๑๙

พ้นทุกข์-พบสุข

อมฤตพจนา

๑๙. พ้นทุกข์ – พบสุข (๔๔๕)

ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ

นินฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ

เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา

มา โสจิ กึ โสจสิ โปฏฺปาท

ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ

นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์

สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์

ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน

อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม

๔๔๕ [๑๙.๐๑] (๒๗/๖๑๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. โลกธรรม ๘ คือ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุขและทุกข์ เป็นธรรมดาของหมู่มนุษย์
  2. โลกธรรมดา ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน ได้มาก็สูญไปเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่ไม่รู้จักพอ
  3. ความทุกข์อาจจะทุเลาลงได้ ถ้าเรารู้จักพอ ไม่ทะเยอทะยานอยากจนเกินไป พอใจในสิ่งที่ตนได้ ตนเป็น นั่นคือ การหยุดตัณหาทุกชนิด

อมฤตพจนา

๑๙. พ้นทุกข์ – พบสุข (๔๔๖)

อสาตํ สาตรูเปน ปิยรูเปน อปฺปิยํ

ทุกฺขํ สุขสฺส รูเปน ปมตฺตมติวตฺตติ

ผู้ที่มัวเพลินประมาทอยู่กับสิ่งที่ชอบใจ

สิ่งที่รัก และความสุข

จะถูกสิ่งที่ไม่ชอบใจ สิ่งที่ไม่รัก

และความทุกข์ เข้าครอบงำ

๔๔๖ [๑๙.๐๒] (๒๗/๑๐๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นอนิจจัง ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน อย่าประมาทว่าจะพบกับสิ่งที่ชอบอยู่เสมอ เพราะถ้าพบเจอกับสิ่งที่ไม่ชอบจะทุกข์หนัก
  2. เพื่อมิให้ต้องผิดหวังมาก ก็อย่าคาดหวังมากเกินความสามารถ และตั้งเป้าอย่าให้สูงเกินกำลัง
  3. พอใจในสิ่งที่ตนทำได้
  4. ทุกข์ในการตายเกิดในวัฏสงสาร
  5. สังขารเป็นทุกข์ยิ่งนัก เพราะสังขารเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

อมฤตพจนา

๑๙. พ้นทุกข์ – พบสุข (๔๕๖)

สุขํ วต ตสฺส น โหติ กิญฺจิ

ผู้ไม่มีอะไรค้างใจกังวล

ย่อมมีแต่ความสุขหนอ

๔๕๖ [๑๙.๑๒] (๒๕/๕๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ที่ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการทำงาน และหลักพรหมวิหาร ๔ ในการทำงาน จะพบแต่ความสำเร็จและความสุขในการทำงาน
  2. ในการทำงาน จงสร้างนิสัยให้รู้จักการเป็นผู้เสียสละ หรือยอมเสียเปรียบ จะทำให้ชีวิตท่านจะมีแต่ความสุข จากการให้แก่ผู้ที่คิดว่าตนชนะจากการได้เปรียบ
  3. แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
  4. ทุกข์เพราะความถือมั่น
  5. ทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด
  6. ทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจริงๆ ก็เกิดขึ้นที่จิตใจของตนเองไม่ได้เกิดขึ้นจากคนอื่น แต่คนทั้งหลายก็คิดว่าคนอื่นทำให้เราเป็นทกุข์
  7. ทุกข์จริงๆ นั้นเป็นเพราะจิตใจของพวกเราเกิดความคิดขึ้นมาก็เลยคิดยึดมั่นถือมั่น
  8. การที่จิตคิดเรื่องนี้ขึ้นมาแล้วก็ดับไปครั้งหนึ่ง เราก็ตายไปชาติหนึ่ง เมื่อเราทุกคนคิดมากๆ ยิ่งคิดหลายอารมณ์เท่าไร เราก็ยิ่งตายมากขึ้นเท่านั้น เมื่อจิตคิดเกิดๆ ตายๆ เช่นนี้ก็ทุกข์มาก

(ข้อ ๔ – ข้อ ๘) 

ที่มา: หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป)

อมฤตพจนา

๑๙. พ้นทุกข์ – พบสุข (๔๕๘)

อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ

ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ

ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน

ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส

๔๕๘ [๑๙.๑๔] (๑๕/๒๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด จะทำให้ชีวิตท่านประสบกับความสำเร็จ
  2. อดีต คือ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถแก้ไข อนาคต คือ สิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดังนั้น ไม่ควรกังวลมากจนเกินไป ดังนั้น สิ่งที่ควรทุ่มเททำก็คือ ปัจจุบัน ทำให้ดีที่สุด

อมฤตพจนา

๑๙. พ้นทุกข์ – พบสุข (๔๕๙)

สุขิโน วตารหนฺโต

ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ

๔๕๙ [๑๙.๑๕] (๑๗/๑๕๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ท่านผู้ที่สามารถฆ่ากิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) ของตนเองได้ จัดว่าเป็นผู้ที่มีชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ จะสามารถมีชัยชนะเหนือทุกสิ่ง
  2. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านสามารถชนะกิเลสได้ ทำให้กิเลสมารยอมแพ้ท่านโดยไม่ต้องใช้อาวุธใดๆ เลย
  3. ความสุขที่แท้จริง ก็คือ การดับเสียซึ่งกิเลส เพราะทำให้หยุดความอยาก (ตัณหา)  การดับชาติ ดับชรา ดับมรณะ ถือว่าเป็นที่สุดของความทุกข์ และทำให้ได้สุขสูงสุด 
  4. ท่านผู้ไกลกิเลส คือผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ๘
  5. หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป สอนไว้ว่า….

หากบุคคลใดมีมานะทิฏฐิ ถือตัวถือตนอยู่แล้วไม่ลดละลงไป ก็เหมือนเราแบกท่อนไม้ซุงอยู่ทำให้บ่าของเราหนัก หนักอยู่ที่ไหน หนักอยู่ที่จิตใจที่มีมานะทิฏฐิ ใครวางท่อนซุงจากใจได้ก็สบายเลย

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post