Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน

พุทธพจน์เกี่ยวกับพระนิพพาน

คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์

๑. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

๒. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์

๓. ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา

 

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง”

“ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕

“อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ)... เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕” 

ใครไปยึดขันธ์ ๕ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้นเข้า ก็กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา

ตัวอย่างที่ตรัสถึงขันธ์ ๕ ตามหลักไตรลักษณ์

“ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง (อนิจจัง) เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง;...

“ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้ (ทุกข์) เวทนา...สัญญา...สังขารทั้งหลาย...วิญญาณ ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้;...

“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตัวตน (อนัตตา) เวทนา...สัญญา...สังขารทั้งหลาย...วิญญาณ ไม่เป็นตัวตน; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป...แม้ในเวทนา...แม้ในสัญญา...แม้ในสังขารทั้งหลาย...แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก (วิราคะ), เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว; ย่อมรู้ชัดว่าสิ้นกำเนิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้

 

“กรรมดี หรือชั่ว ทุกอย่าง ที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล, ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย ย่อมไม่มี” และว่า “กรรม ไม่ว่าดี หรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”

 

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ, เวทนาขันธ์สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้คือธรรมเป็นกุศล”

ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? ได้แก่ อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับอกุศลมูลนั้น, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยอกุศลมูลนั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือธรรมเป็นอกุศล”

“ธรรมที่พึงละ มิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ เป็นไฉน? คือ โลภะ...โทสะ...โมหะ...ความโกรธ...ความผูกโกรธ...ความลบหลู่...ความยกตัวกดเขาไว้...ความตระหนี่ พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้...”

 

ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ

แปลว่า: หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น (ผู้) ทำดี ได้ดี (ผู้) ทำชั่ว ได้ชั่ว

 

"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง กรรมใหม่ กรรมเก่า ความดับกรรม และข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรม...

“กรรมเก่าเป็นไฉน? ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ซึ่งถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เกิดจากเจตจำนง เป็นที่เสวยเวทนา, นี้เรียกว่า กรรมเก่า

“ภิกษุทั้งหลาย กรรมใหม่เป็นไฉน? กรรมที่บุคคลกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในบัดนี้ เรียกว่า กรรมใหม่

“ภิกษุทั้งหลาย ความดับกรรมเป็นไฉน? ภาวะที่สัมผัสวิมุตติ เพราะความดับไปแห่งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เรียกว่า ความดับกรรม 

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรมเป็นไฉน? ได้แก่ มรรคามีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐนี้เอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ, นี้เรียกว่า ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับกรรม”

ประเภทของนิพพาน

การแบ่งประเภทนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือที่แบ่งเป็น นิพพานธาตุ ๒ ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ697 ได้แก่

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื้อเหลือ

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื้อเหลือ

สิ่งที่เป็นเกณฑ์แบ่งประเภทในที่นี้คือ “อุปาทิ” ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า ได้แก่สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง หรือสภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น หมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕)698 เมื่อถือความตามคำอธิบายนี้ จึงได้ความหมายว่า

. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์

. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือ นิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์

 

“แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคองค์อรหันต์ได้ตรัสไว้ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ กล่าวคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสส-นิพพานธาตุ”

“ภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์เครื่องผูกมัดไว้กับภพหมดสิ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ, อินทรีย์ ๕ ของเธอยังดำรงอยู่เทียว เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหาย เธอย่อมได้เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ย่อมเสวยทั้งสุขและทุกข์; อันใดเป็นความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ของเธอ, อันนี้เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

“ภิกษุทั้งหลาย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว...หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ, อารมณ์ที่ได้เสวย (เวทยิต) ทั้งปวง ในอัตภาพนี้แหละของเธอ ซึ่งเธอไม่ติดใจพัวพันแล้ว (อนภินันทิต) จักเป็นของเย็น, ข้อนี้เรียกว่า อนุปาทิ-เสสนิพพานธาตุ”

“นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ พระผู้ทรงจักษุ ผู้คงที่ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ได้ทรงประกาศไว้แล้ว(คือ) นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง เป็นทิฏฐธัมมิกะ (มีในปัจจุบัน หรือทันตาเห็น) ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ; ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่ง เป็นสัมปรายิกะ (มีในเบื้องหน้า หรือเป็นของล้ำ) เป็นที่ภพทั้งหลายดับไปหมดสิ้น ชื่อว่าอนุปาทิเสส...”

 

๑. ก. “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, เพราะสำรอกอวิชชาได้เพราะวิชชาเกิดขึ้น เธอย่อมไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร ไม่ปรุงแต่งอปุญญาภิสังขาร ไม่ปรุงแต่ง

อเนญชาภิสังขาร, เมื่อไม่คิดปรุง ไม่คิดเสริมแต่ง ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งใดในโลก, เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่

กระวนกระวาย, เมื่อไม่กระวนกระวาย ย่อมปรินิพพานประจักษ์เองทีเดียว, เธอย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่แล้ว กรณียะได้ทำแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก”

๒. ก. “ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมบรรลุธรรมเครื่องอยู่ประจำ ๖ ประการ คือ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ, ฟังเสียงด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ, เธอนั้น เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงกาย เมื่อเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่สุดเพียงชีวิต, เธอรู้ชัดว่า ต่อจากจบชีวิตเพราะกายแตกทำลาย อารมณ์ที่ได้เสวยแล้วทั้งหมด ซึ่งมิได้ติดใจพัวพัน จักเป็นของเย็นอยู่ที่นี้เอง”

ความมีใจอิสระและมีความสุข

“ผู้มีจิตไม่หวั่นไหว รู้แจ้งความจริง ย่อมไม่มีความคิดปรุงแต่งใดๆ, เขาเลิกรำพึงรำพันหมดแล้ว จึงมองเห็นแต่ความปลอดโปร่งในที่ทุกสถาน, เขาไม่ยกตัวถือตนใดๆ ไม่ว่าในหมู่คนเสมอกัน คนต่ำกว่า หรือคนสูงกว่า”

“พระอริยะ ไม่มีความงุ่นง่านหงุดหงิดในใจ ท่านผ่านพ้นไปแล้วจากการที่จะได้เป็นหรือจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านปราศจากภัย มีแต่สุข ไม่มีโศก แม้แต่เทวดาก็มองใจท่านไม่ถึง”

“ตัดความติดข้องต่างๆ ได้หมด กำจัดความกระวนกระวายในหทัยเสียได้แล้ว ก็นอนเป็นสุขสงบสบาย เพราะใจถึงสันติ”

ความเป็นกันเอง กับชีวิต ความตาย การพลัดพราก และมีเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต

“จะมีชีวิตอยู่ ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก, ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็หาโศกเศร้าไม่”

“ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้ อย่างมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น; ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เรารอท่าเวลา เหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง”

 

ขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน

ฌานสมาบัติทั้งหลาย นอกจากจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพานแล้ว บางครั้งท่านยังเรียกเป็นนิพพานโดยปริยาย คือโดยอ้อม หรือโดยความหมายบางแง่บางด้านอีกด้วย เช่น มีพุทธพจน์ตรัสเรียกฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (เรียกอีกอย่างว่านิโรธสมาบัติ)  แต่ละอย่างๆ ว่าเป็นตทังค-นิพพาน (นิพพานด้วยธรรมคู่ปรับ หรือ นิพพานชั่วคราว) บ้างทิฏฐธรรมนิพพาน (นิพพานเห็นทันตา) บ้างสันทิฏฐิกนิพพาน (นิพพานที่ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง) บ้าง เช่น ข้อความในบาลีว่า

“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน แม้เท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพาน โดยปริยาย (โดยอ้อมหรือแง่หนึ่ง); ฯลฯ

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่, เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป, แม้นถึงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพาน โดยนิปริยาย (โดยตรง)” ผู้ที่ (กำลังเจริญวิปัสสนา) มองเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันจะต้องผันแปรไปเป็นธรรมดา ละความโศกเศร้าเป็นต้นเสียได้ หมดความร่านรนกระวนกระวาย อยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน

 

ก. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) หรือ สอุปาทิเสสบุคคล (ผู้ยังมีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่) คือ

. พระโสดาบัน ผู้ถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริงแล้ว เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

. พระสกทาคามี ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกข์ได้สิ้น เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา นอกจากละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้แล้ว ยังทำราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลงไปอีกต่อจากขั้นของพระโสดาบัน

. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ผุดเกิดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในศีล ทำได้

บริบูรณ์ในสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้อีก ๒ ข้อ คือ กามราคะ และปฏิฆะ

(รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ครบ ๕ ข้อ)

. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) หรือ อนุปาทิเสสบุคคล (ผู้ไม่มีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่เลย) คือ

๔. พระอรหันต์ ผู้ควร (แก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษ) หรือผู้หักกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสาม คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีกทั้ง ๕ ข้อ (รวมเป็นละสังโยชน์หมดทั้ง ๑๐)

ระดับที่ ทักษิไณบุคคลสิกขาที่บำเพ็ญสังโยชน์ที่ละได้
1พระโสตาบัน

ศีลบริบูรณ์ (สมาธิเเละปัญญาพอประมาณ)1.สักกายทิฏฐิ
2.วิจิกิจฉา
3.สีลัพพัตปรามาส

2พระสกทาคามีราคะ โทสะ โมหะ เหลือเบาบาง
3พระอนาคามีศีลบริบูรณ์ (สมาธิเเละปัญญาพอประมาณ)4.กามราคะ
5.ปฏิฆะ
4พระอรหันต์ศีล สมาธิ ปัญญาบริบูรณ์6.รูปราคะ
7.อรูปราคะ
8.มานะ
9.อุทธัจจะ
10.อวิชชา

ประเภทของพระอรหันต์

พระอรหันต์ ซึ่งมีทั้งหมด ๒ ประเภทนั้น แยกออกไปโดยคุณสมบัติพิเศษ ที่ได้ และไม่ได้ พร้อมทั้งความหมายสรุปอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

. พระปัญญาวิมุต คือ ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ท่านผู้มุ่งหน้าบำเพ็ญแต่วิปัสสนา อาศัยสมถะเพียงใช้สมาธิเท่าที่จำเป็น พอเป็นบาทฐานของวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขยญาณเท่านั้น ได้สมถะไม่เกินรูปฌาน ๔ ไม่มีความสามารถพิเศษ เช่น เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ไม่ได้โลกิยอภิญญา ๕ เป็นต้น จำแนกได้ ดังนี้

ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌาน ต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค

ข. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌาน ๔ อย่างน้อยขั้นหนึ่งก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาที่ให้บรรลุอรหัตผล

ค. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ คือ ได้ปัญญาแตกฉาน ๔ ประการ

๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ หรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย

๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก

๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา

๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ

. พระอุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง คือ หลุดพ้นจากรูปกายด้วย อรูปสมาบัติและหลุดพ้นจากนามกาย ด้วยอริยมรรค เป็นการหลุดพ้น ๒ วาระ คือ ด้วยวิกขัมภนะ (ข่มกิเลสไว้ด้วยกำลังสมาธิของฌาน) หนหนึ่ง และด้วยสมุจเฉท (ตัดกิเลสถอนรากเหง้าด้วยปัญญา) อีกหนหนึ่ง จำแนกได้ ดังนี้

ก. พระอุภโตภาควิมุต คือพระอรหันต์ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยหนึ่งขั้น แต่ไม่ได้โลกิยวิชชา โลกิยอภิญญา

ข. พระเตวิชชะ พระอรหันต์ผู้ได้วิชชา ๓ คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้วิชชา ๓ ด้วย คือ

๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณเป็นเหตุระลึกได้ซึ่งขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในก่อน แปลกันง่ายๆ ว่าระลึกชาติได้

๒) จุตูปปาตญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม ถือกันว่าตรงกับทิพพจักขุ หรือทิพยจักษุ

๓) อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หรือความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ

ค. พระฉฬภิญญะ พระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้อภิญญา ๖ ด้วย คือ

๑) อิทธิวิธา หรืออิทธิวิธิ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้

๒) ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์

๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ คือทายใจเขาได้

๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้

๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์

๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป

ง. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ พระอรหันต์อุภโตภาควิมุต ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น เมื่อรวมเข้าเป็นชุดเดียวกัน และเรียงลำดับตามชื่อที่ใช้เรียก มี ๖ นาม ดังนี้

๑. สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน

๒. ปัญญาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา (ที่นอกจากสุกขวิปัสสก)

๓. อุภโตภาควิมุต ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน

๔. เตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓

๕. ฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖

๖. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔

พระอรหันต์องค์ใด เป็นทั้งฉฬภิญญะ และปฏิสัมภิทัปปัตตะ ย่อมเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนบริบูรณ์ ครอบคลุมทั้งหมด.

หลักทั่วไป

“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้ อาศัย

ทุติยฌานก็ได้ ตติยฌานก็ได้ จตุตถฌานก็ได้ อากาสานัญจายตนะก็ได้ วิญญาณัญจายตนะก็ได้ อากิญจัญญายตนะก็ได้ เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ได้ (สัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้)”

“ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว? (คือ) ภิกษุในธรรมวินัยนี้…บรรลุปฐมฌาน, เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ สิ่งที่เป็นรูป  สิ่งที่เป็นเวทนา สิ่งที่เป็นสัญญา สิ่งที่เป็นสังขาร สิ่งที่เป็นวิญญาณ อันมีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์…โดยความเป็นของสูญ โดยความเป็นอนัตตา, เธอยังจิตให้ยั้งหยุด (หันกลับ คือคลายหรือไม่อยากได้ ไม่ติด) จากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วเธอย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต กล่าวคือ…นิพพาน เธอดำรงอยู่ใน (ปฐมฌาน) นั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย 

“เราได้มีความคิดว่า เราได้บรรลุมรรคาเพื่อความตรัสรู้นี้แล้ว กล่าวคือ เพราะนามรูปดับวิญญาณจึงดับ, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ, เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ…ผัสสะ…เวทนา…ตัณหา…อุปาทาน…ภพ…ชาติ…ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ, ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้;

สำนวนสามัญ: พิจารณาขันธ์ ๕

• “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงวิญญาณไม่เที่ยง; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป…แม้ในเวทนา…แม้ในสัญญา…แม้ในสังขารทั้งหลาย…แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก(วิราคะ), เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว; ย่อมรู้ชัดว่า สิ้นเกิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้ 

“ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ

ปัจจัยบีบคั้นได้;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ 

“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตน (อนัตตา) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เป็นตน;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”

• “รูป…เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์), สิ่งใดมีปัจจัยบีบคั้นได้ สิ่งนั้นไม่เป็นตน (อนัตตา), สิ่งใดไม่เป็นตน สิ่งนั้นอริย-สาวก พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา” ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น” ไม่ใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”

พุทธพจน์เกี่ยวกับขันธ์ ๕  ตามหลักพระไตรลักษณ์

(วิปัสสนาภาวนา)

“ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง (อนิจจัง) เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง;… “ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้ (ทุกข์) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้;…

“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตัวตน (อนัตตา) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เป็นตัวตน; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป…แม้ในเวทนา…แม้ในสัญญา…แม้ในสังขารทั้งหลาย…แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก (วิราคะ), เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว; ย่อมรู้ชัดว่าสิ้นกำเนิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้”

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้องตามที่มันเป็นว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” 

“ภิกษุมองเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็ตาม ฯลฯ ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา, เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ทั้งในกายอันพร้อมด้วยวิญญาณนี้ และในนิมิตหมายทั้งปวงภายนอก” 

อหังการ ได้แก่กิเลสที่เรียกชื่อว่าทิฏฐิ มมังการ ได้แก่กิเลสที่เรียกชื่อว่าตัณหา มานานุสัย ได้แก่กิเลสที่เรียกชื่อสั้นๆ ว่า มานะ นิยมเรียกเป็นชุดว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ ตามหลักพระไตรลักษณ์

(วิปัสสนาภาวนา)

“ภิกษุทั้งหลาย ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ…ไม่เที่ยง…เป็นทุกข์…เป็นอนัตตา, แม้สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง จักเป็นสุข จักเป็นอัตตาได้แต่ที่ไหน” 

“รูป…เสียง…กลิ่น…รส…โผฏฐัพพะ…ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง…เป็นทุกข์…เป็นอนัตตา, แม้สิ่งที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาได้แต่ที่ไหน” 

“ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ ที่ไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สังวร ย่อมเป็นเครื่องนำทุกข์มาให้…ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ ที่ฝึกดีแล้ว คุ้มครองดี รักษาดี สังวรดี ย่อมเป็นเครื่องนำสุขมาให้…”

ที่มาของข้อมูล :  พุทธธรรม  โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

15 มีนาคม 2561

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post