Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๑๖

คุณธรรม

อมฤตพจนา

๑๖. คุณธรรม (๓๙๓)

สจฺจํ เว อมตา วาจา

คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย

๓๙๓ [๑๖.๐๑] (๑๕/๗๔๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่รักษาคำสัตย์ได้ ย่อมได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่น่าคบ
  2. คนที่รักษาคำสัตย์ ย่อมได้รับความน่าเชื่อถือ ผู้คนจะให้ความร่วมมือในการทำกิจต่างๆ

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๓๙๔)

สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ

สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารส

๓๙๔ [๑๖.๐๒] (๒๕/๓๑๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่รักษาสัจจะเป็นคนที่น่าคบ ในบรรดาสรรพรสแล้วเป็นรสที่ละมุนลิ้นที่สุด
  2. คนที่มีสัจจะ จะเป็นที่ยกย่องของสังคม หรือการทำงานร่วมกัน
  3. ในทางตรงกันข้าม คนที่ไม่รักษาสัจจะเป็นคนคบไม่ได้ เพราะเวลาพูดคุยด้วยไม่รู้ว่าอะไรเป็นความจริง อะไรเป็นความเท็จ

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๓๙๕)

สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ

ศรัทธา เป็นมิตรคู่ใจของคน

๓๙๕ [๑๖.๐๓] (๑๕/๑๗๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ใครสร้างศรัทธาให้แก่ผู้ร่วมงานได้ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้นำของคนทั้งหลาย
  2. เรามีศรัทธาในสิ่งใด จะทำให้เรามีศรัทธาแก่กล้าในการทำงานใหญ่ได้อย่างเหลือเชื่อ
  3. พลังแห่งศรัทธา ทำให้มีกำลังใจว่างานที่ทำจะสำเร็จ

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๓๙๖)

สุขา สทฺธา ปติฏฺิตา

ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้

๓๙๖ [๑๖.๐๔] (๒๕/๓๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อมีศรัทธา พลังทุ่มเทกำลังในการผลักดันโครงการจะมีการทำจนสำเร็จ
  2. ศรัทธาทำให้มีการทุ่มเทสรรพกำลังจนงานสำเร็จ และได้รับผลดีด้วย

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๓๙๗)

สติ โลกสฺมิ ชาคโร

สติ ทำให้ตื่นอยู่ในโลก

(ในโลกนี้ มีสติ จึงจะนับว่าตื่น)

๓๙๗ [๑๖.๐๕] (๑๕/๒๑๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. สติเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานทุกชนิด ดังนั้น การมีสติตลอดเวลาจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่รู้ตัวตลอดเวลา
  2. สติสัมปชัญญะ เป็นหลักธรรมที่เตือนตัวเราให้รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ สติจะทำให้เรารู้ว่า เราควรจะใคร่ครวญทำทุกอย่างอย่างรอบคอบ

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๓๙๘)

สติมโต สทา ภทฺทํ

คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคตลอดเวลา

๓๙๘ [๑๖.๐๖] (๑๕/๘๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
  2. ทำอะไร ต้องมีสติตลอดเวลา
  3. เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่สู้ดีนัก ต้องตั้งสติให้ดีในการแก้ไขปัญหา

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๓๙๙)

สติมโต สุเว เสยฺโย

คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน

๓๙๙ [๑๖.๐๗] (๑๕/๘๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนมีสติย่อมดีขึ้นทุกวัน เพราะคนมีสติจะพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตทุกวัน และเลือกเอาแต่สิ่งที่จะทำให้ชีวิตก้าวหน้า และคัดเอาสิ่งที่ไม่ดีออก
  2. การมีสติพิจารณาหลักธรรมที่สำคัญคือสติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักพิจารณาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง โดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี ๔ ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม
  3. สติปัฏฐาน ๔ มี ๔ อย่างคือ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้งของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ มี ๔ อย่างคือ การตามอนุปัสสนาในกาย เวทนา จิต และธรรม 

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๔๐๑)

สีลํ อาภรณํ เสฏฺ

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

๔๐๑ [๑๖.๐๙] (๒๖/๓๗๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

ศีล มีหลายความหมาย คือ 

ศีล คือ เจตนา ความตั้งใจที่จะงดเว้นจากกายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔

ศีล คือ เจตสิก หมายถึง การงดเว้นจากมโนทุจริต ๓ 

ศีล คือ ความสำรวมระวัง ปิดกั้นความชั่ว

ศีล คือ การไม่ล่วงละเมิดข้อห้าม

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๔๐๒)

สีลํ กวจมพฺภุตํ

ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

๔๐๒ [๑๖.๑๐] (๒๖/๓๗๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์ในการป้องกันกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ)
  2. ศีล เป็นหลักธรรมที่สำคัญข้อแรกที่เราจะต้องปฏิบัติให้ได้ หลักธรรมประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งก็คือ ไตรสิกขา เป็นหลักสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา
  3. ศีล ๕ เป็นศีลพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี อันประกอบด้วย
  1. ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
  2. ห้ามลักทรัพย์ หรือเอาของผู้อื่น
  3. ห้ามประพฤติผิดในกาม 
  4. ห้ามพูดเท็จ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ
  5. ห้ามดื่มสุรา สิ่งมึนเมา

อมฤตพจนา

๑๖.  คุณธรรม (๔๐๓)

น ปรํ นาปิ อตฺตานํ วิหึสติ สมาหิโต

ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และแม้ตนเอง

๔๐๓ [๑๖.๑๑] (๒๗/๖๒๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ที่มีจิตใจตั้งมั่นจะทำความดีและละความชั่ว ย่อมไม่ทำให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
  2. นอกจากนี้ ยังเพียรทำความดีที่ยังไม่มี ให้มีขึ้น เพียรทำความดีที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post