อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๑๕)
วโย รตฺตินฺทิวกฺขโย
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
๔๑๕ [๑๘.๐๑] (๑๕/๑๗๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การดำรงชีวิต ผ่านไปแต่ละคืนวัน ทุกวันผ่านไป หมายถึงชีวิตใกล้ความตายมาถึงทุกวัน
- ไม่มีใครรู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตหรือไม่
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๑๖)
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ
วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป
จากประโยชน์ที่จะทำ
๔๑๖ [๑๘.๐๒] (๒๖/๓๕๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- วันคืนผ่านไป ชีวิตของคนก็เหลือลงน้อยลงทุกวัน
- เวลาที่เหลือจะทำประโยชน์ให้แก่ตนและผู้อื่นก็เหลือน้อยลงทุกวัน
- อย่าผัดวันประกันพรุ่ง ในการทำสิ่งใด เพราะทุกคนเหลือเวลาไม่มากนัก
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๑๗)
รตฺโย อโมฆา คจฺฉนฺติ
คืนวัน ไม่ผ่านไปเปล่า
๔๑๗ [๑๘.๐๓] (๒๘/๔๓๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คืนวันผ่านไปเปล่า คืนวันควรจะผ่านไปอย่างมีประโยชน์ต่อการทำความดี เพื่อที่จะเหลืออริยทรัพย์ติดตัวไป
- ในแต่ละวันให้ถามตัวเองว่าได้สะสมบุญไว้บ้างหรือเปล่า
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๑๘)
อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป
วัยก็หมดไปทีละตอนๆ ตามลำดับ
๔๑๘ [๑๘.๐๔] (๑๕/๓๐๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การเวลาผ่านไป คืนวันผ่านไป ความแก่และความตายคืบคลานมาทุกวัน
- อย่ามัวทำแต่สิ่งไม่มีประโยชน์ต่อชีวิตที่เหลือ เช่น ให้หยุดกิเลส (โลภ โกรธ หลง)
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๑๙)
รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ
รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป
แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย
๔๑๙ [๑๘.๐๕] (๑๕/๒๑๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- รูปร่างกายก็ย่อยสลายไปตามกฎธรรมชาติ คือ กลับไปสู่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- รูปร่างกายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
- ให้เริ่มลงมือภาวนาทุกค่ำเช้า เพื่อปิดทางไปอบายภูมิ
- ชื่อเสียงที่ดีไม่มีวันสลายไปตามเวลา ฉะนั้นจงหมั่นสร้างความดีไว้แม้ตายไปแล้ว ชื่อเสียงก็ยังถูกกล่าวขานถึง
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๐)
ทหราปิ จ เย วุฑฺฒา เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
อฑฺฒา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต
ทั้งคนมี ทั้งคนจน
ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
๔๒๐ [๑๘.๐๖] (๑๐/๑๐๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศใด ชาติใด ฐานะใด ล้วนเดินทางไปสู่ความตายกันทุกคน
- ตายแล้วไปไหน ขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรม
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๑)
น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ
เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดก็ติดตามไปไม่ได้
๔๒๑ [๑๘.๐๗] (๑๓/๔๕๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เมื่อตาย ทรัพย์สินเพียงชิ้นเดียวก็เอาติดตัวไปไม่ได้
- สิ่งที่เอาไปด้วยคือ บาป-บุญ เท่านั้น
- เร่งสร้างบุญบารมีให้มาก สำหรับเวลาที่ยังเหลือเพียงน้อยนิด
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๒)
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลเวลาย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย
พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
๔๒๒ [๑๘.๐๘] (๒๗/๓๔๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
เวลาผ่านพ้นไปไม่หวนกลับ อะไรที่ผ่านไปแล้ว อย่ากังวล เพราะทำอะไรไม่ได้ ให้ลงมือทำในปัจจุบันให้ดี เพื่อวันข้างหน้าจะได้ไม่ต้องเสียใจ
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๓)
ตํ ตญฺเจ อนุโสเจยฺย ยํ ยํ ตสฺส น วิชฺชติ
อตฺตานมนุโสเจยฺย สทา มจฺจุวสํ ปตฺตํ
ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตน
คือผู้ที่ตายไปแล้วไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง
ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
๔๒๓ [๑๘.๐๙] (๒๗/๖๑๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
ถ้าเราเศร้าโศกถึงคนที่เสียชีวิตแล้ว ก็ควรที่จะต้องเศร้าโศกถึงตัวเองด้วย ซึ่งยังตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา ดังนั้น คนที่ยังอยู่ ควรจะมีจิตใจเข้มแข็งและเบิกบาน ไม่ควรมีความเศร้าโศกจนขาดสติ และเสียใจ ในขณะที่ตายไปแล้วไม่อาจกลับฟื้นขึ้นมา
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๕)
น เหว ติฏฺ นาสีนํ น สยานํ น ปตฺถคุ
อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์
ผู้ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่ ก็หาไม่
๔๒๔ [๑๘.๑๐] (๒๗/๖๑๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เพราะเป็นหลักของพระไตรลักษณ์ หลักก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสัจธรรมที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตลอด ๒,๐๐๐ กว่าปี และมีมาก่อนหน้านี้แล้ว
- วัยย่อมเสื่อมลงไปเรื่อย ทุกหลับตา (คืน) ทุกหลับตา (วัน)
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๖)
ตตฺถตฺตนิ วตปฺปนฺเถ วินาภาเว อสํสเย
ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ จวิตํ อนนุโสจิยํ
เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน
ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย
หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูกัน
ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว
๔๒๖ [๑๘.๑๒] (๒๗/๖๑๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ไม่มีใครหยุดเวลาหรือการเปลี่ยนแปลงความเสื่อมของร่างกายได้ ทุกอย่างก็ต้องเข้ากฎพระไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา )
- สิ่งทั้งหลาย ( สังขารทั้งหลาย ) เป็นอนัตตา
- ชนรุ่นหลังควรร่วมมือกันทำงาน มิใช่คิดถึงแต่ความโศกเศร้า
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๘)
ผลานมิว ปกฺกานํ นิจฺจํ ปตนโต ภยํ
เอวํ ชาตาน มจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ
ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่จะต้องร่วงหล่นไปตลอดเวลา ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น
๔๒๘ [๑๘.๑๔] (๒๗/๑๕๖๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเข้ากฎอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่ามัวคิดถึงแต่ความตาย อย่างไรก็ตาม ควรเจริญมรณานุสติอยู่เสมอ
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๒๙)
สายเมเก น ทิสฺสนฺติ ปาโต ทิฏฺา พหู ชนา
ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ ทิฏฺา พหู ชนา
ตอนเช้า ยังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็น
เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น
๔๒๙ [๑๘.๑๕] (๒๗/๑๕๖๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ทุกสิ่งทุกอย่างมีความไม่แน่นอน จงอย่าประมาท
- ความตายเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
- ในขณะที่ความเกิดเป็นธรรมดาเช่นกัน
- สิ่งใดมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับเป็นธรรมดา
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๓๐)
เอโกว มจฺโจ อจฺเจติ เอโกว ชายเต กุเล
สํโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณินํ
จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว
ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย
ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้น
๔๓๐ [๑๘.๑๖] (๒๗/๑๕๗๓)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- จะเกิดก็มาคนเดียว จะตายก็ไปคนเดียว ทุกคนเกี่ยวข้องกันชั่วครู่ยาม
- จะเกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่กฎแห่งกรรม ๓๑ ภูมิสังสารวัฏ
- จะตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร เมื่อความตายมาถึง หมดเวลาที่จะแก้ตัว เพราะพญามัจจุราชเปิดสมุดบุญ-บาป พิพากษาตามกรรมที่สร้างไว้
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๓๑)
น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ าตีสุ ตาณตา
เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตรไม่ว่าบิดา
ไม่ว่าญาติพวกพ้อง ถึงจะมี ก็ช่วยต้านทานไม่ได้
จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี
๔๓๑ [๑๘.๑๗] (๒๕/๓๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เมื่อตายไป พญามัจจุราชไม่ลำเอียงเข้าข้างผู้ใด พิพากษาตามกรรมที่สร้างไว้ ใครก็ช่วยไม่ได้ ถึงใครจะเข้าช่วย ก็ช่วยไม่ได้
- กฎแห่งกรรม กรรมใดใครก่อ ผู้นั้นจะต้องรับเอง
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๓๒)
น หิ รุณฺณํ วา โสโก วา ยา วญฺา ปริเทวนา
น ตํ เปตานมตฺถาย เอวํ ติฏฺนฺติ าตโย
การร้องไห้ ความเศร้าโศก
หรือการคร่ำครวญร่ำไรใดๆ
ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว
ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั่นเอง
๔๓๒ [๑๘.๑๘] (๒๕/๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การร้องไห้ คร่ำครวญถึงผู้ตาย ย่อมไม่เกิดประโยชน์กับผู้ล่วงลับ ทุกอย่างยังเหมือนเดิม
- แม้จะมีพิธีใหญ่โตก็ไม่สามารถทำให้ผู้ตายฟื้นขึ้นมาได้
- จงทำดีต่อกันขณะที่มีชีวิตอยู่ จะทำให้ไม่ต้องเสียใจเมื่อจะต้องจากกันไป
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๓๓)
น หิ รุณฺเณน โสเกน สนฺตึ ปปฺโปติ เจตโส
ภิยฺยสฺสุปฺปชฺชเต ทุกฺขํ สรีรํ จุปหญฺติ
การร้องไห้ หรือเศร้าโศก จะช่วยให้จิตใจสงบสบาย ก็หาไม่
ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่างกายก็พลอยทรุดโทรม
๔๓๓ [๑๘.๑๙] (๒๕/๓๘๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การร้องไห้ เศร้าโศกจะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลยแก่ผู้อยู่หรือผู้ตาย
- ให้ดูแลกันเป็นอย่างดีในขณะที่มีชีวิตอยู่
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๓๗)
ตสฺมา อรหโต สุตฺวา วิเนยฺย ปริเทวิตํ
เปตํ กาลกตํ ทิสฺวา เนโส ลพฺภา มยา อิติ
เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอนของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว
พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป
ก็ทำใจได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
เราจะขอให้เป็นอยู่อีก ย่อมไม่ได้
๔๓๗ [๑๘.๒๓] (๒๕/๓๘๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เมื่อทราบถึงสัจธรรมเกี่ยวกับความตายเป็นเรื่องธรรมดา ความเสียใจไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
- สิ่งที่ควรทำคือ คิดว่าเราไม่สามารถทำให้คนตายฟื้นกลับมาได้
- เราทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพการี
- เราไม่ยื้อแย่งสมบัติของพ่อแม่
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๓๙)
ยสฺส รตฺยา วิวสาเน อายุ อปฺปตรํ สิยา
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุเหลือน้อยเข้าทุกที
๔๓๙ [๑๘.๒๕] (๒๘/๔๓๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- วันเวลาผ่านไป อายุเหลือน้อยเข้าทุกที
- วันเวลาผ่านไป เวลาที่เหลือในการทำสิ่งต่างๆ เหลือน้อยทุกที
- เวลาที่เหลือน้อยลงท่านจะทำอะไรก็ควรเร่งมือทำ
- ไม่มีใครรู้ว่าพรุ่งนี้เราจะตื่นหรือไม่
- ท่านมีสิทธิเลือกทำความดี หรือกรรมชั่ว
- อย่าผัดวันประกันพรุ่งในการทำสิ่งสำคัญในชีวิต จงเลือกทำสิ่งที่จะให้บุญมาก
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๔๑)
ยถา วาริวโห ปูโร คจฺฉํ น ปริวตฺตติ
เอวมายุ มนุสฺสานํ คจฺฉํ น ปริวตฺตติ
แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด
อายุของมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
๔๔๑ [๑๘.๒๗] (๒๘/๔๓๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- แม่น้ำเต็มฝั่ง เหมือนคนอายุมาก ท่านไม่มีโอกาสจะแก้ตัวเรื่องราวในอดีต เพราะมันผ่านไปแล้ว
- สิ่งที่ทำได้คือ วันเวลาที่เหลืออยู่ จะทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับเวลาที่เหลือไม่มากอย่างไร
- จัดลำดับความสำคัญที่จะทำในแต่ละวันทำคะแนนให้ได้มากที่สุด ก่อนจะหมดเวลา
- การสร้างบุญบารมีที่ได้บุญมาก เรียงลำดับดังนี้ คือ ทาน ศีล ภาวนา หรือ
- การให้ทาน
- การรักษาศีล
- สมถะ และวิปัสสนาภาวนา
- โดยบุญสูงสุดคือ วิปัสสนาภาวนา
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๔๒)
ตสฺมา อิธ ชีวิตเสเส
กิจฺจกโร สิยา นโร น จ มชฺเช
เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้
ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
๔๔๒ [๑๘.๒๘] (๒๕/๓๘๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ทุกคนไม่พึงประมาทโดยการผัดวันประกันพรุ่ง อย่ารอจนนาทีสุดท้ายในการที่จะสร้างบุญบารมี
- หมั่นภาวนา “พุทโธ” ทุกลมหายใจ
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๔๓)
ปาปญฺจ เม นตฺถิ กตํ กุหิญฺจิ
ตสฺมา น สงฺเก มรณาคมาย
ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหนๆ เลย
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
๔๔๓ [๑๘.๒๙] (๒๘/๑๐๐๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- หมั่นทำความดีเป็นประจำ จนทำให้จิตเกิดความเคยชินกับการทำความดี
- ในแต่ละวันให้ภาวนาทุกลมหายใจ โดยใช้หลักกรรมฐานอานาปานสติ อานาปานสติไม่เสียเงิน เราจะต้องหายใจทุกวันและทั้งวันอยู่แล้ว
- หายใจอย่างมีสติ ให้จิตใจจับอยู่กับลมหายใจ
- เห็นความจริงของธรรมชาติว่าชีวิตเกิดจากธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จะเป็นรูปร่างกาย เป็นที่อาศัยของจิต แต่รูปร่างกายถึงเวลาก็เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ไม่มีตัวตน (อนัตตา) รูปร่างกายจะถูกย่อยสลายกลับสู่ธาตุเดิมคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- เหลือเพียงจิตวิญญาณที่จะต้องไปรับกรรมที่สร้างไว้
- ถ้ายังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ก็จะต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ ๓๑ ภูมิ (โลกียภูมิ)
- แต่ถ้าหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จิตวิญญาณก็จะเข้าสู่ “โลกุตรภูมิ” ซึ่งมี ๔ ระดับคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
- ความตายจะมาถึงเมื่อใด ข้าพเจ้าพร้อมเสมอ
อมฤตพจนา
๑๘. ชีวิต – ความตาย (๔๔๔)
ธมฺเม ิโต ปรโลกํ น ภาเย
ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
๔๔๔ [๑๘.๓๐] (๑๕/๒๐๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- หมั่นทำทาน รักษาศีล และภาวนา และเชื่อในกฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
- ทำดีทั้ง กาย วาจา ใจ
- ทำดีแล้ว ไม่ตกในอบายภูมิเป็นแน่แท้