อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๔)
ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺาตา วินฺทเต ธนํ
ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้
๑๓๔ [๐๖.๐๑] (๑๕/๘๔๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ในการเลี้ยงชีพและสร้างตัว จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ : ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ
- ในการเลี้ยงชีพ จะต้องไม่เกี่ยงงาน ต้องทำงานได้ทุกอย่างที่สุจริต ให้มีงานทำก่อน คือมีงานเลี้ยงชีพได้แล้วจึงค่อยหางานใหม่ที่ตรงกับความชำนาญ เพื่อที่จะมีรายได้สูงขึ้น
- จะทำงานอะไรก็ตามจะต้องรู้ว่าเมื่อใดควรทำอะไรและอย่างไร
- เมื่อหาเงินได้แล้วจะต้องประหยัดจึงจะสร้างตัวได้
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๕)
สมุฏฺาเปติ อตฺตานํ อณุ อคฺคึว สนฺธมํ
ตั้งตัวให้ได้ เหมือนก่อไฟจากกองน้อย
๑๓๕ [๐๖.๐๒] (๒๗/๔)
คติสอนใจ
- การเลี้ยงชีพเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะต้องเริ่มต้นให้ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องไม่เกี่ยงงาน
- เมื่อมีรายได้แล้วต้องรู้จักประหยัด จึงจะสร้างตัวได้
- หาได้เท่าไร ไม่สำคัญเท่า เหลือเท่าไร
- ต้องรู้จักบริหารเงินที่เก็บสะสมไว้
- ต้องเรียนรู้การลงทุนที่ถูกวิธี เพราะผลตอบแทนที่ได้รับระหว่างการรู้จักบริหารการลงทุนและการไม่ใส่ใจในการบริหารการลงทุน อาจจะทำให้ฐานะทางการเงินแตกต่างกันมาก
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๖)
โภเค สํหรมานสฺส ภมรสฺส อิรียโต
เก็บรวบรวมทรัพย์สิน เหมือนผึ้งเที่ยวรวมน้ำหวานสร้างรัง
๑๓๖ [๐๖.๐๓] (๑๑/๑๙๗)
คติสอนใจ
- เมื่อหาเงินได้แล้วก็ต้องรู้จักการมีวินัยในการใช้เงินและการเก็บเงินให้ถูกวิธี
- การหาเงินได้เท่าไหร่สำคัญน้อยกว่าเงินเก็บเหลือเท่าไหร่ เพราะเงินที่เก็บได้มากเท่าไหร่ก็จะทำให้มีเงินนำมาบริหารได้มากยิ่งขึ้น
- รู้จักเก็บเงินเพื่ออนาคต มีความสำคัญมาก
- ในวัยทำงานเพื่อหาเงิน เราจะเก็บเงินไว้ในในอนาคต
- ในวัยเกษียณเราให้เงินทำงานเพื่อเลี้ยงเรา
- เงินจะทำงาน (ได้เงินปันผล / ดอกเบี้ย) เลี้ยงเราได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารการลงทุน
- คนที่สร้างตัวได้เร็วและมีความสุขช่วงสุดท้ายของชีวิต จะเป็นผู้บริหารการลงทุนได้ดี
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๗)
โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ
ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก
๑๓๗ [๐๖.๐๔] (๑๑/๑๙๗)
คติสอนใจ
- การบริหารการลงทุนที่ถูกวิธีทำให้เงินพอกพูนขึ้นเป็นอย่างมาก
- ความมหัศจรรย์ของตัวเลขทบต้นมีความสำคัญในการทำความเข้าใจ เพราะจะทำให้เลือกการลงทุนได้ถูกต้อง
- ท่านเก็บเงินได้ ๑๐ ล้านบาท ได้นำไปลงทุน ๒๐ ปี ได้รับผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับลักษณะการลงทุน ดังนี้
เงินลงทุน | จำนวนเงินที่ลงทุน(บาท) | อัตราผลตอบแทน(% ต่อปี) | มูลค่าเงินลงทุนสิ้นปีที่ ๒๐ หรือต้นปีที่ ๒๑ (ล้านบาท) | อัตราผลตอบแทน(% ต่อปี) | รายได้ปีละ(ล้านบาท) | หมายเหตุเดือนละ(ล้านบาท) |
๑. เงินฝาก | ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ | ๑.๕% | ๑๓.๔๖๘ | ๑.๕% | ๐.๒๐๒๐๒ | ๐.๐๑๖๘ |
๒. พันธบัตร รัฐบาล | ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ | ๓.๕% | ๑๙.๘๙ | ๓.๕% | ๐.๖๘๒๑๕ | ๐.๐๕๖๘ |
๓. หุ้นกู้เอกชน | ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ | ๖.๐% | ๓๒.๐๗ | ๖.๐% | ๑.๙๒๔๒ | ๐.๑๖๐๓ |
๔. หุ้นสามัญ | ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ | ๑๐.๐% | ๖๗.๒๗ | ๑๐.๐% | ๖.๗๒๙ | ๐.๕๖๐๗๕ |
๕. ไม่ทำอะไรเลย | ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ | ๐% | ๑๐.๐๐ | ๐% |
จะเห็นได้ว่าปีที่ ๒๑ จะมีรายได้เดือนละเท่าไร ชีวิตจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุน
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๘)
อุฏฺาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมฺภตํ อนุรกฺขติ
ขยันทำงาน ไม่ประมาท ฉลาดในวิธีจัดการ เลี้ยงชีพแต่พอดี
ย่อมรักษาทรัพย์สมบัติให้คงอยู่และเพิ่มทวี
๑๓๘ [๐๖.๐๕] (๒๓/๑๔๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- สิ่งสำคัญในการสร้างฐานะ ต้องเริ่มต้นจากมีความขยันตั้งแต่การเรียน การทำงาน ไม่ประมาทในการรู้จักเก็บเงินและบริหารเงินให้เพิ่มพูน
- ทรัพย์จะเพิ่มพูนได้รวดเร็วเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารเงิน โดยการลงทุนให้ถูกวิธี
- ในการลงทุนต้องเรียนรู้การวิเคราะห์การลงทุนให้ถูกวิธี ให้ลงทุนระยะยาว และให้เวลาในการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะผลตอบแทนที่ได้มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของทรัพย์สิน
- อย่าบอกกับตัวเองว่าไม่มีเวลาเรียนรู้การลงทุน
- จงบอกตัวเองว่าเงินหามายาก ดังนั้นจะต้องให้เวลาบริหารและดูแลการลงทุนให้ถูกวิธี ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนแตกต่างกันอย่างมาก
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๙)
น นิกตฺยา ธนํ หเร
ไม่พึงหาทรัพย์ด้วยการคดโกง
๑๓๙ [๐๖.๐๖] (๒๗/๖๐๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การสร้างฐานะจะต้องทำบนเส้นทางสุจริต
- เงินที่ใช้ควรจะเป็นเงินบริสุทธิ์
- การสร้างฐานะบนเส้นทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่ได้มาเพราะการคดโกง
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๔๐)
ธมฺเมน วิตฺตเมเสยฺย
พึงหาเลี้ยงชีพ โดยทางชอบธรรม
๑๔๐ [๐๖.๐๗] (๒๗/๖๐๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การเลี้ยงชีพ ควรดำเนินการบนเส้นทางสะอาดบริสุทธิ์ การเลี้ยงชีพที่สามารถสอนให้ลูกหลานได้
- สัมมาอาชีวะ คือการหาเลี้ยงชีพเป็นหลักสำคัญ ในอริยมรรคมีองค์แปด การหาเลี้ยงชีพโดยชอบเป็นการหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม
- การหาเลี้ยงชีพโดยชอบ ทำให้การทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ เพราะไม่เคยคดโกงใคร จึงมีแต่มิตร ไม่มีศัตรู
- ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ใด เพราะละอายต่อการทำบาป
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๔๑)
ปโยชเย ธมฺมิกํ โส วณิชฺชํ
พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม
๑๔๑ [๐๖.๐๘] (๒๕/๓๕๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ควรที่จะประกอบการค้าโดยถูกต้องตามหลักความยุติธรรมในการแข่งขัน ไม่ใช่ด้วยการใช้อำนาจกีดกันคู่แข่ง
- การประกอบการค้าที่ชอบธรรม ไม่ทำสิ่งที่ผิดกฎหมายและไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า
- การประกอบการค้าที่ชอบธรรม ย่อมนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม
- การประกอบการค้าชอบธรรม หมายรวมการค้าระหว่างประเทศ
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๔๒)
ธิรตฺถุ ตํ ยสลาภํ ธนลาภญฺจ พฺราหฺมณ
ยา วุตฺติ วินิปาเตน อธมฺมจรเณน วา
น่ารังเกียจ การได้ยศ การได้ลาภ การเลี้ยงชีพ
ด้วยการยอมลดคุณค่าของชีวิต หรือด้วยการประพฤติอธรรม
๑๔๒ [๐๖.๐๙] (๒๗/๕๓๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ในการได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ด้วยการทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยความสามารถอย่างแท้จริง
- เราควรใช้ความรู้ความสามารถที่เล่าเรียนมาและประสบการณ์ที่ทำงานมา จนเป็นที่ยอมรับในการที่ได้รับยศ การได้ลาภ เช่น มีความสามารถสร้างฐานะจากการลงทุนอย่างถูกวิธี ไม่ใช่จากการทำผิดกติกา เช่นการลงทุนในตลาดหุ้นโดยการปั่นหุ้นหรือการใช้ข้อมูลวงใน
- การที่จะได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จะต้องได้มาจากความสามารถที่ถูกต้องจะเป็นความภาคภูมิใจ
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๔๓)
อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก
ถึงไม่ได้ แต่ชอบธรรม ยังดีกว่าได้โดยไม่ชอบธรรม
๑๔๓ [๐๖.๑๐] (๒๖/๓๘๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- แพ้ในการแข่งขัน แต่ชอบธรรม เพราะทำเต็มที่แล้ว
- ดีกว่าชนะในการแข่งขัน แต่ไม่ชอบธรรม
- การแข่งขันย่อมมีแพ้ชนะถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่เป็นแพ้ชนะบนกติกาที่ยุติธรรม ดังนั้นถึงแม้จะแพ้ก็แพ้อย่างมีศักดิ์ศรี
- ในทางตรงกันข้าม หากมีชัยชนะโดยการโกง ผลที่ตามมาคนส่วนใหญ่จะไม่รับรองชัยชนะดังกล่าว ซึ่งอาจจะทำให้ชัยชนะดังกล่าวไร้ค่า
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๔๕)
ยหึ ชีเว ตหึ คจฺเฉ น นิเกตหโต สิยา
ชีวิตจะอยู่ได้ที่ไหน พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย
๑๔๕ [๐๖.๑๒] (๒๗/๒๐๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เราควรอยู่ที่ที่เหมาะสมกับตัวเราเอง เรียกว่าอยู่แล้วได้รับความเจริญ แม้ที่อยู่จะคับแคบแต่ก็เหมาะสมกับฐานะของเรา
- ตรงข้าม หากต้องการเป็นอยู่อย่างหรูหราและต้องการเลียนแบบผู้อื่น ความเดือดร้อนจะเกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ที่หาได้ จึงทำให้เดือดร้อนเพราะใช้จ่ายเกินตัว ทำให้เกิดทุกข์หาเงิน / หมุนเงินไม่ทัน
- ชีวิตจะอยู่ได้ในที่ไหน พึงไปที่นั่น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย การเลือกที่อยู่ให้เหมาะกับตัวเราเอง เช่น บรรพชิตต้องการที่สงบเพราะต้องปฏิบัติธรรมโดยการภาวนาทั้งสมถภาวนา (จิตใจสงบ) และวิปัสสนาภาวนา (ทำใจให้บริสุทธิ์) เป็นการอยู่ในที่ทั้งสงบและก่อให้เกิดปัญญา โดยพระทั้งหมดมีศีลเป็นข้อกำหนดในการปฏิบัติธรรม ดังนั้นพระสงฆ์จะต้องไม่ไปยังที่ที่จะสร้างกิเลสให้แก่ตนเอง เพราะจะทำให้บรรลุธรรมยาก
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๕๐)
ปญฺวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท
กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวตึ วเส
คนมีปัญญา ประกอบด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดงาน
รู้จักกาล รู้จักสมัย จึงควรเข้ารับราชการ
๑๕๐ [๐๖.๑๗] (๒๘/๙๖๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนมีปัญญาเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องต่างๆ รู้เรื่องว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร เหมาะสมกับเวลาและสถานที่หรือไม่
- คนที่มีความเฉลียวฉลาด (มีปัญญา) จะเข้าใจในงานที่จะต้องทำ รู้เวลาที่เหมาะสม รู้จักการจัดการ เพราะถ้าไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ผลเสียหายจะเกิดในวงกว้าง
- คนที่มีปัญญาเป็นผู้รู้ว่าในการจัดการงานใดๆ ก็ตามจะต้องให้เหมาะสมกับสถานที่ เวลา และยุคสมัยของงานที่จะต้องทำ