ธรรมอันพึงเจริญหรือพึงปฏิบัติบำเพ็ญ, สิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือลงมือทำ
ง. ภาเวตัพพธรรม = ธรรมที่เข้ากับกิจในอริยสัจจ์ข้อที่ ๔ คือ ภาวนา (ธรรมอันพึงเจริญหรือพึงปฏิบัติบำเพ็ญ, สิ่งที่จะต้องปฏิบัติหรือลงมือทำ ได้แก่ ธรรมที่เป็นมรรค โดยเฉพาะสมถะ และวิปัสสนา กล่าวคือ ประดาธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติหรือเป็นวิธีการที่จะทำหรือดำเนินการเพื่อให้บรรลุจุดหมายแห่งการสลายทุกข์หรือดับปัญหา - Bhàvetabba-dhamma: things to be developed, i.e. tranquillity and insight, or, in other words, the Noble Eightfold Path)
M.III.๒๘๙; S.V.๕๒; A.II.๒๔๖. ม.อุ.๑๔/๘๒๙/๕๒๔; สํ.ม.๑๙/๒๙๑–๕/๗๘;องฺ.จตุกฺก.๒๑/๒๕๔/๓๓๓.
ปัจจัยแห่งสัมมาทิฎฐิ ๒
บุพนิมิตแห่งมรรค ๗
พุทธโอวาท ๓
ไตรสิกขา, สิกขา ๓
บุญกิริยาวัตถุ ๓
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
ภาวนา ๒
ภาวนา ๔
มรรคมีองค์ ๘
กุศลกรรมบท ๑๐
โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวความคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของปัญญาและความดีงามทั้งปวง -
Sammàdiññhi-paccaya: sources or conditions for the arising of right view)
๑. ปรโตโฆสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียน หาความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร - Paratoghosa: another's utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - Yonisomanasikàra: reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)
ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ [๑] และ [๒] นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ในที่นี้ใช้คำกว้างๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.
M.I.๒๙๔; A.I.๘๗. ม.มู.๑๒/๔๙๗/๕๓๙; องฺ.ทุก. ๒๐/๓๗๑/๑๑๐.
บุพนิมิตแห่งมรรค ๗ (ธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย, แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดี, รุ่งอรุณของการศึกษา - Magguppàda-pubbanimitta: a foregoing sign for the arising of the Noble Eightfold Path; precursor of the Noble Path; harbinger of a good life or of the life of learning)
๑. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, มีมิตรดี, คบหาคนที่เป็นแหล่งแห่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี - Kalyàõamittatà: good company; having a good friend; association with a good and wise person)
๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล, การทำศีลให้ถึงพร้อม, ตั้งตนอยู่ในวินัยและมีความประพฤติทั่วไปดีงาม - Sãla-sampadà: perfection of morality; accomplishment in discipline and moral conduct)
๓. ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ, การทำฉันทะให้ถึงพร้อม, ความใฝ่ใจอยากจะทำกิจหน้าที่และสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ดีงาม, ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ - Chanda-sampadà: perfection of aspiration; accomplishment in constructive desire)
๔. อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว, การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วโดยสมบูรณ์ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] - Atta-sampadà: perfection of oneself; acomplishment in self that has been well trained; dedicating oneself to training for the realization of one’s full human potential; self-actualization)
๕. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ, การทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม, การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย - Diññhisampadà: perfection of view; accomplishment in view; to be established in good and reasoned principles of thought and belief)
๖. อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท, การทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม - Appamàda-sampadà: perfection of heedfulness; accomplishment in diligence)
๗. โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ, การทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม, ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้ - Yonisomanasikàrasampadà:
perfection of wise reflection; accomplishment in systematic attention)
เมื่อใดธรรมที่เป็นบุพนิมิต ๗ ประการนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดมีในบุคคลแล้ว เมื่อนั้นย่อมเป็นอันหวังได้ว่าเขาจักเจริญ พัฒนา ทำให้มาก ซึ่งมรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ คือจักดำเนินก้าวไปในมัชฌิมาปฏิปทา.
S.V.๓๐–๓๑. สํ.ม.๑๙/๑๓๐–๖/๓๖.
พุทธโอวาท ๓ (ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ ๓ ข้อ — Buddha-ovàda: the Three Admonitions or Exhortations of the Buddha)
๑. สพฺพปาปสฺส อกรณํ (ไม่ทำความชั่วทั้งปวง - Sabbapàpassa akaraõa§: not to do any evil)
๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา (ทำแต่ความดี - Kusalassåpasampadà: to do good; to cultivate good)
๓. สจิตฺตปริโยทปนํ (ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ - Sacittapariyodapana§: to purify the mind)
หลัก ๓ ข้อนี้ รวมอยู่ใน โอวาทปาฏิโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญ เดือน ๓ ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา
D.II.๔๙; Dh.๑๘๓. ที.ม.๑๐/๕๔/๕๗; ขุ.ธ.๒๕/๒๔/๓๙.
สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน - Sikkhà: the Threefold Learning; the Threefold Training)
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง - Adhisãla-sikkhà: training in higher morality)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่น สมาธิอย่างสูง - Adhicitta-sikkhà: training in higher mentality)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง - Adhipa¤¤à-sikkhà: training in higher wisdom)
เรียกง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (morality, concentration and wisdom)
D.III.๒๒๐; A.I.๒๒๙. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๕๒๑/๒๙๔.
บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี - Pu¤¤akiriyà-vatthu: bases of meritorious action; grounds for accomplishing merit)
๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ - Dànamaya pu¤¤akiriyà-vatthu: meritorious action consisting in giving or generosity)
๒. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย - Sãlamaya ~: meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)
๓. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา - Bhàvanàmaya ~: meritorious action consisting in mental development)
D.III.๒๑๘; A.IV.๒๓๙; It.๕๑. ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๐; องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๒๖/๒๔๕; ขุ.อิติ.๒๕/๒๓๘/๒๗๐.
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี - Pu¤¤akiriyà-vatthu: bases of meritorious action)
๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ - Dànamaya: meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี - Sãlamaya: by observing the precepts or moral behaviour)
๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจเจริญปัญญา - Bhàvanàmaya ~: by mental development)
๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม - Apacàyanamaya: by humility or reverence)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ - Veyyàvaccamaya: by rendering services)
๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น - Pattidànamaya: by sharing or giving out merit)
๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น - Pattànumodanàmaya: by rejoicing in others’ merit)
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ - Dhammassavanamaya: by listening to the Doctrine or right teaching)
๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ - Dhammadesanàmaya: by teaching the Doctrine or showing truth)
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง - Diññhujukamma: by straightening one’s views or forming correct views)
ข้อ ๔ และข้อ ๕ จัดเข้าในสีลมัย; ๖ และ ๗ ในทานมัย; ๘ และ ๙ ในภาวนามัย; ข้อ ๑๐ ได้ ทั้งทาน ศีล และภาวนา
D.A.III.๙๙๙; Comp.๑๔๖. ที.อ.๓/๒๔๖; สังคหะ ๒๙.
ภาวนา ๒ (การเจริญ, การทำให้เกิดให้มีขึ้น, การฝึกอบรมจิตใจ - Bhàvanà: mental development)
๑. สมถภาวนา (การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ, การฝึกสมาธิ - Samatha-bhàvanà: tranquillity development)
๒. วิปัสสนาภาวนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง, การเจริญปัญญา - Vipassanà-bhàvanà: insight development)
สองอย่างนี้ ในบาลีที่มาท่านเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม และ วิชชาภาคิยธรรม. ในคัมภีร์สมัยหลัง บางทีเรียกว่า กรรมฐาน (อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา, ที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต, วิธีฝึกอบรมจิต - Kammaññhàna: stations of mental exercises; mental exercise; สงฺคห. ๕๑; Comp. ๒๐๒)
D.III.๒๗๓; A.I.๖๐. ที.ปา.๑๑/๓๗๙/๒๙๐; องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๕/๗๗.
ภาวนา ๔ (การเจริญ, การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม, การพัฒนา - Bhàvanà:growth; cultivation; training; development)
๑. กายภาวนา (การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ, การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ - Kàya-bhàvanà: physical development)
๒. สีลภาวนา (การเจริญศีล, พัฒนาความประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน - Sãlabhàvanà: moral development)
๓. จิตตภาวนา (การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตา
กรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่นเบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น - Citta-bhàvanà: cultivation of the heart; emotional development)
๔. ปัญญาภาวนา (การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา - Pa¤¤à-bhàvanà: cultivation of wisdom; intellectual development; wisdom development)
ในบาลีที่มา ท่านแสดงภาวนา ๔ นี้ ในรูปที่เป็นคุณบทของบุคคล จึงเป็น ภาวิต ๔ คือ ภาวิตกายภาวิตศีล ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา (ผู้ได้เจริญกาย ศีล จิต และปัญญาแล้ว) บุคคลที่มีคุณสมบัติชุดนี้ครบถ้วนย่อมเป็นพระอรหันต์
A.III.๑๐๖. องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๙/๑๒๑
มรรคมีองค์ ๘ หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์แปดประการ อันประเสริฐ” - Aññhaïgika-magga: the Noble Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและ อกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท - Sammàdiññhi: Right View; Right Understanding)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัปป์ อพยาบาทสังกัปป์ อวิหิงสาสังกัปป์ - Sammàsaïkappa: Right Thought)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ - Sammàvàcà: Right Speech)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ - Sammàkammanta: Right Action)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ - Sammà-àjãva: Right Livelihood)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ - Sammàvàyàma: Right Effort)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ - Sammàsati: Right Mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ - Sammàsamàdhi: Right Concentration)
องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓, ๔, ๕ เป็น ศีล ข้อ ๖, ๗, ๘ เป็นสมาธิ ข้อ ๑, ๒ เป็น ปัญญา
มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นอริยสัจจ์ ข้อที่ ๔ และได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า “ทางสายกลาง” เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
D.II.๓๑๒; M.I.๖๑; M.III.๒๕๑; Vbh.๒๓๕. ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๓; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๖๙/๓๐๗.
กุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ - Kusala-kammapatha: wholesome course of action) ว่าโดยหัวข้อย่อ ดังนี้
ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย - Kàyakamma: bodily action)
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี* (เว้นจากปลงชีวิต - Pàõàtipàtà veramaõã: abstention from killing)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ - Sammà-àjãva: Right Livelihood)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ - Sammàvàyàma: Right Effort)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ - Sammàsati: Right Mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ - Sammàsamàdhi: Right Concentration)
องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ ข้อ ๓, ๔, ๕ เป็น ศีล ข้อ ๖, ๗, ๘ เป็นสมาธิ ข้อ ๑, ๒ เป็น ปัญญา
มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นอริยสัจจ์ ข้อที่ ๔ และได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า “ทางสายกลาง” เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
D.II.๓๑๒; M.I.๖๑; M.III.๒๕๑; Vbh.๒๓๕. ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๓; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๖๙/๓๐๗.
กุศลกรรมบถ ๑๐# (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ - Kusala-kammapatha: wholesome course of action) ว่าโดยหัวข้อย่อ ดังนี้
ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย - Kàyakamma: bodily action)
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี* (เว้นจากปลงชีวิต - Pàõàtipàtà veramaõã: abstention from killing)
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ มะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวะโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้ได้รู้เพียงนั้นว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยมซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใดๆ หรือของใครๆ จะเทียบได้
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวัน ติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะ ทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิฯ
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแลความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริงโดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณครบ ๓ รอบ ทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ หมดจดแล้ว
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะ พรัหมมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงฯ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี* (เว้นจากปลงชีวิต - Pàõàtipàtà veramaõã: abstention from killing)ดับทุกข์ได้แท้จริง, มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
๒. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่าจะต้องทำอย่างไรกับความจริง แต่ละอย่างนั้นว่าตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา, ตัณหาต้องละให้ขาด, การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา, มรรค ๘ ประการเป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา
๓. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว, ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว, การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว, มรรค ๘ ประการ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว)
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นเราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวะโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใดๆ หรือของใครๆ จะเทียบได้
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุนัพภะโวติฯ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า “กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว”
อิทะมะโวจะ ภะคะวาฯ
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุงฯ
พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้นฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล
อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ “ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ”ฯ
ดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณฑัญญะผู้มีอายุอย่างนี้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นๆ ทั้งปวงก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา”
ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ภูมิเทวดาทั้งหลายก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
“เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะ ทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ”ฯ
“นั่นคือวงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยมไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้วที่ป่าอิสิปตมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณะพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหมและใครๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้”
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามาได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมมะ กายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหมได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้น ปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า
“เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะ เณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ”ฯ
“นั่นคือวงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้วที่ป่าอิสิปตมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณะพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหมและใครๆ ในโลกไม่สามารถให้เป็นไปได้”
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ
และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้
อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ
และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวังฯ
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ “อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะโภ โกณฑัญโญติ”ฯ
ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า “โกณฑัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ”ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว)
อิติหิทัง อายัสสะมะโต โกณฑัญญัสสะ “อัญญาโกณฑัญโญ” เตววะ นามัง อะโหสีติฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” นี้นั่นแหละได้มีแล้วแก่ท่านโกณฑัญญะผู้มีอายุด้วยประการฉะนี้ แล
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250