Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

การเบียดเบียน-การช่วยเหลือกัน

๑๐

การเบียดเบียน-การช่วยเหลือกัน

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๕๙)

สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา

เนวชฺฌคา ปิยตรตฺตนา กฺวจิ

เอวมฺปิ โส ปุถุ อตฺตา ปเรสํ

ตรวจดูด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครที่ไหน

เป็นที่รักยิ่งกว่าตนเองเลย คนอื่นก็รักตนมากเช่นเดียวกัน

ตสฺมา น หึเส ปรํ อตฺตกาโม

ฉะนั้น ผู้รักตน จึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น

๒๕๙ [๑๐.๐๑] (๒๕/๑๑๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนเราโดยสามัญสำนึกแล้วจะมีความรักในตัวเอง มากยิ่งกว่าใครๆ จนกระทั่งบางคน ถือว่าเป็นการรักแบบเห็นแก่ตัว
  2. ความรักตน ที่ถูกต้องจะต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
  3. เราชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด คนอื่นก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน
  4. ดังนั้น คนเราไม่ควรที่จะเบียดเบียนกัน

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๑)

ทุกฺขิตสฺส สกฺกจฺจ กโรติ กิจฺจํ

ช่วยเหลือคนเดือดร้อน ด้วยความตั้งใจ

๒๖๑ [๑๐.๐๓] (๒๗/๒๔๖๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในเมื่อมีความต้องการจะทำความดี โดยการช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน ก็ให้ทำด้วยความตั้งใจ
  2. การช่วยเหลือด้วยความตั้งใจ ในยามที่เขาเดือดร้อน อาจจะทำให้ในวันข้างหน้าเราอาจจะต้องพึ่งพาคนที่เราเคยช่วย

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๒)

สนฺโต สตฺตหิเต รตา

คนดี ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น

๒๖๒ [๑๐.๐๔] (ชา.อ.๑/๒๓๐)

คติสอนใจ

  1. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก เป็นธรรมชาติของการให้ ทำให้ผู้ให้เป็นที่รักของผู้รับ ผู้ที่หวังแต่จะรับของจากผู้อื่นถ่ายเดียว ย่อมเป็นที่เบื่อหน่าย
  2. การให้จะต้องให้ผู้รับรู้คุณค่าของที่รับ และนำไปก่อประโยชน์ เพื่อให้นำไปสร้างให้งอกเงยตามมา จึงจะเป็นการให้ที่จะทำให้มีฐานของเงินทุน เช่น มีการกำหนดต้นทุนทางการเงินว่าเป็นเท่าไหร่ เพื่อให้ผู้รับตระหนักว่าต้องทำกำไรเท่าไหร่
  3. แต่ถ้าเป็นการให้เป็นการตามใจลูกๆ จะขอเท่าไหร่ก็ให้ โดยที่ลูกจะนำไปใช้ฟุ่มเฟือยอย่างไรก็ไม่ว่ากล่าว เป็นการให้ที่สร้างนิสัยเสียให้แก่ลูกๆ รักเงิน ไม่รักเรา และเห็นใจเรา ลูกไม่ได้รู้คุณค่าของเงิน ใช้เงินอย่างเดียว โดยคิดว่าพ่อแม่ร่ำรวย นี่เป็นทางสู่หายนะ ท่านต้องการเป็นที่รักของลูกๆ แบบนี้หรือ

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๓)

สพฺเพสํ สหิโต โหติ

คนดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน

๒๖๓ [๑๐.๐๕] (๒๓/๑๒๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนดีชอบบำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงชน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ช่วยเพราะต้องการให้ผู้เดือดร้อนพ้นทุกข์ ดังเช่นพระพุทธเจ้า
  2. การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่คนอื่นจะดีได้ก็ต่อเมื่อไม่ทำให้คนในครอบครัวเดือดร้อน
  3. ดังนั้น การที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ดีนั้น จะต้องช่วยให้ทุกคนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขก่อน
  4. การช่วยผู้อื่นจะได้บุญบารมีจะต้องไม่มีอะไรซ่อนเร้น หรือแสวงหาประโยชน์
  5. คนดีเป็นคนที่มีความเมตตา ชอบช่วยเพื่อนมนุษย์

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๕)

น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ

ในโลกนี้ เวรระงับด้วยเวร ไม่เคยมี

๒๖๕ [๑๐.๐๗] (๒๕/๑๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เวรจะระงับด้วยการหยุดจองเวรซึ่งกันและกัน
  2. คนที่มีพฤติกรรมชอบจองเวร แก้แค้นกันไปมา จะไม่หยุดการล้างแค้น จองเวรกันข้ามภพข้ามชาติ
  3. ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้สังคมมีความสงบสุข จะต้องหยุดการจองเวร เป็นคุณธรรมที่สำคัญของการเป็นมนุษย์

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๖)

ปูชโก ลภเต ปูชํ

ผู้บูชา ย่อมได้บูชาตอบ

๒๖๖ [๑๐.๐๘] (๒๘/๔๐๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เป็นธรรมดาของคนดี เมื่อเราบูชาเขา เราย่อมได้รับการบูชาตอบ
  2. เมื่อเราบูชาเขา เขาย่อมเห็นว่าเราเป็นมิตร
  3. ผู้บูชาย่อมได้การบูชาตอบ ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ไม่บูชาใครเลย ก็ย่อมจะไม่มีผู้ใดบูชาเลยเช่นกัน

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๗)

วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ

ผู้ไหว้ ย่อมได้การไหว้ตอบ

๒๖๗ [๑๐.๐๙] (๒๘/๔๐๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อเราไหว้ผู้ใดก็ตาม ย่อมได้รับการไหว้ตอบเปรียบเหมือนการนับถือที่ให้ซึ่งกันและกัน
  2. แต่ถ้าผู้ใดที่เราไหว้เขาแล้ว มิได้มีการไหว้ตอบ ผู้ที่ไหว้ก็จะให้ความเคารพนับถือน้อยลงและมองผู้ไม่รับไหว้ว่ามีความหยิ่งยะโส เป็นคนที่ไม่น่าคบ

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๘)

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ

คนฉลาด ให้ความสุข ย่อมได้ความสุข

๒๖๘ [๑๐.๑๐] (๒๒/๓๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การเป็นผู้ให้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข เช่น หากเราฉลาดและกอปรด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาๆ ก็มีความสุขในการทำงาน ผลงานก็จะออกมาดี การทำงานก็จะอยู่กันด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยเงิน
  2. คนจำนวนมาก ทำงานในที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลาหลายปี ไม่ใช่เพราะได้เงินเดือนหรือผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่เพราะมีความสุขในการทำงาน ประสิทธิภาพของการทำงานก็ออกมาดี
  3. การสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้มีความสุขจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรนาน

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๖๙)

ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ

เมื่อให้ไป ย่อมผูกไมตรีไว้

๒๖๙ [๑๐.๑๑] (๑๕/๘๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การให้จะผูกมิตรไว้ได้ จะต้องเป็นการให้ด้วยความจริงใจ
  2. การให้ที่มีวาระซ่อนเร้น โดยหวังผลตอบแทนที่สูงกว่า อาจจะทำให้ผู้รับต้องระมัดระวังตัวจากการที่จะรับของที่ให้
  3. การให้ต้องให้ถูกกาละเทศะ จึงจะมีความหมาย เช่น ในวันเกิด วันขึ้นปีใหม่
  4. การให้ที่ผิดเวลา สถานที่ ให้โดยไม่มีเหตุผล อาจจะถูกตีความได้ว่า เป็นการซื้อตัว หรือคอรัปชั่น ซึ่งจะไม่เป็นการผูกมิตรแท้จริง

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๐)

ททมาโน ปิโย โหติ

ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก

๒๗๐ [๑๐.๑๒] (๒๒/๓๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก เป็นธรรมชาติของการให้ ทำให้ผู้ให้เป็นที่รักของผู้รับ ผู้ที่หวังแต่จะรับของจากผู้อื่นถ่ายเดียว ย่อมเป็นที่เบื่อหน่าย
  2. การให้จะต้องให้ผู้รับรู้คุณค่าของที่รับ และนำไปก่อประโยชน์ เพื่อให้นำไปสร้างให้งอกเงยตามมา จึงจะเป็นการให้ที่จะทำให้มีฐานของเงินทุน เช่น มีการกำหนดต้นทุนทางการเงินว่าเป็นเท่าไหร่ เพื่อให้ผู้รับตระหนักว่าต้องทำกำไรเท่าไหร่
  3. แต่ถ้าเป็นการให้เป็นการตามใจลูกๆ จะขอเท่าไหร่ก็ให้ โดยที่ลูกจะนำไปใช้ฟุ่มเฟือยอย่างไรก็ไม่ว่ากล่าว เป็นการให้ที่สร้างนิสัยเสียให้แก่ลูกๆ รักเงิน ไม่รักเรา และเห็นใจเรา ลูกไม่ได้รู้คุณค่าของเงิน ใช้เงินอย่างเดียว โดยคิดว่าพ่อแม่ร่ำรวย นี่เป็นทางสู่หายนะ ท่านต้องการเป็นที่รักของลูกๆ แบบนี้หรือ

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๑)

ทีปํ หิ เอตํ ปรมํ นรานํ

ยํ ปณฺฑิตา โสกนุทา ภวนฺติ

บัณฑิตสามารถปัดเป่าความเศร้าโศกของคนอื่นได้

จึงจัดว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย

๒๗๑ [๑๐.๑๓] (๒๘/๓๓๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาของคนอื่นได้ จัดได้ว่าเป็นที่พึ่งยอดเยี่ยมของคนทั้งหลาย
  2. ควรจะคบคนที่มีความสามารถ และมีอุปนิสัยในการชอบช่วยเหลือผู้อื่น
  3. ชีวิตคนเราไม่ต้องคบคนเป็นจำนวนมาก แต่ช่วยเหลืออะไรเราไม่ได้เลย ยามที่เราต้องการความช่วยเหลือ
  4. มีเพื่อนน้อยคน แต่ละคนล้วนมีความสามารถและมีจิตใจพร้อมช่วยเรายามต้องการย่อมเป็นที่พึงปรารถนา ฉะนั้นการคบคนควรจะรู้จักนิสัยใจคอว่าเขาเป็นคนเช่นใด

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๓)

นิวตฺตยนฺติ โสกมฺหา

คนใจการุณย์ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า

๒๗๓ [๑๐.๑๕] (๒๗/๑๔๙๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีจิตใจการุณย์ ( มีความเมตตา กรุณา ) สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้
  2. การคบคนที่มีน้ำใจ จะช่วยทำให้มีที่พึ่งยามที่เราต้องการความช่วยเหลือ

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๔)

เนกาสี ลภเต สุขํ

กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข

๒๗๔ [๑๐.๑๖] (๒๗/๑๖๗๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. กินคนเดียวไม่ได้มีความสุข เพราะขาดคนคอยพูดคุยเพื่อให้มีบรรยากาศรื่นเริง
  2. กินคนเดียวทำให้เงียบเหงา เปรียบเสมือนคนขาดเพื่อนที่จะปรึกษา ปรับทุกข์ หรือคุยเล่น

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๕)

น ภุญฺเช สาธุเมกโก

ไม่พึงบริโภคของอร่อยผู้เดียว

๒๗๕ [๑๐.๑๗] (๒๘/๙๔๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ไม่พึงบริโภคของอร่อยผู้เดียว เพราะการมีผู้อื่นร่วมรับประทานอาหาร ทำให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น เพราะมีการพูดคุยเรื่องต่างๆ
  2. ในความเปรียบเทียบ การมีของอร่อยและเชิญผู้อื่นมาร่วมด้วยแสดงว่าเป็นคนเอื้อเฟื้อ แบ่งปันไม่เห็นแก่ตัว เมื่อคนอื่นมีของอร่อยเขาก็จะคิดถึงเราด้วย

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๗)

โย มาตรํ ปิตรํ วา ชิณฺณกํ คตโยพฺพนํ

ปหุสนฺโต น ภรติ ตํ ปราภวโต มุขํ

คนใด มารดาบิดาแก่เฒ่า ล่วงพ้นวัยหนุ่มวัยสาวไปแล้ว

ตนเองสามารถ ก็ไม่เลี้ยงดู นั้นคือปากทางของความเสื่อม

๒๗๗ [๑๐.๑๙] (๒๕/๓๐๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนใดที่ไม่มีความกตัญญูรู้คุณของพ่อแม่ โดยเฉพาะเวลาท่านทั้งสองแก่เฒ่า ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ คนประเภทนี้มีแต่จะพบทางเสื่อมของชีวิต
  2. การแวะเวียนเยี่ยมพ่อแม่ยามที่ท่านทั้งสองแก่เฒ่า เป็นการที่ทำให้ท่านมีความรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้ง จัดเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีอีกทางหนึ่ง
  3. บุญกุศลจากการดูแลพ่อแม่เปรียบเสมือนการดูแลพระอรหันต์ซึ่งจะได้บุญมาก

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๘)

ปหุตวิตฺโต ปุริโส สหิรญฺโ สโภชโน

เอโก ภุญฺชติ สาทูนิ ตํ ปราภวโต มุขํ

คนใด มั่งมีทรัพย์สินเงินทอง มีของกินของใช้มาก

แต่บริโภคของอร่อยคนเดียว นั้นเป็นปากทางแห่งความเสื่อม

๒๗๘ [๑๐.๒๐] (๒๕/๓๐๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีทรัพย์สินเงินทองมาก แต่ไม่ยอมแบ่งปันผู้ใดเลย เก็บไว้กินไว้ใช้แต่เพียงผู้เดียว จะเป็นผู้ไร้ญาติขาดมิตร
  2. คนที่ไร้ญาติขาดมิตร จะทำให้เวลามีปัญหาก็จะไม่มีผู้ที่อยากให้ความช่วยเหลือ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมหรือความตกต่ำของชีวิต

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๗๙)

ทเทยฺย ปุริโส ทานํ อปฺปํ วา ยทิวา พหุ

เกิดมาเป็นคน จะมากหรือน้อย ก็ควรให้ปันบ้าง

๒๗๙ [๑๐.๒๑] (๒๗/๑๐๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เกิดมาเป็นคน ควรจะต้องรู้จักการให้บ้าง จะมากหรือน้อยไม่สำคัญ เพราะเป็นการแสดงน้ำใจ เพราะการรู้จักแบ่งปันเป็นคุณสมบัติของคนดี
  2. การรู้จักแบ่งปัน เป็นการแสดงความเป็นมิตร
  3. การรู้จักตอบแทนก็เป็นการแสดงความขอบคุณเมื่อได้รับการแบ่งปัน
  4. การรู้จักแบ่งปัน จะทำให้โลกหยุดความเห็นแก่ตัว

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๘๑)

อมตนฺทโท จ โส โหติ โย ธมฺมมนุสาสติ

ผู้ใดสั่งสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย

๒๘๑ [๑๐.๒๓] (๑๕/๑๓๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ธรรมคือสิ่งไม่ตาย และการให้ธรรมะเป็นทานถือว่าได้บุญสูงสุด ดังนั้นผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย
  2. คนที่สอนธรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นพระสงฆ์เท่านั้น
  3. ฆราวาสบางคนปฏิบัติธรรมเคร่งครัดยิ่งกว่าบรรพชิต
  4. ดังนั้น การสั่งสอนธรรมยอดเยี่ยมกว่าการสอนวิชาใดๆ

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๘๒)

วิเจยฺยทานํ สุคตปฺปสตฺถํ

ให้ด้วยพิจารณา พระศาสดาทรงสรรเสริญ

๒๘๒ [๑๐.๒๔] (๑๕/๙๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การให้สิ่งของแก่ผู้ใด ควรที่จะพิจารณาให้รอบคอบก่อนให้ ว่าผู้รับจะได้รับประโยชน์อย่างไร เพราะของบางอย่างให้กับคนคนหนึ่งจะมีประโยชน์มาก แต่อาจจะไม่มีประโยชน์สำหรับอีกคนหนึ่ง
  2. ดังนั้นการให้สิ่งของผู้อื่น ก็พินิจพิเคราะห์ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับด้านใด ก็เน้นการให้ที่เป็นประโยชน์ในชาติได้
  3. พระพุทธเจ้า ทรงเน้นว่าการปฏิบัติได้บุญสูงกว่าการทำทานชนิดต่างๆ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองไม่มีประมาณ จะยังจิตให้แก่สรรพสัตว์ได้รับรู้ในการบำเพ็ญบารมีในทางที่ไม่ประมาท และเป็นความเจริญในชาติบ้านเมืองอันเป็นจุดอันจะนำไปสู่ความเจริญของโลกและสันติภาพ

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๘๔)

หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺช โภเค

คนดีจัดการโภคทรัพย์

บำเพ็ญประโยชน์แก่ชนจำนวนมาก

๒๘๔ [๑๐.๒๖] (๒๒/๔๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการโภคทรัพย์ (ของกินของใช้) ซึ่งเป็นของจำเป็นแก่คนจำนวนมาก คนที่มีหน้าที่ดังกล่าวเปรียบเสมือนแม่ทัพที่ต้องนำหมู่คณะออกทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีวิตลูกน้องเป็นจำนวนมาก
  2. คนดังกล่าวย่อมได้รับการสรรเสริญ

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๘๕)

ทินฺนํ โหติ สุนิพฺภตํ

ของที่ให้แล้ว ชื่อว่านำออกไปอย่างดีแล้ว

๒๘๕ [๑๐.๒๗] (๑๕/๑๓๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ตัวอย่างของของที่ให้แล้ว เช่น การถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุที่จะออกไปเป็นธรรมฑูต พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญยิ่งแล
  2. อาจขยายความได้อีกว่า ของที่ให้แล้ว ที่คิดจะเอากลับคืนมาเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ก่อนรับปากให้อะไรใคร ควรคิดให้รอบคอบเสียก่อน

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๘๗)

อทฺธา หิ ทานํ พหุธา ปสตฺถํ

ทานา จ โข ธมฺมปทํว เสยฺโย

ทานนั้นปราชญ์สรรเสริญกันโดยมากอย่างแน่นอน

แต่กระนั้น บทธรรมก็ยังประเสริฐกว่าทาน

๒๘๗ [๑๐.๒๙] (๑๕/๑๐๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปราชญ์จะสรรเสริญทาน แต่อามิสทานประเสริฐน้อยกว่าธรรมทาน
  2. การรับธรรมทานนั้นประเสริฐน้อยกว่าการปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง
  3. ลำดับขั้นของการสร้างบารมี เรียงลำดับดังนี้ ทาน ศีล ภาวนา
  4. การทำทานได้บุญน้อยกว่าการรักษาศีล การรักษาศีลได้บุญน้อยกว่าสมาธิภาวนา  สมาธิภาวนาได้บุญน้อยกว่าวิปัสสนาภาวนา

อมฤตพจนา

๑๐. การเบียดเบียน – การช่วยเหลือกัน (๒๘๘)

เอตทคฺคํ ภิกฺขเว ทานานํ ยทิทํ ธมฺมทานํ

ภิกษุทั้งหลาย การให้ธรรม เป็นยอดแห่งทาน

๒๘๘ [๑๐.๓๐] (๒๓/๒๐๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การให้ธรรมะเป็นธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง
  2. การให้ทานมีหลายระดับ เช่น 

– การให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉานต่ำสุด
– การให้ทานแก่อมนุษย์ ได้บุญมากกว่า สูงกว่าสัตว์เดรัจฉาน
– การให้ทานแก่ผู้รักษาศีล ได้บุญมากกว่าผู้ไม่มีศีล
– การให้ทานแก่ผู้เจริญสมาธิภาวนา ได้บุญมากกว่ารักษาศีล
– การให้ทานแก่ผู้เจริญวิปัสสนา ได้บุญสูงกว่าการเจริญสมาธิภาวนา หรือ การเจริญวิปัสสนาภาวนา ได้บุญสูงสุด

  1. ธรรมทาน ได้บุญสูงสุดที่เกี่ยวกับทาน อภัยทาน ได้บุญน้อยกว่าธรรมทาน วิหารทาน ได้บุญน้อยกว่าอภัยทาน 
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post