Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

จิตใจ

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๗๒)

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา

ธรรมทั้งหลาย มีใจนำหน้า

๗๒ [๐๓.๐๑] (๒๕/๑๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ธรรมทั้งหลายมีกายและใจ โดยที่ (จิต)ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว
  2. สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ทำก็มาจากใจเป็นผู้สั่งการให้ทำ โดยกายเป็นผู้ทำตามคำสั่งของใจ
  3. ถ้าเป็นคนที่จิตใจดี การกระทำทางกายก็จะดี เพราะจิตใจเป็นผู้บัญชาการ
  4. ถ้าใจมีความเพียงพอกับสิ่งที่มีอยู่ กายก็จะตอบสนองในเรื่องต่างๆ ของชีวิต เพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ชีวิตจะเป็นอย่างเรียบง่าย
  5. ในทางตรงกันข้าม ถ้าใจไม่รู้จักพอชีวิตก็จะดิ้นรนอยู่ในโลกธรรมแปด ซึ่งจะทำให้มีแต่ความทุกข์
  6. ทุกข์ (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป)
  • ทุกข์ที่จะเกิดขึ้นจริงๆ ก็เกิดขึ้นที่จิตใจของตนเองไม่ได้เกิดจากบุคคลอื่น แต่คนทั้งหลายก็คิดว่าคนอื่นทำให้เราเป็นทุกข์ ทุกข์จริงๆ นั้นเป็นเพราะจิตใจของพวกเราเกิดความคิดก็เลยคิดยึดมั่นถือมั่น
  • การที่จิตคิดเรื่องนี้ขึ้นมาแล้วก็ดับไปครั้งหนึ่งเราก็ตายไปชาติหนึ่ง เมื่อเราทุกคนคิดมากๆ ยิ่งคิดหลายอารมณ์เท่าไร เราก็ยิ่งตายมากครั้งเท่านั้น เมื่อจิตคิด เกิดๆ ตายๆ เช่นนี้ก็ทุกข์มาก

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๗๓)

จิตฺเตน นียติ โลโก

โลกอันจิตย่อมนำไป

๗๓ [๐๓.๐๒] (๑๕/๑๘๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จิตจะสะสมกรรมดีกรรมชั่ว และเวียนว่ายตายเกิดไปยังภพภูมิต่างๆ
  2. โลกียภูมิ เป็นภูมิผู้ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดโดยจิตจะพาไปตามกรรมที่สร้างไว้ เดินทางไปยังโลกต่างๆ อันประกอบด้วย อบายภูมิ ๔ / มนุษยภูมิ ๑ / เทวภูมิ ๖ / พรหมโลก ๒๐ แบ่งเป็น รูปพรหม ๑๖ และอรูปพรหม ๔ 

รวมเรียกว่า สังสารวัฏ ๓๑ ภูมิ

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๗๕)

สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ

จิตนั้นเห็นได้แสนยาก ละเอียดอ่อนยิ่งนัก มักตกไปหาอารมณ์ที่ใคร่

๗๕ [๐๓.๐๔] (๒๕/๑๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จิตเป็นสิ่งที่ยากแท้หยั่งถึง
  2. จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
  3. จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
  4. จิตเป็นตัวการที่สำคัญของทุกชีวิต
  5. จิตสะสมความดีและความเลว (ชั่ว) ของสรรพสิ่งข้ามภพข้ามชาติ
  6. จิตบันทึกทุกการกระทำของทุกชาติ
  7. จิตเป็นตัวทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด
  8. จิตเป็นธาตุรู้
  9. จิตเป็นอมตะ คือจิตไม่เกิดและไม่ตาย
  10. จิตดั้งเดิมใสบริสุทธิ์
  11. จิตต้องมัวหมอง เพราะถูกกิเลสครอบงำ
  12. กิเลสที่ครอบงำจิต คือโลกธรรม ๘  ลาภ/ยศ/สรรเสริญ/สุข

เสื่อมลาภ/เสื่อมยศ/นินทา/ทุกข์

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๗๖)

วิหญฺติ จิตฺตวสานุวตฺตี

ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมเดือดร้อน

๗๖ [๐๓.๐๕] (๒๗/๓๑๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ธรรมชาติของจิตมักจะโน้มเอียงไปในทางไม่ดี เพราะจิตได้สะสมสิ่งที่ไม่ดีมานาน
  2. สิ่งที่ยั่วยุทำให้จิตใฝ่ตำจะเป็นกิเลสตัวสำคัญคือ โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งจะนำมาซึ่งความทุกข์
  3. การที่จะทำให้จิตพ้นจากความทุกข์ จะต้องดับเสียซึ่งกิเลสหรือดับตัณหา ดับอุปาทาน ดับภพ ดับชาติ ชรามรณะดับ ทุกข์ดับ
  4. ทางปฏิบัติสายกลางเพื่อความดับทุกข์คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๗๘)

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ

จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้

๗๘ [๐๓.๐๗] (๒๕/๑๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จิตที่ผ่านการฝึกด้านสมาธิ จะทำให้มีความสุขเพียงชั่วคราว (ขณะนั่งอยู่ในสมาธิ)
  2. จิตที่ผ่านการฝึกชั้นวิปัสสนา จะทำให้พ้นจากความทุกข์อย่างถาวร
  3. การฝึกจิตเป็นประจำจะเป็นสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม สิ่งที่ได้รับก็คือความสงบ ความสงบนำความสุขมาให้

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๗๙)

จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี

ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต

๗๙ [๐๓.๐๘] (๒๕/๑๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
  2. ปัญญาเป็นขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา
  3. ปัญญาและจิตเป็นสิ่งคูกัน กล่าวคือ คนที่มีปัญญาดีจะต้องมีจิตใจที่ดีงามด้วย
  4. เมื่อมีจิตใจดี ปัญญาก็จะคิดแต่เรื่องดี ซึ่งจะทำให้ความสำเร็จตามมา
  5. สังขาร (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโปสังขารการปรุงแต่งของจิตนี้เป็นสิ่งที่จัญไรที่สุด ทำให้คนเกิดทุกข์และวุ่นวาย เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่มีสิ้นสุด

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๘๐)

สจิตฺตมนุรกฺขถ

จงตามรักษาจิตของตน

๘๐ [๐๓.๐๙] (๒๕/๓๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนเราจะต้องมีความเข้าใจจิตใจของตนเองก่อน จึงจะทำให้เข้าใจจิตใจของผู้อื่น
  2. คนเราจะดีหรือชั่ว ขึ้นอยู่กับจิตของคนนั้น
  3. จิตเป็นอย่างไร พฤติกรรมของคนๆ นั้นก็จะเป็นเช่นนั้น
  4. จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
  5. จิตคิดดี กายก็ทำดี
  6. จิตคิดชั่ว กายก็ทำชั่ว
  7. จิตสงบจึงเห็นทุกข์ (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป) จิตของบุคคลที่ไม่สงบระงับเป็นสมาธิ จิตวุ่นวายแส่ส่ายไปตามสัญญาอารมณ์ภายนอก ให้กิเลสหลอกลวงไปอยู่ ไม่รู้จักจบจักสิ้น จิตใจไม่หนักแน่นมั่นคง ไม่อยู่เป็นสมาธิย่อมมีความทุกข์ ถ้หากเราทำจิตใจของเราให้สงบระงับเป็นสมาธิ เราจึงจะสามารถมองเห็นทุกข์ได้ชัด มองเห็นจิตใจของตนเองสั่นสะเทือนและมีความทุกข์ได้ชัด ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นเห็นทุกข์จริง จิตที่เป็นสมาธิจะไม่รั่วไหลไปกับสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๘๑)

จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา

เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง

๘๑ [๐๓.๑๐] (๑๒/๙๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

ทุคติ ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลำบาก นรก

คติสอนใจ

  1. เมื่อจิตใจมีความเศร้าหมองจะต้องไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ ความลำบาก คือนรก
  2. สาเหตุที่ทำให้จิตมีความเศร้าหมอง มาจากจิตใจได้รับผลกระทบจากการทำบาป หรือถูกครอบงำด้วยกิเลส

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๘๒)

จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเ สุคติ ปาฏิกงฺขา

เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้

๘๒ [๐๓.๑๑] (๑๒/๙๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

สุคติภูมิ หมายถึง ดินแดนอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกผู้ทำกรรมดี ได้แก่ มนุษยภูมิ เทวภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

คติสอนใจ

  1. เมื่อจิตใจไม่เศร้าหมองหรือจิตใจมีความเบิกบานหลังความตาย ภพภูมิจะไปเกิดใหม่จะเป็นดินแดนอันเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกผู้ทำกรรมดี  อันได้แก่  มนุษยภูมิ  เทวภูมิ รูปพรหม อรูปพรหม
  2. ในการที่จะไปสู่สุคติหลังความตายหรือการเกิดใหม่ จะเป็นภพภูมิใดขึ้นอยู่กรรมที่ทำไว้
  3. ธรรมปฏิบัติที่จะนำทางไปสู่สุคติ คือ ทาน ศีล ภาวนา
  4. การทำทาน จะไปเกิดในมนุษยภูมิ เทวภูมิ
  5. การรักษาศีล จะไปเกิดในเทวภูมิ
  6. การภาวนาถึงขั้นรูปฌาน จะเกิดใหม่เป็นรูปพรหม
  7. การภาวนาถึงขั้นอรูปฌาน จะเกิดใหม่เป็นอรูปพรหม

อมฤตพจนา

๓. จิตใจ (๘๓)

เย จิตฺตํ สญฺเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา

ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร

๘๓ [๐๓.๑๒] (๒๕/๑๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ปฏิบัติทางจิตใจที่สำคัญคือ สมาธิภาวนาจะทำให้จิตสงบ จะเกิดในชั้นรูปพรหม หรืออรูปพรหม จิตยังมีการเวียนว่ายตายเกิด
  2. สำหรับผู้ปฏิบัติด้านวิปัสสนาภาวนา เป็นการปฏิบัติทางจิตใจให้ใจบริสุทธิ์ หมดแล้วซึ่งกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) เส้นทางที่จะไปหลังความตายคือพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ เป้าหมายสุดท้ายของวิปัสสนาภาวนาคือ การพิจารณาขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ขันธ์ ๕ มาจากธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อตายธาตุทั้ง ๔ ก็กลับสู่สภาพเดิม คือธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนจิตเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ ๕ เกิดความเบื่อหน่ายที่จะเกิดใหม่ เพราะตราบใดที่มีขันธ์ ๕ ก็ยังมีความทุกข์ ดังนั้น จิตจึงสลัดคืนอุปทานขันธ์ ๕ เพื่อเข้าสู่พระนิพพาน
  3. ความว่างสุดท้าย (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป)
  • เราต้องการความว่างสุดท้าย ว่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ต้องเป็นผู้มีสติปัญญาว่องไวเฉลียวฉลาดสอนจิตของตนเองให้รู้โทษของสิ่งเหล่านี้ จึงจะปล่อยวางได้
  • บุคคลใดที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ห้า จิตของบุคคลนั้นแลจะหลุดพ้นไปเข้าสู่เมืองนิพพานได้
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post