Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว

๑๓

บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๐)

ปุญฺ โจเรหิ ทูหรํ

ความดีโจรลักไม่ได้

๓๓๐ [๑๓.๐๑] (๑๕/๑๕๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. บาป-บุญ ความดี เป็นสิ่งที่ติดตัวไปทุกชาติ ดังนั้น ความดีจึงไม่มีใครลักไปได้
  2. กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นสิ่งที่ติดตัวตลอดไป ทำแทนกันไม่ได้ ซื้อขายก็ไม่ได้ เป็นอริยทรัพย์ที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติ

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๒)

น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย

อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น

การสั่งสมความชั่วเป็นการก่อความทุกข์

๓๓๒ [๑๓.๐๓] (๒๕/๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำความชั่วจะนำมาซึ่งความทุกข์
  2. การสะสมความดี-ความชั่วเป็นสิ่งที่คนดีจะเชื่อและหมั่นทำความดี ส่วนคนที่ทำความชั่ว ก็จะไม่เกรงกลัวต่อกรรม จะตามติดตัวไปทุกชาติ คนทำความชั่วมักจะกล่าวอ้างว่า เรามองไม่เห็น และพิสูจน์ไม่ได้
  3. สิ่งที่เราต้องยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็คือ ทำดีแล้วสบายใจ เช่น ทำบุญทำทาน ส่วนคนชั่ว ทำแล้วย่อมไม่สบายใจ เช่น ทำร้ายผู้อื่น

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๓)

โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ

โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา

บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด

ครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท

บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส

เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก

๓๓๓ [๑๓.๐๔] (๒๕/๒๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่เคยทำกรรมชั่วมาก่อน แต่ปัจจุบันสำนึกตัวว่า สิ่งที่ตนเคยทำเป็นกรรมชั่ว ไม่ควรทำความชั่วอย่างที่เคยทำ หลังจากนั้นก็หันมาทำความดี ดังเช่นองคุลีมาล เป็นมหาโจรกลับใจ ออกบวชในพระพุทธศาสนา จนบรรลุความเป็นพระอรหันต์
  2. คนที่ทำความชั่วหรือทำไม่ดีมาก่อน หลังจากเขาสำนึกผิดกลับตัวกลับใจมาทำความดี สังคมย่อมให้อภัยและให้โอกาสในการทำความดีทดแทนความผิดที่เคยทำมา สังคมควรจะให้โอกาสคนที่ต้องการกลับตัวกลับใจ สังคมดังกล่าวก็น่าอยู่ยิ่งขึ้น

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๔)

ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ

โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา

บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้แล้ว (กลับตัวได้)

หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำให้โลกแจ่มใส

เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก

๓๓๔ [๑๓.๐๕] (๒๕/๒๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. องคุลีมาลเป็นมหาโจรที่กลับใจจากการทำความชั่วในยุคพุทธกาล มาเป็นคนดี โดยการบวชในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งบรรลุความเป็นพระอรหันต์
  2. คนที่เคยทำความชั่ว เมื่อรู้ตัวก็กลับใจมาเป็นคนดี คนดีย่อมให้อภัยแก่เขา แตกต่างจากคนที่เคยเป็นคนดี แต่หันไปทำความชั่ว ด้วยความหลงเข้าใจผิด เป็นบุคคลที่น่าสงสาร และสังคมพร้อมจะให้อภัย หากเขาได้กลับตัวกลับใจ

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๖)

อาปูรติ ธีโร ปุญฺสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ

ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี

๓๓๖ [๑๓.๐๗] (๒๕/๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ธีรชน คือ ผู้ที่รู้จักอินทรีย์ ๖ ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความซื่อตรง และความอ่อนโยน
  2. อินทรีย์หก อินทรีย์เป็นสิ่งที่เป็นใหญ่เฉพาะตัว ถ้าสิ่งที่มีอยู่กับเราหรืออายตนะภายใน มือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คู่กันกับอายตนะภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกเป็นใหญ่เฉพาะแต่ละเรื่องของมันเอง ตาเป็นใหญ่ในการมองเห็น หูเป็นใหญ่ในการฟัง ลิ้นเป็นใหญ่ในการกินรู้รสว่าเปรี้ยว หวาน เค็ม กายเป็นใหญ่ในการรับรู้ว่าเย็นร้อนอ่อนแข็ง มโนคือใจ ก็เป็นใหญ่ในการรู้สึกนึกคิดเวลากระทบกับธรรมารมณ์ รวม ๖ อย่างเรียกว่า อินทรีย์หก เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ฉะนั้นสิ่งเฉพาะตัวเรานี้ เมื่อเราทำความดีมันจะค่อยๆ สร้างและสะสมไปทีละเล็กทีละน้อย

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๗)

สุโข ปุญฺสฺส อุจฺจโย

การสร้างสมความดี นำสุขมาให้

๓๓๗ [๑๓.๐๘] (๒๕/๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การสร้างสมความดีทั้งกาย วาจา ใจ นำความสุขมาให้
  2. การทำความดีทำให้จิตใจเบิกบาน มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
  3. ความเมตตา และความกรุณานำความสุขมาให้

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๘)

สุขสฺเสตํ ภิกฺขเว อธิวจนํ ฯเปฯ ยทิทํ ปุญฺานิ

คำว่า บุญ นี้ เป็นชื่อของความสุข

๓๓๘ [๑๓.๐๙] (๒๕/๒๐๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คำว่า “บุญ” นี้เป็นชื่อของความสุข
  2. การสร้างบุญบารมีมีอยู่ ๓ ระดับ กล่าวคือ ทาน ศีล ภาวนา โดยลำดับของการได้บุญเป็นดังนี้ คือ

ลำดับต่ำที่สุด คือ ทาน

ลำดับสูงขึ้นไปคือ การรักษาศีล

ลำดับขั้นสูงสุดคือ ภาวนา ซึ่งมี ๒ ระดับ คือ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา

  1. วิปัสสนาภาวนา ( เจริญปัญญา ) ได้บุญขั้นสูงสุดของการเป็นอริยบุคคล คือ เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้หมดกิเลส สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๓๙)

สยํ กตานิ ปุญฺานิ ตํ เว อาเวณิยํ ธนํ

ความดีที่ทำไว้เองนี่แหละ เป็นทรัพย์ส่วนเฉพาะของตัวแท้ๆ

๓๓๙ [๑๓.๑๐] (๒๗/๑๙๙๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความดี เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตนเอง ซื้อขายไม่ได้
  2. ความดีเป็นทรัพย์ที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติ
  3. ทรัพย์อย่างอื่น ไม่ใช่ของเรา หลังเราตายจากโลกนี้ไปแล้ว
  4. ดังนั้น การสะสมความดี จึงเป็นสิ่งควรทำในทุกโอกาส เพราะการทำความดีไม่เลือกเวลา และสถานที่
  5. การให้ธรรมะเป็นการสร้างความดีที่ชนะการให้ทั้งปวง เพราะทำให้ธรรมะสามารถได้รับการถ่ายทอดต่อกันไป

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๐)

ปุญฺ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ

กระทั่งถึงคราวสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้สุขได้

๓๔๐ [๑๓.๑๑] (๒๕/๓๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. บุญมีหลายระดับ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับบุญจะเป็นผลดีต่อชีวิต ทั้งช่วงที่มีชีวิต ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ใกล้จะเสียชีวิต เพราะทำให้มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
  2. หมั่นสะสมบุญบารมีทุกโอกาสที่มี
  3. ทำบุญให้ถูกวิธี เนื้อนาบุญ เป็นสิ่งสำคัญ
  4. การให้ ให้ถูกวิธีอาจจะใช้เงินน้อย แต่ได้บุญมาก
  5. บุญสูงสุด คือ บุญที่ไม่เสียเงิน บุญนั้นคือวิปัสสนาภาวนา รองลงไปคือ สมาธิภาวนา รักษาศีล ให้ทาน

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๑)

น ฆาสเหตูปิ กเรยฺย ปาปํ

ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน

๓๔๑ [๑๓.๑๒] (นัย ๒๗/๑๒๗๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในการเลี้ยงฉลองในโอกาสต่างๆ ไม่ควรฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพื่อทำเป็นอาหารเลี้ยงฉลอง
  2. ในชีวิตประจำวัน เราทำบาปโดยไม่ได้ตั้งใจอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว เช่น การซื้ออาหารที่เป็นเนื้อสัตว์มาทำเป็นอาหาร ซึ่งทำให้ต้องมีการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร โดยเฉพาะการซื้อสัตว์ที่ยังมีชีวิตมาเป็นอาหาร

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๒)

สกมฺมุนา หญฺติ ปาปธมฺโม

คนมีความชั่ว ย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมของตน

๓๔๒ [๑๓.๑๓] (๑๓/๔๕๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. กรรมย่อมสนองผู้ที่ทำกรรม
  2. กรรมใดใครเป็นผู้ก่อ ผู้นั้นต้องรับผลของเคราะห์กรรมทั้งหลาย ไม่ควรทำบาปและพยายามหาแพะรับบาป

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๓)

ปาปํ ปาเปน สุกรํ

ความชั่ว คนชั่วทำง่าย

๓๔๓ [๑๓.๑๔] (๒๕/๑๒๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนชั่ว มีนิสัยในการทำความชั่วอยู่เป็นประจำ
  2. คนชั่ว ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องแปลกในการทำความชั่ว
  3. อย่าอยู่ใกล้คนชั่ว เพราะจะทำให้มีการทำชั่วตามโดยไม่รู้ตัว

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๔)

นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต

บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ

๓๔๔ [๑๓.๑๕] (๒๕/๑๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนไม่ทำบาป ย่อมไม่มีบาปใดๆ
  2. ผู้ที่มีเจตนาไปในทางความชั่ว ย่อมมีบาป ถึงแม้ยังไม่ได้ลงมือทำ
  3. การทำบาปเริ่มต้นตั้งแต่มีเจตนา

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๕)

น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ

ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นไม่ดี

๓๔๕ [๑๓.๑๖] (๑๕/๒๘๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. สิ่งใดที่ทำแล้วไม่สบายใจหลังจากได้กระทำ การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี
  2. บาปมีอยู่หลายระดับ แค่คิดจะทำความชั่วก็บาปแล้ว ถึงแม้ยังไม่ได้ลงมือทำ เพราะดูที่เจตนาจะทำความชั่ว

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๖)

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ

ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี

๓๔๖ [๑๓.๑๗] (๑๕/๒๘๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ทำสิ่งใดแล้วสบายใจ ถือว่าเป็นการกระทำดี
  2. ทำสิ่งใดแล้วกังวลใจภายหลัง ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๗)

สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ

การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำง่าย

๓๔๗ [๑๓.๑๘] (๒๕/๒๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำความชั่วทำได้ง่าย
  2. การทำสิ่งที่ไร้สาระ ทำได้ง่าย

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๘)

ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ

การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย

การนั้นแล ทำได้ยากอย่างยิ่ง

๓๔๘ [๑๓.๑๙] (๒๕/๒๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และดีต่อทุกคน ทำได้ยาก เช่นพระพุทธเจ้าชักชวนกุลบุตรออกบวช ทำให้มีผู้สืบทอดศาสนา แต่เมื่อกุลบุตรออกบวชทำให้ขาดแคลนผู้สืบทอดวงศ์สกุล ฉะนั้นสิ่งนี้จึงไม่อาจให้ประโยชน์และผลดีในเวลาเดียวกัน
  2. ในความเป็นจริง เป็นการยากที่จะทำให้ทุกคนพอใจเท่ากัน

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๔๙)

สุกรํ สาธุนา สาธุ

ความดี คนดี ทำง่าย

๓๔๙ [๑๓.๒๐] (๒๕/๑๒๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความดี ความชั่ว เป็นเรื่องของแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกทำดี ทำชั่วได้ตามใจปรารถนา
  2. ความดี คนดีทำง่าย ในทางตรงกันข้าม คนชั่ว ทำดีได้ยาก
  3. แต่คนชั่วทำชั่วได้ง่าย คนดีทำชั่วได้ยาก

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๐)

สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ

ความดี คนชั่ว ทำยาก

๓๕๐ [๑๓.๒๑] (๒๕/๑๒๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนดี ทำชั่ว ทำยาก แต่คนดีทำดีได้ง่าย
  2. คนชั่ว ทำดี  ได้ยาก แต่คนชั่วทำชั่วได้ง่าย

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๑)

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก

สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

๓๕๑ [๑๓.๒๒] (๑๓/๗๐๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรมที่สร้างไว้ ไม่มีใครหนีกรรมได้พ้น
  2. กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กรรมย่อมตามทันแน่นอน
  3. การเวียนว่ายตายเกิดทำให้กรรมทุกชนิดหนีไม่พ้นกฎแห่งกรรม ทำดีย่อมได้ดี ในทางตรงกันข้าม ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
  4. กรรมดี-กรรมชั่ว จะติดตัวข้ามภพข้ามชาติ

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๒)

กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย

กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต

๓๕๒ [๑๓.๒๓] (๑๔/๕๙๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. กรรมหรือการกระทำจะแบ่งแยกสัตว์ (คน) ว่าเป็นคนดี หรือคนชั่ว
  2. คนทำดี ย่อมได้ดี
  3. คนทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว
  4. สังสารวัฏ ๓๑ ภูมิ จะเป็นภพภูมิที่แต่ละคนจะไปเกิดเป็นอะไร โดยแบ่งออกดังนี้

๔.๑ อบายภูมิ ๔  ภูมิ

๔.๒ มนุษยภูมิ ๑ ภูมิ

๔.๓ เทวภูมิ ๖ ภูมิ

๔.๔ รูปพรหม ๑๖ ภูมิ

๔.๕ อรูปพรหม ๔ ภูมิ

รวม ๓๑ ภูมิ

  1. สังสารวัฏ ๓๑ ภูมิ หรือโลกียภูมิ แต่ละชีวิตจะไปเกิดเป็นอะไรขึ้นอยู่กับกรรมที่สร้างไว้ในอดีต

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๓)

กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ

ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว

๓๕๓ [๑๓.๒๔] (๑๕/๙๐๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎแห่งกรรม
  2. ให้รำลึกกฎแห่งกรรมไว้ตลอดเวลา จะทำให้อยากทำดี
  3. การทำดี ดีทั้งกาย วาจา ใจ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา
  4. การทำชั่ว ทั้งกาย วาจา ใจ ได้แก่การผิดศีล
  5. กิเลสตัวสำคัญที่ทำให้ทำชั่ว คือ โลภะ โทสะ โมหะ
  6. โลกธรรม ๘ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด
  7. ผลจากการทำดี

ทาน ทำให้เกิดใหม่เป็นมนุษย์ที่สุขสบาย หรือเกิดเป็นเทวดา ๖ ชั้น

ศีล ทำให้เกิดใหม่เป็นเทวดา ๖ ชั้น

ภาวนา – สมาธิภาวนา เกิดใหม่เป็นพระพรหม โดยแบ่งเป็นรูปพรหม ๑๖ 

  และอรูปพรหม ๔ รวมเป็น ๒๐ ชั้น

– วิปัสสนาภาวนา จะเกิดใหม่ในชั้นโลกุตรภูมิ ๔ ชั้น กล่าวคือ พระโสดาบัน 

  พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

  1. โลกียภูมิ (๓๑ ภูมิ) จะต้องมีการเวียนว่ายตายเกิด ยังต้องเกิดใหม่ทำให้ทุกข์

โลกุตรภูมิ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นสุดยอดของพระพุทธศาสนา

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๕)

อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย

ความชั่ว ไม่ทำเสียเลย ดีกว่า

๓๕๕ [๑๓.๒๖] (๑๕/๒๔๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความชั่ว ควรหลีกเลี่ยงที่จะทำ เพราะกรรมย่อมตามสนอง
  2. ความดี ยิ่งทำมาก ยิ่งดี

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๖)

ปาปานํ อกรณํ สุขํ

การไม่ทำความชั่ว ให้เกิดความสุข

๓๕๖ [๑๓.๒๗] (๒๕/๓๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำความชั่ว ทำให้ใจเป็นทุกข์ เพราะกรรมย่อมตามทัน เพราะใจย่อมสำนึกผิด
  2. การไม่ทำความชั่ว จิตใจจะอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากความรุ่มร้อน
  3. การทำความดี จะทำให้เป็นสุข

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๗)

กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย

ความดี ทำไว้แล ดีกว่า

๓๕๗ [๑๓.๒๘] (๑๕/๒๔๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ทำความดี ดีกว่า เพราะทำให้สบายใจ การทำความดีจะทำให้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีขึ้น
  2. ทำความชั่ว ไม่ควรทำ เพราะทำให้ไม่สบายใจ การทำความชั่วจะส่งผลทำให้ไปเกิดในอบายภูมิ ๔

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๘)

สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ

การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑

การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม ๑

การชำระจิตใจให้ผ่องใส ๑

นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

๓๕๘ [๑๓.๒๙] (๒๕/๒๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ทำตามหลักธรรมไตรสิกขาประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา คือศีลละเว้นความชั่ว สมาธิทำแต่ความดี ปัญญาทำจิตใจให้ผ่องใส ทรงเน้นย้ำหลังตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน และทรงเริ่มแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ท่ามกลางพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ ในวันมาฆบูชา
  2. หลักธรรมตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อาจจะแบ่งเป็นหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย

๒.๑ สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ) หมวดปัญญา

๒.๒ สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) หมวดปัญญา

๒.๓ สัมมาวาจา (วาจาชอบ) หมวดศีล

๒.๔ สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) หมวดศีล

๒.๕ สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) หมวดศีล

๒.๖ สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) หมวดสมาธิ

๒.๗ สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) หมวดสมาธิ

๒.๘ สัมมาสมาธิ (ความตั้งมั่นชอบ) หมวดสมาธิ

อริยมรรคมีองค์ ๘ คือทางสายกลางซึ่งเป็นทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์หรือมัชฌิมาปฏิปทา

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๕๙)

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ

ธรรมนั่นแหละ รักษาผู้ประพฤติธรรม

๓๕๙ [๑๓.๓๐] (๒๖/๓๓๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ธรรมย่อมชนะอธรรม
  2. จงเชื่อในกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  3. ธรรม คือการกระทำด้วยกาย วาจา ใจ
  4. การทำกรรมดีทางกาย วาจา ใจ ย่อมส่งผลดีให้แก่ชีวิต
  5. ในทางตรงกันข้าม การทำกรรมไม่ดีทางกาย วาจา ใจ ย่อมส่งผลไม่ดีให้แก่ชีวิต

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๐)

ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข

๓๖๐ [๑๓.๓๑] (๒๖/๓๓๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ทุกคนย่อมมีความหวังที่ต้องการความสุข แต่การกระทำมักจะไปทางสร้างกิเลส อันจะทำให้เกิดทุกข์
  2. ดังนั้น ถ้าต้องการความสุข จะต้องสังหารกิเลส ซึ่งประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
  3. ธรรมที่ปฏิบัติดีแล้วทั้งทางกาย วาจา ใจ ย่อมจะนำความสุขมาให้
  4. ในทางตรงกันข้าม กรรมที่เป็นกรรมชั่วทางกาย วาจา ใจ จะนำความทุกข์มาให้

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๑)

ธมฺมจารี สุขํ เสติ

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข

๓๖๑ [๑๓.๓๒] (๒๕/๒๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ทำความดีอยู่เป็นประจำ ย่อมอยู่เย็นเป็นสุข
  2. ผู้ประพฤติธรรม ย่อมมีความสุขทุกอิริยาบถ

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๓)

น ปณฺฑิตา อตฺตสุขสฺส เหตุ

ปาปานิ กมฺมานิ สมาจรนฺติ

บัณฑิตไม่ประกอบความชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว

๓๖๓ [๑๓.๓๔] (๒๗/๑๔๖๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนดีจะไม่ทำความชั่ว เพียงเพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
  2. คนดีและมีปัญญาย่อมแยกออกระหว่างความดีและความชั่ว เขาก็จะเลือกที่จะทำความดี

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๔)

ทุกฺเขน ผุฏฺา ขลิตาปิ สนฺตา

ฉนฺทา จ โทสา น ชหนฺติ ธมฺมํ

บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบ ถึงพลาดพลั้งลง

ก็คงสงบอยู่ได้ และไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง

๓๖๔ [๑๓.๓๕] (๒๗/๑๔๖๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีปัญญา หากถูกรุมล้อมด้วยปัญหา แม้จะมีความทุกข์ แต่ก็มีปัญญาที่จะหาทางแก้ไขอย่างสงบและชาญฉลาด
  2. แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤต คนที่มีปัญญาก็สามารถก้าวข้ามวิกฤตอย่างชาญฉลาด

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๕)

น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน

ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตนโดยทางไม่ชอบธรรม

๓๖๕ [๑๓.๓๖] (๒๕/๑๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีปัญญา จะไม่แก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบธรรม
  2. คนที่มีปัญญา จะเคารพกฎกติกา และจะหาทางแก้ไขได้อย่างชาญฉลาด ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่เคยปรากฎ

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๖)

จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ

องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน

องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ

จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต

พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ

พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต

พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และชีวิต

ในเมื่อคำนึงถึงธรรม

๓๖๖ [๑๓.๓๗] (๒๘/๓๘๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. จะต้องหาทางเลือกที่ดีกว่า ถึงแม้จะต้องสูญเสียบางอย่างไป
  2. ต้องสละของที่มีค่าน้อยกว่าเพื่อรักษาของที่มีค่ามากกว่าไว้
  3. ต้องสละได้หมด เพื่อรักษาความถูกต้องและเป็นธรรม

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๗)

อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก

ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่า

ถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร

๓๖๗ [๑๓.๓๘] (๒๖/๓๘๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อคำนึงถึงบาป-บุญ ย่อมรับการสูญเสียโดยชอบธรรม ดีกว่าได้แต่ไม่ชอบธรรม
  2. คนเรามีความคิดที่ไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนรู้แก่ใจว่าอะไรชอบธรรม หรืออะไรไม่ชอบธรรม

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๘)

มรณํ ธมฺมิกํ เสยฺโย ยญฺเจ ชีเว อธมฺมิกํ

ตายอย่างชอบธรรมดีกว่า

อยู่อย่างไม่ชอบธรรมจะมีค่าอะไร

๓๖๘ [๑๓.๓๙] (๒๖/๓๘๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ขาดทุนอย่างชอบธรรม ดีกว่าได้แต่ไม่ชอบธรรม
  2. โอกาสมีให้เสมอสำหรับผู้ที่ทำดี เพียงแต่ต้องรอจังหวะเวลาให้เหมาะสม
  3. มีชีวิตอยู่อย่างไร้เกียรติสู้ตายอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ได้
  4. บุญ (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป)

บุญก็คือความสุข สุขก็คืออาหารของใจ ทำบุญทำกุศลอะไร รักษาศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ให้ตั้งจุดหมายปลายทางไว้ว่าเราต้องการพ้นทุกข์ คือเข้าสู่นิพพานสันติสุข

อมฤตพจนา

๑๓.  บุญ-บาป, ธรรม-อธรรม, ความดี-ความชั่ว (๓๖๙)

ธมฺเม ิตํ น วิชหาติ กิตฺติ

เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม

๓๖๙ [๑๓.๔๐] (๒๒/๔๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้มีใจและการกระทำเป็นธรรม ย่อมได้รับความเคารพนับถือและความน่าเชื่อถือ
  2. ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ทำดี
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post