อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๗๖)
อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา
ความอยากได้ ไม่มีที่จบสิ้นเลย
๓๗๖ [๑๕.๐๑] (๒๗/๓๓๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- กิเลส หรือ ความอยากได้ มีไม่สิ้นสุด
- โลภมาก ลาภหาย
- กิเลสนั้นเป็นโรคของใจ ยาแก้ไขคือธรรมะ ศีล สมาธิ ปัญญา
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๗๗)
วิคติจฺฉานํ นโม กโรมเส
ท่านที่ตัดความอยากเสียได้
ข้าพเจ้าขอกราบไหว้เลยทีเดียว
๓๗๗ [๑๕.๐๒] (๒๗/๓๓๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ผู้ที่รู้จักคำว่า พอ นับว่าเป็นผู้ที่มีความสุขในชีวิต
- ความสันโดษ ทำให้มีความสุข
- ความทุกข์เกิดขึ้นจากกิเลสหรือตัณหา (ความอยาก) ที่มีอย่างไม่รู้จักพอ
- ดังนั้นหากต้องการความสุขก็ให้รู้จักพอ
- ความโลภของมนุษย์ทำให้เกิดความทุกข์
- ยิ่งมีมากยิ่งทุกข์ เพราะไม่รู้จักพอ
- ยิ่งให้มากยิ่งมีความสุข ก็คือการให้ทาน
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๗๘)
ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
โลภเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ
เมื่อความโลภเข้าครอบงำคน
เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ
๓๗๘ [๑๕.๐๓] (๒๕/๒๖๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความโลภเป็นตัวกิเลสจะทำลายทุกอย่าง
- จงเรียนรู้ความพอใจ และความสุขจะช่วยลดความโลภ
- ความโลภเกิดจากความไม่รู้จักพอ
- ยิ่งมีมาก ยิ่งโลภ
- ยิ่งโลภ ยิ่งทุกข์
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๗๙)
อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ
ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่างๆ
๓๗๙ [๑๕.๐๔] (๑๕/๒๑๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความอยากได้ หรือ ความโลภทำให้เห็นอะไรก็อยากได้ จะทำให้เดือดร้อน
- ความโลภ นำมาสู่หายนะ เพราะจะทำให้กระทำเกินกำลังที่จะรับได้ไหว
- ความชอบที่เปรียบเทียบ (มานะ) ทำให้เกิดความทุกข์ เพราะไม่รู้จักพอ
- ความโลภของมนุษย์มีไม่สิ้นสุด
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๐)
กาเมหิ โลกมฺหิ น หตฺถิ ติตฺติ
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก
๓๘๐ [๑๕.๐๕] (๑๓/๔๕๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- มนุษย์ทั้งหลายมักจะมีกามราคะอยู่ จะตัดให้ขาดเสียย่อมเป็นไปได้ยากมาก
- กามราคะเป็นกิเลสที่ทำให้เป็นอุปสรรคในการบรรลุพระอริยบุคคลขั้นอนาคามี
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๑)
ภยมนฺตรโต ชาตํ ตํ ชโน นาวพุชฺฌติ
คนโกรธไม่รู้ทันว่า ความโกรธนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นภายใน
๓๘๑ [๑๕.๐๖] (๒๕/๒๖๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความโกรธทำให้ขาดสติ จะทำสิ่งที่ขาดเหตุผล
- ความโกรธทำให้ขาดเหตุผล ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
- ความโกรธหรือโทสะ เป็นกิเลสตัวที่ ๒ ต่อจากโลภะ (ความโลภ) เป็นสาเหตุทำให้เวลามีความโกรธจะขาดสติ อันจะนำไปสู่ความเสียหายตามมา
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๒)
กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
โกรธเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม
๓๘๒ [๑๕.๐๗] (๒๓/๖๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความโกรธทำให้ใช้อารมณ์ในการทำงาน ๆ จะเสียหาย
- ความโกรธ ต้องแก้ด้วยศีล
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๓)
ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ
คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยาก ก็เหมือนทำง่าย
๓๘๓ [๑๕.๐๘] (๒๓/๖๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนโกรธควบคุมตัวเองไม่อยู่ อารมณ์ของความโกรธ ทำให้กระทำในสิ่งที่คาดไม่ถึงได้โดยง่าย
- คนที่มีนิสัยโกรธง่าย จะพ่ายแพ้คู่ต่อสู้เมื่อถูกยั่วยุ เพราะจะแสดงจุดอ่อน เวลามีความโกรธ
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๔)
หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ
คนโกรธฆ่าได้แม้แต่มารดาของตน
๓๘๔ [๑๕.๐๙] (๒๓/๖๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนที่มีความโกรธ จนควบคุมตัวเองไม่ได้ สามารถฆ่าได้แม้แต่มารดาของตน
- การลดความโกรธลงได้ โดยการรักษาศีล และฝึกจิตใจให้เรียนรู้เกี่ยวกับพรหมวิหาร ๔ ( เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ) รวมทั้งการทำสมาธิ เพื่อให้จิตใจสงบ
- คนโกรธง่าย ให้รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง และหลักธรรมระงับความโกรธ โดยการใช้สติคอยเตือนตัวเองว่า “จะโกรธอีกแล้วหรือ คราวที่แล้วโกรธแล้วเป็นอย่างไร” ฝึกความนิ่ง โดยไม่โต้ตอบใดๆ และสูดลมหายใจลึกๆ
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๕)
ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว
เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้
๓๘๕ [๑๕.๑๐] (๒๓/๖๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีความโกรธคือการสูญเสียไปแล้ว
- การที่มีความโกรธจนเป็นนิสัย อาจจะส่งผลต่อสุขภาพและคนรอบข้าง
- ความโกรธ หรือโทสะเป็นกิเลสตัวสำคัญต่อจากโลภะ หรือความโลภ
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๗)
โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข
๓๘๗ [๑๕.๑๒] (๑๕/๑๙๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ถ้าสามารถควบคุมความโกรธลงได้ ย่อมทำให้ใจสงบๆ ก็จะเป็นสุข
- ผู้ใดสามารถระงับความโกรธลงได้ จะทำให้พบเส้นทางในการปฏิบัติธรรมในการระงับกิเลสตัวสำคัญนอกเหนือจากโลภะ (ความโลภ) และโมหะ (ความหลง)
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๘)
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต
วาจาสุภาษิต ไม่มีผลแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ
เหมือนดอกไม้งามที่มีแต่สี ไม่มีกลิ่น
๓๘๘ [๑๕.๑๓] (๒๕/๑๔)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- วาจาสุภาษิต ไม่มีผลแก่ผู้ไม่ปฏิบัติเหมือนกับเราเรียนมามากแต่ไม่เคยนำมาใช้เลยในชีวิตจริง สิ่งที่เรียนมาก็ไม่ต่างจากอ่านหนังสืออ่านเล่น
- แต่ถ้าผู้ที่เรียนไม่มาก แต่นำมาใช้ในชีวิตจริง จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล ก็ถือว่าได้ประโยชน์จากการเรียน
- การจบปริญญาสูง เป็นเพียงเครื่องบอกว่าด้านวิชาการจบเพียงใด แต่ไม่ได้บอกว่าทำงานเก่งหรือไม่
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๘๙)
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต
วาจาสุภาษิต ย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติ
เหมือนดังดอกไม้งาม ที่มีทั้งสีสวย และกลิ่นอันหอม
๓๘๙ [๑๕.๑๔] (๒๕/๑๔)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- วาจาสุภาษิต จะมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัตินำมาใช้จริง
- ดังนั้น เราควรนำวาจาสุภาษิต ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตจริง แล้วจะพบว่าวาจาสุภาษิตมีประโยชน์อย่างมาก
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๙๐)
สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
พูดดี เป็นมงคลอันอุดม
๓๙๐ [๑๕.๑๕] (๒๕/๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- พูดดี ทำให้คนรัก คนชอบ
- คำพูด สามารถฆ่าคนได้
- คำพูด สามารถทำให้คนทำงานให้อย่างถวายชีวิต
- คำพูด ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตายแทนได้
- คำพูด ทำให้กองทัพน้อยชนะกองทัพใหญ่ได้
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๙๑)
กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต สงฺคามํ เชติ ทุชฺชยํ
ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
๓๙๑ [๑๕.๑๖] (๒๖/๓๕๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ผู้ไม่โกรธจะมีเหตุผลมากกว่าผู้โกรธ เพราะผู้โกรธจะตกเป็นเบี้ยล่าง ดังนั้นจะได้รับชัยชนะได้ยาก
- ผู้ระงับความโกรธจะมีสติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
อมฤตพจนา
๑๕. กิเลส (๓๙๒)
อุภินฺนมตฺถํ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ
ปรํ สงฺกุปิตํ ตฺวา โย สโต อุปสมฺมติ
ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติ ระงับได้
ผู้นั้นชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์แก่คนถึง ๒ คน
คือ ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนอื่นนั้น
๓๙๒ [๑๕.๑๗] (๒๖/๓๕๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- การมีสติระงับความโกรธได้ เป็นผลดีต่อตนเองและผู้อื่น
- การระงับความโกรธทำให้มีปัญญาช่วยทำให้มีสติในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน