อมฤตพจนา : คติสอนใจ
อมฤตพจนา
- ฝึกตน (๓๖)
สนาถา วิหรถ มา อนาถา
จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง
๓๖ [๐๒.๐๑] (๒๔/๑๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ในการดำเนินชีวิต จะต้องเป็นคนที่มีหลักในการใช้ชีวิต เพราะในยามที่ต้องการพึ่งพาหาความช่วยเหลือ เหลียวไปทางหนึ่งทางใดก็ยังพอมีคนช่วยให้อุ่นใจคลายทุกข์
- อย่าเป็นคนที่ไม่มีหลักในการทำงาน (หลักลอย) เพราะจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ
- การดำเนินชีวิตอย่างมีหลักยึดเหนี่ยว จะทำให้มีความเชื่อมั่นในการทำงาน การแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ
- คนไร้ที่พึ่ง จะทำให้ชีวิตมีแต่ความหดหู่ เวลาเกิดปัญหาก็จะมีความรู้สึกว่าโลกนี้ไม่น่าอยู่ โดดเดี่ยว มุมมองในชีวิตก็มีแต่เรื่องเศร้าหมอง จะต้องแก้ไขโดยให้เรียนรู้การเป็นผู้รับก่อนยามที่ต้องการ และที่ดีกว่าคือการเป็นผู้ให้ เพราะผู้ให้จะเป็นที่รัก
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๓๗)
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
๓๗ [๐๒.๐๒] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เกิดเป็นคนอย่าคิดแต่พึ่งผู้อื่นตลอดเวลา
- ชีวิตจะเข็มแข็งต้องเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเอง
- การช่วยตัวเองจะทำให้มีความมั่นใจในตัวเอง
- พ่อแม่เลี้ยงดูเราได้ก็เพียงระยะหนึ่งของชีวิต
- ชีวิตจะแข็งแกร่งถ้าหัดช่วยงานพ่อแม่ จะทำให้มีความมั่นใจในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
- ท้ายสุดของชีวิต ที่พึ่งที่จะอยู่ด้วยกับเราตลอดชีวิตและตลอดเวลาทุกลมหายใจก็คือตัวเราเอง ไม่มีใครหายใจแทนเราได้
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๓๘)
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ
มีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ คือได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก
๓๘ [๐๒.๐๓] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การฝึกตนเองให้เรียนรู้รอบด้าน จะทำให้สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้โดยไม่หวั่นเกรงใดๆ
- การฝึกตนเองให้ชำนาญในด้านต่างๆ เสมือนมีที่พึ่งติดตามตัวเราไปทุกที่ (ทุกลมหายใจ) เป็นเหมือนเงาติดตามตัวไปทุกที่/ทุกเวลา
- การที่จะฝึกตนให้มีความสามารถจะต้องฝึกตนตั้งแต่งานระดับต่ำก่อนเพื่อที่จะเข้าใจงาน จะสำเร็จได้จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระดับล่างแล้วจึงจะปรับระดับความยากของงานในระดับสูงขึ้นไปตามลำดับ
- การฝึกงานทุกระดับตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับสูง จะทำให้เห็นความสัมพันธ์ของงานทุกระดับ การแก้ไขปัญหาจะแม่นยำขึ้น
- ผู้ที่ทำงานเริ่มต้นจากระดับสูงเลยโดยไม่ได้เรียนรู้งานระดับล่าง (เพราะครอบครัวเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) มักจะไปไม่รอดเวลาพบวิกฤตเพราะมองปัญหาไม่ออก
- ดังนั้นควรจะฝึกตนให้เรียนรู้งานทุกระดับ
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๔๒)
นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ
รักอื่นเสมอด้วยรักตน ไม่มี
๔๒ [๐๒.๐๗] (๑๕/๒๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ทุกคนมีความรักในตนเองมากที่สุด
- เพราะรักตนมากจนเกินไป จะนำไปสู่การเห็นแก่ตัว
- ความรักในตนเอง ควรอยู่ในกรอบที่ไม่เป็นความเห็นแก่ตัว ควรอยู่ในกรอบของการละอายต่อการทำชั่ว / ทำบาป
- รักตนให้ถูก ควรจะรักษากาย วาจา ใจ ให้อยู่ในศีลและธรรม
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๔๙)
อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง
อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง
๔๙ [๐๒.๑๔] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราจะรู้แก่ใจตัวเอง ว่ากำลังทำดีหรือชั่ว
- หากทำความชั่วอยู่ จิตใจก็เศร้าหมอง เพราะหลอกตัวเองไม่ได้
- หากทำดี จิตใจก็เบิกบาน เรารู้ตัวเอง
- ตนทำชั่วตัวก็เศร้าหมองเอง จะส่งผลให้การทำงานไม่ดี
- ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง ส่งผลทำให้จิตใจเบิกบานเกิดความคิดสร้างสรรค์ ผลงานออกมาก็จะดีตามไปด้วย
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๐)
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
นาญฺโ อญฺ วิโสธเย
คนอื่นทำคนอื่น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้
๕๐ [๐๒.๑๕] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความดี ความเลว เป็นของเฉพาะตัว ไม่สามารถทำแทนกัน
- ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นเรื่องเฉพาะตัว
- กรรมใดใครก่อ ผู้ก่อก็ต้องเป็นผู้รับกรรมเอง เป็นกฎแห่งกรรม
- การทำบุญหรือบาป เป็นเรื่องเฉพาะตัวทำแทนกันไม่ได้
- คนเราจะบริสุทธิ์หรือไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเอง บาปบุญที่ได้จากการกระทำที่ได้รับบุญขั้นสูง
- หลักไตรสิกขา : ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์
- การทำใจให้บริสุทธิ์ คือการปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุดคือปัญญา เป็นขั้นของวิปัสสนาภาวนา อันจะนำไปสู่ขั้นหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หรือขั้นพระนิพพาน
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๑)
นตฺถิ โลเก รโห นาม
ชื่อว่าที่ลับไม่มีในโลก
๕๑ [๐๒.๑๖] (๒๐/๔๗๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- สิ่งใดที่ถูกค้นพบ ก็ไม่มีคำว่าเป็นที่ลับอีกต่อไป
- สิ่งที่เรียกว่าลับ เป็นที่ลับเฉพาะผู้ที่ยังไม่รู้
- สิ่งที่มีในโลกจะถูกค้นพบในวันหนึ่ง แม้แต่สิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา มนุษย์ก็หาวิธีค้นหาจนพบ ความลับก็จะเปิดเผย
- ดังนั้น ความลับจึงไม่มีในโลก
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๓)
สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ
กรรมไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์ กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง
๕๓ [๐๒.๑๘] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เป็นธรรมชาติของการสร้างกรรม กรรมที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์ ทำได้ง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นกรรมที่เป็นความเห็นแก่ตัว สร้างกิเลส
- ส่วนกรรมดีและเป็นประโยชน์ มักจะทำได้ยากยิ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นการเสียสละ ปล่อยวาง ดับกิเลส
- กรรมไม่ดี โดยเฉพาะกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) ทำได้ง่าย
- กรรมดี โดยเฉพาะ ทาน ศีล ภาวนา เป็นเรื่องที่ทำยาก
- เราควรที่จะฝึกตนให้ทำกรรมดีให้มากในแต่ละวัน
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๗)
น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ชัยชนะใดกลับแพ้ได้ ชัยชนะนั้นไม่ดี
ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ
ชัยชนะใดไม่กลับแพ้ ชัยชนะนั้นแลเป็นชัยชนะที่ดี
๕๗ [๐๒.๒๒] (๒๗/๗๐)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ชัยชนะที่แท้จริง จะต้องสามารถรักษาชัยชนะดังกล่าวให้ยั่งยืน
- สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ ล้วนเข้ากฏพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
- ความเป็นจริง ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน แม้แต่จะเป็นชัยชนะในรูปแบบใด
- เมื่อได้รับชัยชนะแล้ว ต้องรู้จักคำว่า “พอ” ไม่ว่าจะเป็นชัยชนะอะไรก็ตาม ไม่มีแชมป์ตลอดกาล
- จงตระหนักข้อเท็จจริงว่า ถอยออกในขณะที่ยังเป็นแชมป์อยู่ จะมีศักดิ์ศรีและการกล่าวขวัญมากกว่า ถอยออกเมื่อถูกโค่นออกจากตำแหน่ง
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๕๘)
อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนนี่แล ดีกว่า
๕๘ [๐๒.๒๓] (๒๕/๑๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ก็คือชัยชนะตัวเอง ทั้งนี้เพราะเป็นชัยชนะที่ดับความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เป็นชัยชนะที่ทำให้สุข เพราะสามารถเอาชนะกิเลสอันมี โลภ โกรธ หลง เป็นชัยชนะที่สามารถนำติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ
- การเอาชนะตัวเอง โดยเฉพาะการเอาชนะการทำบาป การเอาชนะความเห็นแก่ตัว การเอาชนะการเบียดเบียน การเอาชนะความเกียจคร้าน การเอาชนะดังกล่าวจะทำให้ชีวิตพบแต่ความสุขความเจริญ
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๐)
อตฺตนา โจทยตฺตานํ
จงเตือนตนด้วยตนเอง
๖๐ [๐๒.๒๕] (๒๕/๓๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ตัวเราจะรู้ดีกว่าใคร ว่ากำลังคิดทำอะไรอยู่ การจะทำความดีหรือความชั่วตัวเราย่อมรู้ดี การที่จะลงมือทำความชั่วหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวเรา ตัวเราเองเท่านั้นที่จะยับยั้งการกระทำความชั่ว
- หมั่นฝึกให้เป็นนิสัยในการคิดให้รอบคอบก่อนทำอะไร ระงับชั่งใจก่อนจะลงมือทำอะไร จะได้ไม่ต้องเสียใจในภายหลัง
- ก่อนลงมือกระทำการใดๆ ใจ (จิต) เป็นนาย กายเป็นบ่าว
- หลังการลงมือกระทำการไปแล้ว กายเป็นนาย ใจเป็นบ่าว เพราะอาจจะนำมาสู่ความเสียใจในภายหลังจากลงมือทำไปแล้ว
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๓)
อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺมนุสาสติ
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น
๖๓ [๐๒.๒๘] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นในเรื่องอะไรก็ตาม ก็ควรสอนตัวเองในลักษณะเดียวกัน
- การสอนผู้อื่นๆ ต้องเปิดใจให้กว้าง
- การให้โดยการสอนวิธีทำมาหากิน จะทำให้มีบริวารที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะออกสนามรบพร้อมกับผู้นำ
- บทบาทของแต่ละคนเป็นไปตามบทที่ถูกเขียนเอาไว้ ชีวิตเหมือนโรงละครโรงใหญ่
- จงมีความอดทนเวลาสอนผู้อื่น ต้องตระหนักว่าวันหนึ่งข้างหน้าเขาอาจจะเป็นอาจารย์ของเรา
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๔)
สุทสฺสํ วชฺชมญฺเสํ
โทษคนอื่น เห็นง่าย
อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
แต่โทษตน เห็นยาก
๖๔ [๐๒.๒๙] (๒๕/๒๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- โดยทั่วไปเวลาเกิดเหตุไม่ดี คนทั่วไปมักจะปฏิเสธความผิดของตนเอง มักจะโทษว่าเป็นความผิดของคนอื่น
- เมื่อทำผิด เราควรที่กล้าหาญยอมรับผิดดีกว่าให้คนอื่นค้นพบว่าความผิดเป็นของใคร การยอมรับหลังจากผู้อื่นจับผิดได้ ไม่ได้ทำให้พ้นความผิดและเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ
- ผู้ที่ทำผิดยอมรับผิดด้วยตนเอง มีความสง่างามดีกว่าคนอื่นค้นพบความจริงว่าใครเป็นผู้ทำผิด
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๗)
อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย
ไม่ควรลืมตน
๖๗ [๐๒.๓๒] (๒๗/๒๓๖๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราเมื่อได้ดีไม่ควรจะลืมตน เพราะจะเป็นการทำลายบารมี
- ความอ่อนน้อมเวลาเป็นใหญ่ เป็นการเสริมการยอมรับ มักจะได้รับการต้อนรับจากผู้ร่วมงาน
- ยิ่งใหญ่โต ยิ่งอ่อนน้อม จึงทำให้เป็นที่รัก
- คนเราไม่ควรจะลืมตัวตนของตนเอง เช่น เคยเป็นคนจนมาก่อนต่อมาร่ำรวยขึ้นมาไม่ควรลืมอดีตที่เคยจนและลำบาก เพื่อเป็นการเตือนตัวเองว่าคนเราไม่มีอะไรแน่นอน (อนิจจัง) ทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากเราประมาท ดังตัวอย่างคือ
ระดับบุคคลและระดับชาติมีความประมาทว่าคนที่เคยรวยเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจผันผวนบุคคลดังกล่าวร่ำรวยเพราะกู้เงินทำธุรกิจแล้วร่ำรวย ก็คิดว่าการที่จะเร่งความรวย ตามทฤษฎีหากเศรษฐกิจขาขึ้นการทำธุรกิจในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำจึงทำการกู้เต็มที่ เพราะเชื่อมั่นในความสามารถของตน พอเกิดความผันผวนทำให้ธุรกิจต่างๆ มีปัญหา เพราะกำลังซื้อหดตัวแต่กำลังการผลิตล้นตลาด ทำให้เกิดการต่อสู้กันโดยการลดราคาสินค้าเพื่อตัดราคาจนกระทั่งผู้ที่ต้นทางแพงจะพ่ายแพ้ก่อนและเกิดปัญหาขาดกระแสเงินสด จะมีผู้แพ้ผู้ชนะ ผู้แพ้ก็ต้องออกจากอุตสาหกรรม ขณะที่ผู้ชนะก็คิดว่าตัวเองเก่ง จึงยังคงทำธุรกิจแบบเดิม วงจรธุรกิจมีขึ้นมีลงซึ่งจะทำให้ประมาทลืมไปว่าธุรกิจใหญ่เพียงใดก็ล้มได้หากเกิดปัญหา ธุรกิจที่ตั้งมานานเพียงใดก็มีสิทธิล้มได้
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๘)
นาญฺ นิสฺสาย ชีเวยฺย
ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ
๖๘ [๐๒.๓๓] (๒๕/๑๓๔)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เกิดเป็นคนจะต้องมีความรับผิดชอบในการหาเลี้ยงตัวเองให้ได้
- อย่าทำตัวเป็นตัวถ่วง ชีวิตจะต้องไม่หวังที่จะให้ผู้อื่นเลี้ยงดูในยามแก่เฒ่า
- ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ในการยังชีพแต่ละวันไม่คาดหวังจะมีผู้ใดมาเลี้ยงดู
- การอาศัยตัวเองในยามแก่เฒ่า จะต้องรู้จักออมยามที่อยู่ในวัยทำงานและมีรายได้ดี และจะต้องรู้จักบริหารเงินให้มีดอกเบี้ยและ/หรือเงินปันผลเพียงพอเมื่อเข้าสู่วัยชรา
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๖๙)
อตฺตตฺถปญฺา อสุจี มนุสฺสา
พวกคนสกปรก คิดเอาแต่ประโยชน์ของตัว
๖๙ [๐๒.๓๔] (๒๕/๒๙๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนสกปรกมักจะเป็นคนที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ มักจะเอาเปรียบผู้อื่น
- คนที่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน จะเป็นคนที่มีจิตใจคับแคบ คนประเภทนี้ให้อะไรกับผู้ใดจะต้องมีเจตนาไม่บริสุทธิ์แอบแฝง ให้ระวังคนประเภทนี้ เวลาเอ่ยปากด้วยคำอ่อนหวานจะปนด้วยยาพิษ
- ให้อยู่ห่างคนประเภทเห็นแก่ตัว จะทำให้ชีวิตสดใสยิ่งขึ้น
- การคบคนดีเพียงไม่กี่คน ย่อมดีกว่าการคบคนที่ไม่ดีเป็นร้อยคน
อมฤตพจนา
๒. ฝึกตน (๗๑)
อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย
การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ถึงจะมาก
ก็ไม่ควรให้เป็นเหตุทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน
อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา
กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัดแล้ว
พึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตน
๗๑ [๐๒.๓๖] (๒๕/๒๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ก่อนที่จะช่วยคนอื่น ดูแลคนในครอบครัวให้ดีก่อน
- การช่วยเหลือคน จะต้องเริ่มจากคนในครอบครัวก่อน
- การช่วยเหลือผู้อื่น อย่าทำให้คนในครอบครัวได้รับความทุกข์ การช่วยเหลือคนอื่นต้องไม่ทำอะไรเกินกำลัง
- การช่วยเหลือไม่จำเป็นต้องใช้เงินเสมอไป การให้คำแนะนำอาจจะทำให้ชีวิตผู้ได้รับคำแนะนำดีขึ้น