Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

เพียรพยายาม-ทำหน้าที่

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๕๓)

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา 

เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าผลที่หมายจะสำเร็จ

๑๕๓ [๐๗.๐๑] (๑๕/๘๙๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น อย่าย่อท้อแม้งานจะยากเพียงใดก็ตาม
  2. ใช้หลักอิทธิบาท ๔  คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

ฉันทะ คือความพอใจในงานที่ทำ
วิริยะ  คือความเพียรพยายามทำ
จิตตะ  คือความตั้งอกตั้งใจในการทำงาน
วิมังสา คือวิจัยหาวิธีที่จะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

  1. ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของคน
  2. ความสำเร็จของคนมีความอัศจรรย์ยิ่งนักด้วยความพยายามในการทำงาน คนสามารถค้นหาความลับทางธรรมชาติจนพบและนำมาทำประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  3. มีความพยายามในการที่นำสิ่งที่ไม่สามารถเห็นด้วยตามาใช้ประโยชน์ เช่นพลังแม่เหล็ก พลังงานลม เทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กมากคนนำมาสร้าง chips เพื่อไปใช้ในเรื่องต่างๆ
  4. การค้นหาหลักความจริงของชีวิตทางพระพุทธศาสนาว่ากฎพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นสิ่งที่อธิบายโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ และพัฒนาการของมนุษย์ในการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ พระพุทธเจ้าได้ค้นพบความจริงของธรรมชาติ

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๕๕)

อาสึเสเถว ปุริโส น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต

ปสฺสามิ โวหํ อตฺตานํ ยถา อิจฺฉึ ตถา อหุ

เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้

เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง

เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น

๑๕๕ [๐๗.๐๓] (๒๘/๔๕๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในการทำงานอะไรก็ตาม ควรที่จะตั้งความหวังเอาไว้
  2. คิดทบทวนก่อนลงมือทำว่าเป็นแนวทางที่ดี  เมื่อลงมือทำก็ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจทั้งหมด เพื่อให้งานสำเร็จตามที่ต้องการ
  3. เป็นคนควรตั้งความหวังและพยายามทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
  4. การตั้งเป้าหมายควรจะเป็นเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับความสามารถของเรา
  5. หากทำไม่สำเร็จในครั้งแรกยังไม่ควรท้อ ควรจะทบทวนว่ามาจากสาเหตุอะไร ให้ทำการวิเคราะห์และพยายามใหม่จนกระทั่งทำได้สำเร็จ ทั้งความสำเร็จและไม่สำเร็จล้วนเป็นครูสอนเราให้รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
  6. ควรคิดและทำงานให้เป็นระบบเพราะจะทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๕๖)

ทุกฺขูปนีโตปิ นโร สปญฺโ

อาสํ น ฉินฺเทยฺย สุขาคมาย

คนมีปัญญา ถึงเผชิญอยู่กับความทุกข์

ก็ไม่ยอมสิ้นหวังที่จะได้ประสบความสุข

๑๕๖ [๐๗.๐๔] (๒๘/๔๕๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความทุกข์ไม่ใช่อุปสรรคของผู้มีปัญญา ความทุกข์ในบางครั้งเป็นตัวสร้างแรงบันดาลใจให้หาทางที่จะพ้นทุกข์ก่อนจะพบกับความสุข
  2. ก่อนจะพบความสุขต้องรู้จักกับความทุกข์ เพราะความทุกข์จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดความพยายามที่จะพ้นจากความทุกข์
  3. คนที่มีปัญญาไม่กลัวเวลาเจอปัญหา คนมีปัญญาจะแสดงความสามารถในการแก้ไข ในขณะที่คนไร้ปัญญาพยายามจะปัดความรับผิดชอบ ยามวิกฤตจะเปิดโอกาสให้มีผู้ที่มีปัญญาและมีความเป็นผู้นำ
  4. ยามวิกฤตจะเห็นชัดเจนระหว่างคนที่ปัญญาและคนที่ไม่มีปัญญา ดังเช่นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๕๗)

นาลโส วินฺทเต สุขํ

คนเกียจคร้าน ย่อมไม่ได้ประสบสุข

๑๕๗ [๐๗.๐๕] (๒๗/๒๔๔๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนเกียจคร้านมักจะล้มเหลวในทุกเรื่อง
  2. คนเกียจคร้านชีวิตมักจะตกต่ำ เคยมีทรัพย์ ทรัพย์ก็จะหมด
  3. คนเกียจคร้านด้านการเรียน ปัญญาก็จะอ่อนด้วย
  4. คนเกียจคร้านในการงาน ทำงานอะไรก็ไม่สำเร็จ
  5. คนเกียจคร้านในการเรียนรู้ มีทรัพย์เท่าไรก็หมด
  6. คนเกียจคร้านเป็นที่รังเกียจของสังคม

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๕๘)

ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ 

การงานใดๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก

๑๕๘ [๐๗.๐๖] (๑๕/๒๔๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำงานใดๆ หากไม่ทำให้จริงจังผลที่ได้รับก็จะไม่ดี

– ทำอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น

  1. งานจะออกมาดีก็ต่อเมื่อมีความเพียรพยายาม
  2. ผู้ที่ทำงานแบบไร้เป้าหมาย ผลที่ตามมาก็คือไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน จะไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  3. องค์กรใดมีคนประเภทขาดความกระตือรือล้นองค์กรก็จะไม่เจริญ แม้องค์กรจะต้องจ่ายผลตอบแทนต่ำก็ไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลงาน
  4. ผลตอบแทนจะเรียกว่าสูงหรือต่ำไม่ใช่วัดที่เงินเดือน แต่วัดที่ผลงานที่ทำให้แก่องค์กร ถ้าจ่ายเงินเดือนสูงกว่ามูลค่าของผลงานที่ทำให้องค์กรแบบนี้เรียกว่าผลงานไม่คุ้มค่าเงินเดือน ถึงแม้เงินเดือนต่ำก็ไม่มีประโยชน์ องค์กรควรมีคนที่สร้างผลงานมีค่าสูงกว่าเงินเดือนที่รับ องค์กรและพนักงานก็จะเจริญไปพร้อมกัน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๕๙)

ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺา หิตมตฺตโน

รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ

๑๕๙ [๐๗.๐๗] (๑๕/๒๘๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การฝึกให้เป็นนิสัยในการรู้จักสังเกตสิ่งรอบตัวเราว่าอะไรเป็นประโยชน์ต่องานที่ทำ ก็ควรจะลงมือทำ เพราะเป็นการสะสมประสบการณ์ในแต่ละวัน อันจะทำให้มีความก้าวหน้าในเรื่องที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน การทำธุรกิจ
  2. ควรรู้จักสังเกตการทำงานว่าระบบการทำงานเป็นอย่างไร อะไรมีความสำคัญที่สุดตามลำดับในองค์กร
  3. เราควรฝึกฝนการทำงานที่เป็นแก่นขององค์กร ถึงแม้เป็นงานที่ยากแต่เป็นแกนหลักขององค์กร
  4. คนที่จะก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับในผลงานว่ามีความสำคัญในองค์กร ผู้ใดที่ได้สร้างผลงานโดดเด่นย่อมได้รับการสนับสนุนให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๐)

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ 

คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

๑๖๐ [๐๗.๐๘] (๒๕/๓๑๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีความทุกข์จะพ้นจากทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อมีความเพียรพยายามค้นหาเหตุของทุกข์ และทางปฏิบัติในการดับทุกข์
  2. ความเพียรพยายามจะทำให้พบทางออกในการที่จะพ้นจากความทุกข์
  3. ความเพียรมี ๔ ชนิด คือ
  • ความเพียรในการไม่ทำความชั่ว
  • ความเพียรละการทำความชั่วที่กำลังทำอยู่
  • ความเพียรในการทำความดีให้มีขึ้น
  • ความเพียรในการทำความดีมีให้มากยิ่งขึ้น

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๑)

กยิรา เจ กยิราเถนํ

ถ้าจะทำ ก็ควรทำให้จริง

๑๖๑ [๐๗.๐๙] (๑๕/๒๓๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำงานต้องหวังความสำเร็จ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อลงมือทำอย่างจริงจัง
  2. ในการทำงานอะไรก็ตามเราควรตั้งเป้าหมายของการทำงานให้สำเร็จด้วยความจริงจัง
  3. การทำงานควรที่จะมีเป้าหมายและการวัดผลงานของการทำงาน หลังจากนั้นก็ประกาศผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้ทำงาน เป็นการสร้างกำลังใจให้แก่คนทำงาน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๓)

เทวา น อิสฺสนฺติ   ปุริสปรกฺกมสฺส 

ความเพียรของคนไม่ลดละ ถึงเทวดาก็เกลียดกันไม่ได้

๑๖๓ [๐๗.๑๑] (๒๗/๕๐๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความเพียรของตนไม่ลดละ ถึงเทวดาก็หยุดความเพียรนั้นไม่ได้
  2. ความเพียรพยายามเป็นเรื่องเฉพาะตัว ทำแทนกันไม่ได้
  3. ผลจากความเพียรเป็นของผู้ปฏิบัติ   เพราะกรรมใดใครก่อผู้ก่อกรรมก็เป็นผู้รับกรรมที่ตนก่อไว้
  4. ความเพียรพยายามที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุความเป็นอริยบุคคล จะเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้ปฏิบัติธรรม

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๔)

วายมสฺสุ สกิจฺเจสุ

จงพยายามในหน้าที่ของตน

๑๖๔ [๐๗.๑๒] (๒๗/๒๔๔๐)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ควรจะเป็นคนที่พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
  2. ในการทำงานหรือการเรียนจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อแต่ละคนมีความเพียรพยายามจนกระทั่งประสบความสำเร็จ
  3. เพียรพยายามทำงานในหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จ เพราะจะส่งผลทำให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๕)

อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ

คนขยันวุ่นกับงาน จะได้ความสงบใจ

๑๖๕ [๐๗.๑๓] (๒๗/๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่มีความรับผิดชอบกับงานที่ทำจะได้รับความสงบใจ เพราะจะเกิดผลสำเร็จตามมา
  2. คนขยันจะมีความตั้งใจทำงาน จิตจะจดจ่ออยู่กับงาน ไม่มีความฟุ้งซ่านมุ่งความสำเร็จ
  3. ผลที่ตามมาทำให้มีผลงานเป็นรูปธรรม มีการวัดผลงานและจ่ายรางวัลตามผลงานที่ทำ

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๖)

สงฺเกยฺย สงฺกิตพฺพานิ

พึงระแวงสิ่งที่ควรระแวง

๑๖๖ [๐๗.๑๔] (๒๗/๕๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในการทำอะไรก็ตามจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อได้มีการร่วมแรงร่วมใจของทีมงาน จะต้องไว้วางใจซึ่งกันและกัน การไม่ไว้ใจกันทำให้เกิดการระแวงกันเป็นสิ่งบั่นทอนกำลังใจ
  2. การระแวงกันจะทำให้ไม่กล้ามอบหมายงานสำคัญ ส่วนผู้ถูกระแวงก็ไม่สามารถทุ่มเทกำลังกายกำลังใจให้กับงานอย่างเต็มที่
  3. การระแวงกันหรือไม่ไว้ใจกัน ทำให้งานอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๗)

รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ

พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง

๑๖๗ [๐๗.๑๕] (๒๗/๕๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึงเป็นสิ่งที่ควรทำ อย่าเป็นดังเช่นคำกล่าวที่ว่า วัวหายแล้วจึงล้อมคอก ต้นทุนในการป้องกันให้รวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การป้องกันภัยโดยการซื้อประกันเป็นเพียงต้นทุนไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของโครงการ
  2. ให้คิดตลอดเวลาว่าถ้าภัยมาความเสียหายจะมากเพียงใด คุ้มค่าหรือไม่กับการประหยัดที่จะไม่ซื้อประกันภัย ซึ่งไม่คุ้มอย่างแน่นอน
  3. การเสียค่าเบี้ยประกันภัยเราทราบต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้โครงการอยู่ไม่ได้ แต่ความเสียหายจากการไม่ประกันประเมินค่าไม่ได้ อาจจะล้มทั้งยืน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๘)

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ

ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย

๑๖๘ [๐๗.๑๖] (๒๕/๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ในการทำงานอะไรก็ตาม เราไม่ควรประมาท ควรจะเตรียมตัวให้พร้อม โดยการหาทางหนีทีไล่
  2. ความไม่ประมาทโดยการเตรียมหาทางแก้ไขภายใต้สถานการณ์ต่างๆ นับเป็นการเตรียมการด้วยการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างรอบคอบ
  3. ในการทำอะไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเคยทำสำเร็จมาแล้วสิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอน (อนิจจัง) การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา

สิ่งๆ หนึ่งเคยทำให้คุณร่ำรวย ณ เวลาหนึ่ง แต่สิ่งเดียวกันสามารถทำให้คุณหมดตัว (หรือขาดทุนยับเยิน) เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปเพราะเกิดคู่แข่งใหม่ 

ดังนั้น การทำธุรกิจจึงอย่าประมาทว่าการอยู่ในอุตสาหกรรมมานานจะมีความมั่นคง ให้ทบทวนตลอดเวลาว่าผลกระทบจากการมีคู่แข่งใหม่จากต่างประเทศหรือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะมีผลต่อการอยู่รอดของธุรกิจหรือไม่ ถอยออกก่อนที่จะถอยไม่ทัน อาจจะเปลี่ยนธุรกิจหรือเปลี่ยนอุตสาหกรรมที่ลงทุน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๖๙)

ปมาโท มจฺจุโน ปทํ

ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย

๑๖๙ [๐๗.๑๗] (๒๕/๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่ประมาทมักจะพบกับจุดจบที่ร้ายแรงที่สุดคือ ความตาย
  2. รองลงมาในตัวอย่าง เช่น การทำธุรกิจไม่ได้เผื่อใจไว้เลยว่า เหตุการณ์อาจจะพลิกไปอีกด้านหนึ่ง อาจจะเปลี่ยนสถานภาพจากโอกาสที่จะชนะกลับกลายเป็นแพ้เพราะความประมาท ส่งผลทำให้เกิดความย่อหย่อนในการระแวดระวังภัย

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๑)

เย ปมตฺตา ยถา มตา

คนประมาท เหมือนคนตายแล้ว

๑๗๑ [๐๗.๑๙] (๒๕/๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่ประมาทเหมือนคนที่ตายแล้ว เพราะถ้าเป็นผู้ประกอบกิจการใดๆ ก็ตามจะดูก็อย่างผิวเผิน และไม่คิดว่าจะมีใครเข้ามาแข่งขัน เพราะทำธุรกิจมานานแล้ว และมั่นใจว่าลูกค้าจะยังมั่นคงผูกพันกับสินค้าเพราะมีมานาน
  2. พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง บริษัทยังคงรูปแบบการทำธุรกิจแบบเดิมๆ
  3. ธุรกิจที่ตั้งมานานไม่ได้หมายความว่าจะมีความมั่นคง 
  4. จงอย่าประมาทคู่แข่ง ถึงจะเป็นบริษัทเล็กโดยเฉพาะบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยี

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๒)

มา ปมาทมนุยุญฺเชถ

อย่ามัวประกอบความประมาท

๑๗๒ [๐๗.๒๐] (๒๕/๑๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. อย่ามัวประกอบความประมาท โดยขาดความคิดว่าจะมีคู่แข่ง จงจำไว้เป็นสัจธรรมคือ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้หากมีคนทำได้
  2. คู่แข่งอาจจะเป็นผู้ผลิตรายใหม่ที่เข้ามาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Mobile Phone ของ Nokia / Motorola ต้องล้มทั้งยืนเมื่อ Apple ผลิต Smart Phone สังหาร Mobile phone
  3. การเป็นเจ้าตลาดในสินค้ามานานไม่ได้เป็นตัวชี้ว่าจะไร้คู่แข่ง เพราะทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๓)

อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ 

จงทำประโยชน์ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท

๑๗๓ [๐๗.๒๑] (๑๐/๑๔๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำอะไรก็ตามจะต้องคิดตลอดเวลาว่าจะทำให้สำเร็จ โดยมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น
  2. ให้มีการพัฒนาสินค้าใหม่ตลอดเวลา จงอย่าคิดว่าบริษัทอื่นไม่มีความสามารถในการผงาดขึ้นมา
  3. ถึงแม้งานจะง่ายหรือยากก็ไม่ควรประมาท เพราะความผิดพลาดอาจจะดูว่าเล็กน้อย อีกคนหนึ่งกลับมีความเห็นว่าปัญหาเล็กน้อยอาจจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่โตตามมา

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๔)

อตีตํ นานฺวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ 

อย่าละห้อยความหลัง อย่ามัวหวังอนาคต

๑๗๔ [๐๗.๒๒] (๑๔/๕๒๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ควรเสียเวลาในการทะเลาะกันเอง และอย่ามัวแต่หวังว่าอนาคตจะดีขึ้น สิ่งที่ควรทำก็คือการทำวันนี้ให้ดีที่สุด
  2. อดีตผ่านไปแล้วอย่ามัวเสียใจหรือเสียดาย อนาคตยังมาไม่ถึง ปัจจุบันทำให้ดีที่สุด ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
  3. จงพยายามทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะผลที่จะได้รับเกิดจากงานที่ทำในวันนี้ สำหรับผลของการกระทำในอดีตก็ผ่านเลยมาแล้วเราไม่สามารถแก้ไขได้นอกจากยอมรับผลที่เกิดจากการกระทำของเราถือเป็นบทเรียน ส่วนอนาคตก็ยังมาไม่ถึงผลที่ได้รับในอนาคตก็เกิดจากการกระทำในวันนี้

ดังนั้น จงทำวันนี้ให้ดีที่สุดทุกวัน และท่านจะมีทุกวันเป็นวันที่ดี

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๖)

อนาคตํ ปฏิกยิราถ กิจฺจํ

มา มํ กิจฺจํ กิจฺจกาเล พฺยเธสิ

เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน

อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัวเมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า

๑๗๖ [๐๗.๒๔] (๒๗/๑๖๓๖)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อนโดยคิดเสมอว่า การเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งเกิดขึ้นทุกลมหายใจ
  2. ให้คิดเสมอว่าถ้าเราเป็นฝ่ายตรงข้าม  จะดำเนินการอย่างไรที่จะเอาชนะเรา อย่าคิดว่าคนอื่นจะทำไม่ได้
  3. อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัวเมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า จะทำให้หมดเวลาในการรักษาพื้นที่เพราะคู่แข่งพร้อมกว่า เราเตรียมตัวไม่ทัน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๗)

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ

รีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้

๑๗๗ [๐๗.๒๕] (๑๔/๕๒๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วอย่าได้แต่ผัดวันประกันพรุ่ง อาจจะทำให้เสียโอกาสดีๆ ไป ให้รีบลงมือทำงานด้วยความเพียรพยายามตั้งแต่วันนี้
  2. การรีบลงมือทำ เช่นเรียนหนังสือก็ต้องรีบอ่านจะได้เหลือเวลาทบทวน จะทำให้มีโอกาสสอบได้คะแนนดี หากทำงานก็จะทำให้มีเวลาทบทวนงานที่ทำก็จะให้มีเวลาไตร่ตรองให้รอบคอบ ผลงานก็จะออกมาดี ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานก็จะตามมา

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๘)

โก ชญฺา มรณํ สุเว

ใครเล่ารู้ว่าจะตายวันพรุ่ง

๑๗๘ [๐๗.๒๖] (๑๔/๕๒๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ไม่มีใครรู้ว่าวันพรุ่งนี้จะตื่นหรือจะตาย ดังนั้นจงอย่าประมาทในชีวิต สิ่งที่ควรทำก็จัดการให้แล้วเสร็จ
  2. ให้รำลึกอยู่เสมอว่าถ้าพรุ่งนี้ไม่ตื่นผลกระทบจะเกิดอะไรขึ้น
  3. ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันพรุ่งนี้ จงสร้างนิสัยในการทำงานให้เรียบร้อยทุกวัน เพราะหากเกิดอะไรขึ้นคนรับช่วงจะได้ทำงานต่อไปได้โดยไม่มีปัญหา เรียกว่าใจไม่ต้องกังวล หากตายก็จะตายแบบตาหลับไม่มีอะไรต้องห่วงหรือมีอุปาทาน

หากใครสามารถทำงานถึงขั้นปล่อยวางได้ก็ถือว่าสุดยอดของการดำเนินชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๗๙)

ขโณ โว มา อุปจฺจคา 

อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย

๑๗๙ [๐๗.๒๗] (๒๕/๓๒๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อมีโอกาสมาถึงให้รีบลงมือทำ
  2. โอกาสดีๆ มีไม่บ่อยนักในชีวิต
  3. น้ำขึ้นให้รีบตัก เปรียบเสมือนโอกาสมาให้รีบคว้าเอาไว้
  4. จงสร้างนิสัยให้มีความพร้อมตลอดเวลาว่าวันใด/เวลาใดมีโอกาสดีๆ ผ่านมาในชีวิต คนที่มีปัญญาจะไม่ปล่อยให้โอกาสดังกล่าวผ่านไปโดยไม่ทำอะไร

ความพร้อมเสมอทำให้เกิดความตื่นตัว คนมีปัญญาสามารถสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นได้เมื่อองค์ประกอบเพียงพอ

  1. เราไม่จำเป็นต้องรอให้โอกาสมีปัจจัยครบถ้วนเสียก่อน คนมีปัญญาสามารถพลิกสถานการณ์ให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยที่เอื้อให้สร้างโอกาส
  2. ถ้าโชคดีท่านได้โอกาสเพียงครั้งเดียวในชีวิต อนาคตของท่านอาจจะเปลี่ยนไปเลยตลอดชีวิต

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๐)

อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกน วา

เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า

จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง

๑๘๐ [๐๗.๒๘] (๒๖/๓๕๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. วันเวลาผ่านไปไม่หวนกลับ อย่าให้เวลาผ่านไปโดยไม่ได้ทำอะไรเลย จะทำให้ชีวิตในแต่ละวันไม่ได้อะไรเลย
  2. ทุกวันมีต้นทุนของความเป็นคน ดังนั้นเราจะต้องไม่ขาดทุน โดยการต้องมีผลงานทุกวันเพื่อให้ทุกวันไม่ขาดทุน กำไรมากหรือน้อยไม่สำคัญเท่ากับการรู้ค่าของเวลา
  3. การรู้คุณค่าของเวลาจะทำให้ท่านรู้จักการบริหารเวลาในแต่ละวันอย่างมีคุณค่า ไม่ได้หมายความว่าทุกเวลาจะต้องได้เงินเสมอไป
  4. คุณค่าของเวลาขึ้นอยู่กับผู้ใช้เวลาไปทำอะไร ดังนั้น คุณค่าของเวลาของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๑)

อโหรตฺตมตนฺทิตํ ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ 

คนขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา

เรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค

๑๘๑ [๐๗.๒๙] (๑๔/๕๒๗)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนขยันทั้งวันทั้งคืนย่อมจะได้โชคลาภทุกวัน
  2. ความขยันนำโชคลาภมาให้
  3. คนขยันสามารถหารายได้ทั้งวัน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๒)

กถมฺภูตสฺส เม รตฺตินฺทิวา วีติปตนฺติ

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

๑๘๒ [๐๗.๓๐] (๒๔/๔๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. อย่าปล่อยให้วันเวลาล่วงไปโดยไม่ทำอะไรเลย เท่ากับว่าท่านขาดทุนวันที่ไม่ทำอะไรเลย
  2. ตรงข้ามท่านได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการทำงานทั้งวันทั้งคืน
  3. การรู้ค่าของเวลามีความสำคัญในชีวิต

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๓)

สุนกฺขตฺตํ สุมงฺคลํ สุปภาตํ สุหุฏฺิตํ

ประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี

มงคลดี เช้าดี รุ่งอรุณดี

๑๘๓ [๐๗.๓๑] (๒๐/๕๙๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การประพฤติชอบเวลาใดคือ คิดดี พูดดี ทำดี เวลาใดก็ถือว่าเวลานั้นเป็นฤกษ์สะดวก เพราะผลสำเร็จจะตามมาจากการประพฤติดีประพฤติชอบ เริ่มตั้งแต่เช้าวันใดเริ่มประพฤติดีวันนั้นจะเป็นฤกษ์ดีติดตามมา
  2. อย่างไรก็ตามในการกำหนดฤกษ์งามยามดี ฤกษ์สะดวกและมีความพร้อมในการทำงานถือเป็นฤกษ์ดี
  3. เพื่อความสบายใจก็ทำพิธีการในวันที่ฤกษ์สะดวก

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๔)

อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา

ประโยชน์ คือตัวฤกษ์ของประโยชน์

ดวงดาวจักทำอะไรได้

๑๘๔ [๐๗.๓๒] (๒๗/๔๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ประโยชน์ที่ได้รับถือว่าเป็นฤกษ์ดีอย่างแท้จริง หาใช่การดลบันดาลจากดวงดาวไม่
  2. ธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารงาน ไม่ใช่ตัวฤกษ์ที่คำนวณจากดวงดาว
  3. อย่างมงายกับพิธีกรรมและทุ่มเททรัพยากร ควรบริหารงานให้มีประสิทธิภาพไม่ใช่ตัวฤกษ์ใดๆ ฤกษ์เป็นเพียงทำให้ตัดสิ่งที่กวนใจ

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๖)

อนุปาเยน โย อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺติ

ผู้ปรารถนาผลที่หมายด้วยวิธีการอันผิด จะต้องเดือดร้อน

๑๘๖ [๐๗.๓๔] (๒๗/๔๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ที่มีความต้องการจะบรรลุเป้าหมายต่างๆ ด้วยวิธีการอันผิด เช่น ฉ้อโกง จะต้องเดือดร้อนเมื่อถูกจับได้ว่ามีการโกง
  2. การชนะด้วยการคดโกงเป็นชัยชนะที่ไม่ยั่งยืนและทำลายวิชาชีพและจริยธรรมของตัวเอง

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๗)

อปิ อตรมานานํ ผลาสาว สมิชฺฌติ

อันความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้

๑๘๗ [๐๗.๓๕] (๒๗/๘)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความเพียรพยายาม ความวู่วามจะนำไปสู่ความล้มเหลว
  2. แม้จะต้องพยายามนานเพียงใด ผู้ที่มีความเพียรย่อมต้องสำเร็จผลที่หวังไว้
  3. อย่าหยุดความพยายาม คือหัวใจของความสำเร็จ

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๘)

เวคสา หิ กตํ กมฺมํ มนฺโท ปจฺฉานุตปฺปติ

การงานที่ทำโดยผลีผลาม

ทำให้คนอ่อนปัญญาต้องเดือดร้อนภายหลัง

๑๘๘ [๐๗.๓๖] (๒๗/๒๔๔๒)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การทำงานที่ขาดความรอบคอบของคนที่อ่อนปัญญา อาจจะทำให้ต้องเดือดร้อนในภายหลัง เพราะเกิดปัญหาจากงานดังกล่าว
  2. ดังนั้นการทำงานที่ไม่ไตร่ตรองไม่นำไปสู่ความสำเร็จ
  3. การทำงานที่ไม่ระมัดระวัง จะทำให้คนอ่อนปัญญาจะต้องเดือดร้อนภายหลัง เพราะนอกจากสร้างปัญหาแล้ว ยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตามมา

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๘๙)

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย

ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า

๑๘๙ [๐๗.๓๗] (นัย ๒๗/๒๑๗๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. การใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนลงมือทำจะส่งผลดีต่อชิ้นงานที่ออกมา
  2. หลังทำงานไปแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่างานได้คุณภาพที่ต้องการควรที่จะทบทวนให้ละเอียด
  3. หมั่นทบทวนงานที่ทำกลับไปกลับมาเพื่อให้แน่ใจว่าดูรอบคอบแล้ว

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๐)

อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ

ตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเข

ผู้ที่ทำการงานลวกๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี

เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ

การงานเหล่านั้น จะก่อความเดือดร้อนให้

เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก

๑๙๐ [๐๗.๓๘] (๒๗/๑๕๓)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ผู้ที่ทำการงานลวกๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี ผลรับที่ได้อาจจะไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุน
  2. สินค้าที่ดูคล้ายกัน แต่อาจขายได้ราคาแตกต่างกัน เพราะคุณภาพต่างกัน ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตไม่ใส่ใจในกระบวนการผลิตมุ่งแต่จะทำให้เสร็จ
  3. ดังนั้น การทำอะไรก็ตามควรทำด้วยความใส่ใจในคุณภาพและคุณค่าของผลลัพธ์

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๑)

อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ

ถ้ามัวล่าช้าเพียรทำกิจล้าหลังไป จะจมลงในห้วงอันตราย

๑๙๑ [๐๗.๓๙] (๒๗/๒๑๔๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ในการทำงานทุกชนิดมีต้นทุนและราคา หากขายสินค้าได้ราคาเดียวกันแต่ต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง ก็จะทำให้ได้กำไรน้อยกว่าคู่แข่ง
  2. ความต้องการของสินค้าอาจจะเปลี่ยนแปลงเพราะความนิยมในสินค้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลของเทคโนโลยีเปลี่ยนแต่บริษัทมีความล่าช้ากว่าคู่แข่งในการพัฒนาสินค้าและบริการ อาจจะนำไปสู่การขาดทุนได้ในที่สุด

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๒)

โย ทนฺธกาเล ทนฺเธติ ตรณีเย จ ตารเย 

ที่ควรช้า ก็ช้า ที่ควรเร่ง ก็เร่ง ผลที่หมายจึงจะสำเร็จบริบูรณ์

๑๙๒ [๐๗.๔๐] (๒๗/๖๘๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เราจะต้องรู้ว่าในการทำงานตลอดกระบวนการผลิตจนถึงการจำหน่ายว่า เมื่อใดเร่งได้หรือไม่ เพราะถ้าไม่เข้าใจก็จะทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพตามต้องการ
  2. ดังนั้นการที่จะผลลัพธ์ออกมาอย่างสำเร็จสมบูรณ์ก็ต้องรู้ขั้นตอนของการทำงานให้ถูกต้อง

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๓)

โยนิโสสํวิธาเนน สุขํ ปปฺโปติ ปณฺฑิโต 

ด้วยการจัดการอย่างแยบคาย บัณฑิตก็ลุสุขสมหมาย

๑๙๓ [๐๗.๔๑] (๒๖/๓๒๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เมื่อเข้าใจงานที่จะทำอย่างกระจ่างแล้วก็จะสามารถจัดการได้อย่างแยบคาย ผลที่ตามมาอาจจะทำให้ผลิตในต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งหรือคุณภาพสูงกว่า
  2. ผลที่ตามมาสามารถทำให้ขายได้ในราคาที่ต่ำกว่า ผลกำไรมากกว่าเพราะขายได้มากกว่า หรือขายในราคาที่สูงกว่าเพราะคุณภาพสูงกว่า ยอดขายสูงกว่าคู่แข่ง

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๔)

นิปฺผนฺนโสภิโน อตฺถา

ประโยชน์งามตรงที่สำเร็จ

๑๙๔ [๐๗.๔๒] (๑๕/๘๙๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ความพยายามในการพัฒนาสินค้าตลอดเวลาทำให้ประสบผลสำเร็จทั้งด้านต้นทุนต่ำกว่า คุณภาพสูงกว่า สินค้าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
  2. ความเพียรพยายามอย่างถูกทางนำมาซึ่งผลสำเร็จของงาน สิ่งที่ทำผลลัพธ์คุ้มค่าความพยายามนั่นคือผลประโยชน์จากความพยายาม

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๕)

อนตฺเถ น ยุตฺโต สิยา

ไม่พึงขวนขวายในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

๑๙๕ [๐๗.๔๓] (๒๗/๒๓๖๙)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. เวลาและต้นทุนเป็นสิ่งที่ต้องจ่าย ดังนั้นให้ขวนขวายเฉพาะสิ่งที่จะให้ผลตอบแทนคุ้มค่าความพยายาม
  2. อย่าไปเสียเวลากับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะทุกอย่างมีต้นทุน

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๖)

ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยิรติ

อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา

สิ่งใดเป็นหน้าที่ กลับทอดทิ้งเสีย

ไพล่ไปทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่

คนเหล่านั้นมัวชูตัวพองประมาทอยู่

ความหมักหมมภายในตัวเขา ก็พอกพูนยิ่งขึ้น

๑๙๖ [๐๗.๔๔] (๒๕/๓๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ควรแยกแยะให้ออกระหว่างสิ่งที่เป็นหน้าที่กับไม่ใช่หน้าที่ หรือสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
  2. ควรเพียรพยายามเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อภารกิจที่สำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กร
  3. ควรจะรู้ว่าหน้าที่ของตนคืออะไร ให้ทำหน้าที่ดังกล่าวให้สมบูรณ์ไม่ควรหมักหมมงาน จะกลายเป็นดินพอกหางหมู

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๗)

กรํ ปุริสกิจฺจานิ น จ ปจฺฉานุตปฺปติ

เมื่อทำหน้าที่ของคนแล้ว ไม่ต้องเดือดร้อนใจภายหลัง

๑๙๗ [๐๗.๔๕] (๒๘/๔๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. งานเสร็จสมบูรณ์ เป้าหมายบรรลุตามความต้องการคุ้มค่าความเพียรพยายามถือว่า เราได้ทำดีที่สุดแล้ว ไม่มีคำว่าเสียใจเดือดร้อนใจ
  2. เกิดเป็นคนจะต้องรู้หน้าที่ของความเป็นคน และควรจะทำหน้าที่ดังกล่าวให้บริบูรณ์ จะได้ไม่ต้องมีเรื่องเดือดร้อนในภายหลัง
  3. คนที่มีความรับผิดขอบจะรู้หน้าที่ของตนเป็นอย่างดี และจัดการงานให้เรียบร้อยไม่ให้งานดังกล่าวมาทำให้เกิดความเดือดร้อนในภายหลัง เพราะเป็นคนที่ตระหนักในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ คนประเภทนี้เป็นที่ต้องการของทุกองค์กร

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๘)

อนโณ าตีนํ โหติ เทวานํ ปิตุนญฺจ โส

เมื่อได้เพียรพยายามแล้ว ถึงจะตาย

ก็ชื่อว่าตายอย่างไม่เป็นหนี้ใคร

(คือไม่มีข้อติดค้างให้ใครติเตียนได้)

ไม่ว่าในหมู่ญาติ หมู่เทวดา

หรือว่าพระพรหมทั้งหลาย

๑๙๘ [๐๗.๔๖] (๒๘/๔๔๕)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. หลังจากเพียรพยายามแล้วเราย่อมรับผลที่ออกมาอย่างเต็มภาคภูมิว่า “ทำดีที่สุดแล้ว”
  2. ยอมรับผลลัพธ์ที่ออกมาจากความพยายามที่ได้เพียรถึงที่สุดแล้ว ผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับในหมู่ญาติ หมู่เทวดาหรือว่าพรหมทั้งหลาย
  3. การทำด้วยความเพียรพยายามแล้ว ถึงจะตายก็ชื่อว่าตายอย่างไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะในหมู่ญาติ หมู่เทวดา หรือพระพรหมทั้งหลาย

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๑๙๙)

โย จีธ กมฺมํ กุรุเต ปมาย ถามพลํ อตฺตนิ สํวิทิตฺวา

ชปฺเปน มนฺเตน สุภาสิเตน ปริกฺขวา โส วิปุลํ ชินาติ

ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน

แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา

โดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี

ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จ มีชัยอย่างไพบูลย์

๑๙๙ [๐๗.๔๗] (๒๗/๖๔๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. ได้ทำทุกวิถีทางที่จะทำให้งานสำเร็จมีการทำงานเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ทำประมาณการกำลังคน ศึกษาตำรา ปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารอย่างรอบคอบ ทั้งหมดย่อมนำซึ่งความสำเร็จของงานที่ทำ
  2. ผลที่ได้รับถือว่าดีที่สุดแล้ว หากได้มีการทบทวนก่อนลงมือทำจริง
  3. อย่างไรก็ตาม ในการลงมือปฏิบัติจริงจะต้องมีการทบทวนแผนงานที่วางไว้ มีอะไรที่จะต้องแก้ไขหรือไม่ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงสิ่งต่างๆ ล้วนเป็นอนิจจัง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๒๐๐)

อชฺช สุเวติ ปุริโส สทตฺถํ นาวพุชฺฌติ

โอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺติ

คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรทำพรุ่งนี้

ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่งถือดีว่า ฉันเก่งฉันดี

คนอย่างนี้เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี

๒๐๐ [๐๗.๔๘] (๒๗/๘๗๔)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนที่หลงตัวเองว่าเป็นคนที่มีความสามารถทั้งที่การทำงานที่ผ่านมาเป็นปัญหาประจำไม่รู้จักจัดลำดับของงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน
  2. ลักษณะที่เป็นที่น่ารังเกียจจะเป็นที่ไม่ยอมรับของทุกแห่ง
  3. ศรัทธาแท้ต้องเพียร (หลวงปู่เปลี่ยน  ปัญญาปทีโป)

หากมีศรัทธาเฉยๆ ไม่ตั้งใจทำความเพียรแล้ว แม้จะปรารถนาหรือมีศรัทธาเพียงใดก็ตามมันก็ไม่สงบสมความปรารถนาของตนเองนั่นแหละ

อมฤตพจนา

๗. เพียรพยายาม-ทำหน้าที่ (๒๐๑)

โย จาปิ สีเต อถวาปิ อุณฺเห

วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ

ขุทฺทํ ปิปาสํ อภิภุยฺย สพฺพํ

รตฺตินฺทิวํ โย สตตํ นิยุตฺโต

กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ

โส เม มนาโป นิวิเส วตมฺหิ

คนใด ไม่ว่าจะหนาว หรือร้อน

มีลมแดด เหลือบยุง ก็ไม่พรั่น

ทนหิวทนกระหายได้ทั้งนั้น

ทำงานต่อเนื่องไปไม่ขาด ทั้งคืนวัน

สิ่งที่เป็นประโยชน์มาถึงตามกาล

ก็ไม่ปล่อยให้สูญเสียไป

คนนั้นย่อมเป็นที่ชอบใจของสิริโชค

สิริโชคขอพักพิงอยู่กับเขา

๒๐๑ [๐๗.๔๙] (๒๗/๘๘๑)

∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻∻

คติสอนใจ

  1. คนใดที่มีความอดทนต่อทุกสถานการณ์เป็นที่ต้องการของทุกแห่ง
  2. คนที่มีไหวพริบและมองหาโอกาสที่จะทำกำไรตลอดเวลา เป็นที่ต้องการของทุกกิจการ
  3. ขยัน อดทน มีไหวพริบ มนุษยสัมพันธ์ดี เป็นที่ต้องการของทุกแห่ง
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post