อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๘๖)
อวิชฺชา ปรมํ มลํ
ความไม่รู้ เป็นมลทินที่สุดร้าย
๘๖ [๐๔.๐๑] (๒๓/๑๐๕)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- อวิชชา คือความไม่รู้ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง อยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความทุกข์ และเป็นต้นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด ตามหลักปฏิจจสมุปบาท
- อวิชชา ไม่รู้เกี่ยวกับพระอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
- อวิชชา ไม่รู้เกี่ยวกับกฏปฏิจจสมุปบาท
- อวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๘๗)
วิชฺชา อุปฺปตตํ เสฏฺา
บรรดาสิ่งที่งอกงามขึ้นมา วิชชาประเสริฐสุด
๘๗ [๐๔.๐๒] (๑๕/๒๐๖)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- บรรดาสิ่งที่โรยราร่างกาย อวิชชาหมดไปได้เป็นดีที่สุด
- วิชชา คือความรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เช่น ทุกสิ่งอยู่ภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
- วิชชา เป็นสิ่งที่ดับอวิชชา ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการดับวงจรปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ซึ่งเป็นการดับวงจรที่สร้างความทุกข์ และดับวงจรการเวียนว่ายตายเกิด
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๑)
โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ วินโย วา สุสิกฺขิโต
วเน อนฺธมหึโสว จเรยฺย พหุโก ชโน
ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบวินัย
คนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า
๙๑ [๐๔.๐๖] (๒๗/๑๐๔๘)
คติสอนใจ
- ถ้าไม่มีการศึกษาและขาดระเบียบวินัย คนทั้งหลายก็จะทำการต่างๆ ตามใจตนเอง ความวุ่นวายก็จะตามมา
- การศึกษาจะเป็นเครื่องนำทางให้คนมีจิตสำนึกที่ดี
- การศึกษาทำให้เกิดปัญญา
- ปัญญาทำให้สังคมเป็นระเบียบ
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๓)
ตสฺส สํหีรปญฺสฺส วิวโร ชายเต มหา
เมื่ออ่อนปัญญา ช่องทางวิบัติก็เกิดได้มหันต์
๙๓ [๐๔.๐๘] (๒๗/๒๑๔๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- เมื่ออ่อนปัญญาเวลาเกิดปัญหาจะตื่นตระหนกและขาดความเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหา
- คนอ่อนปัญญา ขยันแต่งานไม่ได้คุณภาพ คนประเภทนี้ยิ่งทำมากยิ่งสร้างความเสียหายมาก
- ทุกคนมีความสามารถเฉพาะตัว ดังนั้นควรที่จะจัดงานให้เหมาะกับความสามารถ
- สิ่งที่ต้องระวังก็คือ คนบางประเภทต้องกำหนดเส้นทางการดำเนินชีวิตไว้เลย อย่าปล่อยให้คิดเองอาจจะสร้างปัญหา
- คนบางคนเราให้อยู่เฉยๆ แล้วเลี้ยงดู อาจจะเสียหายน้อยกว่ามอบหมายให้ทำงาน เพราะความเสียหายจากงานที่ทำมีมากกว่าผลที่ได้รับ
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๔)
กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส
คนไม่มีศิลปวิทยา เป็นอยู่ยาก
๙๔ [๐๔.๐๙] (๒๗/๑๖๕๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนที่ทำงานโดยไม่ยอมเรียนรู้ให้จริงจัง มักจะสร้างปัญหาให้กับหมู่คณะ
- คนที่ขาดไหวพริบ ยิ่งทำยิ่งสร้างปัญหา
- คนที่ไม่มีสมาธิในการทำงาน มักจะสร้างปัญหากับงาน
- คนที่ไม่มีศิลปวิทยา จะเป็นที่รังเกียจของผู้ร่วมงาน
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๖)
วิรุฬฺเหถ เมธาวี เขตฺเต พีชํว วุฏฺิยา
คนมีปัญญาย่อมงอกงาม ดังพืชในนางอกงามด้วยน้ำฝน
๙๖ [๐๔.๑๑] (๒๗/๒๑๔๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนมีปัญญาจะสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ
- คนมีปัญญาจะไม่หวั่นไหวกับสถานการณ์คับขัน
- คนมีปัญญาจะหาทางออกได้อย่างไม่หวาดกลัว
- คนมีปัญญาจะหาทางแก้ไขไว้หลายทาง และมีการกำหนดแนวทางไว้หลายรูปแบบ
- คนมีปัญญาย่อมไม่ประมาทในการทำงานในเรื่องต่างๆ
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๗)
ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก
พึงเป็นนักสอบถาม ชอบค้นหาความรู้
๙๗ [๐๔.๑๒] (๒๘/๙๔๙)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราใฝ่เรียนรู้ชอบค้นคว้า ชอบซักถามจากผู้รู้
- ความรู้ในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก และเทคโนโลยีทำให้หาความรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง
- ในยุคปัจจุบันความรู้สามารถหาได้ไม่ยาก ถ้าเรียนรู้วิธีการตั้งคำถามให้เป็น เช่น ต้องการรู้อะไรก็ถาม Google
- ถามให้เป็นแล้วจะพบกับความเร็วอย่างเหลือเชื่อในคำตอบที่ได้รับ
- เลือกคำตอบให้เป็น เพราะคำตอบอาจจะมีมากมายขึ้นอยู่กับสถานการณ์
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๘)
สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ
อะไรควรศึกษา ก็พึงศึกษาเถิด
๙๘ [๐๔.๑๓] (๒๗/๑๐๘)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ควรจะศึกษาวิชาที่สามารถนำมาทำมาหากินได้
- วิชาที่ชอบอาจจะทำมาหากินได้ แต่ทำมาหาไม่พอกิน ควรเลือกเป็นวิชารองลงไป
- เสียเวลาเรียนเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน เลือกเรียนสาขาที่ทำรายได้ดีเพื่อความมั่นคงในชีวิต
- วิชาที่ชอบแต่ไม่สามารถช่วยให้มีรายได้เพียงพอ ให้เลือกเป็นวิชารอง
- อย่าหยุดการเรียนรู้ ถึงแม้จะจบหลักสูตรแล้วก็ตาม เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอาจทำให้สิ่งที่เรียนมาล้าสมัย
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๙๙)
สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ
ขึ้นชื่อว่าศิลปวิทยา ไม่ว่าอย่างไหนๆ ให้ประโยชน์ได้ทั้งนั้น
๙๙ [๐๔.๑๔] (๒๗/๑๐๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ทุกวิชาความรู้มีประโยชน์ทั้งนั้น เพียงแต่เป็นประโยชน์แตกต่างกัน
- ควรเลือกวิชาที่ให้ประโยชน์ต่อการทำมาหากินหรือยังชีพ เมื่อเลี้ยงตัวเองได้แล้วจะเรียนวิชาอื่นเป็นประโยชน์การช่วยผู้อื่นก็ได้ ถึงแม้จะไม่ได้เงิน เช่นทำงานด้านการกุศล
- การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น ในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา และรูปแบบของการศึกษาทำให้การเข้าถึงเรื่องต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ปัจจุบันและอนาคตเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เรียนรู้จากมนุษย์ในทุกด้าน ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ AI ทำงานแทนมนุษย์ในด้านต่างๆ เกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพใด
- ดังนั้นมนุษย์จึงหยุดการเรียนรู้ไม่ได้ มิฉะนั้นมนุษย์จะตกเป็นลูกน้องของ AI
- สิ่งเดียวที่ AI ยังทำไม่ได้คือ การทำงานของจิต
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๐)
สพฺพํ สุตมธีเยถ หีนมุกฺกฏฺมชฺฌิมํ
สพฺพสฺส อตฺถํ ชาเนยฺย น จ สพฺพํ ปโยชเย
โหติ ตาทิสโก กาโล ยตฺถ อตฺถาวหํ สุตํ
อันความรู้ควรเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าต่ำ สูง หรือปานกลาง
ควรรู้ความหมาย เข้าใจทั้งหมด แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกอย่าง
วันหนึ่งจะถึงเวลาที่ความรู้นั้นนำมาซึ่งประโยชน์
๑๐๐ [๐๔.๑๕] (๒๗/๘๑๗)
คติสอนใจ
- การเรียนรู้การทำงานหรือผลิตสินค้า ตั้งแต่เริ่มกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต ควรเรียนงานทั้งหมด ให้สามารถรู้งานหรือกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ
- ในยุคปัจจุบันการเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ เข้าได้ง่ายขึ้น เช่น AI จะช่วยทำให้มนุษย์ทำงานฉลาดขึ้น แต่มนุษย์จะต้องเข้าใจในการทำงานของ AI เพื่อให้การสั่งการได้ถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น
- การศึกษาเกิดขึ้นใหม่ทุกวัน การศึกษาไม่ได้จบแค่การเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๑)
ลาภกมฺยา น สิกฺขติ
นักปราชญ์ไม่ศึกษาเพราะอยากได้ลาภ
๑๐๑ [๐๔.๑๖] (๒๕/๔๑๗)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- นักปราชญ์ไม่ศึกษาเพราะหวังความร่ำรวย
- ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามแต่ หากแต่นักปราชญ์จะหยุดการศึกษาสิ่งต่างๆ รอบตัวไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใด หรือเป็นผู้นำองค์กรใด ประเทศใด เพราะจะส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้อันจะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทั้งในระดับตัวคน องค์กร หรือประเทศ
- ผู้ที่มีความเกียจคร้านในการศึกษา มักจะประสบปัญหาด้านต่างๆ ในชีวิต
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๒)
กิตฺติญฺจ ปปฺโปติ อธิจฺจ เวเท
สนฺตึ ปุเณติ จรเณน ทนฺโต
เล่าเรียนสำเร็จวิทยา ก็ย่อมได้เกียรติ
แต่ฝึกอบรมด้วยจริยาต่างหาก จึงจะสบสันติ
๑๐๒ [๐๔.๑๗] (๒๗/๘๔๒)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- ความสำเร็จในการเรียนนำไปสู่เส้นทาง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่ไม่ได้เป็นเครื่องชี้ว่าจะนำมาซึ่งสันติสุขของสังคมหรือประเทศ
- โลกจะประสบกับสันติสุข ก็ต่อเมื่อผู้นำของประเทศมีจิตสำนึกที่ต้องการเห็นความสงบสุข
- ผู้นำจะต้องรักษาศีล ๕ โดยเฉพาะศีลข้อ ๒ คือละเว้นจากการอยากได้ของผู้อื่น
- การเล่าเรียนมากอาจจะทำให้สำคัญผิดโดยคิดว่าอยู่เหนือผู้อื่น ก็เกิดความโลภ (โลภะ) อยากได้ของผู้อื่น เป็นเหตุทำให้เกิดการรุกรานทำสงคราม กลับกลายเป็นว่าความไม่รู้จักพอเพียงทำให้โลกสุ่มเสี่ยงกับการเกิดสงคราม
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๓)
หีนชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺาตา ธิติมา นโร
อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ
คนเรา ถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียร
มีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ก็รุ่งเรืองได้
เหมือนอยู่ในคืนมืด ก็สว่างไสว
๑๐๓ [๐๔.๑๘] (๒๗/๒๑๔๑)
∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻
คติสอนใจ
- คนเราถึงแม้จะเกิดมายากจน แต่หากมีความขยันหมั่นเพียรในการเรียน (การศึกษา) ก็จะทำให้มีปัญญาเพิ่มขึ้น
- มีปัญญาและมีความเพียร และใช้หลักอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ก็สามารถทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน (การศึกษา) และการทำงาน
- ตรงกันข้าม คนที่เกิดจากครอบครัวร่ำรวยแต่ไม่ใส่ใจในการเรียนและการทำงาน ขาดความพยายามในการเรียนและการทำงาน ชีวิตอาจจะพบกับเรื่องน่าเศร้าคือ การศึกษาต่ำ การทำงานล้มเหลว ฐานะการเงินหมดตัวกลายเป็นคนจน สร้างใหม่ไม่เป็น
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๔)
สุสฺสูสา สุตวฑฺฒนี สุตํ ปญฺาย วฑฺฒนํ
ปญฺาย อตฺถํ ชานาติ าโต อตฺโถ สุขาวโห
ความใฝ่เรียนสดับ เป็นเครื่องพัฒนาความรู้
ความรู้จากการเรียนสดับนั้น เป็นเครื่องพัฒนาปัญญา
ด้วยปัญญา ก็รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์
ประโยชน์ที่รู้จักแล้วก็นำสุขมาให้
๑๐๔ [๐๔.๑๙] (๒๖/๒๖๘)
คติสอนใจ
- คนที่มีความใฝ่เรียน และเรียนรู้ให้จริง ทำให้มีปัญญาแก่กล้า
- เมื่อมีปัญญาก็สามารถหาช่องทางในการยกระดับชีวิตตัวเอง โดยการจบการศึกษาชั้นสูง เป็นผลทำให้ได้งานที่ดี รายได้ดี
- รู้จักบริหารการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ดี
- ความสำเร็จด้านการลงทุนทำให้ฐานะเปลี่ยนแปลง
- เงินลงทุนประสบความสำเร็จ ทำให้ทุกคนที่แวดล้อมและสังคมมีความสุข
อมฤตพจนา
๔. การศึกษา (๑๐๕)
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส
คนที่สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติเป็นผู้ประเสริฐสุดทั้งในหมู่มนุษย์และเทวดา
๑๐๕ ๐๔.๒๐
คติสอนใจ
- คนที่มีความสมบูรณ์ด้วยความรู้ (เก่งทางด้านการเรียน) และมีความประพฤติดี เป็นที่รักของผู้ที่พบเห็น เรียกว่า เป็นคนเก่งและดี ประสบความสำเร็จทั้งด้านการเรียนและการทำงาน มีพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
- คนเก่งและดีย่อมเป็นที่เคารพของผู้ที่พบเห็น
- สรุป การศึกษาเป็นประตูสำคัญของการยกระดับชีวิต เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการยกระดับแทบจะทุกเรื่อง