ฉายา: ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
ความสูง: ๘๐ ศอก
รัศมี: แผ่ซ่านออกไปเหลือประมาณ
บำเพ็ญบารมี: บำเพ็ญบารมีครบถ้วน
วรรณะ: กษัตริย์
พุทธบิดา: สุทัตตะ
พุทธมารดา: สุจันทา
พระนคร: สุธัญญะ
ใช้ชีวิตฆราวาส: ๙,๐๐๐ ปี
มเหสี: วิมลา
บุตร: กัญจนาเวฬะ
ยานพาหานะที่ใช้ออกบวช: ทรงราชรถออกบวช
ระยะเวลาการทำความเพียร: ๖ เดือน
ต้นไม้ตรัสรู้: ที่โคนต้นไม้กักกุธ (ต้นกุ่ม)
อายุขัย: ๙๐,๐๐๐ ปีจึงปรินิพพาน ณ อัสสัตถาราม
๑๗. พระปิยะทัสสีพุทธเจ้า
ปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓
ว่าด้วยพระประวัติพระปิยทัสสีพุทธเจ้า
สมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้า พระนามว่าสุชาต พระสยัมภู พระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นนายกของโลก ยากที่จะเทียมทันหา ผู้เสมอเหมือนมิได้ มียศมาก แม้พระพุทธเจ้าผู้ทรงยศนับมิได้พระองค์นั้น ทรงรุ่งเรืองดังพระอาทิตย์ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร แม้พระองค์ก็ทรงสั่งสอนให้สัตว์ได้ตรัสรู้ธรรม ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ท้าวสุทัสนเทวราชมากราบทูลถึงมิจฉาทิฏฐิ เมื่อพระศาสดาจะทรงบรรเทาทิฏฐิของท้าวเทวราชนั้น ทรงแสดงธรรม ครั้งนั้น มหาชนมาประชุมสันนิบาตกันมากมาย ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าพันโกฏิ ในคราวที่พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ทรงปราบช้างโทนมุข ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ แม้พระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็มีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ต่อแต่นั้น พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันแปดสิบโกฏิ
สมัยนั้น เราเป็นมาณพชื่อว่า กัสสปะเป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท เราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว เกิดความเลื่อมใส ได้บริจาคทรัพย์แสนโกฏิสร้างสังฆารามถวาย ครั้นถวายอารามแก่พระองค์แล้ว มีใจยินดีโสมนัส ได้สมาทานสรณะและเบญจศีล
กระทำให้มั่น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ในพันแปดร้อยกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก .... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น
เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่าสุธัญญะ พระบรมกษัตริย์ พระนามว่าสุทัตตะ เป็นพระชนกของพระปิยทัสสีศาสดา พระนางสุจันทา เป็นพระชนนีพระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุนิมมิละ วิมละ และคิริคุหา ทรงมีพระสนมนารีกำนัลในสามหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวิมลา พระราชโอรสพระนามว่ากัญจนาเวฬะพระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยราชรถทรง ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม
พระปิยทัสสีมหามุนีมหาวีรเจ้าอันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อุสภอุทยานอันรื่นรมย์ใจ ทรงมีพระปาลิตเถระและพระสรรพทัสสีเถระเป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าโสภิตะ เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระสุชาตาเถรีและพระธรรมทินนาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าต้นกุ่ม สันทกอุบาสกและธรรมิกอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก วิสาขาอุบาสิกาและธรรมทินนาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าผู้ทรงยศนับมิได้พระองค์นั้น ทรงมีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ สูง ๘๐ ศอก ปรากฏดังพญารัง รัศมีของพระบรมศาสดาซึ่งหาผู้เสมอมิได้พระองค์นั้นแสงไฟ รัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ ไม่เปรียบปานเลย
แม้พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี เท่ากับอายุของมนุษย์ทั้งหลาย แม้พระพุทธเจ้าซึ่งหาผู้เสมอเหมือนมิได้พระองค์นั้น แม้คู่พระอัครสาวกซึ่งไม่มีผู้เทียบเคียงเหล่านั้นหายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระปิยทัสสีมุนีผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ อัสสัตถาราม พระสถูปของพระองค์สูง ๓ โยชน์ ประดิษฐาน ณ อัสสัตถารามนั้น ฉะนี้แล.
จบปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓
ที่มา: พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ (ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์-จริยาปิฎก)
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250