Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

ปฏิจจสมุปบาท สมุทยวาร

อายตนกุสลตา – ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ (๖)

ปฏิจจสมุปปาทกุสลตา – ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฯ  

        เหล่านี้แลคือธรรมสองอย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว; อันพุทธบริษัททั้งหลาย (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) ทั้งปวงนั่นเทียว พึงทำสังคีติ (คือสอบสวน จนเป็นที่เข้าใจตรงกันทุกคน แล้วช่วยกันสาธยาย เพื่อทรงไว้อย่างมั่นคง) ในธรรมสองอย่างนั้น, ไม่พึงวิวาทกันในธรรมสองอย่างนั้น, โดยประการที่พรหมจรรย์ (ศาสนา) นี้ จะพึงมั่นคง ตั้งอยู่นาน. ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อหิตสุขแก่มหาชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก  เพื่อประโยชน์หิตสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ดังนี้ แล.

        ๑.อวิชชาความไม่รู้อริยสัจจ์๔. ว่าอายตนะ(๖)เป็นทุกข์

ภิกษุ ท. !  อริยสัจคือทุกข์  เป็นอย่างไรเล่า ?  ควรจะกล่าวว่าได้แก่  อายตนะภายใน(๖)

-( มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๕/๑๖๘๔-๑๖๘๙)

        ๒.อวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี  จึงนำอายตนะ(๖)มาปรุงดี-ปรุงร้าย-ปรุงข่มอารมณ์ อยู่ในขันธ์๕ปรุงแต่งกาย  วาจา ใจ

        ๓.สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจจึงมี จึงเกิดวิญญาณ(๖)รับรู้การปรุงดี-ร้าย-ข่มอารมณ์

(ปฏิสนธิแปลว่าสืบต่อ)ไปให้นามรูป

        ๔.วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี คือปรุงดีก็สืบต่อไปให้นามมีความสุข(เวทนา๖ สัญญา(๖)เจตนา๖ผัสสะ๖มนสิการ๖ ส่งผลใหรูปผ่องใส ปรุงร้าย สืบต่อไปใหนามเป็นทุกข์ รูปเศร้าหมอง

        ๕.นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี คืออายตนะ(๖)ทำงานสอดคล้องไปตามกระแสการปรุงแต่งจาก(๖)ทางนั้นทั้งทางดีและทางร้าย

        ๖.สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี จึงเกิดผัสสะ(๖)ทาง คือ๑อายตนะภายใน(๖)กระทบกับ๒อายตนะภายนอก(๖)ทำให้เกิด๓วิญญาณ(๖)สามสิ่งรวมกันเรียกว่าผัสสะ

        ๗.ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี   คือผัสสะ(๖) ทำให้เกิดเวทนา(๖)×๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา.

        ๘.เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เวทนา(๖)ทำให้เกิดตัณหา(๖)×๓ คือเกิดสุขก็อยากได้=๑กามตัณหา ๒ภวตัณหาอยากมีอยากเป็น ๓เกิดทุกข์ก็อยากพ้น=วิภวตัณหาอยากพ้นจากภาวะที่ไม่ดี(๖)อย่าง

        ๙.ตัณหา เป็นปัจจัย อุปทานจึงมี คือตัณหา(๖)ทำให้เกิดความยึดมั่นกับความอยากแล้วไม่ปล่อย ๑ยึดกับกาม ๒ยึดกับทิฏฐิความคิดเห็นหาวิธีที่จะมีจะเป็น ๓ยึดกับศีลพรตหาวิธีที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่ดี ๔ยึดว่ามีอัตตาตัวตนในอายตนะ(๖)ขันธ์๕

        ๑๐.อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะยึดจึงเกิดการก่อกรรมตามสิ่งที่ยึดนั้น ๑ก่อกรรมด้วยความกำหนัดกับอายตน(๖)(กามภพ) ๒ก่อกรรมด้วยรูปฌาน(รูปภพ) ๓ก่อกรรมเข้าอรูปฌาน(อรูปภพ)

        ๑๑.ภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี  ๑เมื่อก่อกรรมในกามภพ จึงเกิดขันธ์อายตนะ(๖)ในสุคติภูมิ๗ อบายภูมิ๔ และ๒เมื่อก่อกรรมในรูปภพ จึงเกิดรูปพรหม๑๖ชั้น ๓เมื่อก่อกรรมอรูปภพ จึงเกิดอรูปพรหม๔ชั้น รวมเป็นการเกิดของขันธ์อายตนะ(๖)ต่างๆใน๓๑ภพภูมิ

        ๑๒.ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ ความเสียใจ คร่ำครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ คับแค้นใจ จึงมี เพราะอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นจึงคงที่อยู่ไม่ได้ จึงเกิดการแตกสลายของขันธ์และอายตนเอง(๖)

อวิชชา : ความไม่รู้

ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา

สัง.นิ. ๑๖/๑๗/๔

เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด 

ม.มู ๑๒/๑๒๘/๗๑

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชาควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕  

(นิวรณ์ ๕  คือ  ๑.กามฉันท์  ๒.พยาบาท   ๓.ถีนมิทธะ  ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ  ๕.วิจิกิจฉา)

อัง.ทสก. ๒๔/๖๑/๑๑๗

สังขาร : เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร

สัง.นิ. ๑๖/๑๖/๔

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร 

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ  บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร .. วจีสังขาร .. มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร .. วจีสังขาร .. มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร .. วจีสังขาร .. มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร .. วจีสังขาร .. มโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง  ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้ 

สัง.นิ. ๑๖/๘๓/๔๐

วิญญาณ : เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณ

สัง.นิ. ๑๖/๑๕/๔

เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ 

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

…สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้นนี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความสลัดออกแห่งวิญญาณ

สัง.ข. ๑๗/๑๒๓/๖๒-๖๓

นามรูป : เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม, มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป 

สัง.นิ. ๑๖/๑๔/๔ 

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ 

สัง.นิ. ๑๖/๒๑๗/๑๐๐

สฬายตนะ : เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ

สัง.นิ. ๑๖/๑๓/๓

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ 

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว 

ม.อุ. ๑๔/๖๑๙-๖๒๐/๓๔๐

ผัสสะ : เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส 

นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ

สัง.นิ. ๑๖/๑๒/๓ 

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายตนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด

ม.มู ๑๒/๑๒๓/๖๘-๖๙

ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด

สัง.นิ. ๑๖/๒๙/๑๑

เวทนา : เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

…ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา 

สัง.นิ. ๑๖/๑๑/๓

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด

ม.มู ๑๒/๑๕๘/๙๓

ตัณหา : เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหาสัง.นิ. ๑๖/๑๐/๓เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑อธิบายเพิ่มเติมดูกรภิกษุทั้งหลาย  ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุ เกิดมีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด? ตัณหามีเวทนา เป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิดม.มู ๑๒/๑๕๘/๙๓

อุปาทาน : เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน

สัง.นิ. ๑๖/๙/๓

อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด

ม.มู ๑๒/๑๕๘/๙๓

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง ใส่โคมัยแห้ง และใส่ไม้แห้ง ในไฟกองนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ 

สัง.นิ. ๑๖/๑๙๗/๙๓

ภพ : เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ฯ

สัง.นิ. ๑๖/๘/๓

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑

อธิบายเพิ่มเติม

ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างประณีตของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูกรอานนท์ ภพย่อมมีได้ ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ฯ

อัง.เอก. ๒๐/๕๑๗/๒๕๓-๒๕๔

ชาติ : เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

…ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง (คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ) เกิด (คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ) เกิดจำเพาะ (คือเป็นอุปปาติกปฏิสนธิ) ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ

สัง.นิ. ๑๖/๗/๓

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

สัง.นิ. ๑๖/๒/๑-๒

อธิบายเพิ่มเติม

เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ  และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ  แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ … มาสู่พระสัทธรรมนี้…. ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพเป็นเหตุให้เกิด 

ม.มู. ๑๒/๑๑๘/๖๖

ชรามรณะ : เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธานมฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ 

สัง.นิ. ๑๖/๖/๓เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ สัง.นิ. ๑๖/๒/๑-๒อธิบายเพิ่มเติมเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ สัง.นิ. ๑๖/๕/๒

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post