วยเหตุนี้เองพระอรหันต์ท่านจึงไม่เคยภาวนาเพื่อละกิเลสตัวใดเหตุจำเป็นที่ท่านจะบำเพ็ญหรือภาวนาอยู่นั้น มี ประจำขันธ์ของพระอรหันต์ เพื่อบรรเทากันให้อยู่ในภาวนาพอเหมาะพอดีในระหว่างขันธ์กับจิตที่ครองกันอยู่นี้
จากนั้นก็เข้าสู่สมาธิเพื่อสงบอารมณ์ คือขันธ์ภายนอก พิจารณาด้านอรรถด้านธรรมภายในจิตใจ อย่างพระพุทธเจ้านั้นก็ส่องโลกธาตุ พิจารณาเต็มภูมิเต็มกำลังของท่านนั้นแล นี่! มีอยู่ ๒ ประเภท ประเภทที่ ๑ เพื่อบรรเทาขันธ์ ประเภทที่ ๒ พิจารณาเรื่องอรรถเรื่องธรรมทั้งหลาย ส่วนพิจารณาท่านเองท่านไม่มี พิจารณาเกี่ยวกับสัตว์โลก ดูสัตว์โลกต่าง ๆ นี่ล่ะท่านว่าเพื่ออยู่เป็นสุขและในทิฏฐธรรม คือเวลายังครองขันธ์อยู่ท่านเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาเหมือนเรานั่นแหละ ในการภาวนาในท่านผู้สิ้นกิเลสแล้วมี ๒ ประเภทดังกล่าวนี้ ประเภทที่ ๑ เพื่อบรรเทาธาตุขันธ์ ประเภทที่ ๒ เพื่อพิจารณาจิตกับธรรมทั้งหลาย เกี่ยวกับสัตว์โลกทั้งหลาย ความโกรธ ราคะตัณหาเกิดได้ทุกเวลา นั่น ทีนี้การบำเพ็ญธรรมเพื่อดับกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ทำไมจึงดับไม่ได้ทุกเวลาเพราะเป็นของคู่เคียงกัน ดับกันได้ทั้งนั้น กิเลสจริง ๆ มันเกิดอยู่กับใจของเรา ไม่ได้เกิดอยู่กับกาลนั้นสถานนี้ มันเกิดอยู่กับใจให้แก้ตัวเองด้วยอรรถด้วยธรรมตลอดเวลา
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ให้บำเพ็ญทำกุศลให้มากด้วยความเป็นผู้มีศีล มีธรรมประจำใจ ผู้ใดมีศีล มีธรรมประจำใจ มีหิริโอตตัปปะ สดุ้งกลัวตอ่บาปต่อกรรม ระมัดระวังตนอยู่เสมอ สำรวมระวังอยู่ด้วยศีล ด้วยธรรมแล้ว ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีศาสดาประจำตน ศาสดาคืออะไร คือธรรมและวินัยนั่นแล ว่าธรรมและวินัยนั่นแลจะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย แทนเราตถาคตเมื่อเราตายไปแล้ว
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250