Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๑๖

๑๖. พระครูญาณทัสสี  (หลวงปู่คำดี  ปภาโส)

๑๖. พระครูญาณทัสสี  (หลวงปู่คำดี  ปภาโส)

วัดถ้ำผาปู่  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย

“พระอริยเจ้าผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อธรรม”

 

พระเดชพระคุณหลวงปู่คำดี ปภาโส พระอริยเจ้าศิษย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นผู้มีความสมบุกสมบันทั้งภายนอกและภายใน สันโดษ ไม่ชอบการก่อสร้าง

เบื้องต้น  ท่านศึกษาธรรมจากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ณ วัดป่าสาลวัน  อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  จากนั้น ท่านท่องเที่ยวไปตามป่าเขา จนกระทั่งวาระสุดท้ายท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดถ้ำผาปู่และได้รับอุบายธรรมอันสำคัญจากหลวงตามหาบัวจนถึงที่สุดแห่งทุกข์

 

บางคนภาวนาไปอยากเห็นภาพต่างๆ เช่น นรก สวรรค์ เทวดา เป็นต้น การที่ได้เห็นสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีอะไรแปลก ที่ว่าไม่แปลกก็เพราะว่าเมื่อเห็นแล้วกิเลสของเราก็ยังอยู่เหมือนเดิม บางคนแถมยังทำให้เกิดกิเลสเพิ่มมากขึ้นอีกเสียด้วย คือถือว่าตนเองเป็นผู้วิเศษที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้ เลยไม่ยอมกราบไหว้ใครทั้งนั้น จนกลายเป็นสัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์ ปิดกั้นทางมรรค ทางผล ทางนิพพานไปโดยปริยาย ความเห็นสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความเห็นที่ผิดจากหลักของศาสนา ส่วนความเห็นที่ถูกนั้นคือการเห็นจิตตามความเป็นจริง เห็นกายตามความเป็นจริง คือเห็นธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ของตนและของคนอื่นสักแต่ว่าเป็นธาตุ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตนตัว เราเขา และเห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเราสามารถเห็นได้แบบนี้แล้ว เรียกว่า “เห็นกายตามความเป็นจริง

 

ส่วนที่ว่าเห็นจิตตามความเป็นจริงนั้น ท่านถือสภาพรู้เป็นตัว ไม่ได้ถือเวทนา ๓ เป็นตัว, เวทนา ๓ ก็คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาภาวนา (ความไม่สุขไม่ทุกข์คือเป็นกลาง) สิ่งเหล่านี้ก็จะต้องเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีตนไม่มีตัวในเวทนา ๓ ถือแต่ความรู้เป็นตัว ถ้าเราสามารถเห็นได้แบบนี้แล้ว เรียกว่า “เห็นจิตตามความเป็นจริง”

 

เกิด ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕

ละสังขาร ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗

อุปสมบท ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑

อายุ ๘๒

พรรษา ๕๔

วัด วัดถ้ำผาปู่

ท้องที่ จ.เลย

สังกัด ธรรมยุติกนิกาย

ที่มา

  • หนังสือ ๒๘ พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
  • คัดลอกจากหนังสือ “ธรรมโอวาท” อนุสรณ์เนื่องในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์และเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ (พ.ศ.๒๕๔๕)
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post