อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๒)
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลาย มีใจนำหน้า
๗๒ [๐๓.๐๑] (๒๕/๑๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ธรรมทั้งหลายมีกายและใจ โดยที่ (จิต)ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว
- สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ทำก็มาจากใจเป็นผู้สั่งการให้ทำ โดยกายเป็นผู้ทำตามคำสั่งของใจ
- ถ้าเป็นคนที่จิตใจดี การกระทำทางกายก็จะดี เพราะจิตใจเป็นผู้บัญชาการ
- ถ้าใจมีความเพียงพอกับสิ่งที่มีอยู่ กายก็จะตอบสนองในเรื่องต่างๆ ของชีวิต เพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ชีวิตจะเป็นอย่างเรียบง่าย
- ในทางตรงกันข้าม ถ้าใจไม่รู้จักพอชีวิตก็จะดิ้นรนอยู่ในโลกธรรมแปด ซึ่งจะทำให้มีแต่ความทุกข์
- ทุกข์ (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
- ทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจริงๆ ก็เกิดขึ้นที่จิตใจของตนเองไม่ได้เกิดจากบุคคลอื่น แต่คนทั้งหลายก็คิดว่าคนอื่นทำให้เราเป็นทุกข์ ทุกข์จริงๆ นั้นเป็นเพราะจิตใจของพวกเราเกิดความคิดก็เลยคิดยึดมั่นถือมั่น
- การที่จิตคิดเรื่องนี้ขึ้นมาแล้วก็ดับไปครั้งหนึ่งเราก็ตายไปชาติหนึ่ง เมื่อเราทุกคนคิดมากๆ ยิ่งคิดหลายอารมณ์เท่าไร เราก็ยิ่งตายมากครั้งเท่านั้น เมื่อจิตคิด เกิดๆ ตายๆ เช่นนี้ก็ทุกข์มาก
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๓)
จิตฺเตน นียติ โลโก
โลกอันจิตย่อมนำไป
๗๓ [๐๓.๐๒] (๑๕/๑๘๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- จิตจะสะสมกรรมดีกรรมชั่ว และเวียนว่ายตายเกิดไปยังภพภูมิต่างๆ
- โลกียภูมิ เป็นภูมิผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดโดยจิตจะพาไปตามกรรมที่สร้างไว้ เดินทางไปยังโลกต่างๆ อันประกอบด้วย อบายภูมิ ๔ / มนุษยภูมิ ๑ / เทวภูมิ ๖ / พรหมโลก ๒๐ แบ่งเป็น รูปพรหม ๑๖ และอรูปพรหม ๔
รวมเรียกว่า สังสารวัฏ ๓๑ ภูมิ
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๕)
สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่
๗๕ [๐๓.๐๔] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- จิตเป็นสิ่งที่ยากแท้หยั่งถึง
- จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
- จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
- จิตเป็นตัวการที่สำคัญของทุกชีวิต
- จิตสะสมความดีและความเลว (ชั่ว) ของสรรพสิ่งข้ามภพข้ามชาติ
- จิตบันทึกทุกการกระทำของทุกชาติ
- จิตเป็นตัวทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด
- จิตเป็นธาตุรู้
- จิตเป็นอมตะ คือจิตไม่เกิดและไม่ตาย
- จิตดั้งเดิมใสบริสุทธิ์
- จิตต้องมัวหมอง เพราะถูกกิเลสครอบงำ
- กิเลสที่ครอบงำจิต คือโลกธรรม ๘ ลาภ/ยศ/สรรเสริญ/สุข
เสื่อมลาภ/เสื่อมยศ/นินทา/ทุกข์
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๖)
วิหญฺติ จิตฺตวสานุวตฺตี
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมเดือดร้อน
๗๖ [๐๓.๐๕] (๒๗/๓๑๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ธรรมชาติของจิตมักจะโน้มเอียงไปในทางไม่ดี เพราะจิตได้สะสมสิ่งที่ไม่ดีมานาน
- สิ่งที่ยั่วยุทำให้จิตใฝ่ตำจะเป็นกิเลสตัวสำคัญคือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งจะนำมาซึ่งความทุกข์
- การที่จะทำให้จิตพ้นจากความทุกข์ จะต้องดับเสียซึ่งกิเลสหรือดับตัณหา ดับอุปาทาน ดับภพ ดับชาติ ชรามรณะดับ ทุกข์ดับ
- ทางปฏิบัติสายกลางเพื่อความดับทุกข์คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๘)
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
๗๘ [๐๓.๐๗] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- จิตที่ผ่านการฝึกด้านสมาธิ จะทำให้มีความสุขเพียงชั่วคราว (ขณะนั่งอยู่ในสมาธิ)
- จิตที่ผ่านการฝึกชั้นวิปัสสนา จะทำให้พ้นจากความทุกข์อย่างถาวร
- การฝึกจิตเป็นประจำจะเป็นสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม สิ่งที่ได้รับก็คือความสงบ ความสงบนำความสุขมาให้
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๙)
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
๗๙ [๐๓.๐๘] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
- ปัญญาเป็นขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา
- ปัญญาและจิตเป็นสิ่งคูกัน กล่าวคือ คนที่มีปัญญาดีจะต้องมีจิตใจที่ดีงามด้วย
- เมื่อมีจิตใจดี ปัญญาก็จะคิดแต่เรื่องดี ซึ่งจะทำให้ความสำเร็จตามมา
- สังขาร (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโปสังขารการปรุงแต่งของจิตนี้เป็นสิ่งที่จัญไรที่สุด ทำให้คนเกิดทุกข์และวุ่นวาย เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่มีสิ้นสุด
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๐)
สจิตฺตมนุรกฺขถ
จงตามรักษาจิตของตน
๘๐ [๐๓.๐๙] (๒๕/๓๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราจะต้องมีความเข้าใจจิตใจของตนเองก่อน จึงจะทำให้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น
- คนเราจะดีหรือชั่ว ขึ้นอยู่กับจิตของคนนั้น
- จิตเป็นอย่างไร พฤติกรรมของคนๆ นั้นก็จะเป็นเช่นนั้น
- จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
- จิตคิดดี กายก็ทำดี
- จิตคิดชั่ว กายก็ทำชั่ว
- จิตสงบจึงเห็นทุกข์ (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป) จิตของบุคคลที่ไม่สงบระงับเป็นสมาธิ จิตวุ่นวายแส่ส่ายไปตามสัญญาอารมณ์ภายนอก ให้กิเลสหลอกลวงไปอยู่ ไม่รู้จักจบจักสิ้น จิตใจไม่หนักแน่นมั่นคง ไม่อยู่เป็นสมาธิย่อมมีความทุกข์ ถ้หากเราทำจิตใจของเราให้สงบระงับเป็นสมาธิ เราจึงจะสามารถมองเห็นทุกข์ได้ชัด มองเห็นจิตใจของตนเองสั่นสะเทือนและมีความทุกข์ได้ชัด ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นเห็นทุกข์จริง จิตที่เป็นสมาธิจะไม่รั่วไหลไปกับสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๑)
จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
๘๑ [๐๓.๑๐] (๑๒/๙๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
ทุคติ ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลำบาก นรก
คติสอนใจ
- เมื่อจิตใจมีความเศร้าหมองจะต้องไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ ความลำบาก คือนรก
- สาเหตุที่ทำให้จิตมีความเศร้าหมอง มาจากจิตใจได้รับผลกระทบจากการทำบาป หรือถูกครอบงำด้วยกิเลส
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๒)
จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้
๘๒ [๐๓.๑๑] (๑๒/๙๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
สุคติภูมิ หมายถึง ดินแดนอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกผู้ทำกรรมดี ได้แก่ มนุษยภูมิ เทวภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
คติสอนใจ
- เมื่อจิตใจไม่เศร้าหมองหรือจิตใจมีความเบิกบานหลังความตาย ภพภูมิจะไปเกิดใหม่จะเป็นดินแดนอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกผู้ทำกรรมดี อันได้แก่ มนุษยภูมิ เทวภูมิ รูปพรหม อรูปพรหม
- ในการที่จะไปสู่สุคติหลังความตายหรือการเกิดใหม่ จะเป็นภพภูมิใดขึ้นอยู่กรรมที่ทำไว้
- ธรรมปฏิบัติที่จะนำทางไปสู่สุคติ คือ ทาน ศีล ภาวนา
- การทำทาน จะไปเกิดในมนุษยภูมิ เทวภูมิ
- การรักษาศีล จะไปเกิดในเทวภูมิ
- การภาวนาถึงขั้นรูปฌาน จะเกิดใหม่เป็นรูปพรหม
- การภาวนาถึงขั้นอรูปฌาน จะเกิดใหม่เป็นอรูปพรหม
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๓)
เย จิตฺตํ สญฺเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร
๘๓ [๐๓.๑๒] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ผู้ปฏิบัติทางจิตใจที่สำคัญคือ สมาธิภาวนาจะทำให้จิตสงบ จะเกิดในชั้นรูปพรหม หรืออรูปพรหม จิตยังมีการเวียนว่ายตายเกิด
- สำหรับผู้ปฏิบัติด้านวิปัสสนาภาวนา เป็นการปฏิบัติทางจิตใจให้ใจบริสุทธิ์ หมดแล้วซึ่งกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) เส้นทางที่จะไปหลังความตายคือพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ เป้าหมายสุดท้ายของวิปัสสนาภาวนาคือ การพิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ขันธ์ ๕ มาจากธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อตายธาตุทั้ง ๔ ก็กลับสู่สภาพเดิม คือธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนจิตเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ ๕ เกิดความเบื่อหน่ายที่จะเกิดใหม่ เพราะตราบใดที่มีขันธ์ ๕ ก็ยังมีความทุกข์ ดังนั้น จิตจึงสลัดคืนอุปทานขันธ์ ๕ เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน
- ความว่างสุดท้าย (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
- เราต้องการความว่างสุดท้าย ว่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ต้องเป็นผู้มีสติปัญญาว่องไวเฉลียวฉลาดสอนจิตของตนเองให้รู้โทษของสิ่งเหล่านี้ จึงจะปล่อยวางได้
- บุคคลใดที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ห้า จิตของบุคคลนั้นแลจะหลุดพ้นไปเข้าสู่เมืองนิพพานได้