วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2362
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ดำรงพระยศ พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2362
สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2359
สถิต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
นิกาย มหานิกาย
ประสูติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2293
สิ้นพระชนม์ 11 เมษายน พ.ศ. 2362
พระชนมายุ 69 พรรษา
พระประวัติในเบื้องต้น
สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงเป็นพระราชาคณะในราชทินนามที่ พระวินัยรักขิต เป็นรูปแรก พ.ศ. 2337 ในรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2 เมื่อสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงมรณภาพราวต้นรัชกาล จึงทรงตั้งเป็น สมเด็จพระพนรัตน
สมณทูตไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพนรัตน สมเด็จพระสังฆราช (มี) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นผู้จัดสมณทูต เพื่อออกไปยังลังกาทวีปครั้งนี้ เป็นการรื้อฟื้นศาสนไมตรีระหว่างไทยกับลังกา มีการติดต่อสัมพันธ์กันใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ในทางพระศาสนาในเวลาต่อมาเป็นอันมาก
สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามว่า “สมเด็จพระอริยวงษญาณ” เมื่อ พ.ศ. 2369 กระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้ราชทินนามนี้เป็น "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ" และใช้พระนามนี้สำหรับสมเด็จพระสังฆราชสืบมาจนปัจจุบัน
เกิดธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ
รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดให้แห่สมเด็จพระสังฆราช (มี) จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นการเริ่มต้นธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุก็ได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนตลอดรัชกาลที่ 2
เกิดอธิกรณ์ครั้งสำคัญ
เกิดมีเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของคณะสงฆ์ ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง 3 รูป ปี พ.ศ. 2359 3 รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิก เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้จัดสมณทูตไปลังกาเมื่อต้นรัชกาล สมเด็จพระสังฆราช (มี) ขณะยังเป็นที่ สมเด็จพระพนรัตน ที่เป็นผู้จัดการเรื่องสมณทูตไปลังกา เป็นที่เรียบร้อย สมพระราชประสงค์ และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อมาเกิดอธิกรณ์ขึ้นเช่นนี้ คงตกเป็นภาระของสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง ที่จะต้องสะสางและปรับปรุงการคณะสงฆ์ให้ดีขึ้น
พิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2360 สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันวิสาขบูชา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดให้กำหนดพิธีวิสาขบูชาขึ้น เป็นธรรมเนียม นั้นเป็นต้นมา และเป็นครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์
ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม
โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อให้ภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้เป็นบาเรียน โดยขยายการศึกษาออกไปเป็น 9 ประโยค ผู้สอบไล่ได้ตั้งแต่ 3 ประโยคขึ้นไปจึงเรียกว่าเป็นบาเรียน (หรือเปรียญ) ชั้นบาเรียนที่ปรับปรุงใหม่ในรัชกาลที่ 2 ดังกล่าวนี้ ก็มีอัตราเทียบได้กับชั้นบาเรียนอย่างเก่าคือ 3 ประโยค จัดเป็นบาเรียนตรี 4, 5, 6 ประโยค จัดเป็นบาเรียนโท
7, 8, 9 ประโยค จัดเป็นบาเรียนเอก หลักสูตรพระปริยัติธรรม คือ ประโยค 1, 2, 3 แปล ธัมมปทัฏฐกถา ประโยค 4 แปล มังคลัตถทีปนี บั้นต้น ประโยค 5 แปล บาลีมุตตกวินัย วินิจฉัย สังคหะ / สารัตถสังคหะ ประโยค 6 แปล มังคลัตถทีปนี บั้นปลาย ประโยค 7 แปล ปฐมสมันตัปปาสาทิกา ประโยค 8 แปลวิสุทธิมัคคปกรณ์ ประโยค 9 แปล สารัตถทีปนี หลักสูตรพระปริยัติธรรม ได้ใช้เป็นแบบแผนการศึกษาพระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทย สืบมาจนปัจจุบัน พระ
พระอวสานกาล
สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงดำรงตำแหน่งมหาสังฆปรินายกอยู่เพียง 3 ปี กับ 1 เดือน พระองค์สิ้นพระชนม์ ตรงกับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2362 ในรัชกาลที่ 2 พระชนมายุ 69 พรรษา
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250