Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๑๗

วาจา

อมฤตพจนา

๑๗. วาจา (๔๐๔)

ยํ หิ กยิรา ตํ หิ วเท ยํ น กยิรา น ตํ วเท

อกโรนฺตํ ภาสมานํ ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา

จะทำสิ่งใด พึงพูดสิ่งนั้น สิ่งใดไม่ทำ ไม่พึงพูดถึง

บัณฑิตย่อมหมายเอาได้ว่า คนไม่ทำ ดีแต่พูด

๔๐๔ [๑๗.๐๑] (๒๗/๘๖๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนดี จะมีการพูดกับการทำไปในทางเดียวกัน
  2. ดังนั้น จะพูดเฉพาะสิ่งที่ทำ และจะไม่พูดในสิ่งที่ไม่ทำ
  3. ไม่ควรเป็นคนที่ไม่ทำ ดีแต่พูดจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือและการยอมรับ

อมฤตพจนา

๑๗. วาจา (๔๐๕)

ยถาวาที ตถาการี

พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น

๔๐๕ [๑๗.๐๒] (๒๗/๖๐๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนดีย่อมรักษาคำพูด
  2. คนดีพูดสิ่งใด ทำสิ่งนั้น
  3. คนดีไม่พูดสิ่งใด ไม่ทำสิ่งนั้น

อมฤตพจนา

๑๗. วาจา (๔๐๖)

หทยสฺส สทิสี วาจา

วาจาเช่นเดียวกับใจ

๔๐๖ [๑๗.๐๓] (๒๗/๕๖๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. วาจาควรจะตรงกับใจ จึงจะเป็นคนที่ปากตรงกับใจ
  2. ไม่ควรเป็นคนที่ปากไม่ตรงกับใจ จะทำให้เป็นคนที่คบไม่ได้

อมฤตพจนา

๑๗. วาจา (๔๐๗)

ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส กุธารี ชายเต มุเข

ยาย ฉินฺทติ อตฺตานํ พาโล ทุพฺภาสิตํ ภณํ

คนเกิดมาชื่อว่ามีขวานเกิดติดปากมาด้วย

สำหรับให้คนพาลใช้ฟันตัวเอง ในเวลาที่พูดคำชั่ว

๔๐๗ [๑๗.๐๔] (๒๕/๓๘๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนเราเกิดมามีสิ่งดีสิ่งหนึ่งคือ สติ เปรียบเหมือนขวานคอยลงโทษตัวเองเวลามีวาจาชั่ว
  2. คนเราเกิดมา ปากสามารถฆ่าคนได้ โดยไม่ต้องใช้อาวุธ
  3. ในขณะเดียวกัน ปากสามารถเชื่อมคนเข้าหากันและเป็นมิตรได้
  4. ปากมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นตัวแทนที่สำคัญของใจ ในการที่จะทำให้คนรักหรือคนเกลียดก็ได้

อมฤตพจนา

๑๗. วาจา (๔๐๘)

โย นินฺทิยํ ปสํสติ ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย

วิจินาติ มุเขน โส กลึ กลินา เตน สุขํ น วินฺทติ

ผู้ใดสรรเสริญคนควรนินทา หรือนินทาคนควรสรรเสริญ

ผู้นั้นเอาปากเก็บกาลีไว้ จะไม่ได้พบสุขเพราะกาลีนั้น

๔๐๘ [๑๗.๐๕] (๒๑/๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนจะสรรเสริญหรือนินทา เพราะใช้ปาก ปากเป็นตัวเหตุของการสร้างความแตกแยก หรือสร้างสามัคคี ฉะนั้น ใช้ปากเพื่อแยกแยะคนดีและคนชั่ว มิฉะนั้นตนเองจะไม่มีความสุขเลยเพราะปากเป็นพิษ
  2. คนดี จะใช้ปากพูดแต่สิ่งที่เป็นมงคล
  3. คนชั่ว จะใช้ปากพูดแต่สิ่งที่เป็นอัปมงคล
  4. หัดใช้ปากให้เป็นประโยชน์ ชีวิตก็จะพบความสุขตามโลกธรรม ๘ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มิใช่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

อมฤตพจนา

๑๗. วาจา (๔๑๒)

วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ

ถึงวาจาดี ก็ไม่ควรกล่าวให้เกินกาล

๔๑๒ [๑๗.๐๙] (๒๕/๔๒๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การพูด ควรพูดแต่เพียงพอดี และให้เหมาะแก่กาลเทศะ
  2. การพูดถึงแม้จะดีเพียงใด ก็ควรให้เหมาะสมกับเวลาที่พูด

อมฤตพจนา

๑๗. วาจา (๔๑๔)

อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ ยตฺถ พาลา ปภาสเร

คนพาล ยังไม่ถูกผูก

แต่พอพูดในเรื่องใด ก็ถูกมัดตัวในเรื่องนั้น

พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนฺติ ยตฺถ ธีรา ปภาสเร

คนมีปัญญา แม้ถูกผูกมัดอยู่

พอพูดในเรื่องใด ก็หลุดได้ในเรื่องนั้น

๔๑๔ [๑๗.๑๑] (๒๗/๑๒๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนพาลจะไม่ระมัดระวังในการพูด จะพูดโดยไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมา ดังนั้น คนพาลที่พูดเรื่องอะไรก็ตาม ก็จะมีเรื่องที่ผูกมัดกับตัวเอง
  2. ในทางตรงข้าม คนที่มีปัญญาจะพูดในเรื่องใดจะไม่ผูกมัดตัวเองในเรื่องนั้น มีทางหนีทีไล่
  3. ดังนั้นคนพาลและคนมีปัญญา จะต่างกันตรงที่คนพาลพูดโดยไม่คิดว่าจะเกิดผลกระทบอะไร ในขณะคนที่มีปัญญาจะคิดก่อนพูดเพื่อไม่ให้ผูกมัดตัวเอง แม้ผูกมัดไปแล้วก็จะหาทางออก
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post