4. ธรรมานุปัสสนา (เห็นธรรมในธรรม)
4. ธรรมานุปัสสนา (เห็นธรรมในธรรม)
4.1 หลักในการพิจารณาธรรมานุปัสสนา
4.1 หลักในการพิจารณาธรรมานุปัสสนา
4.1 นิวรณ์บรรพ : การตามดูรู้ทันธรรม รู้ขีดในการนั้นๆ ว่านิวรณ์ 5 แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วจะเสียได้อย่างไร ที่จะได้เสียแล้ว ได้เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้น
4.2 ขันธบรรพ : กำหนดรู้ขันธ์ 5 แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร4.3 อายตนบรรพ : รู้จักอายตนภายใน ภายนอกแต่ละอย่าง รู้ชัดในอายตนนั้นๆ รู้ชัดว่าสัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดได้อีกต่อไปอย่างไร
4.4 โพฌชงคบรรพ : รู้ชัดในขณะนั้นว่าโพฌชงค์ 7 แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
4.5 สัจจบรรพ : รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร
– พิจารณาในมหาสติปัฎฐานสูตรในตอนท้ายทุกข้อ พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า
“เมื่อเห็นแล้วก็รู้สึก สักแต่เพียงว่าเห็นยังร่างกาย (ขันธ์ 5) อาศัยอยู่ก็สักแต่ว่าอาศัยอยู่
- ไม่ยึดถือว่ามันเป็นเรา (จิต) เป็นของเรา
- ไม่ยึดถือในร่างกายของเราด้วย
- ไม่ยึดถือในร่างกายของบุคคลอื่นด้วย
- แล้วก็ไม่ยึดถือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกด้วย
เป็นวิปัสสนาญาณตัวย่อ เพื่อทำลายสังโยชน์ 10 ประการ ด้วยอำนาจสักกายทิฎฐิ (เป็นสังโยชน์
ข้อแรกที่สำคัญมาก) เป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลทุกระดับจะต้องบรรลุให้ได้
2. เวทนานุปัสสนา (เห็นเวทนาในเวทนา)
- ตามดูรู้ทัน คือเมื่อเกิดความรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นอามิส และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
- เห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมในเวทนา
2.1 หลักปฏิบัติด้านเวทนานุปัสสนา
- เราไม่มีอารมณ์จะยึดถืออะไรทั้งหมดในโลก เพราะร่างกาย (ขันธ์ 5) นี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้เป็นไตรลักษณ์ เวทนาจึงเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 ก็เป็นไตรลักษณ์ด้วย
อารมณ์ของพระนิพพาน คือจิต ไม่เกาะติดเวทนาที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์ ไม่เกาะติดเวทนาที่มีอามิสและที่ไม่มีอามิส และไม่เกาะติดทุกสิ่งทุกอย่างในโลก
3. จิตตานุปัสสนา (เห็นจิตในจิต)
การตามดูรู้ทันจิตคือ จิตของตนในขณะนั้น เป็นอย่างไร เช่น จิตมีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่เป็นอยุ๋ในขณะนั้นๆ
3.1 หลักการปฏิบัติด้านจิตตานุปัสสนา
พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่าทุกสิ่งทุกอย่างเห็นแล้วก็ทำความรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าเห็น อย่าไปยุ่งกับมัน เมื่อเข้าไปอาศัยอยู่คือ จิต อาศัยกาย ก็มีความรู้สึกสักแต่ว่าเพียงอาศัย อย่ายึดถือกายภายในคือร่างกายของเรา อย่ายึดถือกายภายนอก อย่ายึดถืออะไรๆ ทั้งหมด คือไม่ยึดถือกับเราไม่ยึดถือเรา ไม่ยึดถืออะไรๆ ทั้งหมดในโลก อารมณ์จิตตรงนี้เป็นอารมณ์จิตของพระอรหันต์
1. กายานุปัสสนา (เห็นกายในกาย)
- อานาปานบรรพ : กำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ เข้า-ออก สั้นหรือยาว ป้องกันอารมณ์ฟุ้งซ่าน
- อิริยาบทบรรพ : กำหนดรู้ว่าร่างกายกำลังอยู่ในอิริยาบทใด “ นั่ง ยืน เดิน นอน”
- สัมปชัญญะบรรพ : กำหนดรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากำลังอยู่ในอิริยาบทใด หรือรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
- ปฏิกูลบนสิการบรรพ : พิจารณาร่างกายประกอบด้วยอาการ 32 อย่าง ตั้งแต่หัวจรดเท้า ล้วนแต่สกปรก
- ธาตุมนสิการบรรพ : พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ล้วนแต่สกปรก
นวสีวกิถาบรรพ : พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ ล้วนแต่สกปร
1.1 หลักในการพิจารณากายานุปัสสนา
- ร่างกายภายในก็ดี (ตัวเรา) ร่างกายภายนอก (ผู้อื่น) ก็ดี มันมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไป ท่านทั้งหลายจงอย่าไปสนใจในกาย เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เมื่ออาศัยอยู่ก็รู้ว่าเราอาศัยอยู่ จงไม่ยึดในร่างกาย และไม่ยึดถืออะไรทั้งหมดในโลกนี้ เพราะขืนยึดถือมันก็จะทำให้เกิดความทุกข์ (อุปาทานขันธ์ 5) “ร่างกาย (ขันธ์ 5) นี้ไม่ใช่เรา (จิต) ไม่ใช่ของเรา (จิต)”
เวลาปฏิบัติจริง ปฏิบัติพร้อมกันทุกบรรพ ต่อเนื่องกันตั้งแต่ อานาปานสติ – อิริยาบถ – สัมปชัญญะ – ปฏิกูล – ธาตุ 4 – นวสี (ซากศพ)
1.2 หลักปฏิบัติเพื่อบรรลุการเป็นพระอรหันต์
- จิตคิดไว้เสมอว่าร่างกาย (ขันธ์ 5) เต็มไปด้วยความสกปรก มีสภาพไม่ทรงตัว มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีการแปรปรวนในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด (ตามหลักไตรลักษณ์) การมีขันธ์ 5 เป็นปัจจัยของความทุกข์
- สิ่งที่เราต้องการคือ ดินแดนอมตะที่ปราศจากขันธ์ (ดินแดนพระนิพพาน) ที่ปราศจากโลภะ (ความโลภ) ปราศจากโทสะ (ความโกรธ) ปราศจากโมหะ (ความหลง)
หากตัดกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) ได้ทั้งหมด ก็บรรลุการเป็น ”พระอรหันต์”
ที่มาของข้อมูล : ธรรมเทศนาเรื่อง
“มหาสติปัฎฐานสูตร”
โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
โดย : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
หลักวิปัสสนาเพื่อการบรรลุพระนิพพาน
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรทรงตัว มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมลง (อนิจจัง) ในท่ามกลาง มีการสลายตัว (อนัตตา) ในที่สุด เพราะเป็นกฎธรรมดา (ธรรมชาติ) เรา (จิต) จะต้องไม่ไปยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะร่างกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น (แก่ เจ็บ ตาย) เราก็ไม่ทุกข์ เพราะเรา (จิต) ยอมรับว่าเป็นกฎธรรมดา
เรา (จิต) ไม่มีในร่างกาย (ขันธ์ 5) ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกาย (ขันธ์ 5) นี้เป็นเพียงที่อาศัยอยู่เพียงชั่วคราวของจิต เมื่อร่างกายเสื่อมลงและสลายตัว (ตาย = ดับ) จิต (เรา) วิญญาณก็ออกร่างเดิมไปเกิดใหม่ตามกรรมที่สร้างไว้
ดังนั้น เรา (จิต) จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ในโลกนี้ จิตก็จะคลายออกจากสิ่งทั้งปวงโดยเฉพาะกิเลส ซึ่งประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ และโลกธรรม ๘ (ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์)
6.4.1 พิจารณาขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์
• “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง (อนิจจัง) เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงวิญญาณไม่เที่ยง; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป…แม้ในเวทนา…แม้ในสัญญา…แม้ในสังขารทั้งหลาย…แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก(วิราคะ), เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น (วิมุตติ); เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว; ย่อมรู้ชัดว่า สิ้นเกิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ปัจจัยบีบคั้นได้;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตน (อนัตตา) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เป็นตน;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “รูป…เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง (อนิจจัง) สิ่งนั้นปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์), สิ่งใดมีปัจจัยบีบคั้นได้ สิ่งนั้นไม่เป็นตน (อนัตตา), สิ่งใดไม่เป็นตน สิ่งนั้นอริย-สาวก พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา” ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น” ไม่ใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เป็นตน (เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่เป็นตน), หากว่ารูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) นี้ จักได้เป็นตนแล้วไซร้ รูป ฯลฯ ก็ต้องไม่เป็นไปเพื่อความข้องขัด (อาพาธ) และก็พึงได้ (ตามความประสงค์) ในรูป ฯลฯ ว่า ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงเป็นอย่างนี้ ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงอย่าได้เป็นอย่างนี้; แต่เพราะรูป ฯลฯ ไม่เป็นอัตตา ฉะนั้น รูป ฯลฯ จึงเป็นไปเพื่อความข้องขัด และบุคคลก็ไม่ได้ (ตามความประสงค์) ในรูป ฯลฯ ว่า ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงเป็นอย่างนี้ ขอรูป ฯลฯ ของเรา อย่าได้เป็นอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เธอเข้าใจอย่างไร: รูป (เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง?” (ไม่เที่ยง…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นภาวะบีบคั้น (ทุกข์) หรือเป็นภาวะคล่องสบาย (สุข)?” (เป็นภาวะบีบคั้น…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะมองเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา?” (ไม่ควร…) “เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน…รูปทั้งปวงนั้น พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา”, ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น”, ไม่ใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”; เมื่อมองเห็นอย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งไกลทั้งใกล้ ภิกษุย่อมมองดูรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) นั้น ย่อมพินิจ ย่อมตรองดูโดยแยบคาย, เมื่อเธอมองดู พินิจ ตรองดูโดยแยบคาย ย่อมปรากฏแต่สิ่งที่ว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้เลย, แก่นสารในรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) จะพึงมีได้อย่างไร; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมหายติด ฯลฯ”