๔. พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)
วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
“พระอริยเจ้าผู้มีความสามารถเป็นเลิศในการสอนธรรม”
พระเดชพระคุณหลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระสุปฏิปันโนผู้มีโวหารธรรมอันแหลมคม เป็นเหมือนพี่ชายใหญ่ในสายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดแต่น้อย รักความสงบเป็นนิตย์ จิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท “ อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเร วา ภิกฺขโว...” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงยินดีการอยู่อาศัยในป่า ในโคนไม้ หรือว่าในเรือนว่าง...”
จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้น เขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเอง ทำให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำเช่นนั้น เท่ากับ การใช้สิ่งที่เป็นพุทธะ ให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขา อยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงพุทธภาวะได้เลย
จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสน และความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ย่อมให้ความสว่างทั่วพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้น มันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่าง และความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น
เกิด ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑
ละสังขาร ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๕๓
อายุ ๙๕
พรรษา ๗๓
วัด วัดบูรพาราม
ท้องที่ จ.สุรินทร์
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
ทีมา
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250