2. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)

2. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)

  1. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

พ.ศ. (ไม่ปรากฎหลักฐาน) - พ.ศ. 2359

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ดำรงพระยศ พ.ศ. 2337 - พ.ศ. 2359

สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2337 

สถิต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

นิกาย มหานิกาย

ประสูติ -

สิ้นพระชนม์ 17 เมษายน พ.ศ. 2359

พระชนมายุ 80 พรรษา (โดยประมาณ)

 

พระประวัติเบื้องต้น

 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้เลื่อนเป็นพระพนรัตน ซึ่งเป็นตำแหน่งรองสมเด็จพระสังฆราช   สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงเป็นอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ  รูปที่ 1 ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งสมัยนั้นวัดมหาธาตุยังเรียกว่า  “วัดสลัก”  ตั้งอยู่ในเขตพระนครและเป็นพระอารามหลวงมาตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี    และเมื่อปีพ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดให้ปฏิสังขรณ์แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์”

 

การสังคายนาพระไตรปิฎก

เมื่อ พ.ศ. 2331 สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ซึ่งขณะนั้นทรงสมณศักดิ์ที่ พระพนรัตน ทรงเป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงสันนิษฐานว่า คงทรงเป็นเปรียญมาแต่ครั้งกรุงเก่า

พระกรณียกิจในรัชกาลที่ 2

       สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงมีพระชนม์อายุยืนยาวมาถึงรัชกาลที่ 2  ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์  และเมื่อครั้งรัชกาลที่ 2  ได้โปรดให้จัดสมณทูตไทยไปลังกา  สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) 

คงเป็นที่ทรงปรึกษา เพราะทรงเป็นพระมหาเถระรัตตัญญูอยู่ในเวลานั้น ทั้งทรงทันรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ

       สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงดำรงตำแหน่งมหาสังฆปรินายกเป็นเวลา 23 ปี  สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2359

 

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

       พ.ศ. 2337 ในรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดตั้งพระพนรัตน (ศุข) เป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และโปรดให้สถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นสืบไป

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post