ในสัปดาห์ที่ ๖ ถึงที่ ๘ เป็นระเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่ประทับไปมา ที่ระหว่างต้นศรีมหาโพธิ์กับต้นอชปาลนิโครธหื่อต้นไทร จนถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่ตรัสรู้มา พระพุทธเจ้าจึงเสด็จออก จากบริเวณสถานที่ ตรัสรู้ เพื่อเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่าสารนาถ ซึ่งอยู่ ในเขตแดนเมืองพาราณสี เวลาที่กล่าวนี้พวกเบญจวัคคีย์ที่เคยตามเสด็จออกบวช และอยู่เฝ้าอุปัฏฐากได้พากันผละหนีพระพุทธเจ้ามาอยู่ที่นี่
ระหว่างทาง คือ เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำคยาอันเป็นที่สุดเขตตำบลของสถานที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่งนามว่า 'อุปกะ' เดินสวนทางมา อาชีวกคือนัก- บวชนอกาสนาพุทธนิกายหนึ่งในสมัยพระพุทธเจ้า ตอนที่เดินยังไม่เข้าใกล้และได้ เห็นพระพุทธเจ้านั้น อาชีวกผู้นี้ได้เห็นพระรัศมีที่แผ่ซ่านออกจากพระวรกายพระ- พุทธเจ้ามากระทบเข้าที่หน้าตนก่อน พระรัศมีนั้น สมัยนั้นเรียกว่า 'ฉัพพรรณรังสี' คือ พระรัศมี ๖ ประการ ที่ซ่านออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่
๑. นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตะ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
๔. โอทาตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฐะ สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่
๖. ประภัสสระ สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก
มาถึงสมัยสร้างพระพุทธรูป ฉัพพรรณรังสีนี้เรียกกันว่า 'ประภามณฑล' คือ พระรัศมีที่พุ่งขึ้นจากเบื้องพระเศียรที่เป็นรูปกลมรีขึ้นข้างบนนั่นเอง
พอพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ อาชีวกจึงได้เห็นที่มาของรัศมี พอเห็นก็เกิดความสนใจจึงเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ใครเป็นพระ- ศาสดาของพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่มีศาสดาผู้เป็นครูสอน พระพุทธองค์เป็นสยัมภู คือ ผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์ เอง อาชีวกได้ฟังแล้วแสดงอาการสองอย่างคือสั่นศีรษะและแลบลิ้น แล้วเดินหลีกพระพุทธเจ้าไป
เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้ว ในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็น ไปในภูมิสามได้หมด พ้นแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า อาจารย์ของ เราไม่มี คนเช่นเรา ก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดา หาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้ เราผู้เดียว เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ ดับกิเลสได้
แล้ว เราจะไปเมืองในแคว้นกาสี เพื่อประกาศธรรมจักรให้เป็นไป เราจะตีกลองประกาศอมตธรรมในโลกอันมืด เพื่อ ให้สัตว์ได้ธรรมจักษุ.
วิ. มหา. ๔/๑๑/๑๓
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250