๒๓

พระอานนท์เถระ

พระอานนท์ ก่อนจะผนวชนั้น ทรงเป็นเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ โดยท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ศากยราช ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช  พระมารดาทรงพระนามว่า มฤคี พระอานนท์ จึงถือว่าเป็นลูกผู้น้องของเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นสหชาติของเจ้าชายสิทธัตถะ เนื่องจากในวันประสูตินั้น ได้บังเกิดสหชาติกับพระพุทธเจ้า ทั้ง 7 ได้แก่ (1) พระนางพิมพาราหุลมาตา (2)ฉันนะอำมาตย์ (3) กาฬุทายิอำมาตย์ (4) พระอานนท์ (5) กันถกอัสสราช (6) ต้นมหาโพธิ์ (7) ขุมทรัพย์ 4 ทิศ   เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์     ในครั้งนั้น บรรดาศากยราช ได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตน ให้ออกบวชตามเสด็จ ต่อมาศากยกุมารได้แก่ เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัตรวมทั้งอุบาลี ซึ่งเป็นกัลบกได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขออุปสมบท พระอุปัชฌายะของพระอานนท์คือ พระเวลัฏฐสีสเถระ  เมื่อศากยราชกุมารทั้ง 6 และอุบาลี ได้ผนวชแล้ว ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช ระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธะ เป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ ภายหลังบรรลุพระอรหัตผล พระภคุเถระ และพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตพระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน  สำหรับท่านพระอานนท์ ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จชั้นโสดาบัน ในกาลต่อมา ท่านได้เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการคุณต่อท่าน และพวกภิกษุผู้นวกะมาก ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้กล่าวสอนท่านว่า "ดูกรอานนท์ เพราะถือมั่นจึงมีตัณหา มานะ ทิฐิว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณจึงไม่มีตัณหามานะทิฐิว่าเป็นเราฉันนั้นเหมือนกัน” จากนั้น ท่านพระอานนท์ก็ได้ทราบจากปุณณมันตานีบุตรว่า รูป เวทนา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง และในตอนสุดท้ายของการสอนธรรมครั้งนี้ ท่านบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ท่านได้ตรัสรู้ธรรมซึ่งหมายถึงได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน  เนื่องจากกุฎิพระอานนท์ ใกล้กับพระมูลคันธกุฎี บนยอดเขาคิชฌกูฏิ เมืองราชคฤห์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ทรงตรัสรู้แล้วถึง 20 พรรษา แต่ยังไม่มีผู้ใด เป็นพุทธอุปัฎฐากประจำ ซึ่งได้สร้างความลำบากแก่พระองค์เป็นอย่างมาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสว่า บัดนี้ พระองค์ทรงพระชราแล้ว ภิกษุผู้อุปัฏฐากพระองค์บางรูปทอดทิ้งพระองค์ ไปตามทางที่ตนปรารถนา คณะสงฆ์เห็นว่าควรจะมีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคอยสนองงานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ดังนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร 8 ประการ
เมื่อข้าพระองค์ได้รับพร8ประการนี้แหละจึงจักเป็นพุทธุปัฏฐากของพระองค์ ครั้นท่านได้ทูลชี้แจงแสดงโทษในข้อที่ไม่ควรได้ และอานิสงส์ในข้อที่ควรได้อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงประทานพร ตามที่พระอานนท์กราบทูลขอทุกประการ ท่านพระอานนท์ จึงได้รับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก และได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาคเวลา25พรรษา  กิจหน้าที่พุทธอุปัฏฐากคือ การถวายน้ำ ถวายไม้สีฟัน นวดพระหัตพ์และพระบาท นวดพระปฤษฎางค์ปัดกวารดพระคันธกุฎีและบริเวณพระคันธกุฎี ในตอนกลางคืน ท่านกำหนดเวลาได้ว่า เวลานี้พระพุทธองค์ทรงต้องการอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วเข้าเฝ้า เมื่อเฝ้าเสร็จ ก็ออกมาอยู่ ภายนอกพระคันธกุฏี  ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ไว้ว่า ท่านขยันในการอุปัฏฐากมาก ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ไม่มีใครทำได้เหมือนท่าน เพราะท่านรู้พระทัยของพระพุทธองค์ดี จึงอุปัฏฐากได้นานด้วยเหตุนี้ในคราวที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้ตรัสกับท่านว่า   "อานนท์ เธอได้อุปัฏฐากตถาคตด้วยกายธรรม วจีกรรมมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุข ไม่มีสอง หากประมาณมิได้ มาช้านานแล้ว เธอได้ทำบุญไว้มากแล้วอานนท์ เธอจงประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน" แล้วตรัสประกาศเกียรติคุณของพระอานนท์ให้ปรากฎแก่พระภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์ได้รับการสรรเสริญจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะ(เลิศ)5ประการคือ มีสติรอบคอบ มีคติคือความทรงจำแม่นยำ มีความเพียรดี เป็นพหูสูต เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า  ความเป็นพหูสูตของพระอานนท์นั้น นับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวก กล่าวติเตียนพระศาสนา ทำให้พระมหากัสสปเถระ เกิดความสังเวชในใจว่า ในอนาคต พวกอลัชชีจะพากันกำเริบ ย่ำเหยียบพระศาสนา จำต้องกระทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตลอดเข้าพรรษา โดยที่พระอานนท์เถระ ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ 8 ทำให้ท่านเป็ฯผู้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก จึงสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรมดังปรากฎในบทสวดคาถาต่างๆ

ด้วยเหตุที่ท่านขยันเรียน และมีความจำดีนี่เอง ท่านจึงได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต เป็นธรรมภัณฑาคาริก ทรงจำพระพุทธพจน์ได้ถึง 84,000พระธรรมขันธ์ แม้ท่านจะเป็นเพียงพระโสดาบันก็ตาม แต่ท่านก็มีปัญญา แตกฉานในปฏิสัมภิทา มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิจจสมุป ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าสุทโทนมหาราช ผู้เป็นพระพุทธบิดา ได้สิ้นพระชนม์แล้ว พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระอัครมเหสี และพระมาตุจฉา ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มีศรัทธาปสาทะ ที่จะออกบวชเป็นภิกษุณี จึงเสด็จพร้อมด้วยเหล่าศากยกุมารีหลายพระองค์ ได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทูลขอออกบวช แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย แม้พระนางเจ้าจะได้กราบทูลขอถึง 3 ครั้ง แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงประทานพระพุทธานุญาต ทำให้พระนางเสียพระทัยมาก เมื่อพระอานนท์ทราบเข้า จึงมีมหากรุณาจิต คิดจะช่วยเหลือ

พระนาง ให้สำเร็จดังประสงค์ จึงได้ไปกราบทูลขอสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ ทำให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทานพระพุทธานุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า สตรีนั้นจะต้องรับครุธรรม 8 ประการ ก่อน ถึงจะอุปสมบทได้ เสร็จแล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงครุธรรม 8 ประการ แก่พระอานนท์ และพระอานนท์ก็จำครุธรรม 8ประการนั้น ไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี ซึ่งพระนางก็ทรงยอมรับครุธรรมนั้นและได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา  ภายหลังจากพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านพระอานนท์ได้เข้าร่วมทำสังคยานาพระไตรปิฎก ในขณะที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์  แต่ทำให้คณะสงฆ์ครบจำนวน 500 รูปตามที่กำหนด อย่างไรก็ตาม  ท่านได้ทำความเพียรอย่างหนัก เพื่อให้สำเร็จอรหัตต์ ก่อนการทำสังคายนา แต่ก็ยังไม่สำเร็จ เพื่อน ๆ ได้ตักเตือนท่านว่า ในวันรุ่งขึ้น ท่านจะต้องเข้าไปนั่งในสังฆสันนิบาตแล้ว ท่านเอง เป็นพระเสขบุคคลอยู่ ขอให้ทำความเพียร อย่าประมาท ในคืนนั้น ท่านได้เดินจงกรม กำหนดกายคตาสติ จนจวบปัจจุสมัยใกล้รุ่ง จึงลงจากที่จงกรม หมายใจจะหยุดนอนพักผ่อนในวิหารสักครู่ก่อน แต่พอเอนกายลงนอน ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน และเท้าทั้งสองยังไม่พ้นจากพื้น ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์  กำหนดกาลเวลาพอเหมาะแล้ว ท่านจึงแทรกดินลงไป และผุดขึ้น ณ อาสนะแห่งตน แต่บางท่านกล่าวว่า ท่านเหาะไปทางอากาศตกลงบนอาสนะของท่าน  ก่อนการสังคายนาพระธรรมวินัยจะเริ่ม พระมหากัสสปเถระ ตั้งปัญหาหลายประการแก่พระอานนท์ การแสดงอาบัติของพระอานนท์นั้น เป็นกุศโลบายของพระมหากัสสปเถระ ที่ต้องการจะวาง ระเบียบวิธีการปกครองคณะสงฆ์  ด้วยเหตุที่พระอานนท์เถระเป็นผู้ที่สาธยายพระสูตร  จนทำให้ปฐมสังคายนาสำเร็จเรียบร้อย  ภายหลังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอานนท์ได้เที่ยวจาริก สั่งสอนเวไนยสัตว์แทนองค์พระศาสดา จนชนมายุของท่านล่วงเข้า 120 ปี ท่านจึงได้พิจารณาอายุสังขารของท่าน และเข้าสู่นิพพาน

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post