Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

การคบหา

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๐)

นยํ นยติ เมธาวี       อธุรายํ น ยุญฺชติ

สุนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต น กุปฺปติ

วินยํ โส ปชานาติ สาธุ เตน สมาคโม

ปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ

ไม่ชวนทำสิ่งที่มิใช่ธุระ

การแนะนำดีเป็นความดีของปราชญ์

ปราชญ์ถูกว่ากล่าวโดยชอบ ก็ไม่โกรธ

ปราชญ์ย่อมรู้วินัย

การสมาคมกับปราชญ์จึงเป็นการดี

๒๒๐ [๐๙.๐๑] (๒๗/๑๘๑๙)

คติสอนใจ

  1. ปราชญ์หรือผู้แนะนำ แนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ไม่ควรแนะนำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่กำลังประสบอยู่
  2. ระหว่างทาง จะทำให้เรามีเพื่อนร่วมทางมาก ซึ่งอาจจะช่วยเหลือกันและกัน
  3. การคบหากับปราชญ์เป็นสิ่งดี เพราะเป็นผู้ติเตียนได้หากมีเหตุผลและความมีระเบียบวินัยจะทำให้เราซึมซับความดีงามของเขา

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๑)

น วิสฺสเส อิตฺตรทสฺสเนน

ไม่ควรไว้วางใจ

เพียงด้วยพบเห็นกันนิดหน่อย

๒๒๑ [๐๙.๐๒] (๑๕/๓๕๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การคบคน ควรจะระมัดระวัง ยังไม่ควรไว้วางใจ หลังเพียงพบปะรู้จักกันเล็กน้อย
  2. การไว้วางใจ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างพันธมิตร
  3. การไว้วางใจกัน ไม่ได้เกี่ยวกับฐานะของแต่ละคน
  4. คนรวยบางคน ไม่น่าไว้วางใจ ส่วนคนจนบางคน เป็นคนน่าไว้วางใจ

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๒)

มิตฺตรูเปน พหโว ฉนฺนา เสวนฺติ สตฺตโว

มีคนเป็นอันมากที่คบหา

อย่างเป็นศัตรูผู้แฝงมาในรูปมิตร

๒๒๒ [๐๙.๐๓] (๒๗/๑๔๒๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ให้ระมัดระวังเรื่องคบหาคนที่เรายังไม่เคยรู้จัก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบประวัติของทุกคน
  2. ดูประวัติให้ละเอียด ผู้ที่สมัครของคู่แข่งอาจปลอมตัวมาสมัคร เพื่อล้วงความลับของกิจการ

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๓)

จรนฺติ โลเก ปริวารฉนฺนา

อนฺโต อสุทฺธา พหิ โสภมานา

คนจำพวกที่งามแต่ภายนอก ภายในไม่สะอาด

มีบริวารกำบังตัวไว้ ก็แสดงบทบาทอยู่ในโลก

๒๒๓ [๐๙.๐๔] (๑๕/๓๕๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ให้ระมัดระวังคนที่ชอบแสดงตนว่าเป็นคนดี แต่แท้ที่จริง เป็นคนที่คบไม่ได้ มักจะชักใยให้ลูกน้องทำความผิดแทนตนเอง
  2. ภายนอกดูดี แต่พอเช็คตรวจสอบประวัติไม่น่าเชื่อถือ เป็นคนชอบสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นคนดูดี คนประเภทนี้ไว้ใจไม่ได้

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๔)

อกโรนฺโตปิ เจ ปาปํ       กโรนฺตมุปเสวติ

สงฺกิโย โหติ ปาปสฺมึ อวณฺโณ จสฺส รูหติ

ผู้ใด แม้หากมิได้กระทำความชั่ว

แต่คบหาเกลือกกลั้วกับผู้กระทำบาป

ผู้นั้นย่อมพลอยถูกระแวงในกรรมชั่ว

อีกทั้งชื่อเสียงเสื่อมเสีย ย่อมเพิ่มพูนแก่เขา

๒๒๔ [๐๙.๐๕] (๒๕/๒๕๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การคบคนชั่ว จะต้องระมัดระวัง เพราะจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเราก็เป็นคนชั่วด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำความชั่วก็ตาม
  2. ผลที่ตามมา อาจทำให้ชื่อเสียงของเราเสื่อมเสียไปด้วย
  3. ดังนั้น เราจะต้องระวังในการคบกับคนชั่ว จะทำให้สังคมเข้าใจผิดว่าเราก็เป็นประเภทเดียวกันกับคนที่ทำความชั่ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเราเป็นคนชั่วตามไปด้วย

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๕)

โสปิ ตาทิสโก โหติ  ยาทิสญฺจูปเสวติ

คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น

๒๒๕ [๐๙.๐๖] (๒๗/๒๑๕๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การคบคนสำคัญมาก เราจำเป็นต้องเลือกคบคน เพราะการคบคนชั่วทำให้ถูกมองเป็นคนชั่วไปด้วย แนวโน้มการคบเช่นใด ก็เป็นคนเช่นนั้น
  2. ชีวิตจะแตกต่าง ระหว่างการคบคนดีและคนเลว
  3. การคบคนดี จะทำให้ได้พบแต่คนดี ชีวิตก็จะก้าวหน้าไปด้วย เพราะคนดีดึงคนดี คนชั่วดึงคนชั่ว
  4. เมื่อเวลาผ่านพ้นไปการเลือกคบคนที่เก่งกว่าเรา ทำให้เราได้เรียนรู้เพิ่มเติม ในขณะที่คนชั่วมุ่งทำแต่เรื่องที่ดึงชีวิตให้ตกต่ำ

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๖)

ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ

กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา

คนใดห่อปลาเน่าด้วยใบคา ใบคาย่อมเหม็นกลิ่นปลาคละคลุ้ง  

เกลือกกลั้วคบหาคนพาล ย่อมมีผลเช่นอย่างนั้น

๒๒๖ [๐๙.๐๗] (๒๕/๒๕๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนชั่วจะหาอะไรมาปกปิด ก็ปกปิดไม่มิด เพราะกลิ่นไอของความชั่วจะถูกเปิดเผยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
  2. ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงต่อการพบปะสมาคมกับคนชั่ว เพราะจะทำให้ชีวิตตกต่ำ

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๗)

ตครญฺจ ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ

ปตฺตาปิ สุรภิ วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา

ส่วนคนใดห่อกฤษณาด้วยใบไม้

ใบนั้นย่อมพลอยมีกลิ่นหอมฟุ้ง 

การคบหาเสวนานักปราชญ์ ย่อมมีผลเช่นอย่างนั้น

๒๒๗ [๐๙.๐๘] (๒๕/๒๕๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ส่วนคนดี ก็จะมีแต่เรื่องที่นำพาชีวิตให้พบแต่ความรุ่งเรือง
  2. คนดี จะดึงคนดีเข้ามาอยู่ในที่เดียวกัน และทำให้ชีวิตเป็นไปอย่างเป็นสุขและพบแต่สิ่งดีๆ 
  3. การคบคนดีเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม คนดีจะทำแต่ในสิ่งที่มีสาระสำคัญในชีวิต เราก็จะได้ดีตามไปด้วย
  4. การคบคนดีชีวิตจะเติมเต็มในเรื่องที่เป็นแก่นสารในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน หรือการลงทุน

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๘)

ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทา

การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ทุกเมื่อ 

เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู

๒๒๘ [๐๙.๐๙] (๒๕/๒๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การคบคนพาล จะทำให้มีเรื่องกับผู้อื่นไม่จบสิ้น วันทั้งวันก็ทำแต่เรื่องที่ทำให้พ่อแม่ ครอบครัวเสียใจ
  2. การคบคนพาล อาจจะสูญเสียทั้งทรัพย์และชื่อเสียง
  3. คนพาลจะทำแต่สิ่งที่ไม่เสริมสร้างให้ชีวิตดีขึ้น เช่น ติดยาเสพติด เล่นการพนัน

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๒๙)

ธีโร จ สุขสํวาโส   าตีนํว สมาคโม

ปราชญ์มีการอยู่ร่วมเป็นสุข

เหมือนสมาคมแห่งญาติ

๒๒๙ [๐๙.๑๐] (๒๕/๒๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การคบคนดี ก็จะทำให้ชีวิตได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากปราชญ์ วันคืนที่ผ่านไปจะเติมคุณค่าของชีวิต จากการเรียนรู้
  2. นอกจากนี้ เวลาเกิดปัญหาก็มีคนมีปัญญาให้ข้อแนะนำ และให้หารือได้ ซึ่งทำให้ชีวิตได้เติมเต็มแต่สิ่งที่ดี ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ดี

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๐)

ยสฺมึ มโน นิวิสติ อวิทูเร สหาปิ โส

สนฺติเกปิ หิ โส ทูเร ยสฺมา วิวสเต มโน

จิตจอดอยู่กับใคร ถึงไกลกัน ก็เหมือนอยู่ชิดใกล้

ใจหมางเมินใคร ถึงใกล้กัน ก็เหมือนอยู่แสนไกล

๒๓๐ [๐๙.๑๑] (๒๗/๑๗๕๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จิตจดจ่ออยู่กับใคร กระแสจิตจะทำให้เหมือนอยู่ใกล้ชิดกัน
  2. แต่ถ้ามีจิตใจหมางเมินต่อกัน อยู่ใกล้กันแค่ไหนก็เหมือนอยู่แสนไกล เปรียบเสมือนคนอยู่ไกลกัน หากมีจิตผูกพันกันก็เหมือนได้ปรึกษาหารือช่วยเหลือกันถึงแม้อยู่ห่างกัน แต่คนอยู่ใกล้หากใจไม่ผูกพันก็ห่างเหินไร้การพึ่งพากัน

๙. การคบหา (๒๓๑)

อนฺโตปิ เจ โหติ ปสนฺนจิตฺโต ปารํ สมุทฺทสฺส ปสนฺนจิตฺโต

อนฺโตปิ โส โหติ ปทุฏฺจิตฺโต ปารํ สมุทฺทสฺส ปทุฏฺจิตฺโต

ถ้าใจรักแล้ว ถึงอยู่ห่างคนละฝั่งฟากมหาสมุทร

ก็เหมือนอยู่สุดแสนใกล้

ถ้าใจชังแล้ว ถึงอยู่สุดแสนใกล้

ก็เหมือนอยู่ไกลคนละฟากมหาสมุทร

๒๓๑ [๐๙.๑๒] (๒๗/๑๗๕๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ถ้าใจรักแล้ว ถึงอยู่ห่างกัน ก็เหมือนอยู่สุดแสนใกล้
  2. ถ้าใจชังแล้ว ถึงอยู่สุดแสนใกล้ ก็เหมือนอยู่ไกลคนละฟากฟ้า
  3. ความรักและความชังของแต่ละคน อาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของแต่ละคน
  4. ความรักความชังจึงมีอิทธิพลต่อชีวิต ความรักนำมาซึ่งความสุข ส่วนความชังนำมาซึ่งความทุกข์
  5. จงสร้างนิสัยให้มีความเมตตาต่อผู้อื่น จะทำให้ชีวิตมีความสุขและได้รับความเมตตาเป็นการตอบแทน

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๒)

ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ

น โส ธมฺมํ วิชานาติ ทพฺพี สูปรสํ ยถา

คนพาล ถึงอยู่ใกล้บัณฑิตจนตลอดชีวิต

ก็ไม่รู้แจ้งธรรม เสมือนทัพพี ที่ไม่รู้รสแกง

๒๓๒ [๐๙.๑๓] (๒๕/๑๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนพาลถึงอยู่ใกล้ชิดบัณฑิตจนตลอดชีวิตก็ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับธรรมะคุณงามความดี
  2. คนพาล ไม่มีความสนใจเรื่องธรรมะ พฤติกรรมก็จะทำแต่เรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตัวเองและผู้อยู่ใกล้
  3. ดังนั้น เราควรอยู่ห่างคนพาลจะดีที่สุด
  4. คนพาล ไม่รู้คุณค่าของการคบคนดีว่าจะนำความเจริญให้กับตนเอง เปรียบเสมือนใกล้เกลือกินด่าง

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๓)

มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ

ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ ชิวฺหา สูปรสํ ยถา

ส่วนวิญญูชน หากเข้าใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว

ก็รู้ธรรมได้ฉับพลัน เสมือนลิ้นที่รู้รสแกง

๒๓๓ [๐๙.๑๔] (๒๕/๑๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. โดยทั่วไป วิญญูชน หากเข้าใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว ก็จะได้เรียนรู้ธรรมะในทันที
  2. ดังนั้นประการแรกฝึกตนให้เป็นวิญญูชน ประการต่อมาเราควรอยู่ใกล้บัณฑิต เพราะจะเกิดผลดีต่อชีวิต ไม่ว่าจะเรื่องการเรียน การทำงาน และการดูแลคนในครอบครัว
  3. การอยู่ใกล้ชิดบัณฑิตจะเป็นผลดีต่อชีวิต อย่างน้อยก็จะซึมซับความดีของบัณฑิตไม่มากก็น้อย อันจะทำให้มีความสุข

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๔)

นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ

นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช

ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

พึงมองเห็นคนมีปัญญา ที่ชอบชี้โทษ พูดจาข่มขี่

เสมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์

พึงคบคนที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้นแหละ

เมื่อคบคนเช่นนั้นย่อมมีแต่ดี ไม่มีเสียเลย

๒๓๔ [๐๙.๑๕] (๒๕/๑๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. พึงคบบัณฑิตที่มีปัญญา เพราะจะชี้แนะเรื่องต่างๆ ให้แม้ว่าจะพูดจาไม่เสนาะหูบางครั้งตำหนิติเตียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำมาหากิน หรือการลงทุน หรือแก้ไขปัญหาที่เราประสบอยู่
  2. คบบัณฑิตมีแต่ได้ ถ้ารู้จักเรียนรู้ และถามให้เป็น
  3. การคบคนมีปัญญา ทำให้เรามีที่ปรึกษาเวลาเราเกิดปัญหา

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๕)

โอวเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย

สตํ หิ โส ปิโย โหติ อสตํ โหติ อปฺปิโย

พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงพร่ำสอนเถิด

พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด คนที่ทำเช่นนั้น

ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ และไม่เป็นที่รักของ อสัตบุรุษ

๒๓๕ [๐๙.๑๖] (๒๕/๑๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คำแนะนำสั่งสอนของบุคคลมีคุณค่าอย่างมาก ยิ่งเป็นคำที่สอนให้หลีกหนีจากความชั่วย่อมเป็นที่สรรเสริญของผู้เป็นสัตบุรุษ
  2. หากทำตามสัตบุรุษ ก็จะทำให้เป็นคนที่น่านับถือ มีคุณธรรมในการทำกิจต่างๆ 

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๖)

น ภเช ปาปเก มิตฺเต

ไม่ควรคบมิตรชั่ว

๒๓๖ [๐๙.๑๗] (๒๕/๑๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ไม่ควรคบคนชั่ว เพราะมีแต่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ
  2. การคบคนไม่ดี จะทำให้เราเป็นคนไม่ดีด้วย

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๗)

ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ

ควรคบมิตรดี

๒๓๗ [๐๙.๑๘] (๒๕/๑๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ดังนั้น เราควรคบคนดี เพราะจะทำให้ชีวิตพบแต่สิ่งดีๆ
  2. คนดีโดยทั่วไป จะเป็นคนมีคุณธรรม และมีนิสัยชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
  3. ในแต่ละวัน คนเรามีเวลาเท่ากันคือ ๒๔ ชั่วโมง ท่านจะใช้เวลาในแต่ละวันคบหากับคนดีหรือคนไม่ดี
  4. การคบกับคนดี จะทำให้ชีวิตมีค่าเพิ่มขึ้นทุกวัน

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๘)

โหติ ปานสขา นาม โหติ สมฺมิยสมฺมิโย

คนเป็นเพื่อนแต่เวลาดื่มเหล้า ก็มี เป็นเพื่อนแต่ปากว่า ก็มี

๒๓๘ [๐๙.๑๙] (๑๑/๑๘๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เพื่อนมีหลายชนิด เช่น เพื่อนในวงกินเหล้าด้วยกัน เป็นเพื่อนกิน เพื่อนเที่ยว เพื่อนอ่านหนังสือ เพื่อนที่ทำงานเดียวกัน เพื่อนปฏิบัติธรรมด้วยกัน
  2. จงเลื่อกเพื่อนที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ว่าด้านการเรียน การทำงาน การทำมาหากิน การลงทุน
  3. จะมีเพื่อนที่ดีหรือไม่ดี เราเป็นผู้เลือกและตัดสินใจเอง อย่าไปโทษคนอื่น
  4. เลือกเพื่อนผิด กลับใจได้ มาเลือกเพื่อนดีชีวิตเปลี่ยนได้ คนเราผิดพลาดได้
  5. รู้ว่าพลาดในการคบคน หลงเพราะถูกหลอก กลับใจได้ ทุกคนให้อภัยได้ ยกเว้นคนเสียประโยชน์

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๓๙)

โย จ อตฺเถสุ ชาเตสุ สหาโย โหติ โส สขา

ส่วนผู้ใดเป็นสหายในเมื่อเกิดเรื่องต้องการ ผู้นั้นแล คือเพื่อนแท้

๒๓๙ [๐๙.๒๐] (๑๑/๑๘๕)

คติสอนใจ

  1. จงเลือกคบคนที่เป็นเพื่อนแท้ ไม่ต้องมีเพื่อนมาก ขอให้เป็นเพื่อนแท้เพียงไม่กี่คนก็ช่วยให้ท่านมีชีวิตที่มีความสุขได้
  2. เพื่อนแท้คือเพื่อนที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือยามที่เราลำบาก และต้องการความช่วยเหลือ
  3. จงรักษามิตรภาพของเพื่อนแท้ไว้ โดยการตอบแทนความเป็นเพื่อนแท้ให้กลับคืน เวลาเพื่อนแท้ยากลำบาก
  4. จงเลือกเพื่อนที่มีคุณธรรม

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๐)

นตฺถิ พาเล สหายตา

ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล

๒๔๐ [๐๙.๒๑] (๒๕/๓๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนพาลมักจะเป็นคนที่ไม่มีเหตุผล
  2. คนพาลจะตามใจตัวเอง และไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น
  3. ดังนั้น การคบคนพาลโดยหวังว่าจะเป็นเพื่อนที่คอยช่วยในยามยาก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก ควรหลีกเลี่ยงการคบคนพาล

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๑)

ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม

สมาคมกับคนพาล นำทุกข์มาให้

๒๔๑ [๐๙.๒๒] (๒๗/๑๒๙๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การคบกับคนพาล มีแต่นำเรื่องต้องเดือดร้อนมาให้
  2. ชีวิตจะตกอับถ้าคบคนพาล
  3. การคบคนพาล ไม่เห็นทางนำไปสู่ความสุข

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๒)

นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี

ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวลง

๒๔๒ [๐๙.๒๓] (๒๐/๔๖๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้คบคนเลว ย่อมถูกฉุดให้เลวตาม
  2. การคบคนเลวทำให้ทำแต่เรื่องเลวๆ อันจะทำให้เกิดความทุกข์ของพ่อแม่และผู้ปกครอง
  3. ชีวิตในแต่ละวัน คนเลวคิดทำแต่เรื่องเลวๆ ทำแต่เรื่องที่จะฉุดชีวิตให้ตกต่ำ
  4. ดังนั้นถ้าไม่อยากมีชีวิตที่ตกต่ำ อยู่ให้ห่างไกลคนเลว

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๓)

เสยฺยํโส เสยฺยโส โหติ โย เสยฺยมุปเสวติ

เมื่อคบคนที่ดีกว่า ก็ดีขึ้นมาด้วย

๒๔๓ [๐๙.๒๔] (๒๗/๔๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เลือกคบคนที่ดีกว่า จะทำให้ชีวิตดีขึ้นมาด้วย
  2. เลือกคบคนที่เก่งกว่า จะทำให้ชีวิตเราเก่งตามไปด้วย
  3. เลือกคบคนที่รวยกว่า จะทำให้รวยตามไปด้วย
  4. เลือกคนที่เหนือกว่าเรา ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน จะได้รับความเอ็นดู อันจะส่งผลต่อชีวิตของเราให้ดีขึ้นตามบุคคลที่เราเรียนรู้
  5. การเลือกคบคน เราสามารถเลือกได้ เราควรมีไหวพริบในการคบคน จงเป็นคนใจกว้าง ถ้าต้องการความใจกว้างจากผู้อื่น

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๔)

เสฏฺมุปนมํ อุเทติ ขิปฺปํ

เมื่อคบคนที่ดีเลิศ ก็ประเสริฐขึ้นมาในฉับพลัน

๒๔๔ [๐๙.๒๕] (๒๐/๔๖๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อคบคนที่ดีเลิศ ชีวิตก็ดีขึ้นมาในทันที เพราะคนที่ดีเลิศมักจะเป็นคนที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าคนธรรมดา
  2. คนที่ดีเลิศ จะเลือกคบคนที่มีความสามารถเช่นเดียวกัน
  3. การทำงานกับคนที่ดีเลิศ ต้องยอมรับในความเป็นผู้นำของผู้ที่ดีเลิศ และพร้อมที่จะยอมเสียเปรียบเพื่อซื้อใจ

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๕)

ตสฺมา อตฺตโน อุตฺตรึ ภเชถ

ฉะนั้น ควรคบหาคนที่ดีกว่าตน

๒๔๕ [๐๙.๒๖] (๒๐/๔๖๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ควรคบคนที่ดีกว่าตน เพราะจะทำให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเราเอง
  2. โลกทัศน์จะกว้างขึ้นเมื่อคบคนที่ดีกว่าตน
  3. การทำงานกับคนที่ดีกว่าตน จะต้องมีความกล้าได้ กล้าเสีย เหมือนกัน

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๖)

หีโน น เสวิตพฺโพว อญฺตฺร จ อนุทยา

ไม่ควรคบคนเลวทราม นอกจากเพื่อให้ความช่วยเหลือ

๒๔๖ [๐๙.๒๗] (นัย ๒๐/๔๖๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ไม่ควรคบคนเลวทราม เพราะจะทำให้ชีวิตมัวหมอง
  2. การคบคนเลว จะทำให้ในกรณีให้ความช่วยเหลือเท่านั้น อย่าหวังอะไรเป็นผลตอบแทนจากคนเลว คนเลวมักจะหวังสิ่งที่เป็นการเห็นแก่ตัว

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๗)

น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา

ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว

๒๔๗ [๐๙.๒๘] (๒๗/๑๗๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์เสีย
  2. การทำความสนิทสนมกับคนชั่ว จะทำให้เราทำชั่วตามไปด้วย
  3. อยู่ใกล้คนประเภทใด จะทำให้เรามีโอกาสเป็นเหมือนคนประเภทนั้น

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๔๙)

อเปตจิตฺเตน น สมฺภเชยฺย

ไม่พึงอยู่กินกับคนไม่มีใจไยดี

๒๔๙ [๐๙.๓๐] (๒๗/๒๙๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. อยู่กินกับคนไม่มีใจใยดี จะทำให้ชีวิตหดหู่ ไม่มีความสุข
  2. คนไม่มีน้ำใจ ทำให้คนอยู่ด้วยมีแต่ความทุกข์
  3. คนไม่มีน้ำใจ จะขาดพรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ทำให้มีความสุข
  4. พรหมวิหาร ๔ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๕๐)

น วิสฺสเส อวิสฺสตฺเถ

ไม่ควรไว้ใจ ในคนไม่คุ้นเคย

๒๕๐ [๐๙.๓๑] (๒๗/๙๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ไม่ควรไว้ใจ ในคนที่ไม่คุ้นเคย เพราะเราไม่ทราบว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี
  2. รู้หน้า ไม่รู้ใจ
  3. คนที่เราไม่คุ้นเคย การที่จะคบหาสมาคมเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง อย่าเป็นคนเชื่อคนง่าย แต่ก็ไม่ควรระแวงทุกคนที่คบจะทำให้ชีวิตไม่มีความสุข ใช้หลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้าที่สอนไว้โดยสรุป ดังนี้
  • อย่าหลงเชื่ออะไรง่ายๆ ให้ดูข้อเท็จจริงด้วยตนเองให้มากที่สุด ไม่ควรเชื่อแม้เป็นตรรกะ เป็นคำที่คนบอกเล่ากันมา ไม่ควรเชื่อแม้คนๆ นั้นจะเป็นสมณะของเรา

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๕๑)

วิสฺสตฺเถปิ น วิสฺสเส

ถึงคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรวางใจ

๒๕๑ [๐๙.๓๒] (๒๗/๙๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จิตมนุษย์นี้ ยากแท้ หยั่งถึง
  2. การคบหาจะต้องระมัดระวังตัว ไม่ควรจะเชื่อคนง่ายๆ แม้คนที่เคยมักคุ้นก็ต้องดูอย่างรอบคอบ
  3. การเลือกคบคน เป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิต ไม่ว่าจะคบในเรื่องอะไรก็ตาม ล้วนมีอิทธิพลต่อชีวิต เช่น คบเพื่อนที่ขยันเรียน เราก็ขยันเรียน คบเพื่อนที่ขยันทำงาน เราก็จะเป็นคนขยันตาม คบเพื่อนที่ดี จะทำให้สามารถพึ่งพาได้ยามยาก แต่การณ์หาเป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่ เพราะยังมีข้อคิดให้ตระหนักอยู่ว่า เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๕๒)

นาสฺมเส กตปาปมฺหิ นาสฺมเส อลิกวาทิเน

นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺมฺหิ อติสนฺเตปิ นาสฺมเส

ไม่ควรไว้ใจคนที่ทำชั่วมาแล้ว

ไม่ควรไว้ใจคนที่พูดพล่อยๆ

ไม่ควรไว้ใจคนที่เห็นแก่ตัว

ถึงคนที่ทำทีสงบเสงี่ยมเกินไป ก็ไม่ควรไว้ใจ

๒๕๒ [๐๙.๓๓] (๒๗/๑๔๒๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ให้ระมัดระวังในการคบคน ไม่ควรคบคนชั่วที่พูดโดยไม่คิด
  2. คนที่พูดน้อยเงียบขรึม ให้ระมัดระวังด้วย
  3. คนที่ปากหวาน ก็ควระมัดระวัง

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๕๓)

วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ

เพราะไว้วางใจ ภัยจะตามมา

๒๕๓ [๐๙.๓๔] (๒๗/๙๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. หากไว้วางใจจนขาดความระมัดระวัง อาจจะมีภัยตามมา เช่น การนำความลับของเราไปให้ผู้อื่น
  2. การได้ผู้ร่วมงานที่มีความซื่อสัตย์ ขยัน ไว้วางใจได้ ถือเป็นโชคดี
  3. เมื่อไว้วางใจแล้ว จงอย่าระแวงจนเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ถูกระแวงระวังตัวจนเกินไป  จนไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวผิดพลาด

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๕๔)

มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก

ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลว

๒๕๔ [๐๙.๓๕] (๒๗/๑๔๖๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่ทำร้ายเพื่อน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม จัดเป็นคนที่ไม่น่าคบ
  2. ควรหาทางตอบแทน คนที่เป็นเพื่อนที่ดี มีน้ำใจ โดยไม่ต้องรอให้ขอ

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๕๖)

สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ

จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา

ถ้าได้สหายผู้มีปัญญาปกครองตน

พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา

๒๕๖ [๐๙.๓๗] (๒๕/๓๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การมีเพื่อนที่มีปัญญา เฉลียวฉลาด ทำให้ไปที่ใดด้วยกันก็สบายใจ
  2. การไปเที่ยวด้วยกัน จะทำให้เห็นนิสัยใจคอว่าเป็นคนเห็นแก่ตัวหรือไม่

อมฤตพจนา

๙. การคบหา (๒๕๘)

เสยฺโย อมิตฺโต เมธาวี ยญฺเจ พาลานุกมฺปโก

มีศัตรูเป็นบัณฑิต ดีกว่ามีมิตรเป็นพาล

๒๕๘ [๐๙.๓๙] (๒๗/๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. มีศัตรูเป็นบัณฑิต จะทำอะไรก็ต้องมีเหตุผล ทำให้เราได้เรียนรู้
  2. ส่วนมีเพื่อนเป็นคนพาล ทำอะไรชอบตามใจตัวเอง ไม่มีเหตุผล อยู่ใกล้มีแต่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post