Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

คน

อมฤตพจนา

  1. คน (๒)

นานาทิฏฺิเก นานยิสฺสสิ เต

มนุษย์ทั้งหลายต่างความคิดต่างความเห็นกัน

ท่านจะกำหนดให้คิดเห็นเหมือนกันหมด เป็นไปไม่ได้

๒ [๐๑.๐๒] (๒๗/๗๓๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนเราถึงแม้จะเกิดมาจากพ่อแม่เดียวกัน เวลาเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างกัน ทั้งทางด้านความคิด/นิสัยใจคอ
  2. จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะคิดอย่างเราทุกเรื่อง
  3. ส่วนที่คิดคล้ายกันก็อาจจะมี โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความโลภ โกรธ หลง
  4. ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อาจจะนำไปสู่ทางออกที่ดีกว่าเดิมก็ได้ ขอให้เปิดใจให้กว้างในการยอมรับความแตกต่าง
  5. ของอาจจะมีค่าก็ต่อเมื่อมีผู้นำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ของอย่างเดียวกันอาจจะเป็นภาระของอีกคนหนึ่ง ซึ่งจะต้องเป็นราคาที่รวมทุกอย่างเหมือนกัน

อมฤตพจนา

  1. คน (๕)

ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ ตเถเวกสฺส ปาปกํ

ตสฺมา สพฺพํ น กลฺยาณํ สพฺพํ วาปิ น ปาปกํ

สิ่งเดียวกันนั่นแหละ ดีสำหรับคนหนึ่ง 

แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง

เพราะฉะนั้น สิ่งใดๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด

และก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด

๕ [๐๑.๐๕] (๒๗/๑๒๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในโลกนี้สิ่งต่างๆ จะมี ๒ ด้านเสมอ
  2. มีมืดก็มีสว่าง / มีดำก็มีขาว / มีรักก็มีเกลียด / มีชอบก็มีไม่ชอบ / มีถูกก็มีแพง
  3. คนมีเงินชอบดอกเบี้ย (รับ) แต่คนกู้ไม่ชอบดอกเบี้ย (จ่าย)
  4. นายจ้างชอบให้ทำงานหนัก แต่จ่ายน้อย
  5. ลูกจ้างชอบทำงานสบาย แต่อยากได้เงินมาก
  6. คนขายของชอบขายให้ได้ราคา (สูง) ในขณะที่ผู้ซื้อชอบซื้อของราคาถูก

อมฤตพจนา

  1. คน (๖)

อุกฺกฏฺเ สูรมิจฺฉนฺติ มนฺตีสุ อกุตูหลํ

ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ

เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ

เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น

เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก

เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต

๖ [๐๑.๐๖] (๒๗/๙๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงหรือเกิดวิกฤต การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ย่อมต้องการคนที่เป็นผู้นำ
  2. เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนที่ควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ เป็นคนที่มีความเป็นผู้นำที่สามารถควบคุมและนำคนหมู่มาก
  3. เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อท่านมีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ย่อมต้องการคนที่รัก
  4. เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต เมื่อต้องพบกับเหตุการณ์ที่ลึกซึ้งย่อมต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีประสบการณ์รอบด้าน

อมฤตพจนา

  1. คน (๑๐)

ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน

คนที่มีคุณสมบัติพร้อมทุกอย่าง หาได้ยาก

๑๐ [๐๑.๑๐] (๒๗/๓๐๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีความสามารถในทุกด้านหาได้ยาก
  2. คนที่มีความสามารถหลายด้านพอหาได้
  3. คนที่ไม่มีความสามารถในด้านใดเลย หาไม่ยาก
  4. คนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความสามารถด้านใด
  5. คนที่มีความสามารถหลายด้าน ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าจะทำรายได้ได้ดีกว่าคนที่รู้เฉพาะด้าน
  6. คนที่มีการศึกษาสูง ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าจะมีความสามารถรอบด้าน หรือมีความสามารถมาก
  7. คนที่มีการศึกษาต่ำ ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าจะไม่มีความสามารถในด้านใดเลย
  8. คนที่มีการศึกษาสูง ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าจะมีรายได้สูง
  9. คนที่มีการศึกษาต่ำ ไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าจะมีรายได้ต่ำ
  10. คนทีมีการศึกษาสูงและมีประสบการณ์มาก ย่อมจะประสบความสำเร็จในชีวิตเป็นส่วนใหญ่

อมฤตพจนา

  1. คน (๑๓)

มาเส มาเส สหสฺเสน โย ยเชถ สตํ สมํ

เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ มุหุตฺตมปิ ปูชเย

สา เยว ปูชนา เสยฺโย ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ

ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพัน ประกอบพิธีบูชาทุกเดือน
สม่ำเสมอตลอดเวลาร้อยปี
การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร
การยกย่องบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้วคนหนึ่ง
แม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า

๑๓ [๐๑.๑๓] (๒๕/๑๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การบูชาโดยหวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ที่ตนเชื่อ) โดยใช้เงินจัดทำพิธีกรรมต่างๆ จำนวนมาก ไม่อาจจะทำให้แก้ปัญหาได้ เปรียบเทียบกับการขอคำปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียวก็อาจจะได้ผลสำเร็จ
  2. อย่าหลงงมงายเกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลังจะช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะทุกอย่างต้องแก้ไขที่เหตุปัจจัย โดยเฉพาะความทุกข์ หรือการแก้ปัญหาทุกเรื่องจะต้องค้นหาสาเหตุให้พบ และแก้ที่ต้นเหตุ
  3. ผู้อบรมตนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาได้แม่นยำกว่าผู้ที่ใช้ทรัพย์อย่างมากประกอบพิธีกรรมในการบูชาต่างๆ โดยหวังจะได้สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยแก้ไขปัญหา

อมฤตพจนา

  1. คน (๑๔)

น ชจฺจา วสโล โหติ
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ
กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ

ใครๆ จะเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่

ใครๆ จะเป็นคนประเสริฐเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่

คนจะเลว ก็เพราะการกระทำ ความประพฤติ

คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ ความประพฤติ

๑๔ [๐๑.๑๔] (๑๓/๗๐๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ชาติกำเนิด ไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่า คนจะเลวหรือประเสริฐ
  2. ความประพฤติ จะเป็นตัวกำหนดว่าเป็นคนเลวหรือประเสริฐ
  3. ความยากดีมีจน ไม่ได้กำหนดว่าเป็นคนเลวหรือประเสริฐ
  4. ชาติกำเนิด ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จในการทำงาน หรือความสำเร็จในการเรียน
  5. ชาติกำเนิด เป็นเพียงสิ่งสมมติในสังคม
  6. คนเราเลือกเกิดไม่ได้ การที่เกิดมาเป็นลูกคนจนใช่ว่าจะต้องจนตลอดชีวิต หากมีความขยันมีปัญญารู้จักทำมาหากิน รู้จักเก็บออมและรู้จักบริหารเงินก็ย่อมจะมั่งมีขึ้นมาก็ได้
  7. ในทางตรงกันข้าม เกิดเป็นลูกคนรวยแต่ช่วงสุดท้ายอาจจะยากจนก็เป็นได้ เพราะขาดปัญญาไม่รู้จักทำมาหากินใช้เงินเกินหาได้ ในที่สุดก็หมดตัว

อมฤตพจนา

  1. คน (๑๙)

เอวเมว มนุสฺเสสุ ทหโร เจปิ ปญฺวา

โส หิ ตตฺถ มหา โหติ เนว พาโล สรีรวา

ในหมู่มนุษย์นั้น ถึงแม้เป็นเด็ก ถ้ามีปัญญา ก็นับว่าเป็นผู้ใหญ่

แต่ถ้าโง่ ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็หาเป็นผู้ใหญ่ไม่

๑๙ [๐๑.๑๙] (๒๗/๒๕๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดความเป็นผู้ใหญ่ มิใช่ความใหญ่โตของร่างกาย
  2. มีปัญญาประเสริฐสุด เพราะถ้ามีปัญหาจะสามารถแก้ปัญหาได้ แม้จะอยู่ในภาวะลำเค็ญ
  3. มีปัญญาเป็นขั้นสูงสุดของการสร้างบุญบารมี คือความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง สามารถหยุดการเวียนว่ายตายเกิด
  4. คนที่มีปัญญา จะมีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือการลงทุน
  5. คนที่มีปัญญามีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ ดังเช่น เหตุการณ์ต้มยำกุ้ง ปี ๒๕๔๐ องค์กรที่มีผู้นำที่มีปัญญา สามารถนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นปัญหาทั้งปวงในยามวิกฤตและสามารถนำพาองค์กรและผู้ถือหุ้นได้เงินลงทุนกลับคืน และได้โอกาสซื้อของราคาถูก (ซื้อหุ้น) เพราะวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำทำให้แปลงวิกฤตเป็นโอกาส
  6. คนที่มีปัญญาตระหนักดีว่า สิ่งต่างๆ ล้วนเป็นอนิจจังมีความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะในโลกที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการทำงานหรือผลิตสินค้า/บริการ ผู้มาใหม่พร้อมเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า สามารถเอาชนะผู้อยู่เดิมได้ เช่น โทรศัพท์ Apple สามารถเอาชนะ Nokia ได้ เพราะเป็นเทคโนโลยีล้ำหน้ากว่า

อมฤตพจนา

  1. คน (๒๐)

น เตน เถโร โหติ เยนสฺส ปลิตํ สิโร

ปริปกฺโก วโย ตสฺส โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ

คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอก ก็หาไม่

ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า

๒๐ [๐๑.๒๐] (๒๕/๒๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่เพราะอายุมาก ผมหงอก หรือแก่หง่อม
  2. คนที่จะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ ก็เพราะมีความโอบอ้อมอารี น่าเคารพนับถือ
  3. คนที่เป็นผู้ใหญ่ จะเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ มีความยุติธรรม เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้น้อย
  4. คนที่จะเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่เพราะอายุมากหรือทำงานมานาน
  5. คนที่จะเป็นผู้ใหญ่ จะต้องมีความคิดอ่านรอบด้าน มีความสามารถรอบด้านเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กร โดยเฉพาะมีลักษณะเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ถึงแม้อายุจะน้อยแต่คนในองค์กรให้การยอมรับในการบังคับบัญชา

อมฤตพจนา

  1. คน (๒๘)

ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน

อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ

คนทรามปัญญา ได้ยศแล้ว

ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน

ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียนทั้งตนและคนอื่น

๒๘ [๐๑.๒๘] (๒๗/๑๒๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่ไม่ดี ใช้ปัญญาในทางที่ไม่ดี เมื่อได้มีอำนาจก็จะใช้ไปในทางที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
  2. คนไม่ดีได้อำนาจ มักจะสร้างความเดือดร้อนให้กับทั้งตนเองและคนอื่น
  3. สังคมจะสงบและอยู่เย็นเป็นสุข หากคนดีมีอำนาจ ใช้อำนาจในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
  4. คนที่ปัญญาทราม มักจะหมกมุ่นแต่ในเรื่องการหาประโยชน์ส่วนตน โดยใช้อำนาจในทางที่ไม่ดี

อมฤตพจนา

  1. คน (๓๐)

นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ

นินฺทนฺติ พหุภาณินํ

มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ

นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต

คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา

คนพูดมาก เขาก็นินทา

แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา

คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

๓๐ [๐๑.๓๐] (๒๕/๒๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การนินทาเกิดขึ้นทุกแห่ง ถือเป็นเรื่องธรรมดา
  2. คนชอบนินทาคนอื่น แต่ไม่ชอบให้ผู้อื่นนินทาตน
  3. อย่าได้หวั่นไหวกับคำนินทา จงเป็นคนที่มีความหนักแน่นต่อคำนินทา มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของผู้นินทา
  4. หากท่านถูกนินทาจนทำให้คนเชื่อว่าเป็นจริง ท่านก็ต้องหาทางชี้แจงข้อเท็จจริงให้ถูกที่ถูกเวลา จะปล่อยให้คนนินทาจนกระทั่งคนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นเรื่องจริง ท่านควรที่หาจังหวะที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างเปิดเผยและมีเหตุผล เพื่อที่จะป้องกันตัวเองจากการตกเป็นเหยื่อคำนินทา
  5. การต่อสู้กับคำนินทาคือการชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมหลักฐานอย่างเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้และจะทำให้คนที่ชอบนินทาไม่กล้าที่จะนินทาอีก เพราะผู้ที่รับฟังจะไม่ให้น้ำหนักของคำนินทา

อมฤตพจนา

  1. คน (๓๑)

น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ

เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส เอกนฺตํ วา ปสํสิโต

คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว

ไม่เคยมีมาแล้ว จักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ ก็ไม่มี

๓๑ [๐๑.๓๑] (๒๕/๒๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก
  2. อย่าได้หวั่นไหวในคำนินทาและคำสรรเสริญ
  3. คนที่ทำงานด้วยกันในหมู่มาก ย่อมมีความเห็นที่หลากหลาย จะมีคนทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
  4. การนินทาและการสรรเสริญ ถือเป็นเรื่องธรรมดา
  5. การนินทาและการสรรเสริญ เป็นสัจธรรมของโลกธรรมแปด อันประกอบด้วยด้านพอใจคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ด้านไม่พึงใจคือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
  6. ใครตัดโลกธรรมแปดได้ก็จะสามารถตัดกิเลสได้ โลภะ (ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) โมหะ (ความหลง)
  7. ผู้ที่ตัดโลกธรรมแปดและกิเลสลงได้ ก็จะสามารถเข้าถึงการบรรลุธรรมขั้นสูงสุดคือ การบรรลุขั้นพระอรหันต์
  8. จงฝึกตนให้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแปด และพยายามตัดกิเลสให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

อมฤตพจนา

  1. คน (๓๓)

ครหาว เสยฺโย วิญฺญูหิ ยญฺเจ พาลปฺปสํสนา

วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ

๓๓ [๐๑.๓๓] (๒๖/๓๘๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้รู้โดยแจ่มแจ้งชัดเจน ตำหนิและอธิบายให้ฟังว่า สิ่งที่ทำไม่ถูกต้องเพราะอะไร สิ่งที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้ไม่ทำผิดอีกในอนาคต ได้เรียนรู้จากผู้มีความรู้
  2. สำหรับคำสรรเสริญของคนพาลไม่ได้ก่อประโยชน์ในชีวิต เพราะคำสรรเสริญดังกล่าวอาจจะสร้างความเสียหายในอนาคต เพราะหลงเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ทำให้ทำความผิดซ้ำอีก อันจะทำให้เกิดหายนะก็เป็นได้
  3. วิญญูชนตำหนิตามข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับและนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นสิ่งที่ดี เพราะมิฉะนั้นเราอาจจะมีการทำผิดซ้ำอีกหากไม่มีใครตำหนิ
  4. ส่วนผู้ที่เป็นคนพาลสรรเสริญเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง เพราะคนพาลมักจะทำสิ่งที่ไม่ดีตามนิสัยของตน เพราะคนชั่วทำดียาก และคนชั่วทำความชั่วง่าย

อมฤตพจนา

  1. คน (๓๔)

ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวา

อ่อนไป ก็ถูกเขาดูหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร

๓๔ [๐๑.๓๔] (๒๗/๑๗๐๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ยอมรับ ก็จะถูกดูแคลนว่าเป็นตัวถ่วงของกลุ่ม มักเป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ
  2. ในการทำงานกับผู้อื่น การแสดงท่าทีแข็งกร้าวจะทำให้สร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว หรือทำให้เกิดความหมั่นไส้
  3. ในการทำงานหากผลงานออกมาย่อหย่อนเกินไปจะทำให้ถูกดูถูกว่าความสามารถไม่ถึงระดับที่ยอมรับได้
  4. ในทางตรงกันข้าม ในการทำงานที่แสดงความมั่นใจตัวเองสูงเกินไป และแสดงท่าทีดูแคลนผู้อื่นจะทำให้ผู้ที่เป็นศัตรูและไม่ให้ความร่วมมืออาจกลั่นแกล้งจนกระทั่งทำให้งานที่ออกมาเกิดปัญหา อันจะส่งผลให้เกิดความเสียหายในผลงานของตนเองและขององค์กร

อมฤตพจนา

  1. คน (๓๕)

อนุมชฺฌํ สมาจเร

พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี

๓๕ [๐๑.๓๕] (๒๗/๑๗๐๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในการทำงานร่วมกับคนอื่น ควรให้เกียรติและเคารพในความเห็นของผู้อื่น
  2. ให้ใช้หลัก “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” ในการทำงาน
  3. จงทำงานด้วยความสุข โดยการยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเขาต้องการ
  4. ในที่ประชุม จงอย่าหักหน้าผู้อื่นและยกตนข่มท่าน
  5. ในการเสนอความเห็นต่างในที่ประชุม ให้มีศิลปะในการนำเสนอที่ไม่โจมตีความคิดของผู้อื่น เพื่อเชิดชูความเห็นของตัวเอง 

ตัวอย่างของการเสนอ :  เรียนท่านประธานและคณะกรรมการ ผมขอเรียนเสนอให้พิจารณาทางเลือกดังนี้… (คือกระจายทางเลือกให้ที่ประชุมพิจารณา มิใช่โจมตีเจ้าของความคิดหนึ่งความคิดใด)

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post