมาก ลาภหาย
  3. กิเลสนั้นเป็นโรคของใจ ยาแก้ไขคือธรรมะ ศีล สมาธิ ปัญญา

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๗๗)

วิคติจฺฉานํ นโม กโรมเส

ท่านที่ตัดความอยากเสียได้

ข้าพเจ้าขอกราบไหว้เลยทีเดียว

๓๗๗ [๑๕.๐๒] (๒๗/๓๓๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ที่รู้จักคำว่า พอ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสุขในชีวิต
  2. ความสันโดษ ทำให้มีความสุข
  3. ความทุกข์เกิดขึ้นจากกิเลสหรือตัณหา (ความอยาก) ที่มีอย่างไม่รู้จักพอ
  4. ดังนั้นหากต้องการความสุขก็ให้รู้จักพอ 
  5. ความโลภของมนุษย์ทำให้เกิดความทุกข์
  6. ยิ่งมีมากยิ่งทุกข์ เพราะไม่รู้จักพอ
  7. ยิ่งให้มากยิ่งมีความสุข ก็คือการให้ทาน

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๗๘)

ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ

โลภเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม

อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ

เมื่อความโลภเข้าครอบงำคน

เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ

๓๗๘ [๑๕.๐๓] (๒๕/๒๖๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความโลภเป็นตัวกิเลสจะทำลายทุกอย่าง
  2. จงเรียนรู้ความพอใจ และความสุขจะช่วยลดความโลภ
  3. ความโลภเกิดจากความไม่รู้จักพอ
  4. ยิ่งมีมาก ยิ่งโลภ
  5. ยิ่งโลภ ยิ่งทุกข์

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๗๙)

อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ

ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่างๆ

๓๗๙ [๑๕.๐๔] (๑๕/๒๑๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความอยากได้ หรือ ความโลภทำให้เห็นอะไรก็อยากได้ จะทำให้เดือดร้อน
  2. ความโลภ นำมาสู่หายนะ เพราะจะทำให้กระทำเกินกำลังที่จะรับได้ไหว
  3. ความชอบที่เปรียบเทียบ (มานะ) ทำให้เกิดความทุกข์ เพราะไม่รู้จักพอ
  4. ความโลภของมนุษย์มีไม่สิ้นสุด

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๐)

กาเมหิ โลกมฺหิ น หตฺถิ ติตฺติ

ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก

๓๘๐ [๑๕.๐๕] (๑๓/๔๕๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. มนุษย์ทั้งหลายมักจะมีกามราคะอยู่ จะตัดให้ขาดเสียย่อมเป็นไปได้ยากมาก
  2. กามราคะเป็นกิเลสที่ทำให้เป็นอุปสรรคในการบรรลุพระอริยบุคคลขั้นอนาคามี

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๑)

ภยมนฺตรโต ชาตํ ตํ ชโน นาวพุชฺฌติ

คนโกรธไม่รู้ทันว่า ความโกรธนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นภายใน

๓๘๑ [๑๕.๐๖] (๒๕/๒๖๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความโกรธทำให้ขาดสติ จะทำสิ่งที่ขาดเหตุผล
  2. ความโกรธทำให้ขาดเหตุผล ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
  3. ความโกรธหรือโทสะ เป็นกิเลสตัวที่ ๒ ต่อจากโลภะ (ความโลภ) เป็นสาเหตุทำให้เวลามีความโกรธจะขาดสติ อันจะนำไปสู่ความเสียหายตามมา

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๒)

กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ

โกรธเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม

๓๘๒ [๑๕.๐๗] (๒๓/๖๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความโกรธทำให้ใช้อารมณ์ในการทำงาน ๆ จะเสียหาย
  2. ความโกรธ ต้องแก้ด้วยศีล

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๓)

ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ

คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยาก ก็เหมือนทำง่าย

๓๘๓ [๑๕.๐๘] (๒๓/๖๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนโกรธควบคุมตัวเองไม่อยู่ อารมณ์ของความโกรธ ทำให้กระทำในสิ่งที่คาดไม่ถึงได้โดยง่าย
  2. คนที่มีนิสัยโกรธง่าย จะพ่ายแพ้คู่ต่อสู้เมื่อถูกยั่วยุ เพราะจะแสดงจุดอ่อน เวลามีความโกรธ

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๔)

หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ

คนโกรธฆ่าได้แม้แต่มารดาของตน

๓๘๔ [๑๕.๐๙] (๒๓/๖๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีความโกรธ จนควบคุมตัวเองไม่ได้ สามารถฆ่าได้แม้แต่มารดาของตน
  2. การลดความโกรธลงได้ โดยการรักษาศีล และฝึกจิตใจให้เรียนรู้เกี่ยวกับพรหมวิหาร ๔  ( เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ) รวมทั้งการทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ
  3. คนโกรธง่าย ให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง และหลักธรรมระงับความโกรธ โดยการใช้สติคอยเตือนตัวเองว่า “จะโกรธอีกแล้วหรือ คราวที่แล้วโกรธแล้วเป็นอย่างไร” ฝึกความนิ่ง โดยไม่โต้ตอบใดๆ และสูดลมหายใจลึกๆ

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๕)

ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ

ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว

เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้

๓๘๕ [๑๕.๑๐] (๒๓/๖๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีความโกรธคือการสูญเสียไปแล้ว
  2. การที่มีความโกรธจนเป็นนิสัย อาจจะส่งผลต่อสุขภาพและคนรอบข้าง
  3. ความโกรธ หรือโทสะเป็นกิเลสตัวสำคัญต่อจากโลภะ หรือความโลภ

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๗)

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ

ฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข

๓๘๗ [๑๕.๑๒] (๑๕/๑๙๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ถ้าสามารถควบคุมความโกรธลงได้ ย่อมทำให้ใจสงบๆ ก็จะเป็นสุข
  2. ผู้ใดสามารถระงับความโกรธลงได้ จะทำให้พบเส้นทางในการปฏิบัติธรรมในการระงับกิเลสตัวสำคัญนอกเหนือจากโลภะ (ความโลภ) และโมหะ (ความหลง)

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๘)

ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ

เอวํ สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต

วาจาสุภาษิต ไม่มีผลแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ

เหมือนดอกไม้งามที่มีแต่สี ไม่มีกลิ่น

๓๘๘ [๑๕.๑๓] (๒๕/๑๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. วาจาสุภาษิต ไม่มีผลแก่ผู้ไม่ปฏิบัติเหมือนกับเราเรียนมามากแต่ไม่เคยนำมาใช้เลยในชีวิตจริง สิ่งที่เรียนมาก็ไม่ต่างจากอ่านหนังสืออ่านเล่น
  2. แต่ถ้าผู้ที่เรียนไม่มาก แต่นำมาใช้ในชีวิตจริง จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล ก็ถือว่าได้ประโยชน์จากการเรียน
  3. การจบปริญญาสูง เป็นเพียงเครื่องบอกว่าด้านวิชาการจบเพียงใด แต่ไม่ได้บอกว่าทำงานเก่งหรือไม่

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๘๙)

ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ

เอวํ สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต

วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติ

เหมือนดังดอกไม้งาม ที่มีทั้งสีสวย และกลิ่นอันหอม

๓๘๙ [๑๕.๑๔] (๒๕/๑๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. วาจาสุภาษิต จะมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัตินำมาใช้จริง
  2. ดังนั้น เราควรนำวาจาสุภาษิต ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตจริง แล้วจะพบว่าวาจาสุภาษิตมีประโยชน์อย่างมาก

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๙๐)

สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

พูดดี เป็นมงคลอันอุดม

๓๙๐ [๑๕.๑๕] (๒๕/๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. พูดดี ทำให้คนรัก คนชอบ
  2. คำพูด สามารถฆ่าคนได้
  3. คำพูด สามารถทำให้คนทำงานให้อย่างถวายชีวิต
  4. คำพูด ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตายแทนได้
  5. คำพูด ทำให้กองทัพน้อยชนะกองทัพใหญ่ได้

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๙๑)

กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต สงฺคามํ เชติ ทุชฺชยํ

ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก

๓๙๑ [๑๕.๑๖] (๒๖/๓๕๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ผู้ไม่โกรธจะมีเหตุผลมากกว่าผู้โกรธ เพราะผู้โกรธจะตกเป็นเบี้ยล่าง ดังนั้นจะได้รับชัยชนะได้ยาก
  2. ผู้ระงับความโกรธจะมีสติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

อมฤตพจนา

๑๕.  กิเลส (๓๙๒)

อุภินฺนมตฺถํ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ

ปรํ สงฺกุปิตํ ตฺวา โย สโต อุปสมฺมติ

ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติ ระงับได้

ผู้นั้นชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์แก่คนถึง ๒ คน

คือ ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนอื่นนั้น

๓๙๒ [๑๕.๑๗] (๒๖/๓๕๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การมีสติระงับความโกรธได้ เป็นผลดีต่อตนเองและผู้อื่น
  2. การระงับความโกรธทำให้มีปัญญาช่วยทำให้มีสติในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post