Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

ปัญญา

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๐๖)

ปญฺา โลกสฺมิ ปชฺโชโต

ปัญญา เป็นดวงชวาลาในโลก

๑๐๖ [๐๕.๐๑] (๑๕/๒๑๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาเป็นแสงสว่างของโลก
  2. ใช้ปัญญาในทางสันติ ก็จะทำให้โลกประสบกับสันติ
  3. ใช้ปัญญาในทางอยากเป็นใหญ่ในโลก โลกก็จะร้อนเป็นไฟ อาจจะเป็นเหตุให้เกิดสงคราม
  4. ปัญญาเปรียบเสมือนแสงส่องทางเดินของโลก แสงสว่างดังกล่าวจะส่องไปในทิศทางใดเป็นสิ่งสำคัญ หากส่องไปในทางแห่งสันติภาพความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขก็เกิดขึ้นกับโลก แต่ในทางตรงกันข้ามหากแสงถูกส่องไปในทางที่เต็มไปด้วยอุปสรรค แก่งแย่ง เส้นทางนี้ก็เต็มไปด้วยความไม่สงบ

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๐๗)

นตฺถิ ปญฺาสมา อาภา

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี

๑๐๗ [๐๕.๐๒] (๑๕/๒๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาให้แสงสว่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะแสงสว่างโดยทั่วไปจะไม่สามารถส่องแสงผ่านที่ทึบ แต่แสงสว่างที่เกิดจากปัญญาส่องผ่านทั้งที่ทึบและไม่ทึบ
  2. ปัญญาส่องแสงผ่านทั้งสิ่งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน
  3. ปัญญาเป็นหลักธรรมขั้นสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาในที่นี้ให้แสงสว่างทะลุทั้งสิ่งที่มีตัว (กาย) และสิ่งที่ไม่มีตัวตน (จิต)
  4. ปัญญาเป็นหลักธรรมเกิดขึ้นจากเจริญวิปัสสนาภาวนาที่พิจารณาขันธ์ห้า (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ซึ่งก็คือ รูปขันธ์ (กาย) มีตัวตน และนามขันธ์ (ใจ) ไม่มีตัวตน ตามความเป็นจริงว่า เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๐๘)

ปญฺา นรานํ รตนํ

ปัญญา เป็นดวงแก้วของคน

๑๐๘ [๐๕.๐๓] (๑๕/๑๕๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของคน
  2. คนมีปัญญาจัดว่าเป็นคนมีชีวิตที่มีดวงแก้ววิเศษไว้ส่องทางเดินของชีวิต
  3. คนมีปัญญาจะสามารถเลือกทางเดินของชีวิตได้ถูกต้อง
  4. คนมีปัญญาสามารถแยกระหว่างสิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดี
  5. คนมีปัญญาไม่หวั่นเกรงต่ออุปสรรคใดๆ
  6. คนมีปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
  7. คนมีปัญญาจะเลือกเส้นทางเดินของชีวิตได้ถูกต้อง
  8. คนมีปัญญาจะสามารถปฏิบัติธรรมจนถึงขั้นสูงสุด ซึ่งมี ๓ ระดับ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๐๙)

ปญฺาชีวึ ชีวิตมาหุ เสฏฺ

ปราชญ์ว่า ชีวิตที่อยู่ด้วยปัญญา ประเสริฐสุด

๑๐๙ [๐๕.๐๔] (๑๕/๘๔๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีปัญญาจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีความสุข เป็นคนที่มีชีวิตประเสิรฐสุด
  2. คนที่มีปัญญาสามารถทำให้วิกฤตเป็นโอกาส
  3. คนที่มีปัญญาสามารถนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
  4. คนที่มีปัญญาจะมองเห็นทางออกก่อนคนอื่น
  5. คนที่มีปัญญาจะไม่หวั่นไหวกับสถานการณ์ยุ่งเหยิง

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๑๐)

ปญฺา ว ธเนน เสยฺโย

ปัญญาแล ประเสริฐกว่าทรัพย์

๑๑๐ [๐๕.๐๕] (๑๓/๔๕๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาสามารถสร้างจากไม่มีอะไร จนกระทั่งมีอย่างมากมาย
  2. ด้อยปัญญาสร้าง ทำให้จากมั่งมีกลับกลายเป็นหมดตัว
  3. ปัญญายิ่งใช้ยิ่งทำให้เกิดปัญญาพอกพูน ปัญญาเป็นสิ่งที่ยั่งยืน ปัญญาใช้ไม่มีวันหมด
  4. ตรงกันข้าม ทรัพย์ยิ่งใช้ก็จะหมด
  5. สรุป ปัญญาจึงประเสริฐกว่าทรัพย์

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๑๑)

ปญฺา หิ เสฏฺา กุสลา วทนฺติ

คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐสุด

๑๑๑ [๐๕.๐๖] (๒๗/๒๔๖๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. บรรดาสิ่งต่างๆ ที่มีในชีวิต ปัญญามีค่าสูงสุด
  2. ปัญญายิ่งใช้ยิ่งทำให้ปัญญาแหลมคม
  3. ปัญญาทำให้คนสามารถเรียนรู้เร็ว
  4. ปัญญาทำให้คนประสบความสำเร็จในการทำงาน การเลี้ยงชีพ การสร้างฐานะ
  5. ปัญญาทำให้คนแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ เพื่อให้ชีวิตมีความสุข
  6. ปัญญาคือที่สุดของทุกสิ่ง ท่านจะได้สิ่งที่ปรารถนาหากท่านมีปัญญา และใช้ปัญญาเพื่อการบรรลุการปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุดคือ บรรลุการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๑๒)

ปญฺา เจนํ ปสาสติ

ปัญญาเป็นเครื่องปกครองตัว

๑๑๒ [๐๕.๐๗] (๑๕/๑๗๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวตนให้เกิดสติ
  2. ปัญญาเป็นเครื่องป้องกันตัว
  3. ปัญญาเป็นที่ยำเกรงของคู่ต่อสู้
  4. ปัญญาสามารถพลิกชีวิต เมื่อโอกาสมาถึง
  5. ปัญญาทำให้มองเห็นปัญหาและโอกาส

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๑๓)

ราโค โทโส มโท โมโห ยตฺถ ปญฺา น คาธติ 

ราคะ โทสะ ความมัวเมาและโมหะ เข้าที่ไหน 

ปัญญาย่อมเข้าไม่ถึงที่นั้น

๑๑๓ [๐๕.๐๘] (๒๗/๑๒๔๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ราคะ โทสะ และโมหะ เป็นกิเลสที่ต้องใช้ปัญญาปราบ
  2. กิเลสชั้นสูง (ราคะ โทสะ โมหะ) จะต้องใช้ขั้นวิปัสสนาภาวนา หรือใช้ปัญญาในการดับกิเลส
  3. รากเหง้าของอกุศลกรรมทั้งปวงเพราะเป็นต้นเหตุแห่งการเผาลนใจ สามารถจัดได้ดังนี้
  • “ราคัคคิ” ไฟคือราคะ ความยินดี ความกระสันอยากในกามคุณ
  • “โทสัคคิ” ไฟคือโทสะ ความพยาบาทอาฆาต ไม่พอใจคิดประทุษร้าย
  • “โมหัคคิ” ไฟคือโมหะ ความหลงไม่รู้ไม่พิจารณาไม่เข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
  • อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ (ราคะ โทสะ โมหะ)

โลภะ คือความอยากได้
โทสะ คือความคิดประทุษร้าย
โมหะ คือความหลงไม่รู้จริง

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๑๔)

ยโถทเก อจฺเฉ วิปฺปสนฺเน

โส ปสฺสติ สิปฺปิกสมฺพุกญฺจ

สกฺขรํ วาลุกํ มจฺฉคุมฺพํ

เมื่อน้ำใส กระจ่างแจ๋ว ก็จะมองเห็นหอยกาบ

หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลาได้ชัดเจน ฉันใด

เอวํ อนาวิลมฺหิ จิตฺเต

โส ปสฺสติ อตฺตทตฺถํ ปรตฺถํ

เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว จึงจะมองเห็นประโยชน์ตน

ประโยชน์ผู้อื่น ได้ชัดเจน ฉันนั้น

๑๑๔ [๐๕.๐๙] (๒๗/๒๒๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในสภาวะปั่นป่วน ให้ใช้ปัญญาในการเรียงลำดับของปัญหา และแก้ไขอย่างรวดเร็ว
  2. การวินิจฉัยอะไรก็ตาม จะต้องรอให้สถานการณ์นิ่งเสียก่อน เพื่อที่ปัญญาจะวิเคราะห์ปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
  3. ในเวลาเดียวกันนอกจากต้องรอให้สถานการณ์สงบก่อน ความสงบแห่งจิตใจจะทำให้สามารถแยกแยะประโยชน์เราประโยชน์เขา

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๑๘)

อนฺโธ ยถา โชติมธิฏฺเหยฺย

ขาดตาปัญญาเสียแล้ว ก็เหมือนคนตาบอด

เหยียบลงไปได้ แม้กระทั่งไฟที่ส่องทาง

๑๑๘ [๐๕.๑๓] (๒๗/๑๗๓๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่ขาดปัญญาเปรียบเสมือนคนตาบอด เหยียบลงไปได้แม้กระทั่งผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ
  2. คนขาดปัญญา แยกไม่ออกระหว่างสิ่งใดดีกับสิ่งที่ไม่ดี
  3. คนขาดปัญญา ไม่มีความสามารถในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
  4. คนขาดปัญญา เมื่อประสบปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๑๙)

ปญฺาย ติตฺตีนํ เสฏฺ 

อิ่มด้วยปัญญา ประเสริฐกว่าความอิ่มทั้งหลาย

๑๑๙ [๐๕.๑๔] (๒๗/๑๖๔๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนมีปัญญามีค่ามากกว่าคนมีเงิน
  2. ปัญญาช่วยแก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง
  3. แต่ทรัพย์ไม่อาจจะแก้ไขในบางเรื่อง
  4. คนที่มีปัญญามาก ประเสริฐกว่าการมีทรัพย์มาก

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๐)

ปญฺาย ติตฺตํ ปุริสํ ตณฺหา น กุรุเต วสํ

คนที่อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาเอาไว้ในอำนาจไม่ได้

๑๒๐ [๐๕.๑๕] (๒๗/๑๖๔๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีปัญญา กิเลส (ตัณหา) ไม่สามารถครอบงำได้
  2. คนที่มีปัญญา เป็นผู้กำจัดตัณหา (กิเลส)
  3. คนที่มีปัญญา  เป็นหลักธรรมขั้นสูงสุดในการปฏิบัติขั้นหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด กิเลสทั้งหลายไม่สามารถครอบงำได้

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๑)

สากจฺฉาย ปญฺา เวทิตพฺพา

ปัญญารู้ได้ด้วยการสนทนา

๑๒๑ [๐๕.๑๖] (๒๕/๑๓๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาเกิดขึ้นจากการสนทนา
  2. ปัญญาเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความเห็น
  3. เราสามารถรู้ได้ว่าบุคคลใดมีปัญญาหรือไม่จากการสนทนา

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๒)

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺ 

รู้จักฟัง ย่อมได้ปัญญา

๑๒๒ [๐๕.๑๗] (๑๕/๘๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาเกิดขึ้นได้จากการฟัง
  2. การรู้จักฟังย่อมได้ปัญญาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการรู้จักฟังในสิ่งที่จะเพิ่มเติมของปัญญา
  3. การที่รู้จักฟังและวิเคราะห์ตามไปด้วยทำให้เกิดปัญญา

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๓)

อุฏฺานกาลมฺหิ อนุฏฺหาโน ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต

สํสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต ปญฺาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ

ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ

ทั้งที่ยังหนุ่มแน่นมีกำลัง กลับเฉื่อยชา

ปล่อยความคิดให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่

ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา

๑๒๓ [๐๕.๑๘] (๒๕/๓๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เวลาที่ต้องทำงานแต่ก็ละเลยเกียจคร้าน เรียกว่าเป็นคนไม่รู้จักรับผิดชอบตัวเองและผู้อยู่ด้วยกัน
  2. คนที่ไม่รู้จักแยกแยะสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ จะเป็นคนที่อับจนปัญญา
  3. คนที่ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้จะเป็นคนที่ไม่พัฒนาปัญญา
  4. คนขี้เกียจไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม จะทำเรื่องอะไรก็ตามโอกาสสำเร็จนั้นเป็นเรื่องยากเพราะไม่ได้พัฒนาปัญญา ปัญญาไม่ได้ถูกนำไปใช้จนกระทั่งจะทำเรื่องอะไรก็ไม่สามารถลำดับเรื่องราวเพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาได้ถูกต้อง จึงจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๔)

โยคา เว ชายเต ภูริ

ปัญญา ย่อมเกิดเพราะใช้การ

๑๒๔ [๐๕.๑๙] (๒๕/๓๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราได้ฝึกฝนจนรู้กระจ่างในเรื่องต่างๆ
  2. ปัญญายิ่งใช้ยิ่งแหลมคม ถ้าใช้ก็จะยิ่งเพิ่ม
  3. ปัญญาจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขยันที่ใช้ปัญญาให้ทำงาน ดังนั้นผู้ที่ใช้ปัญญาบ่อยก็ย่อมจะมีปัญญามาก เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาคนที่มีปัญญามากก็จะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ดี
  4. คนที่เกิดมาเป็นลูกคนจน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องจนตลอดชีวิต หากเป็นคนที่มีปัญญาก็สามารถสร้างฐานะให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ เพราะมีปัญญาในการทำงานหรือทำมาหากินและรู้จักบริหารเงินให้งอกเงย คนมีปัญญาสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๕)

ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโ อปิ วิตฺตปริกฺขยา 

คนมีปัญญา ถึงสิ้นทรัพย์ ก็ยังเป็นอยู่ได้

๑๒๕ [๐๕.๒๐] (๒๖/๓๗๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีปัญญาถึงแม้จะหมดตัวก็สามารถสร้างใหม่ได้
  2. คนมีปัญญาจะมีความสามารถมองเห็นโอกาสที่จะหาเงินกลับคืน และหาโอกาสสร้างตัวใหม่อีกครั้ง
  3. คนที่มีปัญญาถึงสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ตัวอย่างมีให้เห็นดังเช่นในช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง (ปี ๒๕๔๐) ความเสียหายที่เกิดขึ้นกระทบการลงทุนแทบทุกชนิด คนส่วนใหญ่ต้องประสบปัญหาในการชำระหนี้ หมดสินทรัพย์

แต่คนที่มีปัญญาก็จะหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมองว่า วิกฤตเป็นโอกาส จะเป็นวิกฤตของผู้ลงทุนแล้วเกิดความเสียหาย กลุ่มนักลงทุนกลุ่มนี้ที่มีเงินลงทุนกลับมองเห็นโอกาสที่จะทำกำไรท่ามกลางวิกฤตคือได้ซื้อของถูก โดยต้องมีปัญญาในการอ่านสถานการณ์ออกว่าเป็นช่วงที่ของราคาถูกและเป็นช่วงที่จะทำกำไรได้ดี เพราะมีของถูกให้เลือกเป็นอย่างมาก

คนที่มีปัญญาจะหาทางแก้ไขปัญหาก่อน หลังจากนั้นก็ทำการลงทุนๆ ให้อัตราผลตอบแทนสูง มีบางบริษัทสามารถทำกำไรจากช่วงที่เกิดวิกฤต

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๖)

ปญฺาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ 

แต่เมื่อขาดปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้

๑๒๖ [๐๕.๒๑] (๒๖/๓๗๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. แต่เมื่อขาดปัญญาถึงจะมีทรัพย์ก็อยู่ไม่ได้ เพราะมองไม่ออกว่าจะหามาได้อย่างไร
  2. คนขาดปัญญาไม่รู้วิธีการรักษาทรัพย์และไม่รู้วิธีการหาทรัพย์
  3. การมีทรัพย์สินมากมายแต่ถ้าไม่รู้จักการบริหารทรัพย์ดังกล่าวเพราะขาดปัญญา ผลที่ตามมาทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หากขาดปัญญาก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ถูกวิธี อาจจะทำให้สูญเสียทรัพย์ที่มีอยู่ไปทั้งหมด

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๗)

นตฺถิ ปญฺา อฌายิโน

ปัญญาไม่มี แก่ผู้ไม่พินิจ

๑๒๗ [๐๕.๒๒] (๒๕/๓๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

พินิจ =  พินิจพิเคราะห์ พิเคราะห์ พินิจพิจารณา

=  เพ่งดูด้วยความตั้งใจ และเพ่งตรวจดูด้วยความถี่ถ้วน

คติสอนใจ

  1. ผู้ที่ไม่มีปัญญาทำอะไรก็จะขาดการพินิจพิเคราะห์ ไม่พิจารณาถึงผลกระทบที่ตามมาในอนาคต
  2. คนที่ไม่มีปัญญา มักจะมองอะไรแบบง่ายๆ แยกไม่ออกระหว่างความจริงกับความเท็จ
  3. การที่จะทำอะไรให้ผลงานออกมาดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพินิจพิเคราะห์ เมื่อเปรียบเทียบกับการพินิจด้วยความตั้งใจเป็นสิ่งที่ผู้มีปัญญาจะต้องมี ในทางตรงกันข้ามผู้ไม่มีปัญญาจะไม่พินิจพิเคราะห์ด้วยความระมัดระวังอย่างถี่ถ้วน

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๘)

นตฺถิ ฌานํ อปญฺสฺส

ความพินิจ ไม่มีแก่คนไร้ปัญญา

๑๒๘ [๐๕.๒๓] (๒๕/๓๕)

คติสอนใจ

  1. ความระมัดระวังก่อนกระทำการ ไม่มีแก่คนที่ไม่มีปัญญา
  2. คนที่ไม่มีปัญญาขาดการพินิจพิเคราะห์ก่อนทำงาน
  3. ทำงานเสร็จแล้วก็ยังประเมินไม่ได้ว่าตนเองทำถูกต้องหรือไม่
  4. คนไร้ปัญญามองข้ามความสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ และไม่ได้ติดตามโดยใกล้ชิด จึงเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
  5. เพราะความที่ไร้ปัญญา เป็นเหตุให้ไม่สามารถที่จะกู้สถานการณ์ให้เหมือนดั่งเดิม และเดินหน้าต่อไปในการทำธุรกิจหรือการงาน

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๒๙)

โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ

พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ

๑๒๙ [๐๕.๒๔] (๒๓/๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีปัญญา ก่อนจะลงมือทำงานจะทำการสำรวจที่มาที่ไปของเรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้เห็นภาพทั้งหมด
  2. คนมีปัญญาจะจับประเด็นสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดออกมาร้อยเรียงเพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องราวทั้งหมด
  3. การทำอะไรก็ตามควรจะทำวิจัยที่สำคัญสุดวิเคราะห์ให้ถึงต้นตอของเรื่องราวทั้งหมด

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๓๐)

ปญฺายตฺถํ วิปสฺสติ 

จะมองเห็นอรรถชัดแจ้งด้วยปัญญา

๑๓๐ [๐๕.๒๕] (๒๓/๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนมีปัญญาจะเห็นเนื้อความ (อรรถ) ได้อย่างชัดแจ้งว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร
  2. การที่มีปัญญามองเห็นเนื้อความอย่างทะลุปรุโปร่ง ทำให้การบริหารงานทำได้ถูกต้อง และการแก้ไขปัญหาได้แม่นยำยิ่งขึ้น
  3. การที่มองเห็นสถานการณ์ได้ชัดเจนก็เพราะมีปัญญาๆ จะช่วยทำให้มองเห็นโอกาสในการกู้วิกฤตขององค์กรให้กลับมาเข้มแข็งเหมือนเดิม

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๓๑)

ปญฺ นปฺปมชฺเชยฺย 

ไม่พึงละเลยการใช้ปัญญา

๑๓๑ [๐๕.๒๖] (๑๔/๖๘๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ควรใช้ปัญญาในการทำงานทุกเรื่อง ไม่ควรใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์
  2. ข้อเตือนใจในการทำงานก็คือควรดำรงตนให้อยู่ในศีล พัฒนาสมาธิและใช้ปัญญาในการประกอบกิจทุกเรื่อง

อมฤตพจนา

๕. ปัญญา (๑๓๒)

ปญฺาย ปริสุชฺฌติ 

คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา

๑๓๒ [๐๕.๒๗] (๒๕/๓๑๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาทำให้คนบริสุทธิ์
  2. คนที่มีปัญญาจะทำอะไรก็จะทำด้วยความระมัดระวัง
  3. คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา เพราะก่อนจะทำอะไรได้ใช้ปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรองก่อนลงมือทำ
  4. ปัญญาเห็นไตรลักษณ์ (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป)
  • ปัญญาที่รู้จริงนั้นจะต้องรู้ให้จริงถึงความเกิดขึ้นและความดับไป
  • ถ้าเรามีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมองซ้ายและขวาเป็นธรรมะ มองเห็นเป็นไตรลักษณ์อยู่ประจำ มีไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่รอบด้านไปหมด จิตใจก็ย่อมนิ่งสงบ
  • ถ้าเรารู้จักไตรลักษณ์แล้ว เราจะละความยึดมั่นถือมั่น เราจะสบายเป็นคนฉลาดมองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์หมด ชีวิตนี้ราบรื่นเลยทีเดียว
  1. วิราคะ (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป)

ค่อยๆ ศึกษาไปก็จะเข้าใจในทุกข์เรื่อยๆ ก็รวบรวมลงที่ปัญญา ปลงวาง เปรียบเหมือนเราคือตระกร้าใส่ผลไม้ต่างๆ แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น หิ้วหนักอยู่มันหนักก็เอาออกเก็บออกทิ้งไปก็เบาลงเรื่อยๆ เหมือนละกิเลส บัดนี้ทิ้งหมดแล้วเหลือแต่ตระกร้าเปล่า ตระกร้ายังติดมืออยู่ก็ทิ้งตระกร้าด้วยเลย เดินไปแต่ตัวเปล่าก็เลยสบาย เบาสบาย จิตใจก็เหมือนกัน ละกิเลสได้หมดจะเบาแค่ไหน พระอรหันต์สบายทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เบาสบายจิตว่างไม่มีทุกข์

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post