บทเกริ่นนำ
พระพุทธศาสนา
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ยอดเยี่ยม เป็นศาสนาที่เปิดกว้าง เป็นศาสนาที่เมตตา เป็นศาสนาที่ใข้การวิเคราะห์วิจารณ์ถึงเหตุถึงผลได้ไม่ปิดบัง บุคคลจะวิเคราะห์วิจารณ์ไปถึงไหน ปฏิบัติไปถึงไหน ไม่มีความขัดข้อง ไม่มีปกปิดเอาไว้ เป็นศาสนาที่เปิดเผยเปิดกว้าง เป็นศาสนาสากลที่ทันสมัยไม่มีเสื่อม เมื่อพระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานแล้วก็ตาม ศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าองค์นั้นไม่เสื่อมไปไหน ดีอยู่ตลอด ตรงนี้จึงเรียกว่า คำสอนในพระพุทธศาสนานี้มั่นคง ถ้าบุคคลนำไปปฏิบัติย่อมได้รับความสุขอย่างแท้จริง
โลกทั้งโลกเป็นของเราไม่ได้ เป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น เราก็เกิดมาพบมันในโลกนี้ โลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่อย่างนี้ เคลื่อนไหวไปมาพร้อมเป็นอนิจจัง
โลกขังเราไว้เป็นกรงขังมีเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกในวัฏสงสาร ติดทุกอย่างอยู่ในโลกใครจะพ้นโลกได้ต้องเรียนโลกให้รู้เพื่อจะวางโลกไม่ติด
ที่มา : หนังสือปัญญาปทีโปนุสรณ์ ๒๕๖๒
สมมุติ วิมุตติ
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป หลงในความสมมุตินี่แหละจึงเรียกว่ามันหลงโลก โลกธรรมก็คือโลก โลกมันสมมุติไว้เราก็หลงไปตามความสมมุติของโลก นี้แหละเป็นข้อที่สำคัญที่เราจะต้องศึกษาพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้รู้ให้ศึกษาให้เข้าใจถึงที่สุด ทุกอย่างจึงจะไม่หลง เมื่อหากให้เราไม่หลงเราจึงปล่อยวางได้ ถ้าเราเข้าใจในสมมุติแจ่มแจ้งชัด เราจึงจะถึงวิมุตติ คือหลุดพ้นจากสมมุตินี้
ความว่างสุดท้าย
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
เราต้องการความว่างสุดท้าย ว่างไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ต้องเป็นผู้มีสติปัญญาว่องไว เฉลียวฉลาด สอนจิตของตนเองให้รู้โทษของสิ่งเหล่านี้ จึงจะปล่อยวางได้
บุคคลใดที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ห้า จิตของบุคคลนั้นแลจะหลุดพ้นไปเข้าสู่เมืองนฤพานได้
พระนิพพาน
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
ทำคนเมาให้สร่าง ไม่เมาแล้ว ฉลาดแล้ว นำความกระหายออกจากที่มันเคยกระหายมันหิวสิ้นไปแห่งความอาลัย ไม่มีอาลัยอาวรณ์ตัดวัฏสงสาร
สิ้นไปแห่งตัณหาความทะเยอทะยานอยาก คลายความกำหนัด สิ้นความยินดีไม่ปรารถนา ดับสนิท จึงจะเข้านิพพานได้
คำนำ
หนังสือเล่มนี้ได้นำอมฤตพจนา ไปใช้กับประสบการณ์ส่วนตัวในชีวิตจริง ในรูปแบบ “คติสอนใจ” ซึ่งไม่ใช่การแปลความหมายของอมฤตพจนา ดังนั้น ข้อคิดที่นำมาใช้ในชีวิตจริง จะเป็นการนำคำสอนของอมฤตพจนามาดัดแปลง เพื่อนำมาใช้สอนใจผู้เขียน
ความเห็นที่ได้แสดงทั้งหมดอาจจะไม่ตรงกับท่านอื่น ผู้เขียนไม่ได้ต้องการให้ผู้อื่นต้องเชื่อและทำตาม แต่ผู้เขียนเพียงแต่สะท้อนความคิดที่ผู้เขียนมีความคิดอย่างไร และนำไปใช้อย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ เช่น การเรียน การทำงาน การลงทุน และการทำบุญ ซึ่งผู้เขียนพอใจกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลกที่เต็มไปด้วยการเปรียบเทียบและแข่งขัน กล่าวโดยสรุป คติสอนใจ ผู้เขียนใช้อมฤตพจนาสอนใจในเรื่องต่างๆ อย่างไร และพึงพอใจต่อผลรวมที่ได้รับมาทั้งหมดตลอดชีวิตสะท้อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ความพึงพอใจของผู้เขียนอาจจะมีความแตกต่างจากผู้อื่น แต่เป็นความสุข
และความสำเร็จในชีวิตตามมาตรฐานของผู้เขียนเท่านั้น ย่อมไม่เหมือนระดับความพอใจของผู้อื่น
ความเห็นของผู้เขียนอาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนท่านอื่น ซึ่งผู้เขียนอยากจะบอกว่าชีวิตของผู้เขียนเริ่มจากไม่มีอะไร ได้ใช้อมฤตพจนาตามการตีความของผู้เขียน นำทางชีวิตมาตลอดจนเป็น ดร.ชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท จบปริญญาเอกทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ ได้ทุนปริญญาโทจากรัฐบาล และทุนปริญญาเอกจาก New York University ทำงานกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ๒ กลุ่ม ในตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารมืออาชีพ มีเงินลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สามารถทำให้มีความมั่นคงทั้งครอบครัว มีเงินทำบุญสร้างกุศลตามที่ต้องการ (ในระดับที่พอใจที่จะตอบแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์) มีครอบครัวที่มีความสุข (ไม่ฟุ่มเฟือย)
ความสุขอยู่ที่รู้จักคำว่า “พอ”
คำว่าพออยู่ที่ใจ ใช่ที่ตัวเลข
ตัวเลขเป็นที่มาของความโลภ
จะหยุดความโลภ เมื่อสูญสิ้นฤา
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ขอท่านจงโชคดี
ธรรมะนำชีวิต
อมฤตพจนา : คติสอนใจ
สารบัญ
หน้าที่
ที่มาของหนังสือ : อมฤตพจนา พระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ๑
คำขอบคุณ ๓
ธรรมะนำชีวิต
อมฤตพจนา : คติสอนใจ
บทที่ ๑ คน ๕
บทที่ ๒ ฝึกตน – รับผิดชอบตน ๒๑
บทที่ ๓ จิตใจ ๓๙
บทที่ ๔ การศึกษา ๕๐
บทที่ ๕ ปัญญา ๖๘
บทที่ ๖ เลี้ยงชีพ – สร้างตัว ๙๓
บทที่ ๗ เพียรพยายาม -ทำหน้าที่ ๑๐๖
บทที่ ๘ ครอบครัว – ญาติมิตร ๑๕๑
บทที่ ๙ การคบหา ๑๖๕
บทที่ ๑๐ การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน ๒๐๒
บทที่ ๑๑ สามัคคี ๒๒๖
บทที่ ๑๒ การปกครอง ๒๓๑
บทที่ ๑๓ บุญ-บาป ธรรม-อธรรม ความดี-ความชั่ว ๒๕๒
บทที่ ๑๔ กรรม ๒๘๙
บทที่ ๑๕ กิเลส ๒๙๖
บทที่ ๑๖ คุณธรรม ๓๑๓
บทที่ ๑๗ วาจา ๓๒๔
บทที่ ๑๘ ชีวิต – ความตาย ๓๓๒
บทที่ ๑๙ พ้นทุกข์ – พบสุข ๓๕๖
พระพุทธสุภาษิต คำสอนประเภทนี้ แม้จะสั้น แต่ก็กินความหมายกว้างขวาง อีกทั้งมีความหมายลึกซึ้ง ทั้งจดจำง่าย กะทัดรัดเหมาะที่จะถือเป็นคติประจำใจ
บทสรุป : พึงเข้าใจว่า พุทธศาสนสุภาษิตทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ เป็นเพียงคำสอนส่วนเล็กน้อยจากพระไตรปิฎก ผู้อ่านควรที่จะศึกษาเพิ่มเติมเอง
หากมีข้อผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว หวังว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนี้
ขอขอบคุณ
ที่มาของหนังสือธรรมะนำชีวิต (อมฤตพจนา : คติสอนใจ)
สืบเนื่องมาจากผู้เขียนได้อ่านหนังสือ “อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต” ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) หลายรอบ มีความประทับใจในหนังสือเล่มดังกล่าว จนกระทั่งอยากให้ชาวพุทธทุกคนมีหนังสือเล่มดังกล่าว ใช้เป็นคู่มือในการดำเนินชีวิต เพราะเป็นสุภาษิตของพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ที่คัดพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ และสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริง จึงได้ให้มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต และพิพิธภัณฑ์จรรโลงพุทธศาสนาจัดพิมพ์เพื่อถวาย/แจกให้แก่ วัด พระภิกษุสงฆ์ (ท่านเจ้าอาวาส) กว่า ๔๓,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ และโรงเรียนทั่วประเทศกว่า ๓๕,๐๐๐ แห่ง โรงพยาบาล จำนวนกว่า ๒๕๕ แห่ง โรงเรียนพระปริยัติกว่า ๒๓๙ แห่ง และผ่านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ จำนวนที่จัดพิมพ์คือ ๑ ล้านเล่ม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สมเด็จพระสังฆราชเจริญพระชนมายุครบ ๘ รอบเมื่อ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา
หลังจากที่ได้ถวาย/แจกหนังสืออมฤตพจนาไปแล้ว ได้รับเสียงสะท้อนว่าต้องการให้มีคำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการนำไปใช้ในชีวิตจริง ซึ่งผู้เขียนได้เลือก อมฤตพจนาบางหัวข้อมาอธิบายเพิ่มเติมเป็นคติคำสอนควบคู่ไปด้วยกัน และขอเรียกชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า “ธรรมะนำชีวิต” ซึ่งแต่ละหน้าจะประกอบด้วย ๒ ส่วนคือ
- อมฤตพจนา : พุทศาสนสุภาษิต โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
- คติสอนใจ โดยดร.ชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท
ธรรมะนำชีวิต ถูกจัดแบ่งเป็น ๑๙ บท เหมือนอมฤพจนา พุทธศาสนสุภาษิต มี ๑๙ บท เป็นการอธิบายให้ทราบว่า ผู้เขียนได้นำไปใช้กับชีวิตจริงอย่างไร ในแต่ละเรื่องที่คัดออกมา
ธรรมะนำชีวิต เป็นการนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปใช้ในการดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงของชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวพุทธเท่านั้น เป็นหลักธรรมที่สามารถนำไปใช้กับทุกชนชาติและศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาพูดแต่ความเป็นจริง ดังนั้น จึงเป็นหลักธรรมที่ใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ไม่มีการล้าสมัยตามกาลเวลาและสถานที่
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ และนำไปใช้กับชีวิตจริงของท่านตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้าย หากมีข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่องประการใด ผู้เขียนขอเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวไม่เกี่ยวกับการคัดเลือกหัวข้อจากหนังสือ อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิตของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ผู้เขียน ขอกราบขอบพระคุณท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ที่ได้บรรจงนิพนธ์ หนังสืออมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต ขึ้นมา
คำขอบพระคุณ
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นได้ ก็เพราะได้รับอานิสงส์จากหนังสือ “อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต ฉบับบาลี-ไทย” นิพนธ์โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) หนังสืออมฤตพจนา เป็นการรวบรวมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ที่สุด ที่เกี่ยวกับวงจรชีวิตของมนุษย์ เป็นความจริงที่ตั้งแต่เกิดเป็นคนจนกระทั่งตาย หลักธรรมที่สำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข การสร้างตัวให้มีความมั่นคงในชีวิต การศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา ความเพียรพยายามทำหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จ การสร้างครอบครัวและญาติมิตร และการคบหาคนให้เป็น การเบียดเบียน การช่วยเหลือกัน ความสามัคคี การปกครอง บุญ-บาป ธรรม-อธรรม ความดี-ความชั่ว ความเข้าใจเรื่องกรรม กิเลส คุณธรรม วาจา ชีวิต-ความตาย ท้ายที่สุดเกี่ยวกับหลักธรรมที่ทำให้พ้นทุกข์แล้วจึงพบสุข
ลำดับของอมฤตพจนา โดยการจัดกลุ่มหลักธรรมตามวงจรชีวิตของมนุษย์ ทำให้มีความเข้าใจในชีวิตของคนๆ หนึ่ง มีการพัฒนาชีวิตตั้งแต่เกิดเป็นคนต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ในชีวิต เพื่อที่จะได้พบกับโลกธรรม ๘ กล่าวคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ และแล้วก็จากโลกไป จะไปที่ใด มี ๒ เส้นทางคือ โลกียภูมิ (เวียนว่ายตายเกิด ๓๑ ภูมิ) หรือโลกุตรภูมิ (หยุดการเวียนว่ายตายเกิด) ซึ่งเส้นทางของชีวิตหลังความตายเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำการศึกษาต่อไปในเรื่อง บาป-บุญ ความดี-ความชั่ว และแนวทางปฏิบัติเพื่อไปโลกียภูมิ หรือโลกุตรภูมิ อย่างไรก็ตามอมฤตพจนา มีหัวข้อที่ครอบคลุมหลักธรรมสำคัญที่เราใช้เป็นเข็มทิศทำการศึกษาต่อ
ขอกราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ที่ปูพื้นหลักธรรมสำคัญในหนังสืออมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิต โดยคัดเลือกหลักธรรมที่สำคัญแต่ละช่วงของชีวิตของการเกิดมาเป็นคน จะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร เพื่อที่จะทำให้ชีวิตมีความสำเร็จและความสุขในการทำงานนอกจากนี้ ผมต้องขอบคุณดร.อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท ซึ่งเป็นภรรยาที่รัก ที่ให้กำลังใจในการเขียนหนังสือ “ธรรมะนำชีวิต” โดยการนำหลักธรรม อมฤตพจนา : พุทธศาสนสุภาษิตมาขยายความในชีวิตจริง เพื่อจะได้นำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตจริง และตั้งชื่อหนังสือชื่อ “ธรรมะนำชีวิต”
ธรรมะนำชีวิต
อมฤตพจนา : คติสอนใจ
อมฤตพจนา
- คน (๒)
นานาทิฏฺิเก นานยิสฺสสิ เต
มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิดต่างความเห็นกัน
ท่านจะกำหนดให้คิดเห็นเหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้
๒ [๐๑.๐๒] (๒๗/๗๓๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราถึงแม้จะเกิดมาจากพ่อแม่เดียวกัน เวลาเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างกัน ทั้งทางด้านความคิด/นิสัยใจคอ
- จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะคิดอย่างเราทุกเรื่อง
- ส่วนที่คิดคล้ายกันก็อาจจะมี โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความโลภ โกรธ หลง
- ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อาจจะนำไปสู่ทางออกที่ดีกว่าเดิมก็ได้ ขอให้เปิดใจให้กว้างในการยอมรับความแตกต่าง
- ของอาจจะมีค่าก็ต่อเมื่อมีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ของอย่างเดียวกันอาจจะเป็นภาระของอีกคนหนึ่ง ซึ่งจะต้องเป็นราคาที่รวมทุกอย่างเหมือนกัน
อมฤตพจนา
- คน (๕)
ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ ตเถเวกสฺส ปาปกํ
ตสฺมา สพฺพํ น กลฺยาณํ สพฺพํ วาปิ น ปาปกํ
สิ่งเดียวกันนั่นแหละ ดีสำหรับคนหนึ่ง
แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง
เพราะฉะนั้น สิ่งใดๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด
และก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด
๕ [๐๑.๐๕] (๒๗/๑๒๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ในโลกนี้สิ่งต่างๆ จะมี ๒ ด้านเสมอ
- มีมืดก็มีสว่าง / มีดำก็มีขาว / มีรักก็มีเกลียด / มีชอบก็มีไม่ชอบ / มีถูกก็มีแพง
- คนมีเงินชอบดอกเบี้ย (รับ) แต่คนกู้ไม่ชอบดอกเบี้ย (จ่าย)
- นายจ้างชอบให้ทำงานหนัก แต่จ่ายน้อย
- ลูกจ้างชอบทำงานสบาย แต่อยากได้เงินมาก
- คนขายของชอบขายให้ได้ราคา (สูง) ในขณะที่ผู้ซื้อชอบซื้อของราคาถูก
อมฤตพจนา
- คน (๖)
อุกฺกฏฺเ สูรมิจฺฉนฺติ มนฺตีสุ อกุตูหลํ
ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ
เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต
๖ [๐๑.๐๖] (๒๗/๙๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงหรือเกิดวิกฤต การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ย่อมต้องการคนที่เป็นผู้นำ
- เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนที่ควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ เป็นคนที่มีความเป็นผู้นำที่สามารถควบคุมและนำคนหมู่มาก
- เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อท่านมีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ย่อมต้องการคนที่รัก
- เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต เมื่อต้องพบกับเหตุการณ์ที่ลึกซึ้งย่อมต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีประสบการณ์รอบด้าน
อมฤตพจนา
- คน (๑๐)
ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน
คนที่มีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่าง หาได้ยาก
๑๐ [๐๑.๑๐] (๒๗/๓๐๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนที่มีความสามารถในทุกด้านหาได้ยาก
- คนที่มีความสามารถหลายด้านพอหาได้
- คนที่ไม่มีความสามารถในด้านใดเลย หาไม่ยาก
- คนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความสามารถด้านใด
- คนที่มีความสามารถหลายด้าน ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าจะทำรายได้ได้ดีกว่าคนที่รู้เฉพาะด้าน
- คนที่มีการศึกษาสูง ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าจะมีความสามารถรอบด้าน หรือมีความสามารถมาก
- คนที่มีการศึกษาต่ำ ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าจะไม่มีความสามารถในด้านใดเลย
- คนที่มีการศึกษาสูง ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าจะมีรายได้สูง
- คนที่มีการศึกษาต่ำ ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าจะมีรายได้ต่ำ
- คนทีมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์มาก ย่อมจะประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นส่วนใหญ่
อมฤตพจนา
- คน (๑๓)
มาเส มาเส สหสฺเสน โย ยเชถ สตํ สมํ
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ มุหุตฺตมปิ ปูชเย
สา เยว ปูชนา เสยฺโย ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ
ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพัน ประกอบพิธีบูชาทุกเดือน
สม่ำเสมอตลอดเวลาร้อยปี
การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร
การยกย่องบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้วคนหนึ่ง
แม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า
๑๓ [๐๑.๑๓] (๒๕/๑๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การบูชาโดยหวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ที่ตนเชื่อ) โดยใช้เงินจัดทำพิธีกรรมต่างๆ จำนวนมาก ไม่อาจจะทำให้แก้ปัญหาได้ เปรียบเทียบกับการขอคำปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียวก็อาจจะได้ผลสำเร็จ
- อย่าหลงงมงายเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลังจะช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะทุกอย่างต้องแก้ไขที่เหตุปัจจัย โดยเฉพาะความทุกข์ หรือการแก้ปัญหาทุกเรื่องจะต้องค้นหาสาเหตุให้พบ และแก้ที่ต้นเหตุ
- ผู้อบรมตนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาได้แม่นยำกว่าผู้ที่ใช้ทรัพย์อย่างมากประกอบพิธีกรรมในการบูชาต่างๆ โดยหวังจะได้สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยแก้ไขปัญหา
อมฤตพจนา
- คน (๑๔)
น ชจฺจา วสโล โหติ
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ
กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ
ใครๆ จะเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่
ใครๆ จะเป็นคนประเสริฐเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่
คนจะเลว ก็เพราะการกระทำ ความประพฤติ
คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ ความประพฤติ
๑๔ [๐๑.๑๔] (๑๓/๗๐๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ชาติกำเนิด ไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่า คนจะเลวหรือประเสริฐ
- ความประพฤติ จะเป็นตัวกำหนดว่าเป็นคนเลวหรือประเสริฐ
- ความยากดีมีจน ไม่ได้กำหนดว่าเป็นคนเลวหรือประเสริฐ
- ชาติกำเนิด ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จในการทำงาน หรือความสำเร็จในการเรียน
- ชาติกำเนิด เป็นเพียงสิ่งสมมติในสังคม
- คนเราเลือกเกิดไม่ได้ การที่เกิดมาเป็นลูกคนจนใช่ว่าจะต้องจนตลอดชีวิต หากมีความขยันมีปัญญารู้จักทำมาหากิน รู้จักเก็บออมและรู้จักบริหารเงินก็ย่อมจะมั่งมีขึ้นมาก็ได้
- ในทางตรงกันข้าม เกิดเป็นลูกคนรวยแต่ช่วงสุดท้ายอาจจะยากจนก็เป็นได้ เพราะขาดปัญญาไม่รู้จักทำมาหากินใช้เงินเกินหาได้ ในที่สุดก็หมดตัว
อมฤตพจนา
- คน (๑๙)
เอวเมว มนุสฺเสสุ ทหโร เจปิ ปญฺวา
โส หิ ตตฺถ มหา โหติ เนว พาโล สรีรวา
ในหมู่มนุษย์นั้น ถึงแม้เป็นเด็ก ถ้ามีปัญญา ก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่
แต่ถ้าโง่ ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็หาเป็นผู้ใหญ่ไม่
๑๙ [๐๑.๑๙] (๒๗/๒๕๔)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดความเป็นผู้ใหญ่ มิใช่ความใหญ่โตของร่างกาย
- มีปัญญาประเสริฐสุด เพราะถ้ามีปัญหาจะสามารถแก้ปัญหาได้ แม้จะอยู่ในภาวะลำเค็ญ
- มีปัญญาเป็นขั้นสูงสุดของการสร้างบุญบารมี คือความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง สามารถหยุดการเวียนว่ายตายเกิด
- คนที่มีปัญญา จะมีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือการลงทุน
- คนที่มีปัญญามีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ ดังเช่น เหตุการณ์ต้มยำกุ้ง ปี ๒๕๔๐ องค์กรที่มีมีผู้นำที่มีปัญญา สามารถนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นปัญหาทั้งปวงในยามวิกฤตและสามารถนำพาองค์กรและผู้ถือหุ้นได้เงินลงทุนกลับคืน และได้โอกาสซื้อของราคาถูก (ซื้อหุ้น) เพราะวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำทำให้แปลงวิกฤตเป็นโอกาส
- คนที่มีปัญญาตระหนักดีว่า สิ่งต่างๆ ล้วนเป็นอนิจจังมีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะในโลกที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการทำงานหรือผลิตสินค้า/บริการ ผู้มาใหม่พร้อมเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า สามารถเอาชนะผู้อยู่เดิมได้ เช่น โทรศัพท์ Apple สามารถเอาชนะ Nokia ได้ เพราะเป็นเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่า
อมฤตพจนา
- คน (๒๐)
น เตน เถโร โหติ เยนสฺส ปลิตํ สิโร
ปริปกฺโก วโย ตสฺส โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ
คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอก ก็หาไม่
ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า
๒๐ [๐๑.๒๐] (๒๕/๒๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่เพราะอายุมาก ผมหงอก หรือแก่หง่อม
- คนที่จะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ ก็เพราะมีความโอบอ้อมอารี น่าเคารพนับถือ
- คนที่เป็นผู้ใหญ่ จะเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ มีความยุติธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้น้อย
- คนที่จะเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่เพราะอายุมากหรือทำงานมานาน
- คนที่จะเป็นผู้ใหญ่ จะต้องมีความคิดอ่านรอบด้าน มีความสามารถรอบด้านเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กร โดยเฉพาะมีลักษณะเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ถึงแม้อายุจะน้อยแต่คนในองค์กรให้การยอมรับในการบังคับบัญชา
อมฤตพจนา
- คน (๒๘)
ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ
คนทรามปัญญา ได้ยศแล้ว
ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน
ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียนทั้งตนและคนอื่น
๒๘ [๐๑.๒๘] (๒๗/๑๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนที่ไม่ดี ใช้ปัญญาในทางที่ไม่ดี เมื่อได้มีอำนาจก็จะใช้ไปในทางที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
- คนไม่ดีได้อำนาจ มักจะสร้างความเดือดร้อนให้กับทั้งตนเองและคนอื่น
- สังคมจะสงบและอยู่เย็นเป็นสุข หากคนดีมีอำนาจ ใช้อำนาจในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
- คนที่ปัญญาทราม มักจะหมกมุ่นแต่ในเรื่องการหาประโยชน์ส่วนตน โดยใช้อำนาจในทางที่ไม่ดี
อมฤตพจนา
- คน (๓๐)
นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ
นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา
คนพูดมาก เขาก็นินทา
แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
๓๐ [๐๑.๓๐] (๒๕/๒๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การนินทาเกิดขึ้นทุกแห่ง ถือเป็นเรื่องธรรมดา
- คนชอบนินทาคนอื่น แต่ไม่ชอบให้ผู้อื่นนินทาตน
- อย่าได้หวั่นไหวกับคำนินทา จงเป็นคนที่มีความหนักแน่นต่อคำนินทา มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของผู้นินทา
- หากท่านถูกนินทาจนทำให้คนเชื่อว่าเป็นจริง ท่านก็ต้องหาทางชี้แจงข้อเท็จจริงให้ถูกที่ถูกเวลา จะปล่อยให้คนนินทาจนกระทั่งคนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องจริง ท่านควรที่หาจังหวะที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างเปิดเผยและมีเหตุผล เพื่อที่จะป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อคำนินทา
- การต่อสู้กับคำนินทาคือการชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมหลักฐานอย่างเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้และจะทำให้คนที่ชอบนินทาไม่กล้าที่จะนินทาอีก เพราะผู้ที่รับฟังจะไม่ให้น้ำหนักของคำนินทา
อมฤตพจนา
- คน (๓๑)
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ
เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส เอกนฺตํ วา ปสํสิโต
คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว
ไม่เคยมีมาแล้ว จักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ ก็ไม่มี
๓๑ [๐๑.๓๑] (๒๕/๒๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก
- อย่าได้หวั่นไหวในคำนินทาและคำสรรเสริญ
- คนที่ทำงานด้วยกันในหมู่มาก ย่อมมีความเห็นที่หลากหลาย จะมีคนทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
- การนินทาและการสรรเสริญ ถือเป็นเรื่องธรรมดา
- การนินทาและการสรรเสริญ เป็นสัจธรรมของโลกธรรมแปด อันประกอบด้วยด้านพอใจคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ด้านไม่พึงใจคือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
- ใครตัดโลกธรรมแปดได้ก็จะสามารถตัดกิเลสได้ โลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) โมหะ (ความหลง)
- ผู้ที่ตัดโลกธรรมแปดและกิเลสลงได้ ก็จะสามารถเข้าถึงการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดคือ การบรรลุขั้นพระอรหันต์
- จงฝึกตนให้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแปด และพยายามตัดกิเลสให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
อมฤตพจนา
- คน (๓๓)
ครหาว เสยฺโย วิญฺญูหิ ยญฺเจ พาลปฺปสํสนา
วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ
๓๓ [๐๑.๓๓] (๒๖/๓๘๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ผู้รู้โดยแจ่มแจ้งชัดเจน ตำหนิและอธิบายให้ฟังว่า สิ่งที่ทำไม่ถูกต้องเพราะอะไร สิ่งที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้ไม่ทำผิดอีกในอนาคต ได้เรียนรู้จากผู้มีความรู้
- สำหรับคำสรรเสริญของคนพาลไม่ได้ก่อประโยชน์ในชีวิต เพราะคำสรรเสริญดังกล่าวอาจจะสร้างความเสียหายในอนาคต เพราะหลงเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ทำให้ทำความผิดซ้ำอีก อันจะทำให้เกิดหายนะก็เป็นได้
- วิญญูชนตำหนิตามข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับและนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นสิ่งที่ดี เพราะมิฉะนั้นเราอาจจะมีการทำผิดซ้ำอีกหากไม่มีใครตำหนิ
- ส่วนผู้ที่เป็นคนพาลสรรเสริญเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง เพราะคนพาลมักจะทำสิ่งที่ไม่ดีตามนิสัยของตน เพราะคนชั่วทำดียาก และคนชั่วทำความชั่วง่าย
อมฤตพจนา
- คน (๓๔)
ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวา
อ่อนไป ก็ถูกเขาดูหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร
๓๔ [๐๑.๓๔] (๒๗/๑๗๐๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับ ก็จะถูกดูแคลนว่าเป็นตัวถ่วงของกลุ่ม มักเป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ
- ในการทำงานกับผู้อื่น การแสดงท่าทีแข็งกร้าวจะทำให้สร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว หรือทำให้เกิดความหมั่นไส้
- ในการทำงานหากผลงานออกมาย่อหย่อนเกินไปจะทำให้ถูกดูถูกว่าความสามารถไม่ถึงระดับที่ยอมรับได้
- ในทางตรงกันข้าม ในการทำงานที่แสดงความมั่นใจตัวเองสูงเกินไป และแสดงท่าทีดูแคลนผู้อื่นจะทำให้ผู้ที่เป็นศัตรูและไม่ให้ความร่วมมืออาจกลั่นแกล้งจนกระทั่งทำให้งานที่ออกมาเกิดปัญหา อันจะส่งผลให้เกิดความเสียหายในผลงานของตนเองและขององค์กร
อมฤตพจนา
- คน (๓๕)
อนุมชฺฌํ สมาจเร
พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี
๓๕ [๐๑.๓๕] (๒๗/๑๗๐๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ในการทำงานร่วมกับคนอื่น ควรให้เกียรติและเคารพในความเห็นของผู้อื่น
- ให้ใช้หลัก “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ในการทำงาน
- จงทำงานด้วยความสุข โดยการยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเขาต้องการ
- ในที่ประชุม จงอย่าหักหน้าผู้อื่นและยกตนข่มท่าน
- ในการเสนอความเห็นต่างในที่ประชุม ให้มีศิลปะในการนำเสนอที่ไม่โจมตีความคิดของผู้อื่น เพื่อเชิดชูความเห็นของตัวเอง
ตัวอย่างของการเสนอ : เรียนท่านประธานและคณะกรรมการ ผมขอเรียนเสนอให้พิจารณาทางเลือกดังนี้… (คือกระจายทางเลือกให้ที่ประชุมพิจารณา มิใช่โจมตีเจ้าของความคิดหนึ่งความคิดใด)
ธรรมะนำชีวิต
อมฤตพจนา : คติสอนใจ
อมฤตพจนา
- ฝึกตน (๓๖)
สนาถา วิหรถ มา อนาถา
จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง
๓๖ [๐๒.๐๑] (๒๔/๑๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ในการดำเนินชีวิต จะต้องเป็นคนที่มีหลักในการใช้ชีวิต เพราะในยามที่ต้องการพึ่งพาหาความช่วยเหลือ เหลียวไปทางหนึ่งทางใดก็ยังพอมีคนช่วยให้อุ่นใจคลายทุกข์
- อย่าเป็นคนที่ไม่มีหลักในการทำงาน (หลักลอย) เพราะจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ
- การดำเนินชีวิตอย่างมีหลักยึดเหนี่ยว จะทำให้มีความเชื่อมั่นในการทำงาน การแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ
- คนไร้ที่พึ่ง จะทำให้ชีวิตมีแต่ความหดหู่ เวลาเกิดปัญหาก็จะมีความรู้สึกว่าโลกนี้ไม่น่าอยู่ โดดเดี่ยว มุมมองในชีวิตก็มีแต่เรื่องเศร้าหมอง จะต้องแก้ไขโดยให้เรียนรู้การเป็นผู้รับก่อนยามที่ต้องการ และที่ดีกว่าคือการเป็นผู้ให้ เพราะผู้ให้จะเป็นที่รัก
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๓๗)
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
๓๗ [๐๒.๐๒] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เกิดเป็นคนอย่าคิดแต่พึ่งผู้อื่นตลอดเวลา
- ชีวิตจะเข็มแข็งต้องเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเอง
- การช่วยตัวเองจะทำให้มีความมั่นใจในตัวเอง
- พ่อแม่เลี้ยงดูเราได้ก็เพียงระยะหนึ่งของชีวิต
- ชีวิตจะแข็งแกร่งถ้าหัดช่วยงานพ่อแม่ จะทำให้มีความมั่นใจในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
- ท้ายสุดของชีวิต ที่พึ่งที่จะอยู่ด้วยกับเราตลอดชีวิตและตลอดเวลาทุกลมหายใจก็คือตัวเราเอง ไม่มีใครหายใจแทนเราได้
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๓๘)
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ
มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก
๓๘ [๐๒.๐๓] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การฝึกตนเองให้เรียนรู้รอบด้าน จะทำให้สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้โดยไม่หวั่นเกรงใดๆ
- การฝึกตนเองให้ชำนาญในด้านต่างๆ เสมือนมีที่พึ่งติดตามตัวเราไปทุกที่ (ทุกลมหายใจ) เป็นเหมือนเงาติดตามตัวไปทุกที่/ทุกเวลา
- การที่จะฝึกตนให้มีความสามารถจะต้องฝึกตนตั้งแต่งานระดับต่ำก่อนเพื่อที่จะเข้าใจงาน จะสำเร็จได้จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระดับล่างแล้วจึงจะปรับระดับความยากของงานในระดับสูงขึ้นไปตามลำดับ
- การฝึกงานทุกระดับตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูง จะทำให้เห็นความสัมพันธ์ของงานทุกระดับ การแก้ไขปัญหาจะแม่นยำขึ้น
- ผู้ที่ทำงานเริ่มต้นจากระดับสูงเลยโดยไม่ได้เรียนรู้งานระดับล่าง (เพราะครอบครัวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) มักจะไปไม่รอดเวลาพบวิกฤตเพราะมองปัญหาไม่ออก
- ดังนั้นควรจะฝึกตนให้เรียนรู้งานทุกระดับ
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๔๒)
นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ
รักอื่นเสมอด้วยรักตน ไม่มี
๔๒ [๐๒.๐๗] (๑๕/๒๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ทุกคนมีความรักในตนเองมากที่สุด
- เพราะรักตนมากจนเกินไป จะนำไปสู่การเห็นแก่ตัว
- ความรักในตนเอง ควรอยู่ในกรอบที่ไม่เป็นความเห็นแก่ตัว ควรอยู่ในกรอบของการละอายต่อการทำชั่ว / ทำบาป
- รักตนให้ถูก ควรจะรักษากาย วาจา ใจ ให้อยู่ในศีลและธรรม
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๔๙)
อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง
อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง
๔๙ [๐๒.๑๔] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราจะรู้แก่ใจตัวเอง ว่ากำลังทำดีหรือชั่ว
- หากทำความชั่วอยู่ จิตใจก็เศร้าหมอง เพราะหลอกตัวเองไม่ได้
- หากทำดี จิตใจก็เบิกบาน เรารู้ตัวเอง
- ตนทำชั่วตัวก็เศร้าหมองเอง จะส่งผลให้การทำงานไม่ดี
- ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง ส่งผลทำให้จิตใจเบิกบานเกิดความคิดสร้างสรรค์ ผลงานออกมาก็จะดีตามไปด้วย
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๐)
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
นาญฺโ อญฺ วิโสธเย
คนอื่นทำคนอื่น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้
๕๐ [๐๒.๑๕] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความดี ความเลว เป็นของเฉพาะตัว ไม่สามารถทำแทนกัน
- ทำดีได้ดี ทำชัวได้ชั่ว เป็นเรื่องเฉพาะตัว
- กรรมใดใครก่อ ผู้ก่อก็ต้องเป็นผู้รับกรรมเอง เป็นกฎแห่งกรรม
- การทำบุญหรือบาป เป็นเรื่องเฉพาะตัวทำแทนกันไม่ได้
- คนเราจะบริสุทธิ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง บาปบุญที่ได้จากการกระทำที่ได้รับบุญขั้นสูง
- หลักไตรสิกขา : ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์
- การทำใจให้บริสุทธิ์ คือการปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุดคือปัญญา เป็นขั้นของวิปัสสนาภาวนา อันจะนำไปสู่ขั้นหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หรือขั้นพระนิพพาน
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๑)
นตฺถิ โลเก รโห นาม
ชื่อว่าที่ลับไม่มีในโลก
๕๑ [๐๒.๑๖] (๒๐/๔๗๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- สิ่งใดที่ถูกค้นพบ ก็ไม่มีคำว่าเป็นที่ลับอีกต่อไป
- สิ่งที่เรียกว่าลับ เป็นที่ลับเฉพาะผู้ที่ยังไม่รู้
- สิ่งที่มีในโลกจะถูกค้นพบในวันหนึ่ง แม้แต่สิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา มนุษย์ก็หาวิธีค้นหาจนพบ ความลับก็จะเปิดเผย
- ดังนั้น ความลับจึงไม่มีในโลก
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๓)
สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ
กรรมไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์ กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง
๕๓ [๐๒.๑๘] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เป็นธรรมชาติของการสร้างกรรม กรรมที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์ ทำได้ง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นกรรมที่เป็นความเห็นแก่ตัว สร้างกิเลส
- ส่วนกรรมดีและเป็นประโยชน์ มักจะทำได้ยากยิ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นการเสียสละ ปล่อยวาง ดับกิเลส
- กรรมไม่ดี โดยเฉพาะกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) ทำได้ง่าย
- กรรมดี โดยเฉพาะ ทาน ศีล ภาวนา เป็นเรื่องที่ทำยาก
- เราควรที่จะฝึกตนให้ทำกรรมดีให้มากในแต่ละวัน
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๗)
น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ชัยชนะใดกลับแพ้ได้ ชัยชนะนั้นไม่ดี
ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ
ชัยชนะใดไม่กลับแพ้ ชัยชนะนั้นแลเป็นชัยชนะที่ดี
๕๗ [๐๒.๒๒] (๒๗/๗๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ชัยชนะที่แท้จริง จะต้องสามารถรักษาชัยชนะดังกล่าวให้ยั่งยืน
- สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ ล้วนเข้ากฏพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
- ความเป็นจริง ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน แม้แต่จะเป็นชัยชนะในรูปแบบใด
- เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว ต้องรู้จักคำว่า “พอ” ไม่ว่าจะเป็นชัยชนะอะไรก็ตาม ไม่มีแชมป์ตลอดกาล
- จงตระหนักข้อเท็จจริงว่า ถอยออกในขณะที่ยังเป็นแชมป์อยู่ จะมีศักดิ์ศรีและการกล่าวขวัญมากกว่า ถอยออกเมื่อถูกโค่นออกจากตำแหน่ง
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๘)
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนนี่แล ดีกว่า
๕๘ [๐๒.๒๓] (๒๕/๑๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ก็คือชัยชนะตัวเอง ทั้งนี้เพราะเป็นชัยชนะที่ดับความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เป็นชัยชนะที่ทำให้สุข เพราะสามารถเอาชนะกิเลสอันมี โลภ โกรธ หลง เป็นชัยชนะที่สามารถนำติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ
- การเอาชนะตัวเอง โดยเฉพาะการเอาชนะการทำบาป การเอาชนะความเห็นแก่ตัว การเอาชนะการเบียดเบียน การเอาชนะความเกียจคร้าน การเอาชนะดังกล่าวจะทำให้ชีวิตพบแต่ความสุขความเจริญ
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๐)
อตฺตนา โจทยตฺตานํ
จงเตือนตนด้วยตนเอง
๖๐ [๐๒.๒๕] (๒๕/๓๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ตัวเราจะรู้ดีกว่าใคร ว่ากำลังคิดทำอะไรอยู่ การจะทำความดีหรือความชั่วตัวเราย่อมรู้ดี การที่จะลงมือทำความชั่วหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวเรา ตัวเราเองเท่านั้นที่จะยับยั้งการกระทำความชั่ว
- หมั่นฝึกให้เป็นนิสัยในการคิดให้รอบคอบก่อนทำอะไร ระงับชั่งใจก่อนจะลงมือทำอะไร จะได้ไม่ต้องเสียใจในภายหลัง
- ก่อนลงมือกระทำการใดๆ ใจ (จิต) เป็นนาย กายเป็นบ่าว
- หลังการลงมือกระทำการไปแล้ว กายเป็นนาย ใจเป็นบ่าว เพราะอาจจะนำมาสู่ความเสียใจในภายหลังจากลงมือทำไปแล้ว
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๓)
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺมนุสาสติ
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น
๖๓ [๐๒.๒๘] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นในเรื่องอะไรก็ตาม ก็ควรสอนตัวเองในลักษณะเดียวกัน
- การสอนผู้อื่นๆ ต้องเปิดใจให้กว้าง
- การให้โดยการสอนวิธีทำมาหากิน จะทำให้มีบริวารที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะออกสนามรบพร้อมกับผู้นำ
- บทบาทของแต่ละคนเป็นไปตามบทที่ถูกเขียนเอาไว้ ชีวิตเหมือนโรงละครโรงใหญ่
- จงมีความอดทนเวลาสอนผู้อื่น ต้องตระหนักว่าวันหนึ่งข้างหน้าเขาอาจจะเป็นอาจารย์ของเรา
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๔)
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเสํ
โทษคนอื่น เห็นง่าย
อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
แต่โทษตน เห็นยาก
๖๔ [๐๒.๒๙] (๒๕/๒๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- โดยทั่วไปเวลาเกิดเหตุไม่ดี คนทั่วไปมักจะปฏิเสธความผิดของตนเอง มักจะโทษว่าเป็นความผิดของคนอื่น
- เมื่อทำผิด เราควรที่กล้าหาญยอมรับผิดดีกว่าให้คนอื่นค้นพบว่าความผิดเป็นของใคร การยอมรับหลังจากผู้อื่นจับผิดได้ ไม่ได้ทำให้พ้นความผิดและเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ
- ผู้ที่ทำผิดยอมรับผิดด้วยตนเอง มีความสง่างามดีกว่าคนอื่นค้นพบความจริงว่าใครเป็นผู้ทำผิด
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๗)
อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย
ไม่ควรลืมตน
๖๗ [๐๒.๓๒] (๒๗/๒๓๖๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราเมื่อได้ดีไม่ควรจะลืมตน เพราะจะเป็นการทำลายบารมี
- ความอ่อนน้อมเวลาเป็นใหญ่ เป็นการเสริมการยอมรับ มักจะได้รับการต้อนรับจากผู้ร่วมงาน
- ยิ่งใหญ่โต ยิ่งอ่อนน้อม จึงทำให้เป็นที่รัก
- คนเราไม่ควรจะลืมตัวตนของตนเอง เช่น เคยเป็นคนจนมาก่อนต่อมาร่ำรวยขึ้นมาไม่ควรลืมอดีตที่เคยจนและลำบาก เพื่อเป็นการเตือนตัวเองว่าคนเราไม่มีอะไรแน่นอน (อนิจจัง) ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากเราประมาท ดังตัวอย่างคือ
ระดับบุคคลและระดับชาติมีความประมาทว่าคนที่เคยรวยเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจผันผวนบุคคลดังกล่าวร่ำรวยเพราะกู้เงินทำธุรกิจแล้วร่ำรวย ก็คิดว่าการที่จะเร่งความรวย ตามทฤษฎีหากเศรษฐกิจขาขึ้นการทำธุรกิจในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำจึงทำการกู้เต็มที่ เพราะเชื่อมั่นในความสามารถของตน พอเกิดความผันผวนทำให้ธุรกิจต่างๆ มีปัญหา เพราะกำลังซื้อหดตัวแต่กำลังการผลิตล้นตลาด ทำให้เกิดการต่อสู้กันโดยการลดราคาสินค้าเพื่อตัดราคาจนกระทั่งผู้ที่ต้นทางแพงจะพ่ายแพ้ก่อนและเกิดปัญหาขาดกระแสเงินสด จะมีผู้แพ้ผู้ชนะ ผู้แพ้ก็ต้องออกจากอุตสาหกรรม ขณะที่ผู้ชนะก็คิดว่าตัวเองเก่ง จึงยังคงทำธุรกิจแบบเดิม วงจรธุรกิจมีขึ้นมีลงซึ่งจะทำให้ประมาทลืมไปว่าธุรกิจใหญ่เพียงใดก็ล้มได้หากเกิดปัญหา ธุรกิจที่ตั้งมานานเพียงใดก็มีสิทธิล้มได้
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๘)
นาญฺ นิสฺสาย ชีเวยฺย
ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ
๖๘ [๐๒.๓๓] (๒๕/๑๓๔)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เกิดเป็นคนจะต้องมีความรับผิดชอบในการหาเลี้ยงตัวเองให้ได้
- อย่าทำตัวเป็นตัวถ่วง ชีวิตจะต้องไม่หวังที่จะให้ผู้อื่นเลี้ยงดูในยามแก่เฒ่า
- ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ในการยังชีพแต่ละวันไม่คาดหวังจะมีผู้ใดมาเลี้ยงดู
- การอาศัยตัวเองในยามแก่เฒ่า จะต้องรู้จักออมยามที่อยู่ในวัยทำงานและมีรายได้ดี และจะต้องรู้จักบริหารเงินให้มีดอกเบี้ยและ/หรือเงินปันผลเพียงพอเมื่อเข้าสู่วัยชรา
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๙)
อตฺตตฺถปญฺา อสุจี มนุสฺสา
พวกคนสกปรก คิดเอาแต่ประโยชน์ของตัว
๖๙ [๐๒.๓๔] (๒๕/๒๙๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนสกปรกมักจะเป็นคนที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ มักจะเอาเปรียบผู้อื่น
- คนที่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน จะเป็นคนที่มีจิตใจคับแคบ คนประเภทนี้ให้อะไรกับผู้ใดจะต้องมีเจตนาไม่บริสุทธิ์แอบแฝง ให้ระวังคนประเภทนี้ เวลาเอ่ยปากด้วยคำอ่อนหวานจะปนด้วยยาพิษ
- ให้อยู่ห่างคนประเภทเห็นแก่ตัว จะทำให้ชีวิตสดใสยิ่งขึ้น
- การคบคนดีเพียงไม่กี่คน ย่อมดีกว่าการคบคนที่ไม่ดีเป็นร้อยคน
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๗๑)
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ถึงจะมาก
ก็ไม่ควรให้เป็นเหตุทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน
อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา
กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัดแล้ว
พึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตน
๗๑ [๐๒.๓๖] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ก่อนที่จะช่วยคนอื่น ดูแลคนในครอบครัวให้ดีก่อน
- การช่วยเหลือคน จะต้องเริ่มจากคนในครอบครัวก่อน
- การช่วยเหลือผู้อื่น อย่าทำให้คนในครอบครัวได้รับความทุกข์ การช่วยเหลือคนอื่นต้องไม่ทำอะไรเกินกำลัง
- การช่วยเหลือไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสมอไป การให้คำแนะนำอาจจะทำให้ชีวิตผู้ได้รับคำแนะนำดีขึ้น
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๒)
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลาย มีใจนำหน้า
๗๒ [๐๓.๐๑] (๒๕/๑๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ธรรมทั้งหลายมีกายและใจ โดยที่ (จิต)ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว
- สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ทำก็มาจากใจเป็นผู้สั่งการให้ทำ โดยกายเป็นผู้ทำตามคำสั่งของใจ
- ถ้าเป็นคนที่จิตใจดี การกระทำทางกายก็จะดี เพราะจิตใจเป็นผู้บัญชาการ
- ถ้าใจมีความเพียงพอกับสิ่งที่มีอยู่ กายก็จะตอบสนองในเรื่องต่างๆ ของชีวิต เพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ชีวิตจะเป็นอย่างเรียบง่าย
- ในทางตรงกันข้าม ถ้าใจไม่รู้จักพอชีวิตก็จะดิ้นรนอยู่ในโลกธรรมแปด ซึ่งจะทำให้มีแต่ความทุกข์
- ทุกข์ (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
- ทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจริงๆ ก็เกิดขึ้นที่จิตใจของตนเองไม่ได้เกิดจากบุคคลอื่น แต่คนทั้งหลายก็คิดว่าคนอื่นทำให้เราเป็นทุกข์ ทุกข์จริงๆ นั้นเป็นเพราะจิตใจของพวกเราเกิดความคิดก็เลยคิดยึดมั่นถือมั่น
- การที่จิตคิดเรื่องนี้ขึ้นมาแล้วก็ดับไปครั้งหนึ่งเราก็ตายไปชาติหนึ่ง เมื่อเราทุกคนคิดมากๆ ยิ่งคิดหลายอารมณ์เท่าไร เราก็ยิ่งตายมากครั้งเท่านั้น เมื่อจิตคิด เกิดๆ ตายๆ เช่นนี้ก็ทุกข์มาก
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๓)
จิตฺเตน นียติ โลโก
โลกอันจิตย่อมนำไป
๗๓ [๐๓.๐๒] (๑๕/๑๘๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- จิตจะสะสมกรรมดีกรรมชั่ว และเวียนว่ายตายเกิดไปยังภพภูมิต่างๆ
- โลกียภูมิ เป็นภูมิผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดโดยจิตจะพาไปตามกรรมที่สร้างไว้ เดินทางไปยังโลกต่างๆ อันประกอบด้วย อบายภูมิ ๔ / มนุษยภูมิ ๑ / เทวภูมิ ๖ / พรหมโลก ๒๐ แบ่งเป็น รูปพรหม ๑๖ และอรูปพรหม ๔
รวมเรียกว่า สังสารวัฏ ๓๑ ภูมิ
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๕)
สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่
๗๕ [๐๓.๐๔] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- จิตเป็นสิ่งที่ยากแท้หยั่งถึง
- จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
- จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
- จิตเป็นตัวการที่สำคัญของทุกชีวิต
- จิตสะสมความดีและความเลว (ชั่ว) ของสรรพสิ่งข้ามภพข้ามชาติ
- จิตบันทึกทุกการกระทำของทุกชาติ
- จิตเป็นตัวทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด
- จิตเป็นธาตุรู้
- จิตเป็นอมตะ คือจิตไม่เกิดและไม่ตาย
- จิตดั้งเดิมใสบริสุทธิ์
- จิตต้องมัวหมอง เพราะถูกกิเลสครอบงำ
- กิเลสที่ครอบงำจิต คือโลกธรรม ๘ ลาภ/ยศ/สรรเสริญ/สุข
เสื่อมลาภ/เสื่อมยศ/นินทา/ทุกข์
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๖)
วิหญฺติ จิตฺตวสานุวตฺตี
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมเดือดร้อน
๗๖ [๐๓.๐๕] (๒๗/๓๑๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ธรรมชาติของจิตมักจะโน้มเอียงไปในทางไม่ดี เพราะจิตได้สะสมสิ่งที่ไม่ดีมานาน
- สิ่งที่ยั่วยุทำให้จิตใฝ่ตำจะเป็นกิเลสตัวสำคัญคือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งจะนำมาซึ่งความทุกข์
- การที่จะทำให้จิตพ้นจากความทุกข์ จะต้องดับเสียซึ่งกิเลสหรือดับตัณหา ดับอุปาทาน ดับภพ ดับชาติ ชรามรณะดับ ทุกข์ดับ
- ทางปฏิบัติสายกลางเพื่อความดับทุกข์คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๘)
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
๗๘ [๐๓.๐๗] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- จิตที่ผ่านการฝึกด้านสมาธิ จะทำให้มีความสุขเพียงชั่วคราว (ขณะนั่งอยู่ในสมาธิ)
- จิตที่ผ่านการฝึกชั้นวิปัสสนา จะทำให้พ้นจากความทุกข์อย่างถาวร
- การฝึกจิตเป็นประจำจะเป็นสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม สิ่งที่ได้รับก็คือความสงบ ความสงบนำความสุขมาให้
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๗๙)
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
๗๙ [๐๓.๐๘] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
- ปัญญาเป็นขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา
- ปัญญาและจิตเป็นสิ่งคูกัน กล่าวคือ คนที่มีปัญญาดีจะต้องมีจิตใจที่ดีงามด้วย
- เมื่อมีจิตใจดี ปัญญาก็จะคิดแต่เรื่องดี ซึ่งจะทำให้ความสำเร็จตามมา
- สังขาร (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโปสังขารการปรุงแต่งของจิตนี้เป็นสิ่งที่จัญไรที่สุด ทำให้คนเกิดทุกข์และวุ่นวาย เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่มีสิ้นสุด
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๐)
สจิตฺตมนุรกฺขถ
จงตามรักษาจิตของตน
๘๐ [๐๓.๐๙] (๒๕/๓๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราจะต้องมีความเข้าใจจิตใจของตนเองก่อน จึงจะทำให้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น
- คนเราจะดีหรือชั่ว ขึ้นอยู่กับจิตของคนนั้น
- จิตเป็นอย่างไร พฤติกรรมของคนๆ นั้นก็จะเป็นเช่นนั้น
- จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
- จิตคิดดี กายก็ทำดี
- จิตคิดชั่ว กายก็ทำชั่ว
- จิตสงบจึงเห็นทุกข์ (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป) จิตของบุคคลที่ไม่สงบระงับเป็นสมาธิ จิตวุ่นวายแส่ส่ายไปตามสัญญาอารมณ์ภายนอก ให้กิเลสหลอกลวงไปอยู่ ไม่รู้จักจบจักสิ้น จิตใจไม่หนักแน่นมั่นคง ไม่อยู่เป็นสมาธิย่อมมีความทุกข์ ถ้หากเราทำจิตใจของเราให้สงบระงับเป็นสมาธิ เราจึงจะสามารถมองเห็นทุกข์ได้ชัด มองเห็นจิตใจของตนเองสั่นสะเทือนและมีความทุกข์ได้ชัด ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นเห็นทุกข์จริง จิตที่เป็นสมาธิจะไม่รั่วไหลไปกับสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๑)
จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง
๘๑ [๐๓.๑๐] (๑๒/๙๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
ทุคติ ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลำบาก นรก
คติสอนใจ
- เมื่อจิตใจมีความเศร้าหมองจะต้องไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ ความลำบาก คือนรก
- สาเหตุที่ทำให้จิตมีความเศร้าหมอง มาจากจิตใจได้รับผลกระทบจากการทำบาป หรือถูกครอบงำด้วยกิเลส
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๒)
จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้
๘๒ [๐๓.๑๑] (๑๒/๙๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
สุคติภูมิ หมายถึง ดินแดนอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกผู้ทำกรรมดี ได้แก่ มนุษยภูมิ เทวภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
คติสอนใจ
- เมื่อจิตใจไม่เศร้าหมองหรือจิตใจมีความเบิกบานหลังความตาย ภพภูมิจะไปเกิดใหม่จะเป็นดินแดนอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกผู้ทำกรรมดี อันได้แก่ มนุษยภูมิ เทวภูมิ รูปพรหม อรูปพรหม
- ในการที่จะไปสู่สุคติหลังความตายหรือการเกิดใหม่ จะเป็นภพภูมิใดขึ้นอยู่กรรมที่ทำไว้
- ธรรมปฏิบัติที่จะนำทางไปสู่สุคติ คือ ทาน ศีล ภาวนา
- การทำทาน จะไปเกิดในมนุษยภูมิ เทวภูมิ
- การรักษาศีล จะไปเกิดในเทวภูมิ
- การภาวนาถึงขั้นรูปฌาน จะเกิดใหม่เป็นรูปพรหม
- การภาวนาถึงขั้นอรูปฌาน จะเกิดใหม่เป็นอรูปพรหม
อมฤตพจนา
๓. จิตใจ (๘๓)
เย จิตฺตํ สญฺเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร
๘๓ [๐๓.๑๒] (๒๕/๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ผู้ปฏิบัติทางจิตใจที่สำคัญคือ สมาธิภาวนาจะทำให้จิตสงบ จะเกิดในชั้นรูปพรหม หรืออรูปพรหม จิตยังมีการเวียนว่ายตายเกิด
- สำหรับผู้ปฏิบัติด้านวิปัสสนาภาวนา เป็นการปฏิบัติทางจิตใจให้ใจบริสุทธิ์ หมดแล้วซึ่งกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) เส้นทางที่จะไปหลังความตายคือพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ เป้าหมายสุดท้ายของวิปัสสนาภาวนาคือ การพิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ขันธ์ ๕ มาจากธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อตายธาตุทั้ง ๔ ก็กลับสู่สภาพเดิม คือธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนจิตเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ ๕ เกิดความเบื่อหน่ายที่จะเกิดใหม่ เพราะตราบใดที่มีขันธ์ ๕ ก็ยังมีความทุกข์ ดังนั้น จิตจึงสลัดคืนอุปทานขันธ์ ๕ เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน
- ความว่างสุดท้าย (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
- เราต้องการความว่างสุดท้าย ว่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ต้องเป็นผู้มีสติปัญญาว่องไวเฉลียวฉลาดสอนจิตของตนเองให้รู้โทษของสิ่งเหล่านี้ จึงจะปล่อยวางได้
- บุคคลใดที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ห้า จิตของบุคคลนั้นแลจะหลุดพ้นไปเข้าสู่เมืองนิพพานได้
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๘๖)
อวิชฺชา ปรมํ มลํ
ความไม่รู้ เป็นมลทินที่สุดร้าย
๘๖ [๐๔.๐๑] (๒๓/๑๐๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- อวิชชา คือความไม่รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง อยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความทุกข์ และเป็นต้นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด ตามหลักปฏิจจสมุปบาท
- อวิชชา ไม่รู้เกี่ยวกับพระอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
- อวิชชา ไม่รู้เกี่ยวกับกฏปฏิจจสมุปบาท
- อวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๘๗)
วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺา
บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด
๘๗ [๐๔.๐๒] (๑๕/๒๐๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- บรรดาสิ่งที่โรยราร่างกาย อวิชชาหมดไปได้เป็นดีที่สุด
- วิชชา คือความรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เช่น ทุกสิ่งอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
- วิชชา เป็นสิ่งที่ดับอวิชชา ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการดับวงจรปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ซึ่งเป็นการดับวงจรที่สร้างความทุกข์ และดับวงจรการเวียนว่ายตายเกิด
คติสอนใจ
- ถ้าไม่มีการศึกษาและขาดระเบียบวินัย คนทั้งหลายก็จะทำการต่างๆ ตามใจตนเอง ความวุ่นวายก็จะตามมา
- การศึกษาจะเป็นเครื่องนำทางให้คนมีจิตสำนึกที่ดี
- การศึกษาทำให้เกิดปัญญา
- ปัญญาทำให้สังคมเป็นระเบียบ
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๓)
ตสฺส สํหีรปญฺสฺส วิวโร ชายเต มหา
เมื่ออ่อนปัญญา ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์
๙๓ [๐๔.๐๘] (๒๗/๒๑๔๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เมื่ออ่อนปัญญาเวลาเกิดปัญหาจะตื่นตระหนกและขาดความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหา
- คนอ่อนปัญญา ขยันแต่งานไม่ได้คุณภาพ คนประเภทนี้ยิ่งทำมากยิ่งสร้างความเสียหายมาก
- ทุกคนมีความสามารถเฉพาะตัว ดังนั้นควรที่จะจัดงานให้เหมาะกับความสามารถ
- สิ่งที่ต้องระวังก็คือ คนบางประเภทต้องกำหนดเส้นทางการดำเนินชีวิตไว้เลย อย่าปล่อยให้คิดเองอาจจะสร้างปัญหา
- คนบางคนเราให้อยู่เฉยๆ แล้วเลี้ยงดู อาจจะเสียหายน้อยกว่ามอบหมายให้ทำงาน เพราะความเสียหายจากงานที่ทำมีมากกว่าผลที่ได้รับ
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๔)
กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส
คนไม่มีศิลปวิทยา เป็นอยู่ยาก
๙๔ [๐๔.๐๙] (๒๗/๑๖๕๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนที่ทำงานโดยไม่ยอมเรียนรู้ให้จริงจัง มักจะสร้างปัญหาให้กับหมู่คณะ
- คนที่ขาดไหวพริบ ยิ่งทำยิ่งสร้างปัญหา
- คนที่ไม่มีสมาธิในการทำงาน มักจะสร้างปัญหากับงาน
- คนที่ไม่มีศิลปวิทยา จะเป็นที่รังเกียจของผู้ร่วมงาน
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๖)
วิรุฬฺเหถ เมธาวี เขตฺเต พีชํว วุฏฺิยา
คนมีปัญญาย่อมงอกงาม ดังพืชในนางอกงามด้วยน้ำฝน
๙๖ [๐๔.๑๑] (๒๗/๒๑๔๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนมีปัญญาจะสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
- คนมีปัญญาจะไม่หวั่นไหวกับสถานการณ์คับขัน
- คนมีปัญญาจะหาทางออกได้อย่างไม่หวาดกลัว
- คนมีปัญญาจะหาทางแก้ไขไว้หลายทาง และมีการกำหนดแนวทางไว้หลายรูปแบบ
- คนมีปัญญาย่อมไม่ประมาทในการทำงานในเรื่องต่างๆ
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๗)
ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก
พึงเป็นนักสอบถาม ชอบค้นหาความรู้
๙๗ [๐๔.๑๒] (๒๘/๙๔๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราใฝ่เรียนรู้ชอบค้นคว้า ชอบซักถามจากผู้รู้
- ความรู้ในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก และเทคโนโลยีทำให้หาความรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
- ในยุคปัจจุบันความรู้สามารถหาได้ไม่ยาก ถ้าเรียนรู้วิธีการตั้งคำถามให้เป็น เช่น ต้องการรู้อะไรก็ถาม Google
- ถามให้เป็นแล้วจะพบกับความเร็วอย่างเหลือเชื่อในคำตอบที่ได้รับ
- เลือกคำตอบให้เป็น เพราะคำตอบอาจจะมีมากมายขึ้นอยู่กับสถานการณ์
คติสอนใจ
- ควรจะศึกษาวิชาที่สามารถนำมาทำมาหากินได้
- วิชาที่ชอบอาจจะทำมาหากินได้ แต่ทำมาหาไม่พอกิน ควรเลือกเป็นวิชารองลงไป
- เสียเวลาเรียนเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เลือกเรียนสาขาที่ทำรายได้ดีเพื่อความมั่นคงในชีวิต
- วิชาที่ชอบแต่ไม่สามารถช่วยให้มีรายได้เพียงพอ ให้เลือกเป็นวิชารอง
- อย่าหยุดการเรียนรู้ ถึงแม้จะจบหลักสูตรแล้วก็ตาม เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอาจทำให้สิ่งที่เรียนมาล้าสมัย
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๙)
สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ
ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆ ให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น
๙๙ [๐๔.๑๔] (๒๗/๑๐๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๙)
สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ
ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆ ให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น
๙๙ [๐๔.๑๔] (๒๗/๑๐๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ทุกวิชาความรู้มีประโยชน์ทั้งนั้น เพียงแต่เป็นประโยชน์แตกต่างกัน
- ควรเลือกวิชาที่ให้ประโยชน์ต่อการทำมาหากินหรือยังชีพ เมื่อเลี้ยงตัวเองได้แล้วจะเรียนวิชาอื่นเป็นประโยชน์การช่วยผู้อื่นก็ได้ ถึงแม้จะไม่ได้เงิน เช่นทำงานด้านการกุศล
- การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา และรูปแบบของการศึกษาทำให้การเข้าถึงเรื่องต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ปัจจุบันและอนาคตเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เรียนรู้จากมนุษย์ในทุกด้าน ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ AI ทำงานแทนมนุษย์ในด้านต่างๆ เกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพใด
- ดังนั้นมนุษย์จึงหยุดการเรียนรู้ไม่ได้ มิฉะนั้นมนุษย์จะตกเป็นลูกน้องของ AI
- สิ่งเดียวที่ AI ยังทำไม่ได้คือ การทำงานของจิต
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๐)
สพฺพํ สุตมธีเยถ หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิมํ
สพฺพสฺส อตฺถํ ชาเนยฺย น จ สพฺพํ ปโยชเย
โหติ ตาทิสโก กาโล ยตฺถ อตฺถาวหํ สุตํ
อันความรู้ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ สูง หรือปานกลาง
ควรรู้ความหมาย เข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง
วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นนำมาซึ่งประโยชน์
๑๐๐ [๐๔.๑๕] (๒๗/๘๑๗)
คติสอนใจ
- การเรียนรู้การทำงานหรือผลิตสินค้า ตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต ควรเรียนงานทั้งหมด ให้สามารถรู้งานหรือกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ
- ในยุคปัจจุบันการเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ เข้าได้ง่ายขึ้น เช่น AI จะช่วยทำให้มนุษย์ทำงานฉลาดขึ้น แต่มนุษย์จะต้องเข้าใจในการทำงานของ AI เพื่อให้การสั่งการได้ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น
- การศึกษาเกิดขึ้นใหม่ทุกวัน การศึกษาไม่ได้จบแค่การเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
คติสอนใจ
- นักปราชญ์ไม่ศึกษาเพราะหวังความร่ำรวย
- ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามแต่ หากแต่นักปราชญ์จะหยุดการศึกษาสิ่งต่างๆ รอบตัวไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใด หรือเป็นผู้นำองค์กรใด ประเทศใด เพราะจะส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทั้งในระดับตัวคน องค์กร หรือประเทศ
- ผู้ที่มีความเกียจคร้านในการศึกษา มักจะประสบปัญหาด้านต่างๆ ในชีวิต
อมฤตพจนา๔. การศึกษา (๑๐๒)กิตฺติญฺจ ปปฺโปติ อธิจฺจ เวเทสนฺตึ ปุเณติ จรเณน ทนฺโตเล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติแต่ฝึกอบรมด้วยจริยาต่างหาก จึงจะสบสันติ๑๐๒ [๐๔.๑๗] (๒๗/๘๔๒)∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความสำเร็จในการเรียนนำไปสู่เส้นทาง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าจะนำมาซึ่งสันติสุขของสังคมหรือประเทศ
- โลกจะประสบกับสันติสุข ก็ต่อเมื่อผู้นำของประเทศมีจิตสำนึกที่ต้องการเห็นความสงบสุข
- ผู้นำจะต้องรักษาศีล ๕ โดยเฉพาะศีลข้อ ๒ คือละเว้นจากการอยากได้ของผู้อื่น
- การเล่าเรียนมากอาจจะทำให้สำคัญผิดโดยคิดว่าอยู่เหนือผู้อื่น ก็เกิดความโลภ (โลภะ) อยากได้ของผู้อื่น เป็นเหตุทำให้เกิดการรุกรานทำสงคราม กลับกลายเป็นว่าความไม่รู้จักพอเพียงทำให้โลกสุ่มเสี่ยงกับการเกิดสงคราม
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๓)
หีนชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺาตา ธิติมา นโร
อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ
คนเรา ถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียร
มีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ก็รุ่งเรืองได้
เหมือนอยู่ในคืนมืด ก็สว่างไสว
๑๐๓ [๐๔.๑๘] (๒๗/๒๑๔๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราถึงแม้จะเกิดมายากจน แต่หากมีความขยันหมั่นเพียรในการเรียน (การศึกษา) ก็จะทำให้มีปัญญาเพิ่มขึ้น
- มีปัญญาและมีความเพียร และใช้หลักอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็สามารถทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน (การศึกษา) และการทำงาน
- ตรงกันข้าม คนที่เกิดจากครอบครัวร่ำรวยแต่ไม่ใส่ใจในการเรียนและการทำงาน ขาดความพยายามในการเรียนและการทำงาน ชีวิตอาจจะพบกับเรื่องน่าเศร้าคือ การศึกษาต่ำ การทำงานล้มเหลว ฐานะการเงินหมดตัวกลายเป็นคนจน สร้างใหม่ไม่เป็น
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๔)
สุสฺสูสา สุตวฑฺฒนี สุตํ ปญฺาย วฑฺฒนํ
ปญฺาย อตฺถํ ชานาติ าโต อตฺโถ สุขาวโห
ความใฝ่เรียนสดับ เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
ความรู้จากการเรียนสดับนั้น เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
ด้วยปัญญา ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์
ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้๑๐๔ [๐๔.๑๙] (๒๖/๒๖๘)
คติสอนใจ
- คนที่มีความใฝ่เรียน และเรียนรู้ให้จริง ทำให้มีปัญญาแก่กล้า
- เมื่อมีปัญญาก็สามารถหาช่องทางในการยกระดับชีวิตตัวเอง โดยการจบการศึกษาชั้นสูง เป็นผลทำให้ได้งานที่ดี รายได้ดี
- รู้จักบริหารการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ดี
- ความสำเร็จด้านการลงทุนทำให้ฐานะเปลี่ยนแปลง
- เงินลงทุนประสบความสำเร็จ ทำให้ทุกคนที่แวดล้อมและสังคมมีความสุข
อมฤตพจนา๔. การศึกษา (๑๐๕)
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเสคนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติเป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา๑๐๕ [๐๔.๒๐] (๑๑/๗๒)
คติสอนใจ
- คนที่มีความสมบูรณ์ด้วยความรู้ (เก่งทางด้านการเรียน) และมีความประพฤติดี เป็นที่รักของผู้ที่พบเห็น เรียกว่า เป็นคนเก่งและดี ประสบความสำเร็จทั้งด้านการเรียนและการทำงาน มีพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
- คนเก่งและดีย่อมเป็นที่เคารพของผู้ที่พบเห็น
- สรุป การศึกษาเป็นประตูสำคัญของการยกระดับชีวิต เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการยกระดับแทบจะทุกเรื่อง
อมฤตพจนา
๕. ปัญญา (๑๒๖)
ปญฺาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ
แต่เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้
๑๒๖ [๐๕.๒๑] (๒๖/๓๗๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- แต่เมื่อขาดปัญญาถึงจะมีทรัพย์ก็อยู่ไม่ได้ เพราะมองไม่ออกว่าจะหามาได้อย่างไร
- คนขาดปัญญาไม่รู้วิธีการรักษาทรัพย์และไม่รู้วิธีการหาทรัพย์
- การมีทรัพย์สินมากมายแต่ถ้าไม่รู้จักการบริหารทรัพย์ดังกล่าวเพราะขาดปัญญา ผลที่ตามมาทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หากขาดปัญญาก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ถูกวิธี อาจจะทำให้สูญเสียทรัพย์ที่มีอยู่ไปทั้งหมด
อมฤตพจนา
๕. ปัญญา (๑๒๗)
นตฺถิ ปญฺา อฌายิโน
ปัญญาไม่มี แก่ผู้ไม่พินิจ
๑๒๗ [๐๕.๒๒] (๒๕/๓๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
พินิจ = พินิจพิเคราะห์ พิเคราะห์ พินิจพิจารณา
= เพ่งดูด้วยความตั้งใจ และเพ่งตรวจดูด้วยความถี่ถ้วน
คติสอนใจ
- ผู้ที่ไม่มีปัญญาทำอะไรก็จะขาดการพินิจพิเคราะห์ ไม่พิจารณาถึงผลกระทบที่ตามมาในอนาคต
- คนที่ไม่มีปัญญา มักจะมองอะไรแบบง่ายๆ แยกไม่ออกระหว่างความจริงกับความเท็จ
- การที่จะทำอะไรให้ผลงานออกมาดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพินิจพิเคราะห์ เมื่อเปรียบเทียบกับการพินิจด้วยความตั้งใจเป็นสิ่งที่ผู้มีปัญญาจะต้องมี ในทางตรงกันข้ามผู้ไม่มีปัญญาจะไม่พินิจพิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังอย่างถี่ถ้วน
อมฤตพจนา๕. ปัญญา (๑๒๗)นตฺถิ ปญฺา อฌายิโนปัญญาไม่มี แก่ผู้ไม่พินิจ๑๒๗ [๐๕.๒๒] (๒๕/๓๕)∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻ พินิจ = พินิจพิเคราะห์ พิเคราะห์ พินิจพิจารณา = เพ่งดูด้วยความตั้งใจ และเพ่งตรวจดูด้วยความถี่ถ้วนคติสอนใจ
- ผู้ที่ไม่มีปัญญาทำอะไรก็จะขาดการพินิจพิเคราะห์ ไม่พิจารณาถึงผลกระทบที่ตามมาในอนาคต
- คนที่ไม่มีปัญญา มักจะมองอะไรแบบง่ายๆ แยกไม่ออกระหว่างความจริงกับความเท็จ
- การที่จะทำอะไรให้ผลงานออกมาดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพินิจพิเคราะห์ เมื่อเปรียบเทียบกับการพินิจด้วยความตั้งใจเป็นสิ่งที่ผู้มีปัญญาจะต้องมี ในทางตรงกันข้ามผู้ไม่มีปัญญาจะไม่พินิจพิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังอย่างถี่ถ้วน
อมฤตพจนา
๕. ปัญญา (๑๒๘)
นตฺถิ ฌานํ อปญฺสฺส
ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา
๑๒๘ [๐๕.๒๓] (๒๕/๓๕)
คติสอนใจ
- ความระมัดระวังก่อนกระทำการ ไม่มีแก่คนที่ไม่มีปัญญา
- คนที่ไม่มีปัญญาขาดการพินิจพิเคราะห์ก่อนทำงาน
- ทำงานเสร็จแล้วก็ยังประเมินไม่ได้ว่าตนเองทำถูกต้องหรือไม่
- คนไร้ปัญญามองข้ามความสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ และไม่ได้ติดตามโดยใกล้ชิด จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
- เพราะความที่ไร้ปัญญา เป็นเหตุให้ไม่สามารถที่จะกู้สถานการณ์ให้เหมือนดั่งเดิม และเดินหน้าต่อไปในการทำธุรกิจหรือการงาน
อมฤตพจนา
๕. ปัญญา (๑๒๙)โยนิโส วิจิเน ธมฺมํพึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ๑๒๙ [๐๕.๒๔] (๒๓/๓)
คติสอนใจ
- คนที่มีปัญญา ก่อนจะลงมือทำงานจะทำการสำรวจที่มาที่ไปของเรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้เห็นภาพทั้งหมด
- คนมีปัญญาจะจับประเด็นสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดออกมาร้อยเรียงเพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องราวทั้งหมด
- การทำอะไรก็ตามควรจะทำวิจัยที่สำคัญสุดวิเคราะห์ให้ถึงต้นตอของเรื่องราวทั้งหมด
อมฤตพจนา
๕. ปัญญา (๑๓๐)ปญฺายตฺถํ วิปสฺสติ จะมองเห็นอรรถชัดแจ้งด้วยปัญญา๑๓๐ [๐๕.๒๕] (๒๓/๓)
คติสอนใจ
- คนมีปัญญาจะเห็นเนื้อความ (อรรถ) ได้อย่างชัดแจ้งว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร
- การที่มีปัญญามองเห็นเนื้อความอย่างทะลุปรุโปร่ง ทำให้การบริหารงานทำได้ถูกต้อง และการแก้ไขปัญหาได้แม่นยำยิ่งขึ้น
- การที่มองเห็นสถานการณ์ได้ชัดเจนก็เพราะมีปัญญาๆ จะช่วยทำให้มองเห็นโอกาสในการกู้วิกฤตขององค์กรให้กลับมาเข้มแข็งเหมือนเดิม
อมฤตพจนา๕. ปัญญา (๑๓๑)ปญฺ นปฺปมชฺเชยฺย
ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา๑๓๑ [๐๕.๒๖] (๑๔/๖๘๓)
คติสอนใจ
- ควรใช้ปัญญาในการทำงานทุกเรื่อง ไม่ควรใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์
- ข้อเตือนใจในการทำงานก็คือควรดำรงตนให้อยู่ในศีล พัฒนาสมาธิและใช้ปัญญาในการประกอบกิจทุกเรื่อง
อมฤตพจนา๕. ปัญญา (๑๓๒)
ปญฺาย ปริสุชฺฌติ คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา๑๓๒ [๐๕.๒๗] (๒๕/๓๑๑)
คติสอนใจ
- ปัญญาทำให้คนบริสุทธิ์
- คนที่มีปัญญาจะทำอะไรก็จะทำด้วยความระมัดระวัง
- คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา เพราะก่อนจะทำอะไรได้ใช้ปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรองก่อนลงมือทำ
- ปัญญาเห็นไตรลักษณ์ (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
- ปัญญาที่รู้จริงนั้นจะต้องรู้ให้จริงถึงความเกิดขึ้นและความดับไป
- ถ้าเรามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมองซ้ายและขวาเป็นธรรมะ มองเห็นเป็นไตรลักษณ์อยู่ประจำ มีไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่รอบด้านไปหมด จิตใจก็ย่อมนิ่งสงบ
- ถ้าเรารู้จักไตรลักษณ์แล้ว เราจะละความยึดมั่นถือมั่น เราจะสบายเป็นคนฉลาดมองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์หมด ชีวิตนี้ราบรื่นเลยทีเดียว
- วิราคะ (หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
ค่อยๆ ศึกษาไปก็จะเข้าใจในทุกข์เรื่อยๆ ก็รวบรวมลงที่ปัญญา ปลงวาง เปรียบเหมือนเราคือตระกร้าใส่ผลไม้ต่างๆ แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น หิ้วหนักอยู่มันหนักก็เอาออกเก็บออกทิ้งไปก็เบาลงเรื่อยๆ เหมือนละกิเลส บัดนี้ทิ้งหมดแล้วเหลือแต่ตระกร้าเปล่า ตระกร้ายังติดมืออยู่ก็ทิ้งตระกร้าด้วยเลย เดินไปแต่ตัวเปล่าก็เลยสบาย เบาสบาย จิตใจก็เหมือนกัน ละกิเลสได้หมดจะเบาแค่ไหน พระอรหันต์สบายทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เบาสบายจิตว่างไม่มีทุกข์
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๔)ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺาตา วินฺทเต ธนํ
ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้
๑๓๔ [๐๖.๐๑] (๑๕/๘๔๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ในการเลี้ยงชีพและสร้างตัว จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ : ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ
- ในการเลี้ยงชีพ จะต้องไม่เกี่ยงงาน ต้องทำงานได้ทุกอย่างที่สุจริต ให้มีงานทำก่อน คือมีงานเลี้ยงชีพได้แล้วจึงค่อยหางานใหม่ที่ตรงกับความชำนาญ เพื่อที่จะมีรายได้สูงขึ้น
- จะทำงานอะไรก็ตามจะต้องรู้ว่าเมื่อใดควรทำอะไรและอย่างไร
- เมื่อหาเงินได้แล้วจะต้องประหยัดจึงจะสร้างตัวได้
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๕)
สมุฏฺาเปติ อตฺตานํ อณุ อคฺคึว สนฺธมํ
ตั้งตัวให้ได้ เหมือนก่อไฟจากกองน้อย
๑๓๕ [๐๖.๐๒] (๒๗/๔)
คติสอนใจ
- การเลี้ยงชีพเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะต้องเริ่มต้นให้ได้ เพราะฉะนั้นจะต้องไม่เกี่ยงงาน
- เมื่อมีรายได้แล้วต้องรู้จักประหยัด จึงจะสร้างตัวได้
- หาได้เท่าไร ไม่สำคัญเท่า เหลือเท่าไร
- ต้องรู้จักบริหารเงินที่เก็บสะสมไว้
- ต้องเรียนรู้การลงทุนที่ถูกวิธี เพราะผลตอบแทนที่ได้รับระหว่างการรู้จักบริหารการลงทุนและการไม่ใส่ใจในการบริหารการลงทุน อาจจะทำให้ฐานะทางการเงินแตกต่างกันมาก
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๖)
โภเค สํหรมานสฺส ภมรสฺส อิรียโต
เก็บรวบรวมทรัพย์สิน เหมือนผึ้งเที่ยวรวมน้ำหวานสร้างรัง
๑๓๖ [๐๖.๐๓] (๑๑/๑๙๗)
คติสอนใจ
- เมื่อหาเงินได้แล้วก็ต้องรู้จักการมีวินัยในการใช้เงินและการเก็บเงินให้ถูกวิธี
- การหาเงินได้เท่าไหร่สำคัญน้อยกว่าเงินเก็บเหลือเท่าไหร่ เพราะเงินที่เก็บได้มากเท่าไหร่ก็จะทำให้มีเงินนำมาบริหารได้มากยิ่งขึ้น
- รู้จักเก็บเงินเพื่ออนาคต มีความสำคัญมาก
- ในวัยทำงานเพื่อหาเงิน เราจะเก็บเงินไว้ในในอนาคต
- ในวัยเกษียณเราให้เงินทำงานเพื่อเลี้ยงเรา
- เงินจะทำงาน (ได้เงินปันผล / ดอกเบี้ย) เลี้ยงเราได้เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารการลงทุน
- คนที่สร้างตัวได้เร็วและมีความสุขช่วงสุดท้ายของชีวิต จะเป็นผู้บริหารการลงทุนได้ดี
อมฤตพจนา
๖. เลี้ยงชีพ-สร้างตัว (๑๓๗)
โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ
ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก๑๓๗ [๐๖.๐๔] (๑๑/๑๙๗)
คติสอนใจ
- การบริหารการลงทุนที่ถูกวิธีทำให้เงินพอกพูนขึ้นเป็นอย่างมาก
- ความมหัศจรรย์ของตัวเลขทบต้นมีความสำคัญในการทำความเข้าใจ เพราะจะทำให้เลือกการลงทุนได้ถูกต้อง
- ท่านเก็บเงินได้ ๑๐ ล้านบาท ได้นำไปลงทุน ๒๐ ปี ได้รับผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับลักษณะการลงทุน ดังนี้