Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๑๒

การปกครอง

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๒๙๗)

วโส อิสฺสริยํ โลเก

อำนาจเป็นใหญ่ในโลก

(อิสรภาพคือความมีอำนาจในตัวเอง)

๒๙๗ [๑๒.๐๑] (๑๕/๒๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. อำนาจเป็นใหญ่ในโลก โดยอำนาจที่มีการยอมรับ จึงจะเป็นอำนาจที่แท้จริง เพราะการที่จะมีอำนาจเพียงใด ให้ทดสอบโดยการถามตัวเองว่ามีอิสรภาพในการตัดสินใจเพียงใด
  2. หากท่านมีอิสรภาพในการตัดสินใจในการเดินทัพ หรือสั่งการให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าท่านมีอิสรภาพในการตัดสินใจ ทำให้ท่านมีอำนาจในการสั่งทัพเข้ารบหรือถอย อันจะทำให้แพ้หรือชนะในการรบ

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๒๙๘)

สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ

การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น

๒๙๘ [๑๒.๐๒] (๒๕/๖๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การอยู่ใต้อำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น เพราะการต้องคอยคำสั่งจากผู้อื่นทำให้ขาดอิสรภาพในการทำงาน เมื่อทำเสร็จก็จะมีความเครียดเพราะไม่รู้ว่าถูกใจหัวหน้าหรือไม่
  2. ทุกคนเกิดมามีบทบาทหลายอย่างในชีวิต เช่น เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะอยู่ใต้คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการอยู่ใต้ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะรอฟังผลการประกอบการในแต่ละปี
  3. กรรมการผู้จัดการใหญ่ อยู่ใต้คณะกรรมการบริษัท ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายและบริหารจัดการโดย ผู้บริหารซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการบริหาร
  4. ในโลกนี้ ท่านมีอำนาจในขณะอยู่ที่บริษัท แต่พออยู่บ้านท่านอยู่ใต้ภรรยาของท่าน และบางครั้งก็สุขบางครั้งก็ทุกข์

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๐๖)

ควญฺเจ ตรมานานํ   ชิมฺหํ คจฺฉนฺติ ปุงฺคโว

                      ฯเปฯ

สพฺพํ รฏฺ ทุกฺขํ เสติ   ราชา เจ โหติ อธมฺมิโก

เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปคด

โคทั้งหมดก็ว่ายคดไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ ก็ฉันนั้น

ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม

จะป่วยกล่าวไปไยถึงประชาชนที่เหลือ

ถ้าราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นทุกข์

ควญฺเจ ตรมานานํ   อุชุ คจฺฉติ ปุงฺคโว

                    ฯเปฯ

สพฺพํ รฏฺ สุขํ เสติ   ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก

เมื่อฝูงโคว่ายข้ามฟากอยู่ ถ้าโคนำฝูงไปตรง

โคทั้งหมด ย่อมว่ายตรงไปตาม ฉันใด ในหมู่มนุษย์ ก็ฉันนั้น

ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม

ประชาชนที่เหลือก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง

ถ้าราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งหมดย่อมอยู่เป็นสุข

๓๐๖ [๑๒.๑๐] (๒๗/๖๓๔, ๖๓๖), (๒๘/๕๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

ในหมู่มนุษย์เปรียบเสมือนฝูงโค หากมีผู้นำหรือหัวหน้าฝูงพาเดินไปในทางที่ผิดจะทำให้ผู้ติดตามทั้งหมดเดินผิด ในทางตรงกันข้าม หากหัวหน้าฝูงพาเดินไปถูกทางเหมือนมีผู้นำที่ดีจะส่งผลให้คนที่ตามพบทางออกที่ถูกต้อง

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๐๘)

นิสมฺม ทณฺฑํ ปณเยยฺย อิสฺสโร

คนที่เป็นใหญ่ จะต้องใคร่ครวญให้ดีก่อน จึงลงโทษ

๓๐๘ [๑๒.๑๒] (๒๗/๒๑๗๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่เป็นใหญ่ ที่น่าเคารพนับถือ จะต้องมีความเป็นธรรม ก่อนจะลงโทษใคร ก็จะมีการสืบสวนให้รอบคอบ และให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหา ชี้แจงข้อเท็จจริง และที่สำคัญก็คืออย่าหูเบา
  2. อย่าลงโทษคนโดยไม่ได้หาข้อเท็จจริง จะทำให้บารมีของท่านลดลง เพราะการลงโทษผู้ที่ไม่ได้ทำความผิดถือว่าสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
  3. ท่านอาจจะสูญเสียคนที่เป็นกำลังสำคัญเพราะการลงโทษผิดคน ผลที่ตามมาท่านก็จะเหลือแต่คนที่ทำผิดแต่ไม่ถูกลงโทษ ส่วนคนที่ทำไม่ผิดแต่กลับถูกลงโทษ
  4. ดังนั้นการเป็นผู้นำ การตัดสินใจด้วยความรอบคอบจึงสำคัญมาก ก่อนทำการลงโทษให้สอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงโทษ

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๐๙)

เวคา กตํ ตปฺปติ ภูมิปาล

ท่านผู้ครองแผ่นดิน! การที่ทำโดยผลีผลาม จะแผดเผาตัวได้

๓๐๙ [๑๒.๑๓] (๒๗/๒๑๗๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การที่ผู้นำจะทำอะไร หากขาดความระมัดระวังหรือการไตร่ตรองที่รอบคอบจะทำให้งานใหญ่ต้องพังทลาย
  2. ดังนั้น ผู้นำที่ดีจะทำอะไรต้องมีความระมัดระวังถึงผลกระทบที่จะตามมา ต้องมองให้ไกลและลึก

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๐)

โย อิสฺสโรมฺหีติ กโรติ ปาปํ กตฺวา จ โส นุตฺตปเต ปเรสํ

น เตน โส ชีวติ ทีฆมายุ เทวาปิ ปาเปน สเมกฺขเร นํ

ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญตัวว่า “เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่”

ครั้นทำแล้วก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลายอื่น

ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่

แม้เทพทั้งหลายก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม

๓๑๐ [๑๒.๑๔] (๒๘/๓๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ปกครองที่ดีไม่ควรหลงตัวเองว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ทำอะไรไม่อายต่อฟ้าดิน
  2. ผู้ที่หลงตัวเองมักจะมีความคิดว่าตนเป็นผู้ยิ่งใหญ่เหนือทุกคน ดังนั้นทุกคนจะต้องสยบต่อเขา
  3. ผู้ใดทำการโดยไม่ได้หวาดกลัวต่อความชั่วที่ตนทำ โดยไม่เชื่อกฎแห่งกรรม “ทำชั่วได้ชั่ว” จะต้องพบกับจุดจบอย่างไม่ต้องสงสัย 

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๑)

มา ตาต อิสฺสโรมฺหีติ อนตฺถาย ปตารยิ

อย่าสำคัญตนว่า เรามีอำนาจยิ่งใหญ่

แล้วทำให้ประชาชนพลอยพินาศ

๓๑๑ [๑๒.๑๕] (๒๗/๒๔๔๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่สำคัญผิดว่า ตนเองมีอำนาจยิ่งใหญ่ จะออกล่าเมืองขึ้นจนเป็นเหตุให้ประเทศ (บริษัทต่างๆ) รวมตัวกันต่อสู้ จะเกิดศัตรูรอบทิศ ลงเอยสุดท้ายต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน เพราะน้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
  2. เหนือฟ้ายังมีฟ้า คนที่คิดว่าตนเองแน่ แท้ที่จริงมีผู้ที่แน่ยิ่งกว่า

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๒)

สยํ อายํ วยํ ชญฺา สยํ ชญฺา กตากตํ

ผู้ปกครองต้องทราบรายได้รายจ่ายด้วยตนเอง

ต้องทราบกิจการที่ทำแล้วและยังมิได้ทำด้วยตนเอง

๓๑๒ [๑๒.๑๖] (๒๗/๒๔๔๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เป็นผู้ปกครองได้จะต้องมีรายได้ที่เพียงพอที่จะเลี้ยงกองทัพได้นานเท่าไร
  2. เสบียงที่เพียงพอมีความสำคัญมาก เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง
  3. ดังนั้น ผู้นำจะต้องทราบกำลังทรัพย์และกำลังพลของตนเอง จะสู้รบได้นานเท่าไร มิฉะนั้น จะทำให้กองทัพขาดแคลนเสบียงในการสู้รบ
  4. ผู้ปกครองต้องมีความรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง องค์กรจึงจะไปรอด

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๓)

นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ

พึงข่มคนที่ควรข่ม พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง

๓๑๓ [๑๒.๑๗] (๒๗/๒๔๔๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เป็นผู้นำควรมีใจเป็นกลาง โดยให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำความดี และลงโทษผู้ที่ทำผิด
  2. อย่าเป็นคนหูเบา เชื่อคนง่ายๆ โดยไม่สืบสาวเรื่องราวที่แท้จริง ทำให้ลงโทษผิดคน และให้รางวัลผิดคน

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๔)

อเปตโลมหํสสฺส รญฺโ กามานุสาริโน

สพฺเพ โภคา วินสฺสนฺติ รญฺโ ตํ วุจฺจเต อฆํ

ผู้ครองแผ่นดินที่เจ้าสำราญ แส่หาแต่กามารมณ์

โภคทรัพย์จะพินาศหมด

นี่แลที่เรียกว่า ทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน

๓๑๔ [๑๒.๑๘] (๒๗/๒๔๔๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อชนะศึกมากเข้า ก็มีจิตใจประมาทเอาแต่บำรุงบำเรอกามารมณ์ ทรัพย์สินเงินทองก็จะร่อยหรอ
  2. บ้านเมืองจะวุ่นวายหากผู้นำไม่ใส่ใจในการฝึกอบรมกองทัพให้เข้มแข็งตลอดเวลา
  3. ประเทศคู่แข่ง หรือเมืองขึ้นจะเห็นจุดอ่อน และเตรียมตัวยกมาโจมตี
  4. เมื่อผู้ปกครองมัวแต่เข้าหอล่อกามา ไม่เตรียมเสบียงในการสู้รบ ภัยพิบัติจะมาถึงประเทศชาติในไม่ช้า เช่น ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนเสียกรุงครั้งที่สอง

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๕)

มหตฺตปตฺโตปิ นิวาตวุตฺติ

ถึงจะขึ้นสู่สถานะที่ยิ่งใหญ่ ก็ถ่อมตัวใฝ่ฟังบัณฑิต

ตสฺมึห โปเส วิปุลา ภวามิ

อุมฺมี สมุทฺทสฺส ยถาปิ วณฺณํ

ท่านผู้เช่นนั้น จะเป็นที่ชื่นชมยำเกรง

เหมือนคนเห็นบรรยากาศแห่งมหาสมุทรแล้ว

ขามเกรงต่อศักยะแห่งคลื่นใหญ่

 ๓๑๕ [๑๒.๑๙] (๒๗/๘๘๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริง จะถ่อมตัว ไม่แสดงตัวข่มคนอื่น เปิดใจรับฟังผู้มีความรู้ เพื่อที่จะเติมเต็มความรู้ให้กับตนเอง จะทำให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ และปรับตัวทันต่อยุคสมัย
  2. ผู้มีประสบการณ์อย่างโชกโชน จะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ทุกสถานการณ์ จะไม่แสดงตนข่มผู้อื่น

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๗)

มทา ปมาโท ชาเยถ

จากความมัวเมา ก็เกิดความประมาท

๓๑๗ [๑๒.๒๑] (๒๗/๒๔๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จุดเสื่อมหรือตกต่ำ เริ่มจากความมัวเมาในอำนาจและโภคทรัพย์ ๆ จะถูกนำมาใช้โดยไม่ระมัดระวัง
  2. เป็นเหตุทำให้เกิดความประมาทในการพัฒนาให้ทีมงานหรือกำลังพลให้มีความเข้มแข็งและช่ำชองยิ่งขึ้น
  3. ผลคือทำให้ ไม่สามารถแข็งขันหรือต่อสู้ได้เหมือนแต่ก่อน ผลที่ตามมาก็คือความพ่ายแพ้ยับเยิน

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๘)

ปมาทา ชายเต ขโย

จากความประมาท ก็เกิดความเสื่อม

๓๑๘ [๑๒.๒๒] (๒๗/๒๔๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ไม่ว่าจะทำการใดๆ ก็ตาม หากมีความประมาทว่าจะไม่มีผู้ใดจะสามารถเข้ามาต่อสู้ได้ จึงทำให้ขาดการทบทวนการซ้อมรบ เพื่อให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  2. ผลที่ตามมาก็คือ สิ่งที่ทำอยู่อาจจะล้าสมัยแล้ว ส่งผลทำให้เกิดความพ่ายแพ้ต่อคู่แข่ง ซึ่งก็คือความเสื่อมลงนั่นเอง

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๑๙)

ขยา ปโทสา ชายนฺติ

จากความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง

๓๑๙ [๑๒.๒๓] (๒๗/๒๔๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อเกิดความเสื่อม จะส่งผลให้เกิดปัญหาเวลาอุปกรณ์จะถูกนำมาใช้งาน
  2. สิ่งที่ควรทำก็คือ การตรวจตราเป็นประจำว่าเครื่องมือต่างๆ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา
  3. อย่าไปตั้งข้อสมมติฐานว่า ทุกอย่างยังคงใช้งานดีอยู่ โดยไม่ได้ทดลองใช้จริง เพราะเมื่อถึงเวลาต้องใช้จริงๆ ก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าค่าบำรุงรักษาเป็นอย่างมาก
  4. การซื้อประกันภัย ก็เป็นสิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในระดับหนึ่ง

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๒๐)

มา มโท ภรตูสภ

ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย

๓๒๐ [๑๒.๒๔] (๒๗/๒๔๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้มีภาระรับผิดชอบต่อองค์กรที่จะต้องแข่งขันตลอดเวลา จะประมาทไม่ได้เลย
  2. จะต้องตื่นตัวตลอดเวลาในการพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้แก่องค์กร เพื่อที่จะรักษาความสามารถในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ
  3. บริษัทที่ตั้งมานาน ไม่ได้หมายความจะอยู่ต่อไปได้อีกนาน
  4. มีตัวอย่างให้เห็นเป็นอันมาก องค์กรที่เคยยิ่งใหญ่แต่ในวันนี้สิ้นสภาพในการเป็นผู้นำ เช่น ไอบีเอ็ม โกดัก โนเกีย เป็นต้น

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๒๑)

ขตฺติยสฺส ปมตฺตสฺส รฏฺสฺมึ รฏฺวฑฺฒน

สพฺเพ โภคา วินสฺสนฺติ รญฺโ ตํ วุจฺจเต อฆํ

เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท

โภคทรัพย์ในรัฐทั้งหมดย่อมพินาศ

นี่แลเรียกว่าทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน

๓๒๑ [๑๒.๒๕] (๒๗/๒๔๔๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. บริษัทที่เคยยิ่งใหญ่ แต่ผู้บริหารสูงสุดขาดวิสัยทัศน์ ทำให้ปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง องค์กรอาจจะต้องล้มละลายในที่สุด
  2. ผู้บริหารที่ประมาทคู่แข่ง มองข้ามศักยภาพของคู่แข่ง เช่น ไอบีเอ็ม และแอปเปิ้ลเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี ไอบีเอ็มเคยเป็นอันดับหนึ่งของวงการคอมพิวเตอร์ ในขณะที่แอปเปิ้ลเพิ่งเกิดจากบริษัทเล็กๆ แต่ในปัจจุบัน แอปเปิ้ลขึ้นเป็นอันดับ ๑ ของอุตสาหกรรม แต่ไอบีเอ็ม หลุดจากความเป็นสุดยอดของธุรกิจคอมพิวเตอร์

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๒๖)

อปฺปเสโนปิ เจ มนฺตี มหาเสนํ อมนฺตินํ

ถึงแม้จะมีกำลังพลน้อย แต่มีความคิด

ก็เอาชนะกองทัพใหญ่ที่ไร้ความคิดได้

๓๒๖ [๑๒.๓๐] (๒๘/๖๕๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ขนาดของกำลังคน ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ถึงชัยชนะเสมอไป
  2. ความคิดหรือปัญญา เป็นสิ่งสำคัญในการวางกลยุทธ์ในการทำงานสำคัญ และสิ่งสำคัญจะต้องมีผู้นำที่มีความสามารถในการนำทัพ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับกองทัพ

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๒๗)

พาโล อปริณายโก

คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้

๓๒๗ [๑๒.๓๑] (๒๗/๓๑๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนพาล เป็นผู้นำไม่ได้ เพราะไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้ที่จะเป็นผู้นำได้ จะต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการกล้าตัดสินใจ แยกแยะลูกน้องอย่างยุติธรรม ไม่แบ่งเขาแบ่งเราในหมู่บริวาร

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๒๘)

น สาธุ พลวา พาโล ยูถสฺส ปริหารโก

ผู้บริหารหมู่คณะ ถึงจะมีกำลังอำนาจ

แต่เป็นคนพาล ย่อมไม่เป็นผลดี

๓๒๘ [๑๒.๓๒] (๒๗/๑๐๓๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้บริหารหมู่คณะ ถึงจะมีกำลังอำนาจ แต่เป็นคนพาล ย่อมไม่เป็นผลดี เพราะคนพาลจะไม่สามารถใช้กำลังอำนาจได้ถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ
  2. คนพาลมักมีนิสัยและพฤติกรรมแตกต่างจากคนดีโดยทั่วไป คนพาลมักใช้วิธีการใช้อำนาจอย่างคนพาล ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอย่างผิดๆ จนเป็นเหตุให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ 
  3. คนพาลไม่มีความสามารถในการบริหารองค์กรหรือหมู่คณะ เพราะคนพาลไม่เป็นที่ยำเกรงของคู่ต่อสู้

อมฤตพจนา

๑๒.  การปกครอง (๓๒๙)

โร จ พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก

ผู้บริหารหมู่ชน เป็นปราชญ์ และมีกำลังเข้มแข็ง จึงจะเป็นผลดี

๓๒๙ [๑๒.๓๓] (๒๗/๑๐๓๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้บริหารหมู่ชนเป็นคนดีมีความสามารถ รู้จักแยกแยะ มีความรอบคอบและยุติธรรม จึงจะเป็นผลดี
  2. คนเก่งและคนดี จะรู้จักการใช้อำนาจให้ถูกทาง
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post