Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

ปริญไญยธรรม

ธรรมอันพึงกำหนดรู้,สิ่งที่ควรรอบรู้ หรือรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน

 

  1. ปริญไญยธรรม = ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๑ คือ ปริญญา (ธรรมอันพึงกำหนดรู้,สิ่งที่ควรรอบรู้ หรือรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ กล่าวคือ ทุกข์และสิ่งทั้งหลายที่อยู่ในจำพวกที่เป็นปัญหาหรือเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา - Pariññeyya-dhamma: things to be fully understood, i.e. the five aggregates of existence subject to clinging) 

 

ไตรลักษณ์

ทุกขตา ๓

ธรรมนิยาม ๓

ธาตุ ๖

ขันธ์ ๕

นิยาม ๕

อายตนะ ๑๒

 

ไตรลักษณ์ (ลักษณะ ๓, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมาย ๓ อย่าง อันให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมัน - Tilakkhana: the ThreeCharacteristics)

๑. อนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง - Aniccatà: impermanence; transiency)

๒. ทุกขตา (ความเป็นทุกข์ - Dukkhatà: state of suffering or being oppressed)

๓. อนัตตตา (ความเป็นของไม่ใช่ตน - Anattatà: soullessness; state of being not self)

  • ลักษณะเหล่านี้ มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์
  • ลักษณะทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง (อนิจจา) คงทนอยู่มิได้ (ทุกขา) เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ทั้งสังขตะคือสังขาร และอสังขตะคือวิสังขาร ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา (อนัตตา) เสมอกันทั้งสิ้น จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ หรือ สามัญลักษณ์ (Sàma¤¤a-lakkhaõa: the Common Characteristics)
  • ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้ ปรากฏอยู่ตามธรรมดาที่แน่นอน เป็นไปตามกฎธรรมชาติ คือ ธรรมนิยาม
  • ไตรลักษณ์ ก็ดี สามัญลักษณ์ ก็ดี เป็นคำในชั้นอรรถกถา ส่วนในพระไตรปิฎก ลักษณะ ๓ อย่างนี้ อยู่ในหลัก ธรรมนิยาม 

S.IV.๑; Dh.๒๗๗–๙. สํ.สฬ.๑๘/๑/๑; ขุ.ธ.๒๕/๓๐/๕๑.

 

ทุกขตา ๓ (ความเป็นทุกข์, ภาวะแห่งทุกข์, สภาพทุกข์, ความเป็นสภาพที่ทนได้ยาก หรือคงอยู่ในภาวะเดิมไม่ได้ - Dukkhatà: state of suffering or being subject to suffering; conflict; unsatisfactoriness)

๑. ทุกขทุกขตา (สภาพทุกข์คือทุกข์ หรือความเป็นทุกข์เพราะทุกข์ ได้แก่ ทุกขเวทนาทางกายก็ตาม ใจก็ตาม ซึ่งเป็นทุกข์อย่างที่เข้าใจสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ - Dukkha-dukkhatà: painfulness as suffering)

๒. วิปริณามทุกขตา (ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน ได้แก่ความสุข ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงแปรไปเป็นอย่างอื่น - Vipariõàma-dukkhatà: suffering in change)

๓. สังขารทุกขตา (ความเป็นทุกข์เพราะเป็นสังขาร ได้แก่ตัวสภาวะของสังขาร คือสิ่งทั้งปวงซึ่งเกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง ที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายไป ทำให้คงสภาพอยู่ไม่ได้ พร่องอยู่เสมอ และให้เกิดทุกข์แก่ผู้ยึดถือด้วยอุปาทาน - Saïkhàra-dukkhatà: suffering due to formations; inherent liability to suffering)

D.III.๒๑๖; S.IV.๒๕๙; V.๕๖. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๙; สํ.สฬ.๑๘/๕๑๐/๓๑๘; สํ.ม.๑๙/๓๑๙/๘๕.

 

ธรรมนิยาม ๓ (กำหนดแห่งธรรมดา, ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา, กฎธรรมชาติ - Dhamma-niyàma: orderliness of nature; natural law) 

๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง - Sabbe saïkhàrà aniccà: all conditioned states are impermanent)

๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ - Sabbe saïkhàrà dukkhà: all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)

๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน - Sabbe dhammà anattà: all states are not-self or soulless) 

หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ ๓ อย่าง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ของสภาวธรรมทั้งหลาย (ดู[๗๖] ไตรลักษณ์) พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนย.

A.I.๒๘๕. องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๓๖๘.

 

ธาตุ ๖ (Dhàtu: the six elements) ได้แก่ธาตุ ๔ หรือมหาภูต ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ นั้น กับเพิ่มอีก ๒ อย่าง คือ

๕. อากาสธาตุ (สภาวะที่ว่าง โปร่งไป เป็นช่อง - âkàsa-dhàtu: the space-element)

๖. วิญญาณธาตุ (สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ ธาตุรู้ ได้แก่วิญญาณธาตุ ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสต ~ ฆาน ~ ชิวหา ~ กาย ~ มโนวิญญาณธาตุ - Vi¤¤àõa-dhàtu: element of consciousness; consciousness-element) 

M.III.๓๑; Vbh.๘๒. ม.อุ.๑๔/๑๖๙/๑๒๕; อภิ.วิ.๓๕/๑๑๔/๑๐

 

ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกัน เข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา–เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต - Pa¤ca-khandha: the Five Groups of Existence; Five Aggregates)

๑. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ - Råpakhandha corporeality)

๒. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์, ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ - Vedanà-khandha: feeling; sensation)

๓. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆ ได้, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖ เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น - Sa¤¤à-khandha: perception)

๔. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต - Saïkhàra-khandha: mental formations; volitional activities)

๕. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง ๖ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ ๖ - Vi¤¤àõa-khandha: consciousness) 

ขันธ์ ๕ นี้ ย่อลงมาเป็น ๒ คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, ๔ ขันธ์นอกนั้นเป็นนาม.อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม ๔: วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ ๕

เรื่องขันธ์ ๕ พึงดูประกอบในหมวดธรรมอื่นๆ เช่น

๑. รูปขันธ์ :  รูป ๒, ๒๘; มหาภูต ๔; อุปาทายรูป ๒๔.

๒. เวทนาขันธ์ : เวทนา ๒; เวทนา ๓; เวทนา ๕; เวทนา ๖.

๓. สัญญาขันธ์ : สัญญา ๖.

๔. สังขารขันธ์ : สังขาร ๓; สังขาร ๓; อภิสังขาร ๓; เจตนา ๖.

๕. วิญญาณขันธ์ :  วิญญาณ ๖.

S.III.๔๗; Vbh.๑. สํ.ข.๑๗/๙๕/๕๘; อภิ.วิ.๓๕/๑/๑.

 

นิยาม ๕ (กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ - Niyàma: orderliness of nature; the five aspects of natural law)

๑. อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดิน น้ำ อากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ - Utu-niyàma: physical inorganic order; physical laws)

๒. พีชนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ มีพันธุกรรมเป็นต้น - Bãja-niyàma: physical organic order; biological laws)

๓. จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต - Citta-niyàma: psychic law)

๔. กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ - Kamma-niyàma: order of act and result; the law of Kamma; moral laws)

๕. ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย - Dhamma-niyàma: order of the norm; the general law of cause and effect; causality and conditionality) 

DA.II.๔๓๒; DhsA.๒๗๒. ที.อ.๒/๓๔; สงฺคณี.อ.๔๐๘.

 

อายตนะ ๑๒ (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้, แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ - âyatana: sense-fields; sense-spheres)

๑. อายตนะภายใน ๖ 

๒. อายตนะภายนอก ๖ 

Vbh.๗๐. อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.

 

อายตนะภายใน ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน — Ajjhattikãyatana: internal  sense-fields) บาลีเรียก อัชฌัตติกายตนะ

๑. จักขุ (จักษุ, ตา — Cakkhu: the eye)

๒. โสตะ (หู — Sota: the ear)

๓. ฆานะ (จมูก — Ghãna: the nose)

๔. ชิวหา (ลิ้น — Jivhã: the tongue)

๕. กาย (กาย — Kãya: the body)

๖. มโน (ใจ — Mana: the mind)

ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุ เป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น 

D.III.๒๔๓; M.III.๒๑๖; Vbh.๗๐. ที.ปา.๑๑/๓๐๔/๒๕๕; ม.อุ.๑๔/๖๑๙/๔๐๐; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.

 

อายตนะภายนอก ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก — Bãhirãyatana: external sense-fields) บาลีเรียก พาหิรายตนะ

๑. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี — Rûpa: form; visible objects)

๒. สัททะ (เสียง — Sadda: sound)

๓. คันธะ (กลิ่น — Gandha: smell; odour)

๔. รสะ (รส — Rasa: taste)

๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย — Photฺtฺhabba: touch; tangible objects)

๖. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด — Dhamma: mind-objects)

ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง

D.III.๒๔๓; M.III.๒๑๖; Vbh.๗๐. ที.ปา.๑๑/๓๐๔/๒๕๕; ม.อุ.๑๔/๖๑๙/๔๐๐; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post