Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

วิธีสร้างบุญบารมี

วิธีสร้างบุญบารมี

สรุป

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สกลมหาสังฆปรณายก องค์ที่ ๑๙

 

บุญบารมี

 

บุญความหมาย คือ “เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และกุศลธรรม”

บารมี  มาจากคำว่า “ปารมี” ความหมายคือ “คุณความดี ที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง” หรือ “ความดีที่บำเพ็ญไว้ ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน”

 

วิธีสร้างบุญบารมี มีอยู่ ๓ ขั้นตอน

  1. การให้ทาน
  2. การรักษาศีล
  3. การเจริญภาวนา

๓.๑  การเจริญสมาธิภาวนา

๓.๒  การเจริญวิปัสสนาภาวนา

การเจริญภาวนาเป็นการสร้างบุญบารมีที่ได้บุญบารมีมากที่สุด

 

ทาน

การทำทาน

การทำทาน  ได้แก่การสละทรัพย์สิน สิ่งของ สมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่บุคคลอื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความมีเมตตาจิตของตน

การทำทานจะได้บุญก็ต่อเมื่อถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการ

  1. องค์ประกอบข้อ ๑ :  วัตถุที่ให้ต้องบริสุทธิ์

วัตถุทานที่บริสุทธิ์ เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรม ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย มีค่ามากหรือมีค่าน้อย จะเป็นของดี เลว ปราณีตมากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่

  1. องค์ประกอบข้อ ๒ :  เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์

การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่ เหนียวแน่น ความหวงแหนหลงไหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ  “โลภะกิเลส”

เจตนาบริสุทธิ์  จะต้องสมบูรณ์พร้อม ๓  ระยะ คือ

ระยะที่ ๑ : ระยะก่อนจะให้ทาน

มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีที่จะให้ทาน

ระยะที่ ๒ : ระยะที่กำลังลงมือจะให้ทาน

มีจิตโสมนัส ร่าเริงยินดีและเบิกบาน ในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

ระยะที่ ๓ : ระยะที่หลังจากให้ทานไปแล้ว

มีจิตโสมนัส ร่าเริง เบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ

ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่ง มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ

เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำร่วย มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ จะส่งผล คือ

  1. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น

เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน

  1. ร่ำรวยในวัยกลางคน

สืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒  โดยเกิดความโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่

  1. ร่ำรวยปัจฉิมวัย

ร่ำรวยในบั้นปลายชีวิต เพราะเจตนาในการให้ทานงามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓  กล่าวคือ หลังจากได้ทำทานไปแล้วเกิดจิตโสมนัสร่าเริงยินดี เบิกบาน

  1. องค์ประกอบข้อ ๓ :  เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์
    “เนื้อนาบุญ” ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทาน จะต้องเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง จึงจะเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ผลของทานจึงจะทำให้ได้บุญมาก

เนื้อนาบุญ

๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์ และสัตว์ครั้งเดียวก็ตาม

๒.  ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕  แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๘  แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘  แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕.  ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีปาติโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

พระด้วยกัน ก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็มีศีลปาติโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น “พระ” แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกว่า “สมมุติสงฆ์”

พระที่แท้จริงนั้นหมายถึง บุคคลที่บรรลุคุณธรรม ตั้งแต่ขั้นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวช หรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น “พระ” ทั้งสิ้น

และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็น พระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อ พอให้ได้ความเท่านั้น)

๗.  ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากกว่า ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘.  ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐. การถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๓.  การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

วิหารทาน  ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณประโยชน์ ที่ประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่งการสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือสิ่งที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลา ป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมาก ในทำนองเดียวกัน

๑๔.  การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การให้ “อภัยทาน” แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน

เพราะการให้อภัยทาน  เป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ “โทสกิเลส” และเป็นการเจริญ  “เมตตาพรหมวิหารธรรม” อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔  ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔  นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคล ที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔  ได้ ย่อมเป็นผู้ทรงญาณ ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง “พยาบาท” ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภับทานได้การให้อภัยทาน จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานอื่นๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว

๑๕. แต่การให้ทานที่ได้บุญมากที่สุด ได้แก่การให้ ธรรมทาน เพราะการให้ธรรมทาน ก็คือการเทศนาสั่งสอนธรรมะ ตลอดถึงการพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน เพื่อช่วยให้ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ ได้รู้ หรือที่รู้อยู่แล้ว ให้ได้รู้ได้เข้าใจมากยิ่งๆขึ้น เป็นเหตุให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้ามารักษาศีล ปฏิบัติธรรม จนเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ในที่สุด ดังมีพุทธดำรัสตรัสไว้ว่า

“สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ”1

การให้ธรรมเป็นทาน  ชนะการให้ทั้งปวง

ศีล

การรักษาศีล

การรักษาศีล เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกาย และวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบ มิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ลำดับขั้นของการได้บุญจากการรักษาศีล เป็นดังนี้

  1. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง  ๑๐๐  ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕   แม้จะได้ถือเพียงครั้งเดียวก็ตาม
  2. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘  แม้จะถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม
  3. การถือศีล ๘  แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม
  4. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้วรักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนา มีศีลปาติโมกข์สังวร  ๒๒๗   แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

ฉะนั้น ในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็น เนกขัมมบารมี ในบารมี  ๑๐  ซึ่งเป็นการออกจากกาม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมชั้นสูงๆ ก็คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่คนผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้ว ย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖  ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและบำเพ็ญมา

การรักษาศีลได้บุญน้อยกว่าการภาวนา  เพราะเป็นเพียงการรักษากายและวาจาเท่านั้น  ส่วนทางจิตใจนั้น ศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุม หรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

การภาวนา

การภาวนาเป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบาง หรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า “มหัคคตกรรม” อันเป็น “มหัคคตกุศล”

การเจริญภาวนา มี ๒ อย่างคือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)

  1. สมถภาวนา (การทำสมาธิ)

สมถภาวนา  ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือ การทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีการภาวนามี ๔๐ ประการ รวมเรียกว่า “กรรมฐาน ๔๐”

การเจริญภาวนาโดยใช้กรรมฐานชนิดใด ขึ้นอยู่กับจริตหรืออุปนิสัย และวาสนาบารมีของแต่ละคน ไม่ต้องใช้กรรมฐานทั้ง ๔๐ ชนิด

ศีล เป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิ ดังนั้น หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญญานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก

กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าใช้เพื่อการตรัสรู้ คือ อานาปานสติกรรมฐาน

อานิสงส์ของสมาธินั้น มากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียมกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า

“แม้ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษาศีล  ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐  ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบ นานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู”

จิตสงบคือ จิตที่เป็นเพียงอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ จิตเป็นสมาธิ มีอยู่  ๓  ระดับคือ ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ (ฌาน)

สมธิระดับอัปปนาสมาธิ (หรือฌาน)  มีรูปฌาน  ๔  และอรูปฌาน ๔  ซึ่งล้วนส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลกรวม  ๒๐  ชั้น

  • รูปฌาน ๑  ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ ๑  ถึงชั้นที่  ๓
  • อรูปฌานชั้นสูงสุด  เรียกว่า  “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือ ชั้นที่ ๒๐  มีอายุยืนยาว ถึง  ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม

ดังนั้น  การทำสมาธิ เป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด

แต่อย่างไรก็ตาม การทำสมาธิก็ยังได้บุญน้อยกว่าการเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา)

  1. วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญหา)

วิปัสสนา ไม่ใช่การให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมย์เดียวนิ่งอยู่ (ซึ่งคือ สมาธิ)  แต่เป็นจิตคิดใคร่ครวญ หาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ “ขันธ์ ๕”  ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป-นาม”  โดยรูปมี ๑ ส่วน  ส่วนนามนั้นมี  ๔  คือ  เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ขันธ์ ๕  เป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เป็นเพียงสังขารธรรม ที่เกิดเนื่องจากการปรุงแต่ง  แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าทันสภาวธรรม ซึ่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ด้วยอำนาจอุปาทานว่า เป็นตัวเป็นตนและของตน

การเจริญวิปัสสนา  ก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้น ล้วนมีอาการเป็น “พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย

  1. อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง
  • สรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
  • สรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕  เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกัน เป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ (“เซลล์”)  เหล่านั้นมีการเจริญเติบโต และแตกสลายไป แล้วเกิดใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้เน่นอน
  1. ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้” 
  • การทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขัง
  • สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็น สังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทรงตัวตั้งมั่นทนทานอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้ตลอดไป แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป
  • แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรม อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัว
  1. อนัตตา ได้แก่ “ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ”
  • โดยสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ” ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
  • เช่นรูปขันธ์ เป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกันคือ

ธาตุดิน (ส่วนที่เป็นของแข็ง)  ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลว)  ธาตุไฟ (สิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย)  และธาตุลม (ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย)

  • ธาตุทั้ง ๔  ได้มาประชุมรวมกันขึ้น เป็นรูปกายของคน สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลง แล้วแตกสลาย ก็กลับคืนไปสู่สภาพเดิม (ดิน น้ำ ไฟ ลม)  ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเรา ให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้
  • สมาธิ มีกรรมฐาน ๔๐  เป็นอารมณ์  โดยผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่ง ตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตน
  • วิปัสสนา  มีเพียงอย่างเดียวคือ ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์หรือมีแต่รูป-นามเท่านั้น ได้แก่

รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ซึ่งเป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรม อันเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เทียง ทนอยู่สภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด

  • อารมณ์ของวิปัสสนา  เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผล สังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่า เป็นพระไตรลักษณ์คือ

อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

และเมื่อได้จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา  เรียกว่าจิตเข้าสู่กระแสธรรม ตัดกิเลสได้

  • มาธิและวิปัสสนา  จึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกัน และอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น โดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย    อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของ ขณิกสมาธิ เป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post