ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวารกระบวนการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด (ดับความทุกข์) : โลกุตตรภูมิ

พระพุทธเจ้า
ปฏิจจสมุปบาท กระบวนการเวียนว่ายตายเกิดและการดับทุกข์

ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวารกระบวนการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด (ดับความทุกข์) : โลกุตตรภูมิ

ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวารกระบวนการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด (ดับความทุกข์) : โลกุตตรภูมิ

ภาพวาดปฏิจจสมุปบาท โดย พระครูใบฎีกาอำนาจ โอภาโส (วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว จ.เพชรบูรณ์)

ปฏิจจสมุปบาทสายดับ 

เพราะเห็นอายตนเอง(๖)เป็นประการอื่นจากที่ยึดไว้

“ย่อมเห็นซึ่งจักษุโดยประการอื่น; ย่อมเห็นรูปทั้งหลายโดยประการอื่น; ย่อมเห็นซึ่งจักขุวิญญาณโดยประการอื่น; ย่อมเห็นซึ่งจักขุสัมผัสโดยประการอื่น; ย่อมเห็นซึ่งเวทนาอันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยประการอื่น”. (ในกรณีแห่งโสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี มโนก็ดี และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน นั้น ๆ ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งการเห็นจักษุและ ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยจักษุ).

ดูก่อนภิกษุ !  เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อวิชชาจึงจะละไปวิชชาจึงจะเกิดขึ้น.

๑ อวิชชาดับ เห็นอายตนเอง(๖)เป็นอื่นไม่ใช่อย่างที่ยึดไว้

        ๒.สังขารจึงดับ ไม่มั่นว่าเป็นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกาย ความคิดทางใจ(๖)ก็ไม่มีอุปกรณ์ในการปรุงดีปรุงร้าย

        ภิกษุ ท. !  เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ;  คือ ภิกษุผู้ขีณาสพ พึงปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร, หรือว่าพึงปรุงแต่ง อปุญญาภิสังขาร,  หรือว่า พึงปรุงแต่ง อเนญชาภิสังขาร,  บ้างหรือหนอ ? “ข้อนั้นหามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๓.เมื่อสังขารทั้งหลาย ไม่มี, เพราะความดับแห่งสังขาร โดยประการทั้งปวง,  วิญญาณ พึงปรากฎ บ้างหรือหนอ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๔.เมื่อวิญญาณ ไม่มี, เพราะความดับแห่งวิญญาณ โดยประการทั้งปวง,  นามรูป พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๕.เมื่อนามรูป ไม่มี,  เพราะความดับแห่งนามรูป โดยประการทั้งปวง,  สฬายตนะ  พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๖.เมื่อสฬายตนะ ไม่มี,  เพราะความดับแห่งสฬายตนะ โดยประการทั้งปวง,  ผัสสะ  พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๗.เมื่อผัสสะ ไม่มี,  เพราะความดับแห่งผัสสะ  โดยประการทั้งปวง,  เวทนา พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๘.เมื่อเวทนา ไม่มี, เพราะความดับแห่งเวทนา  โดยประการทั้งปวง,  ตัณหา  พึงปรากฏ  บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๙.เมื่อตัณหา ไม่มี,  เพราะความดับแห่งตัณหา  โดยประการทั้งปวง,  อุปาทาน  พึงปรากฏ  บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๑๐.เมื่ออุปาทาน ไม่มี, เพราะความดับแห่งอุปาทาน โดยประการทั้งปวง,  ภพ  พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๑๑.เมื่อภพ ไม่มี,  เพราะความดับแห่งภพ  โดยประการทั้งปวง,  ชาติ  พึงปรากฏ  บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ๑๒.เมื่อชาติ ไม่มี,  เพราะความดับแห่งชาติ  โดยประการทั้งปวง.  ชรามรณะ  พึงปรากฏ  บ้างหรือหนอ ?  “ข้อนั้น หามิได้  พระเจ้าข้า !”

        ภิกษุ ท. !  ถูกแล้ว ถูกแล้ว.  ภิกษุ ท. !  เธอทั้งหลาย จงทำความสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด.  ภิกษุ ท. !  เธอทั้งหลายจงปลงซึ่งความเชื่อ ในข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ;  จงเป็นผู้หมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด ;  นั่นแหละที่สุดแห่งทุกข์ละ,  ดังนี้  แล.

(ผู้ปฏิบัติ:- โปรดสังเกตอายตนะ(๖)มีอยู่ตลอดเส้นทางปฏิจจสมุปบาท ทั้งสายเกิด และสายดับ จึงจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวัน)

– นิทาน.สํ. ๑๖/๙๙-๑๐๑/๑๙๒-๑๙๕.

อวิชชาดับ : อริยมรรคมีองค์ ๘ (ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มา ถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแส แห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง

สัง.นิ. ๑๖/๙๐/๔๔

อธิบายเพิ่มเติม

ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย … แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ม.มู ๑๒/๑๒๘/๗๑

สังขารดับ : เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับสังขาร 

สัง.นิ. ๑๖/๘๙/๔๓

ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี วาจาซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี เขต [ความจงใจเป็นเหตุงอกงาม] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นจึงไม่มี วัตถุ [ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี อายตนะ [ความจงใจอัน

เป็นปัจจัย] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรืออธิกรณ์ [ความจงใจอันเป็นเหตุ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี 

สัง.นิ. ๑๖/๘๔/๔๑

วิญญาณดับ : เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับวิญญาณ

สัง.นิ. ๑๖/๘๙/๔๓

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติม

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณโทษแห่งวิญญาณ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว หลุดพ้นไป เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหลุดพ้นดีแล้ว … เป็นอันเสร็จกิจแล้ว … ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก

สัง.ข. ๑๗/๑๒๓/๖๓

นามรูปดับ : เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูปและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ …มาสู่พระสัทธรรมนี้ 

ม.มู ๑๒/๑๒๕/๖๙

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่อย่างนั้น ที่นั้นบุรุษเอาจอบและภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงทอนต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า ครั้นผ่าแล้วเจียกให้เป็นชิ้นๆ ครั้นเจียกให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ 

สัง.นิ. ๑๖/๒๑๙/๑๐๐

สฬายตนะดับ : เพราะนามรูปดับ สฬายตะจึงดับ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑

พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับสฬายตนะ 

สัง.นิ. ๑๖/๘๙/๔๓

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติม

เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับแห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ …มาสู่พระสัทธรรมนี้

ม.มู ๑๒/๑๒๔/๖๙

ผัสสะดับ : เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

ความดับผัสสะ ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ … ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ

ม.มู ๑๒/๑๒๓/๖๘-๖๙

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติม

เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ … มาสู่พระสัทธรรมนี้.

ม.มู. ๑๒/๑๒๓/๖๘-๖๙

เวทนาดับ : เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา สัง.นิ. ๑๖/๒๙๒/๑๓๘เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับสัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติมความดับเวทนาย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ … ความตั้งใจชอบชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย … แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ … มาสู่พระสัทธรรมนี้ม.มู ๑๒/๑๒๒/๖๘

ตัณหาดับ : เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑

พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับตัณหา

สัง.นิ. ๑๖/๘๙/๔๓

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติม

ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็นเหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ … ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา 

ม.มู ๑๒/๑๒๑/๖๗-๖๘

อุปาทานดับ : เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับอุปาทานสัง.นิ. ๑๖/๘๙/๔๓เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับสัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติมดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษไม่ใส่หญ้าแห้ง ไม่ใส่โคมัยแห้ง และไม่ใส่ไม้แห่งในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะ ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น ไม่มีอาหาร พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯสัง.นิ. ๑๖/๑๙๙/๙๔

ภพดับ : เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑

พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับภพ 

สัง.นิ. ๑๖/๘๙/๔๓

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติม

ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิดความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ …ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ

ม.มู ๑๒/๑๑๙/๖๗

ชาติดับ : เพราะภพดับ ชาติจึงดับอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชาติสัง.นิ. ๑๖/๘๙/๔๓เพราะภพดับ ชาติจึงดับสัง.นิ. ๑๖/๓/๒

อธิบายเพิ่มเติมความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ … ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย … แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ … มาสู่พระสัทธรรมนี้ม.มู ๑๒/๑๑๘/๖๖

ชรามรณะดับ : เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ

เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

สัง.นิ. ๑๖/๓/๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล 

ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะอย่างนี้ 

ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะอย่างนี้ 

ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะอย่างนี้ 

ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะอย่างนี้ 

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบ ด้วยวิชชาอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ

สัง.นิ. ๑๖/๙๓/๔๕

ความหมาย
1)  เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
2)  สังขารจึงมี
1)  อวิชชา = ไม่รู้ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับ ทุกข์/สมุทัย/นิโรธ/มรรค ขันธ์ อดีต/ปัจจุบัน/อนาคต ปฏิจจสมุปบาท2)  สังขาร = สิ่งปรุงแต่ง ในส่วนที่เป็น “กาย” มาจากธาตุดิน (ของพ่อ) และธาตุน้ำ (ของแม่)
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย3)  วิญญาณจึงมี(สังขารจะมีการเปลี่ยนแปลงตามกฎพระไตรลักษณ์ จะเป็นส่วนที่เป็นกาย)3)  วิญญาณ = จิตวิญญาณ จิตวิญญาณเป็นอมตะ (เที่ยง) เมื่อธาตุดินและน้ำปฏิสนธิจิต (ใจ)
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย4)  รูปนามจึงมี(จิตวิญญาณ เวียนว่ายตายเกิด ตามกฏแห่งกรรม)4)  รูปนาม คือส่วนที่เป็นขันธ์ห้า คือรูปธรรม (กาย) และนามธรรม (ใจ)
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
5)  สฬายตนะจึงมี
(ขันธ์ห้า ประกอบด้วย รูปขันธ์ (กาย) และนามขันธ์ (เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณขันธ์)5)  สฬายตนะ คืออายตนะ 6 ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
6)  ผัสสะจึงมี
(ส่วนที่เป็นรูปขันธ์ (กาย) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วนนามขันธ์เป็นอารมณ์ของใจ6)  ผัสสะ คือสัมผัสผ่านอายตนะทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
7)  เวทนาจึงมี
(ผัสนะเป็นสัมผัสผ่านอายตนะทั้ง 6 ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ ทางใจ เป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งปวง7)  เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นอารมณ์ทางใจที่สำคัญมาก
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
8)  ตัณหาจึงมี
(เวทนา เป็นอารมณ์ของความรัก/ชอบก็จะเป็นสุข ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ชอบก็ทุกข์8)  ตัณหา ความอยากมีอยากเป็น อยากไม่มีอยากไม่เป็น ตัณหาเป็นกิเลสตัวสำคัญของทุกข์
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
9)  อุปาทานจึงมี
(ตัณหาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะทำให้เกิดกิเลส โลภ โทสะ โมหะ ตัณหาในการทำดีก็มี)9)  อุปาทาน ความยึดมั่น ความยึดติด (มั่น) ที่สำคัญคือ อุปาทานขันธ์ทำให้เกิดทุกข์
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
10) ภพจึงมี
(อุปาทานเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะสิ่งที่ยึดมั่น (ขันธ์ห้า) เป็นไตรลักษณ์10) ภพ สภาพ หรือความเป็นภพเกิดขึ้นจากกรรม จิต (วิญญาณ) และตัณหาเป็นภพ เป็นสภาวะที่ยังมีตัวตน (อัตตา) จำกัดได้แค่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย11) ชาติจึงมี11) ชาติ การเกิด เพราะมีภพ (ความมีความยึดติดกับสภาวะที่ยังมีตัวตน)
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
12)  ชรามรณะจึงมี
(เพราะมีภพ เกิดจากการสร้างกรรม จิต (วิญญาณ) และตัณหาทำให้มีการเกิด (ชาติ)12) ชรามรณะ ความแก่ และความตาย ย่อมเกิดขึ้นหากยังมีการเกิด (ชาติ)
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์การสูญเสียสิ่งที่ตนรักเป็นทุกข์การไม่สมหวังสิ่งที่ตนปรารถนาเป็นทุกข์การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ความเชื่อ กฎแห่งกรรม

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

การเวียนว่ายตายเกิด : สังสารวัฎ 31 ภูมิ

ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์

(รูปร่างกาย) เปรียบเสมือนบ้านที่จิตอาศัยอยู่เพียงชั่วคราว

จิต เป็นอมตะ

(จิตไม่เคยตาย ย้ายจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ตามกรรมที่สร้างไว้

จิตวิญญาณ สะสมกรรมและกิเลส ติดไปข้ามภพข้ามชาติ

1) วิปัสสนาภาวนา คือการพิจารณาขันธ์ 5

2) ตามความเป็นจริงๆ คือ ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) 

ขันธ์ 5 : เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เปรียบเสมือนบ้านที่จิตมาอาศัยอยู่เพียงชั่วคราว

3) เมื่อรูปขันธ์ดับ นามขันธ์ทั้ง 4 (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ดับตามทันที

เริ่มจาก ธาตุทั้ง 4 ดับตามลำดับดังนี้

(1) ลมหายใจดับ

(2) ไฟ (ความร้อนของร่างกาย) ดับ

(3) น้ำดับ  น้ำทุกชนิดออกจากร่างกาย

(4) ดินดับ  ส่วนที่เป็นเนื้อ/กระดูกและที่เหลือ

4) ความตาย

4.1 จิตวิญญาณออกจากขันธ์ 5

4.2 ขันธ์ 5 กลับคืนสู่ธาตุเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

4.3 ท้ายที่สุดก็ถูกย่อยสลายไปกับธรรมชาติ ไม่เหลืออะไรที่เป็นตัวตน

4.4 หากมีการเกิดอีก ก็จะพบกับสิ่งเหล่านี้อีก คือความไม่เที่ยง/เป็นทุกข์/ไม่มีตัวตนของขันธ์ 5

ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็มีความทุกข์

4.5 เกิดความหน่ายในการที่จะต้องเกิดอีก

4.6 ตัดอุปาทานขันธ์ 5

4.7 ปล่อยวางทุกสิ่ง โดยเฉพาะ (ดับตัณหา) 

กิเลส : โลภะ โทสะ โมหะ

โลกธรรมแปด : ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข / เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

4.8 คงเหลือจิตที่ได้ปล่อยวางทุกสิ่ง (ดับอุปาทาน) จิตว่าง

4.9 ดับภพ ที่จะทำให้มีการเกิดในภพต่างๆ คือกามาพจรภพ / รูปาพจรภพ / อรูปาพจรภพ

หยุดการเวียนว่ายตายเกิด

4.10 ดับชาติ คือหยุดการเกิด สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด

4.11 ดับชรา/มรณะ หยุดการตาย

4.12 ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง 4.13 นิพพาน

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post