พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ตอนที่ 1
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ตอนที่ 2
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร – อวิชชา
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร – ปฏิจจสมุปบาท
สรุปหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา
- ชีวิตคืออะไร? : อายตนะ 12 และขันธ์ 5
- อายตนะ 12
- อายตนะภายใน 6
- อายตนะภายนอก 6 (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์)
- ขันธ์ 5 (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
วิญญาณ 6
อายตนะภายใน + อายตนะภายนอก = วิญญาณ
1) | ตา + รูป | 1) | = จักษุวิญญาณ (เห็น) |
2) | หู + เสียง | 2) | = โสตวิญญาณ (ได้ยิน) |
3) | จมูก + กลิ่น | 3) | = ฆะนะวิญญาณ (ได้กลิ่น) |
4) | ลิ้น + รส | 4) | = ชิวหาวิญญาณ (รู้รส) |
5) | กาย + สัมผัส | 5) | = กายวิญญาณ (รู้สิ่งต้องกาย) |
6) | ใจ (จิต) + ธรรมารมณ์ | 6) | = มโนวิญญาณ / จิตวิญญาณ |
ขันธ์ 5 = รูปขันธ์ (1) + นามขันธ์ (4)
= รูปขันธ์ + (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
ขันธ์ 5 รวมเรียกว่า “รูปร่างกาย”
“ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ 5 เกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่ออาการ 5 อย่าง (ขันธ์) เหล่านั้นดับไป เป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5”
- ดังนั้น สมการชีวิตคืออะไร?
สำหรับ มโนวิญญาณหรือจิตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ) เวียนว่ายตายเกิด เริ่มชีวิตตั้งแต่มีปฏิสนธิและจากร่างกายไปเมื่อรูปขันธ์ดับ (ตาย)
หมายเหตุ : พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร : ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
- ใจ เป็นภาษาไทย มโน เป็นภาษาบาลี จิต = ใจ = มโนธาตุ จิต เป็นภาษาอินเดีย
- ธรรมารมณ์ = เจตสิก = ธรรมธาตุ = เวทนา สัญญา สังขาร
- ใจเป็นเครื่องรับธรรมารมณ์ ให้เกิดความรู้ทางใจ
- มโนวิญญาณเกิดขึ้นเมื่อใจกับธรรมารมณ์มากระทบกันเข้าเกิดความรู้ทางใจ
- ความรู้เวทนา สัญญา สังขาร 3 อย่าง ต้องรู้ทางใจเรียกว่า “มโนวิญญาณ”
- มโนวิญญาณ รู้เวทนา สัญญา สังขารที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน ในขณะที่สัญญานั้นจำอารมณ์ที่ล่วงแล้ว
- อทุกขมสุขเวทนา เป็นเจตสิกธรรม (ธัมมารมณ์) ส่วนอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นจิต
- เมื่อความรู้เวทนา สัญญา สังขารมาปรากฎขึ้นในใจ เป็นความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณ
เมื่อความรู้เวทนา สัญญา สังขารดับหายไปจากใจ เป็นความดับไปแห่งมโนวิญญาณ
หมายเหตุ 2 : จากข้อ 8 สามารถวิเคราะห์ต่อได้ดังนี้ คือ เหลือเพียง “จิต” เป็นอมตะ
หมายเหตุ : (1) ธรรมเทศนา โดย หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
(2) อายตนะภายนอก 6 บางแห่งเรียกว่า “อารมณ์ 6” : พุทธธรรม โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
(3) ใจเป็นภาษาไทย จิตเป็นภาษาอินเดีย (ธรรมเทศนา โดย หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป)
(4) ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชชนา โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ
จิตอาศัยร่างกายอยู่เพียงชั่วตราว (ชาตินี้) เมื่อร่างกายหมดสภาพ (ดับ =ตาย) จิตวิญญาณก็จะออกจากร่างกายนี้ไปยังภพภูมิใหม่ตามกรรมที่สร้างไว้ จิตเป็นอมตะ (เที่ยง = ไม่ตาย)
- ชีวิตเป็นอย่างไร? : ไตรลักษณ์
2.1 ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
2.2 พุทธพจน์เกี่ยวกับขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)
“ภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
2.3 ใจ (จิต) เป็นอมตะ ไม่ตาย เวียนว่ายตายเกิด หากยังไม่บรรลุขั้นพระนิพพาน โดยจิตวิญญาณจะออกจากร่างกาย (ขันธ์ 5) เมื่อรูปขันธ์ดับ (ตาย) ไปเกิดใหม่ตามกรรมที่สร้างไว้
ชีวิต = กาย + จิต
กาย = ขันธ์ 5 (ไม่เที่ยง) เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
จิต = ใจ = จิตเป็นอมตะ (เที่ยง) ไม่ตาย
จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและจิตของพระอรหันต์ “เที่ยง” เป็นอมตะจิต จิตไม่เคยตาย ไม่มีการเกิดอีกแล้ว (สำหรับองค์พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์) แต่มนุษย์ที่ยังไม่บรรลุการเป็นพระอรหันต์ จิตของทุกคนก็เป็นอมตะแต่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด
เพื่อความเข้าใจความหมายของ “จิต” ตามคำอธิบายของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ได้แสดงเทศนาธรรมให้แก่พระสงฆ์ (ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ) เป็นดังนี้
“จิต เข้าถึงธรรมชาติแท้ คือ จิตนี้เป็นธรรมชาติ เป็นมหาวิมุตติ เป็นมหานิพพาน เป็นธรรมชาติ เป็นอมตะจิต เป็นอมตะธรรม สมกับว่าจิตนี้ไม่เคยตาย จิตนี้ไม่เคยตายที่สุดแห่งความไม่เคยตายของจิตคืออะไร คือ ธรรมธาตุ จิตถึงวิมุตติหลุดพ้นเรียกว่าถึงธรรมธาตุแล้ว ที่สุดแห่งสมมุติทั้งหลายจะสุดสิ้นที่ตรงนั้น วิมุตติผ่าง (ปรากฏ) ขึ้นมาแล้วจิตบริสุทธิ์ไม่มีสมมุติแม้นิดหนึ่งปรากฏเลย จิตดวงที่บริสุทธิ์ จิตดวงที่เคยเกิดเคยตายมาเหมือนกับสัตว์ทั้งหลายทั่วแดนโลกธาตุนี้ ขาดสะบั้นลงไปในขณะที่จิตอวิชชาขาดลงไปจากใจ จิตครองวิมุตติ หลุดพ้น ไม่มีสมมุติใดๆ เข้าไปเกี่ยวข้อง
เพราะฉะนั้นจิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระอรหันต์ ท่านจึงไม่เคยมีทุกข์ ตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ธรรม หรือบรรลุธรรมขึ้นมาเป็นพระอรหันต์ในเวลานั้นแล้ว จากนั้นไปเป็นอนันตกาลตั้งกัปตั้งกัลป์ เรียกว่า “เที่ยง” ท่านไม่เคยทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นไม่ได้ตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้คือสังหารกิเลส พอกิเลสนี้ขาดซึ่งเป็นตัวสร้างทุกข์นี้ขาดสะบั้นลงไปจากจิตใจแล้ว ไม่มีสมมุติในใจเลย แล้วทุกข์ก็ไม่มี กิเลสไม่มี ความทุกข์ไม่มี ความทุกข์ในใจของพระอรหันต์จึงไม่มี ตั้งแต่ในขณะท่านตรัสรู้แล้ว”
หมายเหตุ : ฟังธรรมเทศนาเพิ่มเติม : จิตเที่ยง (จิตไม่เคยตาย) โดย:
- หลวงปู่อุทัย สิริธโร “จิตไม่เคยตาย”
- หลวงปู่สิม พุทธาจาโร “จิตเป็นของไม่ตาย”
2.4 อุปาทานขันธ์ 5 คืออะไร? ก็คือ ขันธ์ 5 ที่มีอุปาทานยึดถือยึดครอง ท่านใช้คำแบบทางการว่า “ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน จะว่าขันธ์ 5 ที่เกิดจากอุปาทานเป็นที่วุ่นวายของอุปาทาน หรือที่รับใช้อุปาทานก็ได้ทั้งนั้น เป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาอุปาทาน อันนี้แหละคือ ทุกข์ที่เป็นข้อ 1 ในอริยสัจ 4 เมื่อได้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่จะมองแล้ว ก็มาศึกษาพุทธพจน์ที่ตรัสในเรื่องความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ 5 กับอุปาทานขันธ์ 5
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เธอทั้งหลายจงฟัง”
ขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม….เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ 5
“อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ) เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5
2.5 ความทุกข์ ใครไปยึดขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้นเข้า ก็กลายเป็นอุปาทานขันธ์ 5 เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา
- ชีวิตเป็นอย่างไร? : ปฏิจจสมุปบาท (กระบวนการเกิดและการดับทุกข์)(2)
- ทุกขสมุทัย (กระบวนการเกิดทุกข์)
- ทุกขนิโรธ (กระบวนการดับทุกข์)
พุทธพจน์ กล่าวไว้ว่า :
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม
ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมที่สำคัญมากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ เพราะเป็นกระบวน (ห่วงโซ่) การเกิดความทุกข์และการดับทุกข์ของมนุษย์
ห่วงโซ่ของเหตุปัจจัยของการเกิดความทุกข์ของมนุษย์เริ่มต้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ ไม่เข้าใจ เกี่ยวกับ (1) อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค), (2) ความไม่รู้ในขันธ์ 5 ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต, (3) ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท) จนกระทั่งชรามรณะ
ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ก็ต้องพบกับความทุกข์ ถึงแม้จะเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหมก็มีความทุกข์ เพียงแต่มีความสุขมากกว่าทุกข์เท่านั้นเอง
ทุกห่วงโซ่ของ “ปฏิจจสมุปบาท” นำมาซึ่งความทุกข์ ห่วงโซ่ที่นำมาซึ่งความทุกข์ที่มักจะกล่าวถึงกันบ่อย
หลักทั่วไป
ก. อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ข. อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)
พิจารณาตามรูปพยัญชนะ หลักทั่วไปนี้ เข้ากับชื่อที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา
3.1 ปฏิจจสมุปบาท : ทุกขสมุทัย (กระบวนการเกิดทุกข์) (2)
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
……………………………………………………………………………………………………………………………
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ ด้วยประการฉะนี้
4.1 ปฏิจจสมุปบาท : ทุกขนิโรธ (กระบวนการดับทุกข์)
อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ
สงฺขารนิโรโธ สังขารจึงดับ
สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ)
……………………………………………………………………………………………………………………………….
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
หัวข้อและโครงรูป
3.1.1 ลำดับขั้นตอนการเกิดความทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นดังนี้
อวิชชา 🡪 สังขาร 🡪 วิญญาณ 🡪 นามรูป 🡪 สฬายตนะ 🡪 ผัสสะ 🡪 เวทนา 🡪 ตัณหา 🡪 อุปาทาน 🡪 ภพ 🡪 ชาติ 🡪 ชรามรณะ + โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทนัส อุปายาส = ทุกขสมุทัย
4.1.1 ส่วนฝ่ายดับ หรือทุกขนิโรธ ก็ดำเนินไปตามหัวข้อเช่นเดียวกันนี้ (2)
3.1 อนึ่ง โดยที่กระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนเป็นวัฎฎะ หรือวงจร ไม่มีดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย จึงควรเขียนเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในแง่นี้ ดังนี้
คำจำกัดความองค์ประกอบ หรือหัวข้อ ตามลำดับ (2)
ก่อนแสดงคำจำกัดความและความหมายตามแบบ จะให้คำแปลและความหมายง่ายๆ ตามรูปศัพท์ เป็นพื้นฐานความเข้าใจไว้ชั้นหนึ่งก่อน ดังนี้
1. อวิชชา ความไม่รู้แจ้ง คือ ไม่รู้ความจริง หรือไม่รู้ตามเป็นจริง
2. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตจำนงและทุกสิ่งที่จิตได้สะสมไว้
3. วิญญาณ ความรู้ต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ คือ การเห็น-ได้ยิน-ฯลฯ-รู้เรื่องในใจ
4. นามรูป นามธรรมและรูปธรรม ชีวิตทั้งกายและใจ
5. สฬายตนะ อายตนะ คือ ช่องทางรับรู้ 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
6. ผัสสะ การรับรู้ การประจวบกันของอายตนะ+อารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้)+วิญญาณ
7. เวทนา ความเสวยอารมณ์ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ
8. ตัณหา ความทะยานอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากไม่เป็น
9. อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น การยึดถือค้างใจ การยึดถือเข้ากับตัว
10. ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ สภาพชีวิต ผลรวมกรรมทั้งหมดของบุคคล
11. ชาติ ความเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายที่ยึดถือเอาเป็นตัวตน
12. ชรามรณะ ความแก่-ความตาย คือ ความเสื่อมอินทรีย์-ความสลายแห่งขันธ์
ต่อไปนี้ คือ คำจำกัดความองค์ประกอบ หรือหัวข้อทั้ง 12 ตามแบบ (2)
1. อวิชชา = ความไม่รู้ทุกข์ – สมุทัย – นิโรธ – มรรค (อริยสัจ 4) และ (ตามแบบอภิธรรม)
ความไม่รู้หนก่อน – หนหน้า – ทั้งหนก่อนหนหน้า – ปฏิจจสมุปบาท
2. สังขาร = กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
และ (ตามนัยอภิธรรม) ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร
3. วิญญาณ = จักขุ∼ โสต∼ ฆาน∼ ชิวหา∼ กาย∼ มโนวิญญาณ (วิญญาณ 6)
4. นามรูป = นาม (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ) หรือตามแบบอภิธรรม (เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) + รูป (มหาภูต 4 และรูปที่อาศัยมหาภูต 4)
5. สฬายตนะ = จักขุ – ตา โสตะ – หู ฆานะ – จมูก ชิวหา – ลิ้น กาย – กาย มโน – ใจ
6. ผัสสะ = จักขุสัมผัส โสต∼ ฆานะ∼ ชิวหา∼ กาย∼ มโนสัมผัส (สัมผัส 6)
7. เวทนา = เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส จากโสต∼ ฆาน∼ ชิวหา∼ กาย∼ และมโนสัมผัส
(เวทนา 6)
8. ตัณหา = รูปตัณหา (ตัณหาในรูป) สัททตัณหา (ในเสียง) คันธตัณหา (ในกลิ่น) รสตัณหา (ในรส)
โผฏฐัพพตัณหา (ในสัมผัสทางกาย) ธัมมตัณหา (ในธรรมารมณ์) (ตัณหา 6)
9. อุปาทาน = กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ)
ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ คือ ความเห็น ข้อยึดถือ ลัทธิ ทฤษฎี ต่างๆ)
สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต ว่าจะทำให้คนบริสุทธิ์ได้)
อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตา สร้างตัวตนขึ้นยึดถือไว้ด้วยความหลงผิด)
10. ภพ = กามภพ รูปภพ อรูปภพ อีกนัยหนึ่ง
= กรรมภพ (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร)
กับ อุปปัตติภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภพ
เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ)
11. ชาติ = ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้มาซึ่งอายตนะต่างๆ
หรือความเกิด ความปรากฏขึ้นของธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ
12. ชรามรณะ = ชรา (ความเสื่อมอายุ ความหง่อมอินทรีย์) กับ
มรณะ (ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์) หรือ
ความเสื่อมและความสลายแห่งธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ
พุทธพจน์เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท (2)
ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองข้างนั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆ ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ”
“ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่าสุขทุกข์เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น) อาศัยอะไร? อาศัยผัสสะ”
“เมื่อกายมีอยู่ อาศัยความจงใจทางกายเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้ เมื่อวาจามีอยู่ อาศัยความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้ เมื่อมโนมีอยู่ อาศัยมโนสัญเจตนาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้”
“เพราะอวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่งกายสังขารขึ้นเอง เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง เนื่องจากผู้อื่น (ถูกคนอื่นหรือตัวการอื่นๆ กระตุ้นหรือชักจูง) จึงปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง รู้ตัวอยู่ จึงปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง ไม่รู้ตัวอยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง จึงปรุงแต่งวจีสังขาร…มโนสังขารขึ้นเองบ้าง…เนื่องจากผู้อื่นบ้าง…โดยรู้ตัวบ้าง…โดยไม่รู้ตัวบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายใน ในกรณีเหล่านี้ อวิชชาเข้าแทรกอยู่แล้ว(ทั้งนั้น)”
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท) เหล่านี้ ชัดเจนตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาแล้วเมื่อนั้น การที่อริยสาวกนั้นจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างต้นว่า “ในอดีต เราได้เคยมีหรือไม่หนอ? ในอดีต เราได้เป็นอะไรหนอ? ในอดีต เราได้เป็นอย่างไรหนอ? ในอดีต เราเป็นอะไรแล้วจึงได้มาเป็นอะไรหนอ?” หรือจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างปลายว่า “ในอนาคต เราจักมีหรือไม่หนอ? ในอนาคต เราจักเป็นอะไรหนอ? ในอนาคต เราจักเป็นอย่างไรหนอ? ในอนาคต เราเป็นอะไรแล้วจักได้เป็นอะไรหนอ?” หรือแม้แต่จะเป็นผู้มีความสงสัยกาลปัจจุบันเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า “เรามีอยู่หรือไม่หนอ? เราคืออะไรหนอ? เราเป็นอย่างไรหนอ? สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักไป ณ ที่ไหนอีก?” ดังนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร? ก็เพราะว่า อริยสาวกได้เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรมเหล่านี้ ชัดเจนแล้วตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา”
3.1.2 เหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์
ก็คือ ตัณหา และอุปาทาน ทั้งนี้เพราะ ตัณหาคือ ความอยากทุกชนิดเป็นกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) สำหรับอุปาทานก็ต้องการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตัวเอง อยากเป็นเจ้าของไม่อยากปล่อยวาง
ทั้งตัณหา และอุปาทาน ทำให้ทุกข์ เมื่อไม่ได้สมหวัง หรือสูญเสียสิ่งที่รักและทำให้ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิด เพราะทั้งห่วง หวง ยึดติด ไม่ยอมปล่อยวาง ทำให้เกิดทุกข์ข้ามภพข้ามชาติ จึงทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด (ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า “ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้”)
การเกิดความทุกข์ : เกิดตัณหา และอุปาทาน
ลำดับขั้นการเกิดตัณหา และอุปาทาน (เป็นเพียงบางส่วนของกระบวนการเกิดทุกข์ตามหลัก
ปฏิจจสมุปบาท) เป็นดังนี้
ผัสสะ
- ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร?
เป้าหมายของชีวิต : การดับทุกข์ที่ถาวรโดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาท
4.1.1 “ปฏิจจสมุปบาท (ทุกขนิโรธ)” : กระบวนการ (ห่วงโซ่) ของการดับทุกข์
4.1.2 การดับทุกข์
ดังนั้น การดับตัณหา จะต้องดับที่เวทนา หรือที่ผัสสะ (สักแต่ว่า…)
การดับอุปาทาน จะต้องดับที่ตัณหา
ต้องการหมดทุกข์ ต้องตัดห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาท จะเป็นจุดใดของห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาทก็ได้ ซึ่งจะทำให้กระบวนการเกิดทุกข์หยุดทำงาน อันจะทำให้ทุกข์ดับ
ที่สุดของการดับทุกข์ คือ ดับอวิชชา ซึ่งเป็นลำดับแรกของห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาท ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยสัจสี่ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) หรือ ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
- ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร?
- มัชฌิมาปฏิปทา : ทางสายกลาง (อริยมรรคมีองค์ 8)
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “อริยสัจสี่” และ
- ความสัมพันธ์ระหว่าง อริยมรรคมีองค์ 8 (มัชฌิมาปฏิปทา) และไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
5.2 อริยสัจสี่ : ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ
อริยสัจข้อที่ 1 : ทุกข์ (ความทุกข์)
อริยสัจข้อที่ 2 : สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)
อริยสัจข้อที่ 3 : นิโรธ (ทุกข์ดับ)
อริยสัจข้อที่ 4 : มรรค (ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์)
5.2.1 อริยสัจข้อที่ 1 : ทุกข์ (ความทุกข์)
ชีวิตคือขันธ์ 5 ความทุกข์มาจากการเกิดแก่ เจ็บ ตาย สูญเสียของรัก ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา
อุปาทานขันธ์ 5 นำมาซึ่งความทุกข์
การฝืนกฎของพระไตรลักษณ์นำมาซึ่งความทุกข์
5.2
5.2.2 อริยสัจข้อที่ 2 : สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)
ปฏิจจสมุปบาท – ทุกขสมุทัย : กระบวนการ (ห่วงโซ่) ที่ทำให้เกิดทุกข์
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์คือ ตัณหา และอุปาทาน
ตัณหา : เป็นความอยากมีอยากเป็น อยากไม่มี อยากไม่เป็น (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ไม่ได้สมความอยาก (ความต้องการ) ก็ทกุข์ ได้สมความอยาก แต่ไม่รู้จักพอ (โลภ) ก็ทุกข์ สูญเสียสิ่งที่รักก็ทุกข์ ฯลฯ
อุปาทาน : เป็นความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ (กามุปาทาน ทิฎฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน)
โดยอุปาทานยึดกับขันธ์ 5 เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5 ซึ่งนำความทุกข์มาให้แก่เจ้าของขันธ์ 5 ทั้งนี้เพราะทุกสิ่งที่ถูกยึดมั่นถือมั่น เข้ากฎพระไตรลักษณ์ทั้งหมด คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเฉพาะขันธ์ 5 ก็เป็นไตรลักษณ์ ดังนั้นไม่ว่าอะไรก็ตามที่ไปยึดติดกับขันธ์ 5 ก็ล้วนแต่เป็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน
ดังนั้น ตัณหา และอุปาทาน จึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์
5.2.3 อริยสัจข้อที่ 3 : นิโรธ (ความดับทุกข์)
ปฏิจจสมุปบาท : ทุกขนิโรธ – กระบวนการ (ห่วงโซ่) ของความดับทุกข์
5.2.4 อริยสัจข้อที่ 4 : มรรค (มัชฌิมาปฏิปทา) และไตรสิกขา
คนส่วนใหญ่ชอบเดินทางเก่า อันได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
- กามสุขัลลิกานุโยค คือ การทำตนให้เป็นผู้หมกมุ่นติดอยู่ในกามสุข
- อัตตกิลมถานุโยค คือ การปฏิบัติผิด แม้ประพฤติเคร่งครัดทำตนให้ลำบากสักเพียงไร ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ ซึ่งมรรค ผล นิพพาน (1)
ความสุขมี 2 ชนิด คือ(1)
- อามิสสุข คือ สุขมีประมาณน้อย ได้แก่ สุขซึ่งเกิดแต่ความยินดีในกาม
- นิรามิสสุข คือ สุขอันไพบูลย์ ได้แก่ ฌาน วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน
ธรรมปฏิบัติที่จะให้ถึงสุขอันไพบูลย์ ต้องปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 (มัชฌิมาปฏิปทา = ทางสายกลาง)
อริยมรรคมีองค์ 8 | ไตรสิกขา |
สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ)สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) | (3) ปัญญา (ทำใจให้บริสุทธิ์) |
สัมมาวาจา (วาจาชอบ)สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) | (1) ศีล (การละชั่ว) |
สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)สัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ) | (2) สมาธิ (ทำความดี) |
ตารางข้างต้น เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอริยมรรคและไตรสิกขา ข้อสังเกตก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เริ่มต้นจาก สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นความเห็นชอบเกี่ยวกับเรื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ “อริยสัจ 4” และมีความเชื่อมั่นในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นคำสอนที่ประเสริฐแท้เกี่ยวกับ ทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์และสร้างสุขอย่างแท้จริง ดังคำกล่าว “นิพพานัง ปรฺมัง สุขัง” (นิพพาน เป็นสุขยิ่งนัก หรือนิพพานเป็นความสุขสูงสุด เพราะหมดสิ้นซึ่งกิเลสทั้งปวง ไม่มีการเกิดอีกแล้ว ไม่ว่าจะเกิดเป็นภพภูมิใดก็ตาม)
สัมมาทิฎฐิ ตรงกับหมวด “ปัญญา” ของไตรสิกขา
ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามไตรสิกขา ต้องปูพื้นด้านการรักษาศีลก่อน
- “ศีล” รักษาศีลก่อน เพราะต้องทำให้กาย และวาจาบริสุทธิ์ก่อน (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ) เมื่อกายและวาจาบริสุทธิ์ (ละการทำชั่วทางกายและวาจา) ก็ดำเนินเรื่องต่อด้าน “สมาธิ” (การทำความดี)
- “สมาธิ” การเจริญสมาธิ จะต้องมีบาทฐานของการรักษาศีลที่ดีและมั่นคง เพื่อที่มุ่งหน้าละชั่ว ทำดี โดยการเดินตามอริยมรรคด้าน สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ โดยเฉพาะสัมมาวายามะ เป็นความเพียรด้านการละชั่ว และทำความดี เพื่อให้ใจพร้อมที่จะปฏิบัติธรรมขั้นต่อไปคือ สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ)
- “ปัญญา” เมื่อผ่านขั้นตอนการการเจริญสมาธิแล้ว ก็ดำเนินเรื่อง “ปัญญา” ซึ่งเป็นเรื่องการทำใจให้บริสุทธิ์ โดยมีอริยมรรคที่สำคัญเพื่อการปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุด มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) เพราะสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นการแก้ไข “อวิชชา” (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง) เพื่อให้เกิด “วิชชา” เมื่อเกิด “วิชชา” (รู้ตามความเป็นจริง) “อวิชชา” ก็หายไป (ดับ) ห่วงโซ่ของปฏิจจสมุปบาท : ทุกขนิโรธก็ขาดลงทั้งหมด ซึ่งก็หมายถึง ความทุกข์ก็ดับลงทั้งหมด เป็นการบรรลุพระนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
- สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) เป็นหลักธรรมที่ออกจากกาม (ละกามราคะ) ซึ่งเป็นสังโยชน์ที่สำคัญของการบรรลุขั้นพระอนาคามี ความดำริในการไม่เบียดเบียนและความดำริในการไม่พยาบาท ก็หลักธรรมที่สำคัญในการปฏิบัติเพื่อการบรรลุการเป็นพระอริยบุคคล
หมายเหตุ :
ระดับโลกีย์ : ทำศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นยังไม่เห็นอริยสัจ 4 สังโยชน์ 3 ยังละไม่ได้ (1)
ระดับโลกุตตร : ทำศีล สมาธิ ปัญญา โดยปัญญาเห็นอริยสัจ 4 แล้ว และละสังโชน์ 3 ได้แล้ว(1)
5.3
6.1 วิธีสร้างบุญบารมี
พระนิพนธ์ โดย สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19
ความหมายของบุญและบารมี
บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และกุศลกรรม
พุทธพจน์ “ท่านทั้งหลาย อย่ากลัวต่อบุญเลย เพราะคำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข”
บารมี มาจากคำบาลีว่า “ปารมี” มีความหมายว่า “คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง” หรืออีกความหมายหนึ่งคือ “ความดีที่บำเพ็ญไว้ ข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน”
วิธีสร้างบุญบารมี
ในพระพุทธศาสนา มี 3 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 การให้ทาน
ขั้นที่ 2 การรักษาศีล
ขั้นที่ 3 การเจริญภาวนา
นิยมเรียกกันว่า “ทาน ศีล ภาวนา”
ระดับของการได้บุญบารมี
- การให้ทาน ได้บุญบารมีขั้นต่ำสุด
- การรักษาศีล ได้บุญบารมีมากกว่าการให้ทาน แต่ได้บุญบารมีน้อยกว่าการเจริญภาวนา
- การเจริญภาวนา ได้บุญบารมีสูงสุด
การสร้างบุญบารมี
แต่ละประเภทต้องทำอย่างไรจึงจะถูกวิธี
- การทำทาน
การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิน สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่บุคคลอื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุข ต้องมีสิ่งประกอบด้วย 3 ประการคือ
- วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์
เป็นสิ่งของที่ตนหามาได้ด้วยความบริสุทธิ์ ในการประกอบสัมมาอาชีพ
- เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์
จุดมุ่งหมายแท้จริง ก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่ เนียวแน่น อันเป็นกิเลสหยาบคือ “โลภะกิเลส”
- เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์
“เนื้อนาบุญ” หมายถึง บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทาน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าคนที่รับการให้ทานนั้นเป็นผู้มีศีลมีธรรมสูงก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย
การให้ทานที่ได้บุญมากที่สุด ได้แก่การให้ “ธรรมทาน” เพราะการให้ธรรมทาน ก็คือ
การเทศนาสั่งสอนธรรมะ ตลอดถึงการพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน เพื่อชักจูงผู้คน
ให้เข้ามารักษาศีลปฏิบัติธรรม จนเข้าถึงมรรค ผล นิพพานในที่สุด
อย่างไรก็ตาม การทำทานได้บุญน้อยกว่าการรักษาศีล
พุทธดำรัสตรัสไว้ว่า :
“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”
การให้ธรรมทานเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง
- การรักษาศีล
“ศีล” แปลว่า ปกติ ศีลมีหลายระดับ คือศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
- ระดับธรรมดา
- ระดับกลาง (มัชฌิมศีล)
- ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฎ์ (อธิศีล)
“มนุษย์” คือ ผู้ที่มีใจอันประเสริฐ จะต้องถือศีล 5 ถ้าไม่มีศีล 5 ไม่เรียกว่า มนุษย์ แต่เรียกว่า “คน” แปลว่า “ยุ่ง”
ระดับศีล การรักษาศีล 5 ได้บุญบารมีน้อยที่สุด ในขณะที่การรักษาศีล 227 ได้บุญบารมีสูงที่สุด
ผลของการรักษาศีล จะยังประโยชน์สุขแก่ผู้รักษาศีลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้ว ย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดของศีลที่รักษาและบำเพ็ญมา
การรักษาศีล ได้บุญบารมีมากกว่าการให้ทาน แต่ได้บุญบารมีน้อยกว่าการเจริญภาวนา
3. การภาวนา
การภาวนา เป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด เพราะได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า “มหัคคตกรรม” อันเป็น “มหัคคตกุศล”
บุญบารมีที่เกิดจากการเจริญภาวนา เป็นบุญบารมีสูงกว่าการรักษาศีล มี 2 อย่างคือ
- สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
- วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
- สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือ การทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีการภาวนามี 40 ประการ รวมเรียกว่า “กรรมฐาน 40”
การเจริญภาวนาโดยใช้กรรมฐานชนิดใด ขึ้นอยู่กับจริตหรืออุปนิสัย และวาสนาบารมีของแต่ละคน ไม่ต้องใช้กรรมฐานทั้ง 40 ชนิด
ศีล เป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิ ดังนั้น หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญญานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก
กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าใช้เพื่อการตรัสรู้ คือ อานาปานสติกรรมฐาน
อานิสงส์ของสมาธินั้น มากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียมกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
“แม้ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ รักษาศีล 227 ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบ นานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู”
จิตสงบคือ จิตที่เป็นเพียงอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ จิตเป็นสมาธิ มีอยู่ 3 ระดับคือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ (ฌาน)
สมาธิระดับอัปปนาสมาธิ (หรือฌาน) มีรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 ซึ่งล้วนส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลกรวม 20 ชั้น
- รูปฌาน 1 ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3
- อรูปฌานชั้นสูงสุด เรียกว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือ ชั้นที่ 20 มีอายุยืนยาว ถึง 84,000 มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม
ดังนั้น การทำสมาธิ เป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม การทำสมาธิก็ยังได้บุญน้อยกว่าการเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา)
- วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
วิปัสสนา ไม่ใช่การให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่ (ซึ่งคือ สมาธิ) แต่เป็นจิตคิดใคร่ครวญ หาเหตุและผลในสภาวะธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ “ขันธ์ 5” ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป-นาม” โดยรูปมี 1 ส่วน ส่วนนามนั้นมี 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขันธ์ 5 เป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เป็นเพียงสังขารธรรม ที่เกิดเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าทันสภาวะธรรม ซึ่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ด้วยอำนาจอุปาทานว่า เป็นตัวเป็นตนและของตน
การเจริญวิปัสสนา ก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ 5 นั้น ล้วนมีอาการเป็น “พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย
- อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง
- สรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
- สรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5 เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกัน เป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ (“เซลล์”) เหล่านั้นมีการเจริญเติบโต และแตกสลายไป แล้วเกิดใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้เน่นอน
- ทุกขัง ได้แก่ “สภาพที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้”
- การทุกข์กายทุกข์ใจ เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขัง
- สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็น สังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทรงตัวตั้งมั่นทนทานอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้ตลอดไป แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไป
- แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรม อันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัว
- อนัตตา ได้แก่ “ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ”
- โดยสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น “รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ” ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
- เช่นรูปขันธ์ เป็นธาตุ 4 มาประชุมรวมกันคือ
ธาตุดิน (ส่วนที่เป็นของแข็ง) ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลว) ธาตุไฟ (สิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย) และธาตุลม (ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย)
- ธาตุทั้ง 4 ได้มาประชุมรวมกันขึ้น เป็นรูปกายของคน สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลง แล้วแตกสลาย ก็กลับคืนไปสู่สภาพเดิม (ดิน น้ำ ไฟ ลม) ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเรา ให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้
- สมาธิ มีกรรมฐาน 40 เป็นอารมณ์ โดยผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่ง ตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตน
- วิปัสสนา มีเพียงอย่างเดียวคือ ขันธ์ 5 เป็นอารมณ์หรือมีแต่รูป-นามเท่านั้น ได้แก่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
ซึ่งเป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรม อันเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เทียง ทนอยู่สภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด
- อารมณ์ของวิปัสสนา เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผล สังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นพระไตรลักษณ์คือ
อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา
และเมื่อได้จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เรียกว่าจิตเข้าสู่กระแสธรรม ตัดกิเลสได้
- สมาธิและวิปัสสนา จึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกัน และอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้น โดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของ ขณิกสมาธิ เป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า
“ผู้ใดแม้จะทำสมาธิ จนจิตเป็นฌานได้นานถึง 100 ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตก็ตาม”
- วิปัสสนาภาวนา เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมี
- ไตรสิกขา ศีล – สมาธิ – ปัญญา
4. ธรรมานุปัสสนา (เห็นธรรมในธรรม) | 4. ธรรมานุปัสสนา (เห็นธรรมในธรรม) | 4.1 หลักในการพิจารณาธรรมานุปัสสนา | 4.1 หลักในการพิจารณาธรรมานุปัสสนา | |||||||
4.1 นิวรณ์บรรพ : การตามดูรู้ทันธรรม รู้ขีดในการนั้นๆ ว่านิวรณ์ 5 แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วจะเสียได้อย่างไร ที่จะได้เสียแล้ว ได้เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้น4.2 ขันธบรรพ : กำหนดรู้ขันธ์ 5 แต่ละอย่างคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร4.3 อายตนบรรพ : รู้จักอายตนภายใน ภายนอกแต่ละอย่าง รู้ชัดในอายตนนั้นๆ รู้ชัดว่าสัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดได้อีกต่อไปอย่างไร | 4.4 โพฌชงคบรรพ : รู้ชัดในขณะนั้นว่าโพฌชงค์ 7 แต่ละอย่างมีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร4.5 สัจจบรรพ : รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร | – พิจารณาในมหาสติปัฎฐานสูตรในตอนท้ายทุกข้อ พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า“เมื่อเห็นแล้วก็รู้สึก สักแต่เพียงว่าเห็นยังร่างกาย (ขันธ์ 5) อาศัยอยู่ก็สักแต่ว่าอาศัยอยู่ไม่ยึดถือว่ามันเป็นเรา (จิต) เป็นของเราไม่ยึดถือในร่างกายของเราด้วยไม่ยึดถือในร่างกายของบุคคลอื่นด้วยแล้วก็ไม่ยึดถือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกด้วยเป็นวิปัสสนาญาณตัวย่อ เพื่อทำลายสังโยชน์ 10 ประการ ด้วยอำนาจสักกายทิฎฐิ (เป็นสังโยชน์ | ข้อแรกที่สำคัญมาก) เป็นสังโยชน์ข้อแรกที่พระอริยบุคคลทุกระดับจะต้องบรรลุให้ได้ | |||||||
2. เวทนานุปัสสนา (เห็นเวทนาในเวทนา) | 2.1 หลักปฏิบัติด้านเวทนานุปัสสนา | 3. จิตตานุปัสสนา (เห็นจิตในจิต) | 3.1 หลักการปฏิบัติด้านจิตตานุปัสสนา | |||||||
ตามดูรู้ทัน คือเมื่อเกิดความรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นอามิส และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมในเวทนา | เราไม่มีอารมณ์จะยึดถืออะไรทั้งหมดในโลก เพราะร่างกาย (ขันธ์ 5) นี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ร่างกายนี้เป็นไตรลักษณ์ เวทนาจึงเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 ก็เป็นไตรลักษณ์ด้วยอารมณ์ของพระนิพพาน คือจิต ไม่เกาะติดเวทนาที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์ ไม่เกาะติดเวทนาที่มีอามิสและที่ไม่มีอามิส และไม่เกาะติดทุกสิ่งทุกอย่างในโลก | การตามดูรู้ทันจิตคือ จิตของตนในขณะนั้น เป็นอย่างไร เช่น จิตมีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่เป็นอยุ๋ในขณะนั้นๆ | พระพุทธองค์ทรงแนะนำว่าทุกสิ่งทุกอย่างเห็นแล้วก็ทำความรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าเห็น อย่าไปยุ่งกับมัน เมื่อเข้าไปอาศัยอยู่คือ จิต อาศัยกาย ก็มีความรู้สึกสักแต่ว่าเพียงอาศัย อย่ายึดถือกายภายในคือร่างกายของเรา อย่ายึดถือกายภายนอก อย่ายึดถืออะไรๆ ทั้งหมด คือไม่ยึดถือกับเราไม่ยึดถือเรา ไม่ยึดถืออะไรๆ ทั้งหมดในโลก อารมณ์จิตตรงนี้เป็นอารมณ์จิตของพระอรหันต์ | |||||||
1. กายานุปัสสนา (เห็นกายในกาย) | 1.1 หลักในการพิจารณากายานุปัสสนา | 1.2 หลักปฏิบัติเพื่อบรรลุการเป็นพระอรหันต์ | ||||||||
อานาปานบรรพ : กำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ เข้า-ออก สั้นหรือยาว ป้องกันอารมณ์ฟุ้งซ่านอิริยาบทบรรพ : กำหนดรู้ว่าร่างกายกำลังอยู่ในอิริยาบทใด “ นั่ง ยืน เดิน นอน”สัมปชัญญะบรรพ : กำหนดรู้ตัวทั่วพร้อมว่ากำลังอยู่ในอิริยาบทใด หรือรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ปฏิกูลบนสิการบรรพ : พิจารณาร่างกายประกอบด้วยอาการ 32 อย่าง ตั้งแต่หัวจรดเท้า ล้วนแต่สกปรกธาตุมนสิการบรรพ : พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ล้วนแต่สกปรกนวสีวกิถาบรรพ : พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ ล้วนแต่สกปรก | ร่างกายภายในก็ดี (ตัวเรา) ร่างกายภายนอก (ผู้อื่น) ก็ดี มันมีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไป ท่านทั้งหลายจงอย่าไปสนใจในกาย เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เมื่ออาศัยอยู่ก็รู้ว่าเราอาศัยอยู่ จงไม่ยึดในร่างกาย และไม่ยึดถืออะไรทั้งหมดในโลกนี้ เพราะขืนยึดถือมันก็จะทำให้เกิดความทุกข์ (อุปาทานขันธ์ 5) “ร่างกาย (ขันธ์ 5) นี้ไม่ใช่เรา (จิต) ไม่ใช่ของเรา (จิต)”เวลาปฏิบัติจริง ปฏิบัติพร้อมกันทุกบรรพ ต่อเนื่องกันตั้งแต่ อานาปานสติ – อิริยาบถ – สัมปชัญญะ – ปฏิกูล – ธาตุ 4 – นวสี (ซากศพ) | จิตคิดไว้เสมอว่าร่างกาย (ขันธ์ 5) เต็มไปด้วยความสกปรก มีสภาพไม่ทรงตัว มีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีการแปรปรวนในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด (ตามหลักไตรลักษณ์) การมีขันธ์ 5 เป็นปัจจัยของความทุกข์สิ่งที่เราต้องการคือ ดินแดนอมตะที่ปราศจากขันธ์ (ดินแดนพระนิพพาน) ที่ปราศจากโลภะ (ความโลภ) ปราศจากโทสะ (ความโกรธ) ปราศจากโมหะ (ความหลง)หากตัดกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) ได้ทั้งหมด ก็บรรลุการเป็น ”พระอรหันต์” | ที่มาของข้อมูล : ธรรมเทศนาเรื่อง “มหาสติปัฎฐานสูตร” โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ |
6.4 มหาสติปัฎฐานสูตร
สรุปหลักวิปัสสนา
โดย : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
หลักวิปัสสนาเพื่อการบรรลุพระนิพพาน
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรทรงตัว มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมลง (อนิจจัง) ในท่ามกลาง มีการสลายตัว (อนัตตา) ในที่สุด เพราะเป็นกฎธรรมดา (ธรรมชาติ) เรา (จิต) จะต้องไม่ไปยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งทั้งปวง โดยเฉพาะร่างกายว่าเป็นเรา เป็นของเรา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น (แก่ เจ็บ ตาย) เราก็ไม่ทุกข์ เพราะเรา (จิต) ยอมรับว่าเป็นกฎธรรมดา
เรา (จิต) ไม่มีในร่างกาย (ขันธ์ 5) ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกาย (ขันธ์ 5) นี้เป็นเพียงที่อาศัยอยู่เพียงชั่วคราวของจิต เมื่อร่างกายเสื่อมลงและสลายตัว (ตาย = ดับ) จิต (เรา) วิญญาณก็ออกร่างเดิมไปเกิดใหม่ตามกรรมที่สร้างไว้
ดังนั้น เรา (จิต) จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ในโลกนี้ จิตก็จะคลายออกจากสิ่งทั้งปวงโดยเฉพาะกิเลส ซึ่งประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ และโลกธรรม 8 (ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์)
6.4.1 พิจารณาขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์
• “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง (อนิจจัง) เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงวิญญาณไม่เที่ยง; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป…แม้ในเวทนา…แม้ในสัญญา…แม้ในสังขารทั้งหลาย…แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก(วิราคะ), เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น (วิมุตติ); เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว; ย่อมรู้ชัดว่า สิ้นเกิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ปัจจัยบีบคั้นได้;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตน (อนัตตา) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เป็นตน;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “รูป…เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง (อนิจจัง) สิ่งนั้นปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์), สิ่งใดมีปัจจัยบีบคั้นได้ สิ่งนั้นไม่เป็นตน (อนัตตา), สิ่งใดไม่เป็นตน สิ่งนั้นอริย-สาวก พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา” ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น” ไม่ใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เป็นตน (เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่เป็นตน), หากว่ารูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) นี้ จักได้เป็นตนแล้วไซร้ รูป ฯลฯ ก็ต้องไม่เป็นไปเพื่อความข้องขัด (อาพาธ) และก็พึงได้ (ตามความประสงค์) ในรูป ฯลฯ ว่า ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงเป็นอย่างนี้ ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงอย่าได้เป็นอย่างนี้; แต่เพราะรูป ฯลฯ ไม่เป็นอัตตา ฉะนั้น รูป ฯลฯ จึงเป็นไปเพื่อความข้องขัด และบุคคลก็ไม่ได้ (ตามความประสงค์) ในรูป ฯลฯ ว่า ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงเป็นอย่างนี้ ขอรูป ฯลฯ ของเรา อย่าได้เป็นอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เธอเข้าใจอย่างไร: รูป (เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง?” (ไม่เที่ยง…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นภาวะบีบคั้น (ทุกข์) หรือเป็นภาวะคล่องสบาย (สุข)?” (เป็นภาวะบีบคั้น…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะมองเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา?” (ไม่ควร…) “เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน…รูปทั้งปวงนั้น พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา”, ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น”, ไม่ใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”; เมื่อมองเห็นอย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งไกลทั้งใกล้ ภิกษุย่อมมองดูรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) นั้น ย่อมพินิจ ย่อมตรองดูโดยแยบคาย, เมื่อเธอมองดู พินิจ ตรองดูโดยแยบคาย ย่อมปรากฏแต่สิ่งที่ว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้เลย, แก่นสารในรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) จะพึงมีได้อย่างไร; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมหายติด ฯลฯ”
6.5 โลกุตตรภูมิ
ไตรสิกขา | พระอริยบุคคล | ละสังโยชน์ |
อธิศีลสิกขา (ศีล) | พระโสดาบัน (ศีล) | ①②③ |
พระสกิทาคามี (ศีล) | ①②③ และละกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) บางส่วน | |
อธิจิตตสิกขา (สมาธิ) | พระอนาคามี | ①②③④⑤ |
(ศีลและสมาธิ) | + ละกิเลส (โลภะ โทสะ โมหะ) | |
อธิปัญญาสิกขา (ปัญญา) (วิปัสสนา)) | พระอรหันต์ (ศีล สมาธิ ปัญญา) | ①②③④⑤⑥⑦⑧⑨⑩ |
+ ละกิเลสหมดสิ้น |
สังโยชน์ 10
ละสังโยชน์ที่ ธรรมปฏิบัติ 2
- สักกายทิฏฐิ : ระลึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องตาย ขันธ์ 5 (ร่างกาย) ไม่ใช่จิต (เรา) ไม่ใช่ของจิต (เรา)
เป็นคู่ปรับกับ ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ 3
ละสักกายทิฎฐิด้วยอสุภกรรมฐาน
- วิจิกิจฉา : ไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
- สีลัพพตปรามาส : รักษาศีลโดยเคร่งครัด (ฆราวาส ศีล 5 / เณร ศีล 10 / พระ ศีล 227)
- กามฉันทะ : ละความพอใจในกาม ละความกำหนัดในเมถุน ด้วยกายคตานุสสติกรรมฐาน
- ปฏิฆะ : ละความไม่พอใจ กระทบกระทั่ง
- รูปราคะ : เรา (จิต) ไม่หลงไหลในรูปฌาน หรือรูปขันธ์ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ) 3
- อรูปราคะ : เรา (จิต) ไม่หลงไหลในอรูปฌาน หรือนามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) 3
- มานะ : เรา (จิต) ตัดความถือตัวถือตน ด้วยการเปรียบเทียบ เป็นคู่ปรับกับอนัตตา3
- อุทธัจจะ : เรา (จิต) จะไม่ทำให้อารมณ์ฟุ้งซ่านไปในธรรม มีเฉพาะอารมณ์พระนิพพาน
ระงับความฟุ้งซ่านด้วย “อานาปานสติกรรมฐาน”
- อวิชชา : เรา (จิต) จะทำลายความโง่ ด้วยการเข้าถึงอริยสัจ 4 อวิชชา สังโยชน์ ไม่รู้ขันธ์
ที่เป็นอดีต 1 อนาคต 1 ปัจจุบัน 1 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 1 รวมเป็น 8
อย่างที่ไม่รู้ (อวิชชาสังโยชน์) 3
ที่มาของข้อมูล : 1 : “พุทธธรรม” โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
2 : “ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน” โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
2 : “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา11 : โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ (หน้า 34, 39, 40, 41)
ที่มาของข้อมูลทั้งหมดของภาคผนวก : “พุทธธรรม” โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
1.1 อายตนะ 6
แดนรับรู้และเสพเสวยโลก
ตัวสภาวะ
อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆ ว่า ทางรับรู้ มี 6 อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะพวกแรกว่า “อายตนะภายใน” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน) และเรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่า “อายตนะภายนอก” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)
อายตนะภายนอก 6 อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “อารมณ์” แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆ ว่าสิ่งที่ถูกรับรู้หรือสิ่งที่ถูกรู้นั่นเอง
เมื่ออายตนะ (ภายใน) ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า เห็น หูกระทบเสียงเกิดความรู้ เรียกว่าได้ยิน เป็นต้น ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง คือรู้อารมณ์
ดังนั้น จึงมีวิญญาณ 6 อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ 6 คู่ คือ วิญญาณทางตา ได้แก่ เห็นวิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจ
สรุปได้ว่า อายตนะ 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ มีชื่อในภาษาธรรม และมีความเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้
1. จักขุ – ตา เป็นแดนรับรู้ รูป – รูป เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ – เห็น
2. โสตะ – หู ” สัททะ – เสียง ” โสตวิญญาณ – ได้ยิน
3. ฆานะ – จมูก ” คันธะ – กลิ่น ” ฆานวิญญาณ – ได้กลิ่น
4. ชิวหา – ลิ้น ” รส – รส ” ชิวหาวิญญาณ – รู้รส
5. กาย – กาย ” โผฏฐัพพะ – สิ่งต้องกาย ” กายวิญญาณ – รู้สิ่งต้องกาย
6. มโน – ใจ ” ธรรม47 – เรื่องในใจ ” มโนวิญญาณ – รู้เรื่องในใจ
กระบวนการรับรู้เท่าที่กล่าวมานี้ เขียนให้เห็นง่ายๆ ได้ดังนี้
อายตนะ + อารมณ์ + วิญญาณ = ผัสสะ เวทนา
ทางรับรู้ สิ่งที่ถูกรู้ ความรู้ การรับรู้ ความรู้สึกต่ออารมณ์
“อาศัยตาและรูป เกิดจักขุวิญญาณ, ความประจวบแห่งธรรมทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี, บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา), หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (วิตักกะ), ตริตรึกอารมณ์ใด ย่อมผันพิสดารซึ่งอารมณ์นั้น (ปปัญจะ), บุคคลผันพิสดารซึ่งอารมณ์ใด เพราะการผันพิสดารนั้นเป็นเหตุ
ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ55 (สัญญาที่ซับซ้อนหลากหลาย) ย่อมผุดพลุ่งสุมรุมเขา ในเรื่องรูปทั้งหลาย ที่พึงรู้ได้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน”
พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ
• “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงแก่พวกเธอซึ่ง “สรรพสิ่ง” (สิ่งทั้งปวง, ครบหมด, ทุกสิ่งทุกอย่าง), จงฟังเถิด; อะไรเล่าคือ สรรพสิ่ง: ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ – นี้เราเรียกว่า สรรพสิ่ง”
• “พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า “โลก โลก” ดังนี้, ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีโลก หรือบัญญัติว่าเป็นโลก?”
“ดูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ, ที่นั่นก็มีโลกหรือบัญญัติว่าเป็นโลก, ที่ใดมีหู…มีจมูก…มีลิ้น…มีกาย…มีใจ มีธรรมารมณ์ มีมโนวิญญาณ มีสิ่งอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ ที่นั้นก็มีโลกหรือบัญญัติว่าโลก”
• “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดโลก เป็นสิ่งที่รู้ได้ เห็นได้ ถึงได้ ด้วยการไป, แต่เราก็ไม่กล่าวเช่นกันว่า บุคคลยังไม่ถึงที่สุดโลก จะทำความสิ้นทุกข์ได้”
(พระอานนท์กล่าว:) “ข้อความที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ยังมิได้ทรงแจกแจงเนื้อความโดยพิสดารนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจความโดยพิสดารดังนี้: บุคคลย่อมสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลกด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นเรียกว่า “โลก” ในอริยวินัย.”
“ด้วยอะไรเล่า คนจึงสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก? ด้วยตา…ด้วยหู….ด้วยจมูก….ด้วยลิ้น….ด้วยกาย….ด้วยใจ คนจึงสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก”
• “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอุทัยพร้อม และการอัสดงแห่งโลก, จงฟังเถิด. “การอุทัยพร้อมแห่งโลกเป็นไฉน? อาศัยตา และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ, ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น คือ ผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี, เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี, เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี, เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี, เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี, เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสก็มีพร้อม; นี้คือการอุทัยพร้อมแห่งโลก”
1.2 ชีวิตคืออะไร?
ชีวิตตามสภาพของมันเอง
ขันธ์ 5
ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต
โดยวิธีแบ่งแบบขันธ์ 5 (The Five Aggregates) พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมดที่บัญญัติเรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ 5 ประเภท หรือ 5 หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ
1. รูป (Corporeality) ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย และพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติการณ์ต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น
2. เวทนา (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง 5 และทางใจ
3. สัญญา (Perception) ได้แก่ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์20 (object) นั้นๆ ได้
4. สังขาร (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา21 ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวมอย่างง่ายๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม
5. วิญญาณ (Consciousness) ได้แก่ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และทางใจ คือ การเห็นการได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ
ขันธ์ 4 ข้อหลัง ซึ่งเป็นพวกนามขันธ์
นามขันธ์ 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กัน การเกิดขึ้นของนามขันธ์ทั้งสี่เหล่านั้น ตามปกติจะดำเนินไปตามกระบวนธรรมดังนี้
“เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ + รูป เสียง ฯลฯ + วิญญาณ) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึงมี; บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา), หมายรู้อารมณ์ใดย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)…..”
สิ่งที่ควรศึกษาในที่นี้ ก็คือคำว่า “ขันธ์” กับ “อุปาทานขันธ์” ซึ่งขอให้พิจารณาตามพุทธพจน์ ต่อไปนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เธอทั้งหลายจงฟัง”
“ขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม…เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ 5”
“อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ)… เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5”
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทานเธอทั้งหลายจงฟัง”
“รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทราคะ (ความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด) ในรูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ นั้นคืออุปาทาน ใน (สิ่ง) นั้นๆ”
2.1 ชีวิตเป็นอย่างไร?
ไตรลักษณ์
ลักษณะโดยธรรมชาติ 3 อย่างของสิ่งทั้งปวง
มีหลักธรรมใหญ่อยู่ 2 หมวด ที่ถือได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงในรูปของกฎธรรมชาติ คือ ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาท
ความจริงธรรมทั้ง 2 หมวดนี้ถือได้ว่าเป็นกฎเดียวกัน แต่แสดงในคนละแง่หรือคนละแนว เพื่อมองเห็นความจริงอย่างเดียวกัน คือ ไตรลักษณ์ มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งทั้งหลายซึ่งปรากฏให้เห็นว่าเป็นอย่างนั้น ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นไปโดยอาการที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันตามหลักปฏิจจสมุปบาท ส่วนหลักปฏิจจสมุปบาท ก็มุ่งแสดงถึงอาการที่สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กันเป็นกระแส จนมองเห็นลักษณะได้ว่าเป็นไตรลักษณ์
สำหรับไตรลักษณ์นั้น มีพุทธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติ ว่าดังนี้
“ตถาคต (พระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้นก็ดำรงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า
1. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง …
2. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ …
3. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา …
ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง …สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ …ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา”
ไตรลักษณ์นี้ ในอรรถกถาบางทีเรียกว่า “สามัญลักษณะ” ในฐานะเป็นลักษณะร่วม ที่มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ไม่ว่าสังขตะคือสังขาร หรืออสังขตะคือวิสังขาร ก็ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น
เพื่อความเข้าใจง่าย ๆ จะแสดงความหมายของไตรลักษณ์ (The Three Characteristics of Existence) โดยย่อ ดังนี้
1. อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อม และสลายไป
2. ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน
3 อนัตตตา (Soullessness หรือ Non-Self) ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนจริงแท้ที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสั่งบังคับให้เป็นไปอย่างไรๆ ได้
พุทธพจน์แสดงไตรลักษณ์ในกรณีของขันธ์ 5 มีตัวอย่างที่เด่น ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ เป็นอนัตตา หากรูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ จักเป็นอัตตา (ตัวตน) แล้วไซร้ มันก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามปรารถนาในรูป ฯลฯ ในวิญญาณว่า “ขอรูป…ขอเวทนา…ขอสัญญา…ขอสังขาร…ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” แต่เพราะเหตุที่รูป ฯลฯ วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป ฯลฯ วิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ไม่อาจได้ตามความปรารถนา ในรูป ฯลฯ วิญญาณ ว่า “ขอรูป…ขอเวทนา…ขอสัญญา…ขอสังขาร…ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมีความเห็นเป็นไฉน?”
“รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?” (ตรัสถามทีละอย่าง จนถึง วิญญาณ)
“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข?”
“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเฝ้าเห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา?”
“ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในและภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้องตามที่มันเป็นว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
คำอธิบายไตรลักษณ์ตามหลักวิชาในคัมภีร์
1. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง
2. สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์
3. ธรรม ทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา
สังขาร คือ สังขตธรรมทั้งปวง ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ ตามหลักข้อ 1 และข้อ 2 แห่งไตรลักษณ์ (และเป็นอนัตตาด้วยตามหลักข้อ 3) แต่อสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิพพาน ไม่ขึ้นต่อภาวะเช่นนี้
ธรรมทั้งปวง คือ ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งสังขารและมิใช่สังขาร คือสภาวะทุกอย่างทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้งนิพพาน เป็นอนัตตา คือไร้ตัว มิใช่ตน
อสังขตธรรม หรือวิสังขาร คือนิพพาน พ้นจากภาวะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ แต่ก็เป็นอนัตตา ไร้ตัว มิใช่ตน ส่วนธรรมอื่นนอกจากนั้น คือสังขารหรือสังขตธรรมทั้งหมด ทั้งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังความในบาลีแห่งวินัยปิฏกผูกเป็นคาถายืนยันไว้ว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา
1. สังขาร ในขันธ์ 5: รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
2. สังขาร ในไตรลักษณ์: สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ขอนำความหมายทั้ง 2 นัยนั้นมาทบทวน โดยเข้าคู่เทียบให้เปรียบกันดู ดังนี้
1. สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ 4 ในขันธ์ 5 หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจาให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกง่ายๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น (คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ 50 อย่าง เรียกว่า เจตสิก 50 ในจำนวนทั้งหมด 52) ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ
2. สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน
จะเห็นว่า “สังขาร” ในขันธ์ 5 มีความหมายแคบกว่า “สังขาร” ในไตรลักษณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง ความต่างกันและแคบกว่ากันนี้ เห็นได้ชัดทั้งโดยความหมายของศัพท์ (สัททัตถะ) และโดยองค์ธรรม
2.4 อุปาทานขันธ์ 5
2.5 ทุกข์
อุปาทานขันธ์ 5 คืออะไร? ก็คือ ขันธ์ 5 ที่มีอุปาทานยึดถือยึดครอง ท่านใช้คำแบบทางการว่า “ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน” จะว่าขันธ์ 5 ที่เกิดจากอุปาทาน เป็นที่วุ่นวายของอุปาทาน หรือที่รับใช้อุปาทาน ก็ได้ทั้งนั้น เป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาอุปาทาน อันนี้แหละคือ ทุกข์ที่เป็นข้อ 1 ในอริยสัจ 4 เมื่อได้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่จะมองแล้ว ก็มาศึกษาพุทธพจน์ที่ตรัสในเรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่ดูความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ 5 กับอุปาทานขันธ์ 5 (เคยแสดงในบทว่าด้วยขันธ์ 5) ขอยกมาดูอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เธอทั้งหลายจงฟัง”
“ขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม…เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ 5”
“อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน? รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ)… เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5”
ใครไปยึดขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้นเข้า ก็กลายเป็นอุปาทานขันธ์ 5 เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา
ตัวอย่างที่ตรัสถึงขันธ์ 5 ตามหลักไตรลักษณ์
“ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง (อนิจจัง) เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง;…
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้ (ทุกข์) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ปัจจัยบีบคั้นคงสภาพอยู่มิได้;…
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตัวตน (อนัตตา) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เป็นตัวตน; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป…แม้ในเวทนา…แม้ในสัญญา…แม้ในสังขารทั้งหลาย…แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก (วิราคะ), เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว; ย่อมรู้ชัดว่าสิ้นกำเนิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้”
ภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลคือทุกขอริยสัจ: ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้น ก็เป็นทุกข์, โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกข์เป็นไฉน? ทุกข์นั้น พึงกล่าวว่า คืออุปาทานขันธ์ 5. อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน? คือ รูปอุปาทานขันธ์ 1 เวทนาอุปาทานขันธ์ 1 สัญญาอุปาทานขันธ์ 1 สังขาร อุปาทานขันธ์ 1 วิญญาณอุปาทานขันธ์ 1, ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน? คือ ตัณหา อันนำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ ครุ่นใคร่ใฝ่หาในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธเป็นไฉน? คือ ความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั่นแล ความสละ ความไถ่ถอนเสียได้ ความหลุดพ้น ความไม่ติดค้าง ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ.
ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? คือ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ 8 นี้กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
3. อนัตตตา และอนัตตลักษณะ
1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา – สังขาร ทั้งปวง ไม่เที่ยง
2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา – สังขาร ทั้งปวง เป็นทุกข์
3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา – ธรรม ทั้งปวง เป็นอนัตตา
หลักธรรมนิยามแบบขยายความได้ ดังนี้
1. สังขาร คือ สังขตธรรม (ขันธ์ 5) ทั้งปวง ไม่เที่ยง
2. สังขาร คือ สังขตธรรม (ขันธ์ 5) ทั้งปวง เป็นทุกข์
3. ธรรม คือ สังขตธรรม และอสังขตธรรม ทั้งปวง ไม่มีไม่เป็นอัตตา
(การยึดถือ)อัตตามีแค่ที่มีขันธ์ 5 และมีเพราะไปยึดมั่นขันธ์ 5 นั้นไว้ ตามพุทธพจน์ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดถืออะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นว่า นั่นของเรา, เราเป็นนั่น, นั่นเป็นอัตตา/ตัวตนของเรา …
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป … เมื่อเวทนา … เมื่อสัญญา … เมื่อสังขาร … เมื่อวิญญาณมีอยู่เพราะอาศัย (รูป … เวทนา … สัญญา … สังขาร …) วิญญาณ เพราะยึดมั่น (รูป … เวทนา …สัญญา … สังขาร …) วิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นว่า นั่นของเรา, เราเป็นนั่น, นั่นเป็นอัตตา/ตัวตนของเรา”
ความเป็นไปนี้ จึงไม่มีทั้งตัวตน (อัตตา) ไม่มีทั้งตัวอื่น
“ธรรมทั้งหลายยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น โดยความประกอบพร้อมแห่งเหตุปัจจัย, พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อความดับแห่งเหตุทั้งหลาย. เมื่อเหตุทั้งหลายระงับไป วงจร (วัฏฏะ) ขาด ก็ไม่หมุนต่อไป, ชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ย่อมมีเพื่อการทำความจบสิ้นทุกข์อย่างนี้. เมื่อหาตัวสัตว์ไม่ได้ จึงไม่มีทั้งขาดสูญ ไม่มีทั้งเที่ยงแท้ยั่งยืน”
กล่าวโดยสรุป หลักอนัตตาช่วยให้เกิดความกระจ่างแจ้ง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันและมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับหลักการต่อไปนี้ คือ
ก. ปฏิเสธทั้งลัทธิที่ถือว่าเที่ยง (สัสสตวาท) และลัทธิที่ถือว่าขาดสูญ (อุจเฉทวาท)
ข. ปฏิเสธลัทธิที่ถือว่ามีเทพสูงสุดผู้สร้างสรรค์บันดาลโลก กำหนดโชคชะตาชีวิตของมนุษย์ (อิศวรนิรมิตวาท)
ค. เป็นเครื่องสนับสนุนหลักกรรมตามความหมายของพุทธธรรม พร้อมกันนั้นก็ปฏิเสธลัทธิที่ถือว่าการกระทำไม่มีผล ทำไม่เป็นอันทำ (อกิริยวาท) ปฏิเสธลัทธิกรรมเก่า (ปุพเพกตวาท เช่น ลัทธินิครนถ์) ปฏิเสธลัทธิกรรมแบบมีอาตมัน หรือลัทธิกรรมแบบมีวรรณะ (เช่น ลัทธิฮินดู) ปฏิเสธลัทธิเสี่ยงโชคที่ถือว่า ทุกอย่างเป็นไปอย่างเลื่อนลอยสุดแต่ความบังเอิญ ไม่มีเหตุปัจจัย (อเหตุวาท) และปฏิเสธลัทธิที่ถือว่าไม่มีอะไรเลย (นัตถิกวาท)
ง. แสดงลักษณะแห่งบรมธรรม (ธรรมสูงสุด คือจุดหมายสุดท้าย) ของพระพุทธศาสนา ซึ่งต่างจากจุดหมายของลัทธิศาสนาจำพวกอาตมวาท (ลัทธิที่ถือว่ามีอาตมันหรืออัตตา เช่น ศาสนาฮินดู เป็นต้น)
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา, มิใช่เราเป็นนั่น, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
“อนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะนั้น พระตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ก็ย่อมปรากฏ, แต่อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ นอกจากพระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้น, จะปรากฏก็แต่ในอุบัติกาลของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ก. ความรู้เท่าทันสภาวะของไตรลักษณ์
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดถืออะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นว่า นั่นของเรา, เราเป็นนั่น, นั่นเป็นอัตตา/ตัวตนของเรา…
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป…เมื่อเวทนา…เมื่อสัญญา…เมื่อสังขาร…เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย (รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…) วิญญาณ เพราะยึดมั่น (รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…) วิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นว่า นั่นของเรา, เราเป็นนั่น, นั่นเป็นอัตตา/ตัวตนของเรา”
“ภิกษุทั้งหลาย รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญาตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”
“ภิกษุทั้งหลาย รูป…เวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ ไม่เที่ยง…เป็นทุกข์…เป็นอนัตตา, แม้สภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้รูป ฯลฯ วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง…เป็นทุกข์…เป็นอนัตตา, รูป ฯลฯ วิญญาณ ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เที่ยง…เป็นทุกข์…เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง…เป็นสุข…เป็นอัตตา ได้จากที่ไหน”
– เร่งทำกิจ และเตรียมการเพื่ออนาคต
“ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย, ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย. ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย, คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว ฯลฯ ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจอยู่ ย่อมประสบความสุขอันไพบูลย์.”
“เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท.”
“บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่.”
“อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย…พึงถอนลูกศรที่เสียบตัวออกเสีย ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชา.”
“รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ (ชีวิต) ตน ก็ควรรีบลงมือทำ”
“ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ. ทั้งที่ยังหนุ่มแน่นมีกำลัง กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิดให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่ ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา.”
6.3 ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร?
ข้อควรทราบเพิ่มเติมเพื่อเสริมความเข้าใจ
สมถะ – วิปัสสนา, เจโตวิมุตติ – ปัญญาวิมุตติ
สมถะ – วิปัสสนา
สมถะ แปลง่ายๆ ว่าความสงบ แต่ที่ใช้ทั่วไป หมายถึงวิธีทำใจให้สงบ ขยายความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่งของสมถะ คือสมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน
หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า “อารมณ์”) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียกกันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความแน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิตนี้ เรียกว่า “สมาธิ”
เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า ”ฌาน” ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่างๆ ระดับที่กำหนดเอารูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า รูปฌาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ฌาน มี 4 ขั้น ระดับที่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์เรียกว่า อรูปฌาน มี 4 ขั้น ทั้งรูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 เรียกรวมกันว่า สมาบัติ (8) ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุดหรือติดข้องอย่างใดๆ เรียกว่าปราศจากนิวรณ์ ท่านอนุโลมเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นจากกิเลสตลอดเวลาที่ยังอยู่ในฌานนั้นๆ (แต่เมื่อออกจากฌานแล้ว กิเลสกลับมีได้อย่างเดิม ท่านจึงเรียกว่าเป็นวิกขัมภนนิโรธ หรือวิกขัมภน-วิมุตติ คือ ดับกิเลส หรือหลุดพ้นด้วยเอาสมาธิข่มไว้ ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น)
วิปัสสนา แปลง่ายๆ ว่า การเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง หมายถึงข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะของมัน คือให้เข้าใจตามความเป็นจริงหรือตามที่สิ่งเหล่านั้นมันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็น ด้วยความชอบ ความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจของเรา) รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิด รู้ผิด และยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตใหม่ ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจ และความรู้สึกทั้งหลาย ความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ มีหลายระดับญาณสำคัญในขั้นสุดท้ายเรียกว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา คือความหลงผิดไม่รู้แจ้งไม่รู้จริงให้หมดไป
ภาวะจิตที่มีญาณหรือวิชชานั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส และเป็นอิสระ เพราะลอยตัวพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส เช่น ความชอบความชัง ความติดใจและความขัดใจ เป็นต้น ไม่ถูกบังคับหรือชักจูงโดยกิเลสเหล่านั้น ให้มองเห็นหรือรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างบิดเบือน จนพาความคิดและการกระทำที่ติดตามมาให้หันเหเฉไป และไม่ต้องเจ็บปวด หรือเร่าร้อน เพราะถูกบีบคั้นหรือต่อสู้กับกิเลสเหล่านั้น ญาณ และวิชชา จึงเป็นจุดมุ่งของวิปัสสนา เพราะนำไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้นเป็นอิสระที่แท้จริง ซึ่งยั่งยืนถาวร (ท่านเรียกว่า สมุจเฉทนิโรธ หรือ สมุจเฉทวิมุตติ แปลว่า ดับกิเลส หรือหลุดพ้นโดยเด็ดขาด)
ถ้าพูดอย่างรวบรัด ก็ว่า ผลที่มุ่งหมายของสมถะ คือฌาน ผลที่มุ่งหมายของวิปัสสนา คือญาณ หรือว่าสมถะนำไปสู่ฌาน วิปัสสนานำไปสู่ญาณ
ผู้ปฏิบัติสมถะ (สำนวนแบบเรียกว่า บำเพ็ญ หรือเจริญสมถะ) อาจทำแต่สมถะอย่างเดียวโดยมุ่งหวังจะชื่นชมเสพผลของสมถะ คือฌานสมาบัติ และอภิญญาทั้ง 5 ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาเลยก็ได้ เรียกว่า หยุดอยู่เพียงขั้นสมาธิ ไม่ก้าวไปถึงขั้นปัญญา
แต่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ต้องอาศัยสมถะไม่มากก็น้อย คือ อาจเจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติก่อนแล้ว จึงก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือเอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนา (เรียกว่าเจริญวิปัสสนา ที่มีฌานเป็นบาท) ก็ได้ อาจเริ่มเจริญวิปัสสนาไปก่อนแล้ว จึงเจริญสมถะตามหลัง ก็ได้ หรืออาจเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ก็ได้ แม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าเจริญแต่วิปัสสนาอย่างเดียวล้วน (สุทธวิปัสสนายานิก) ไม่อาศัยสมถะเลย ก็หมายถึง ไม่อาศัยสมถะในความหมายโดยนิปริยาย หรือความหมายจำเพาะที่เคร่งครัด คือไม่ได้ทำสมถะจนได้ฌานสมาบัติก่อนเจริญวิปัสสนา แต่ตามความเป็นจริงก็อาศัยสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ อาศัยสมาธินั่นเอง สมาธิของผู้เจริญวิปัสสนาแบบนี้ อาจเริ่มต้นด้วยขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ) ก็ได้ แต่เมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นจะแน่วแน่สนิท (เป็นอัปปนาสมาธิ) ถึงระดับปฐมฌาน (ฌานที่ 1 หรือ รูปฌานที่ 1) ผลที่เกิดจากสมถะอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นฌานสมาบัติหรืออภิญญาที่สูงพิเศษเพียงไร ก็ยังเป็นโลกีย์ เป็นของปุถุชน คือคนมีกิเลส เสื่อมถอยได้ เช่น ฤทธิ์ที่พระเทวทัตได้เจโตวิมุตติของพระโคธิกะ และฌานสมาบัติของพระภิกษุสามเณร ฤาษี และคฤหัสถ์บางท่าน ที่มีเรื่องเล่าต่อกันมาในคัมภีร์ต่างๆ
เจโตวิมุตติ – ปัญญาวิมุตติ
วิมุตติ หรือความหลุดพ้นนั้น ในระดับสูงสุด ใช้ในความหมายต่างกัน แยกได้เป็น 3 อย่าง คือ
อย่างแรก การหลุดพ้น กิริยาที่หลุดพ้นออกมาได้ หรืออาการที่เป็นไปในขณะหลุดพ้นเป็นอิสระ วิมุตติในความหมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็น มรรค
อย่างที่สอง ความเป็นผู้หลุดพ้น คือความเป็นอิสระในเมื่อหลุดพ้นออกมาได้แล้ว วิมุตติในความหมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็น ผล
อย่างที่สาม ภาวะแห่งความเป็นผู้หลุดพ้น ภาวะแห่งความเป็นอิสระที่ผู้หลุดพ้นหรือผู้เป็นอิสระนั้นเข้าถึง และรู้สึกได้ ซึ่งอำนวยความดีงามต่างๆ มีความสุขสบายปลอดโปร่งโล่งใจเป็นต้น และภาวะแห่งความเป็นอิสระเช่นนั้น ที่ผู้ยังไม่หลุดพ้นกำหนดเป็นอารมณ์ เช่น นึกถึง คำนึงถึง หน่วงเอาเป็นจุดหมายในใจ เป็นต้น
วิมุตติในความหมายอย่างนี้ คือที่ใช้เป็นไวพจน์ของนิพพาน คือหมายถึง นิพพาน นั่นเอง
วิมุตติที่เป็นผล โดยเฉพาะอรหัตตผลนั้น ท่านมักแยกให้เห็นชัดเป็น 2 ด้าน คือ เป็น เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ
เจโตวิมุตติ คือความหลุดพ้นทางด้านจิต แปลกันว่า ความหลุดพ้นแห่งจิต หรือความหลุดพ้นด้วยกำลังจิตคือ ด้วยสมาธิ หมายถึง ภาวะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลาย (ราคะ ในที่นี้ และในบาลีทั่วไป ไม่มีความหมายแคบอย่างที่เข้าใจกันในภาษาไทย คือ ไม่ใช่เรื่องกามเท่านั้น แต่หมายถึง ความติดใจ ความใคร่ ในอารมณ์ต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เป็นไวพจน์ของตัณหา และกินความถึงโทสะด้วย เพราะโทสะก็คือแรงผลักที่เป็นปฏิกิริยาของราคะนั่นเอง)
ปัญญาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้านปัญญา แปลกันว่า ความหลุดพ้นด้วยปัญญา แต่ควรแปลว่าความหลุดพ้นแห่งปัญญาด้วย เพราะหมายถึง ปัญญาบริสุทธิ์ หรือความรู้ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่มีกิเลสบดบังหรือบิดเบือน ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บรรลุอรหัตตผล ในเมื่อปัญญานั้นกำจัดอวิชชาได้แล้ว ทำให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งปวง ดังบาลีว่า “เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโตวิมุตติ, เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงมีปัญญาวิมุตติ” อรรถกถาอธิบายว่า เจโตวิมุตติ ได้แก่ ผลสมาธิ หรืออรหัตตผลสมาธิ หรืออรหัตตผลจิต (สมาธิหรือจิตอันตั้งมั่น ที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์) และว่า ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ผลญาณ หรือผลปัญญา หรืออรหัตตผลญาณ หรืออรหัตตผลปัญญา2 (ฌานหรือปัญญาที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์) ผู้บรรลุอรหัตตผล จะต้องได้เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตตินี้ ครบทั้งสองอย่างทุกบุคคล คำทั้งสองนี้จึงมาคู่กันเสมอ ในข้อความที่กล่าวถึงการบรรลุอรหัตตผล ดังบาลีว่า “เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงทำให้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ ในปัจจุบันนี้ทีเดียว”
เจโตวิมุตติเป็นผลของสมถะ ปัญญาวิมุตติเป็นผลของวิปัสสนา พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า คำคู่นี้ แสดงให้เห็นว่า สมถะและวิปัสสนา จะต้องมาควบคู่กัน แม้ในขั้นผล เช่นเดียวกับในขั้นมรรค (แม้ว่าสมถะที่ต้องการในที่นี้ อาจจะเป็นเพียงสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ สมาธิเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นสมถะที่ฝึกกันเป็นงานเป็นการจนได้อภิญญาสมาบัติ) ข้อนี้สมด้วยบาลีว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 2 อย่างนี้ เป็นวิชชาภาคิยธรรม (ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชาหรือธรรมข้างฝ่ายวิชชา คือธรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดวิชชา) ได้แก่ สมถะ และ วิปัสสนา”
“สมถะ เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? (ตอบ) จิตจะได้รับการเจริญ, จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? (ตอบ) ละราคะได้”
“วิปัสสนา เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? (ตอบ) ปัญญาจะได้รับการเจริญ, ปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? (ตอบ) ละอวิชชาได้”
“ภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาก็ดีที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมเจริญไม่ได้, ด้วยประการดั่งนี้ เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโตวิมุตติ, เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงมีปัญญาวิมุตติ”
วิมุตติ 5 นั้น คือ
1) วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยข่ม (กิเลส) ไว้ คือระงับนิวรณ์เป็นต้นได้ด้วยอำนาจสมาธิ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 แต่บางทีท่านยอมให้ผ่อนลงมารวมถึงอุปจารสมาธิด้วย
2) ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยองค์ธรรมจำเพาะ คือ พ้นอกุศลอย่างหนึ่งๆ ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปฏิปักษ์กัน ว่าตามความหมายอย่างเคร่ง หรือความหมายมาตรฐาน ได้แก่ พ้นความเห็นผิดยึดถือผิด ด้วยอาศัยญาณคือความรู้ฝ่ายวิปัสสนาที่ตรงข้ามเป็นคู่ปรับกัน เช่น พิจารณาความไม่เที่ยง ทำให้พ้นความสำคัญหมายว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น แต่ว่าตามความหมายที่ผ่อนลงมา ใช้ได้กับความดีความชั่วทั่วๆ ไป เช่น น้อมใจดิ่งไปทางทาน ทำให้พ้นจากความตระหนี่และความโลภ น้อมใจดิ่งไปทางเมตตา ทำให้พ้นจากพยาบาทหรือการมองในแง่ร้าย พุ่งความคิดไปทางกรุณาหรืออหิงสา ทำให้พ้นจากวิหิงสาคือการข่มเหงเบียดเบียนและความรุนแรง เป็นต้น
วิมุตติตามความหมาย 2 อย่างแรกนี้ คลุมถึงสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกิยวิมุตติทั้งหมด
3) สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยเด็ดขาด หรือตัดขาด คือการทำลายกิเลสที่ผูกรัดไว้ หลุดพ้นเป็นอิสระออกไปได้ ด้วยญาณหรือวิชชาขั้นสุดท้าย ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นมรรค
4) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับเรียบสนิทหรือราบคาบไป คือความเป็นผู้หลุดพ้นออกไปได้แล้ว มีความเป็นอิสระอยู่ เพราะกิเลสที่เคยผูกรัดหรือครอบงำ ถูกกำจัดราบคาบไปแล้วได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นผล
5) นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นที่เป็นภาวะหลุดรอดปลอดโปร่ง คือ ภาวะแห่งความเป็นอิสระ ที่ผู้หลุดพ้นเป็นอิสระแล้วประสบอยู่ ชื่นชมหรือเสวยรสอยู่ และซึ่งทำให้ผู้นั้นปฏิบัติกิจอื่นๆ ได้ด้วยดีต่อๆ ไป ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นนิพพาน
วิมุตติตามความหมาย 3 อย่างหลังนี้ (3-4-5) เป็นอสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกุตรวิมุตติ ว่าโดยสาระแท้ๆ วิมุตติ 5 นี้ ก็คือ สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และ นิพพาน ตามลำดับ
6.4.1 สำนวนสามัญ: พิจารณาขันธ์ 5
• “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงวิญญาณไม่เที่ยง; อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดแม้ในรูป…แม้ในเวทนา…แม้ในสัญญา…แม้ในสังขารทั้งหลาย…แม้ในวิญญาณ, เมื่อหายติด (นิพพิทา) ย่อมคลายออก(วิราคะ), เพราะคลายออก ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว; ย่อมรู้ชัดว่า สิ้นเกิด จบมรรคาชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) เสร็จกรณีย์ ไม่มีกิจอื่นอีกเพื่อภาวะเช่นนี้
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ
ปัจจัยบีบคั้นได้;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย รูป ไม่เป็นตน (อนัตตา) เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เป็นตน;…เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “รูป…เวทนา…สัญญา…สังขารทั้งหลาย…วิญญาณ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์), สิ่งใดมีปัจจัยบีบคั้นได้ สิ่งนั้นไม่เป็นตน (อนัตตา), สิ่งใดไม่เป็นตน สิ่งนั้นอริย-สาวก พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา” ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น” ไม่ใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เป็นตน (เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ไม่เป็นตน), หากว่ารูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) นี้ จักได้เป็นตนแล้วไซร้ รูป ฯลฯ ก็ต้องไม่เป็นไปเพื่อความข้องขัด (อาพาธ) และก็พึงได้ (ตามความประสงค์) ในรูป ฯลฯ ว่า ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงเป็นอย่างนี้ ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงอย่าได้เป็นอย่างนี้; แต่เพราะรูป ฯลฯ ไม่เป็นอัตตา ฉะนั้น รูป ฯลฯ จึงเป็นไปเพื่อความข้องขัด และบุคคลก็ไม่ได้ (ตามความประสงค์) ในรูป ฯลฯ ว่า ขอรูป ฯลฯ ของเรา จงเป็นอย่างนี้ ขอรูป ฯลฯ ของเรา อย่าได้เป็นอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เธอเข้าใจอย่างไร: รูป (เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง?” (ไม่เที่ยง…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นภาวะบีบคั้น (ทุกข์) หรือเป็นภาวะคล่องสบาย (สุข)?” (เป็นภาวะบีบคั้น…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะมองเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา?” (ไม่ควร…) “เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน…รูปทั้งปวงนั้น พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา”, ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น”, ไม่ใช่ “นั่นเป็นตัวตนของเรา”; เมื่อมองเห็นอย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งไกลทั้งใกล้ ภิกษุย่อมมองดูรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) นั้น ย่อมพินิจ ย่อมตรองดูโดยแยบคาย, เมื่อเธอมองดู พินิจ ตรองดูโดยแยบคาย ย่อมปรากฏแต่สิ่งที่ว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้เลย, แก่นสารในรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ) จะพึงมีได้อย่างไร; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมองเห็นรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ที่ไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง, ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ, เมื่อมองเห็นถูกต้อง ย่อมหายติด, เพราะสิ้นนันทิ ก็สิ้นราคะ, เพราะสิ้นราคะ ก็สิ้นนันทิ, เพราะสิ้นนันทิและราคะ จิตก็หลุดพ้น เรียกว่าหลุดพ้นด้วยดี”
• “ภิกษุทั้งหลาย จงพิจารณาโดยแยบคายซึ่งรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ), จงเห็นคล้อยตามที่เป็นจริง ซึ่งอนิจจตาแห่งรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ); เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย…เมื่อเห็นคล้อยตามที่เป็นจริง ย่อมหายติดในรูป (เวทนา ฯลฯ วิญญาณ); เพราะสิ้นนันทิ ก็สิ้นราคะ,เพราะสิ้นราคะ ก็สิ้นนันทิ, เพราะสิ้นนันทิและราคะ จิตก็หลุดพ้น เรียกว่าหลุดพ้นด้วยดี”
6.4.1 สำนวนสามัญ: พิจารณาอายตนะ และธรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
• “ภิกษุทั้งหลาย ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ ไม่เที่ยง; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดฯลฯ ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ ปัจจัยบีบคั้นได้; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ ไม่เป็นตน; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ รูป…เสียง…กลิ่น…รส…โผฏฐัพพะ…ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง…ปัจจัยบีบคั้นได้…ไม่เป็นตน; เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติดฯลฯ”
ในการพิจารณาตามแนวของสำนวนนี้ คำว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อาจยักเยื้องไปได้ต่างๆ ตามอัธยาศัย เช่น อาจเป็นว่า จักษุมืดไปหมดแล้ว ตาร้อนเป็นไฟไปแล้ว หรือว่าตาเป็นสิ่งมีความเสื่อมได้เป็นธรรมดา ดังนี้เป็นต้น
• “ภิกษุทั้งหลาย ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นปัจจัยบีบคั้นได้, สิ่งใดปัจจัยบีบคั้นได้, สิ่งนั้นไม่เป็นตน; สิ่งใดไม่เป็นตน สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา” ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น” ไม่ใช่ “นั่นคือตัวตนของเรา; เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ
“ภิกษุทั้งหลาย รูป…เสียง…กลิ่น…รส…โผฏฐัพพะ…ธรรมารมณ์ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นปัจจัยบีบคั้นได้, สิ่งใดปัจจัยบีบคั้นได้ สิ่งนั้นไม่เป็นตน; สิ่งใดไม่เป็นตน สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า ไม่ใช่ “นั่นของเรา” ไม่ใช่ “เราเป็นนั่น” ไม่ใช่ “นั่นคือตัวตนของเรา; เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “นี่แน่ะภิกษุ เธอเข้าใจอย่างไร: ตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ, จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส, เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย…เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย จะเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม) เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?” (ไม่เที่ยง…) “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นภาวะบีบคั้น (ทุกข์) หรือเป็นภาวะคล่องสบาย (สุข)?” (เป็นภาวะบีบคั้น…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น มีความแปรปรวนไปได้เป็นธรรมดา ควรหรือที่จะมองเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา?” (ไม่ควรเลย…) เมื่อมองเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “ภิกษุทั้งหลาย ตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นสิ่งไม่เที่ยง, แม้สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ตา(หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งไม่เที่ยง, ตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ซึ่งเกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงได้แต่ที่ไหน.
“ตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เป็นสิ่งที่ปัจจัยบีบคั้นได้…ไม่เป็นตัวเป็นตน, แม้สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ปัจจัยบีบคั้นได้…ไม่เป็นตัวเป็นตน, ตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ปัจจัยบีบคั้นได้…เกิดจากสิ่งที่ไม่เป็นตัวเป็นตน จักเป็นสุข…จักเป็นอัตตาได้แต่ที่ไหน; เมื่อมองเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ “รูป…เสียง…กลิ่น…รส…โผฏฐัพพะ…ธรรมารมณ์ (ก็เป็นเช่นเดียวกัน); เมื่อมองเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
• “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมองเห็นตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์) ที่ไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง, ความเห็นของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ, เมื่อเห็นถูกต้อง ย่อมหายติด, เพราะสิ้นนันทิ ก็สิ้นราคะ, เพราะสิ้นราคะ ก็สิ้นนันทิ, เพราะสิ้นนันทิและราคะ จิตก็หลุดพ้น เรียกว่าหลุดพ้นด้วยดี”
• “ภิกษุทั้งหลาย จงพิจารณาโดยแยบคายซึ่ง ตา (หู ฯลฯ ธรรมารมณ์) จงเห็นคล้อยไปตามความเป็นจริง ซึ่งอนิจจตา แห่งตา (หู ฯลฯ ธรรมารมณ์); เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย เมื่อเห็นคล้อยไปตามความเป็นจริง ย่อมหายติดในตา (หู ฯลฯ ธรรมารมณ์); เพราะสิ้นนันทิ ก็สิ้นราคะ, เพราะสิ้นราคะ ก็สิ้นนันทิ, เพราะสิ้นนันทิและราคะ จิตก็หลุดพ้น เรียกว่าหลุดพ้นด้วยดี”
• (ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น, ตรัสตอบว่า) เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งตา (หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์ วิญญาณ 6 สัมผัส 6 และเวทนาที่เป็นสุข ทุกข์ อทุกขมสุข) โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น”
• (ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น, ตรัสตอบว่า) ภิกษุมีสุตะ (ได้เล่าเรียนหรือสดับมา) ว่า “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” (สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย) ข้อที่ว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นนี้ ย่อมเป็น (เพียง) สุตะ ของเธอ; เธอเรียนรู้ (อภิญญา) ธรรมทุกอย่าง, ครั้นเรียนรู้ธรรมทุกอย่างแล้ว ย่อมรู้จัก (ปริญญา) ธรรมทุกอย่าง, ครั้นรู้จักธรรมทุกอย่างแล้ว ย่อมมองเห็นนิมิต (สิ่งที่กำหนดหมายหรือภาพของสิ่งทั้งหลาย) ทั้งปวง โดยนัยอื่น (=มองเห็นต่างไปจากที่เคยมองเห็นเมื่อมีความยึดมั่น) คือ เห็นตาโดยนัยอื่น เห็นรูปทั้งหลายโดยนัยอื่น เห็นเสียง (อายตนะอีก 9 วิญญาณ 6 สัมผัส 6 และเวทนาที่เป็นสุข ทุกข์ อทุกขมสุข) โดยนัยอื่น; เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมละอวิชชาได้วิชชาย่อมเกิดขึ้น”
6.4.1 สำนวนแบบสืบค้น
• “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะอาศัยอะไร จึงเกิดสุขทุกข์ขึ้นภายใน?…เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป จึงเกิดสุขทุกข์ขึ้นภายใน; เมื่อเวทนา..สัญญา…สังขาร…วิญญาณ มีอยู่ เพราะอาศัยเวทนา…สัญญา…สังขาร…วิญญาณ จึงเกิดสุขทุกข์ขึ้นภายใน
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เข้าใจอย่างไร: รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เที่ยงหรือไม่เที่ยง?” (ไม่เที่ยง…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นภาวะบีบคั้น หรือคล่องสบาย?” (เป็นภาวะบีบคั้น…) “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นภาวะบีบคั้น มีความปรวนแปรไปได้เป็นธรรมดา, ไม่อาศัยสิ่งนั้น จะพึงเกิดสุขทุกข์ขึ้นภายในได้หรือ?” (ไม่ได้เลย…); เมื่อมองเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหายติด ฯลฯ”
6.4.1 ตัวอย่างธรรมที่พิจารณาได้ทุกระดับ
• พระมหาโกฏฐิตะ: ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีล ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน?
พระสารีบุตร: ท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นของที่ปัจจัยบีบคั้นได้ (ทุกข์) เป็นดังโรค (ซึ่งต้องคอยดูแล) เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ข้องขัดไม่สบาย เป็นดังคนพวกฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่จะต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า ไม่มีสาระจริง ไม่เป็นอัตตา…มีฐานะเป็นไปได้ที่ เมื่อภิกษุผู้มีศีล โยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จะพึงประจักษ์แจ้งโสดาปัตติผล
พระมหาโกฏฐิตะ: ภิกษุโสดาบันล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน?
พระสารีบุตร: แม้ภิกษุที่เป็นโสดาบัน ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะเป็นไปได้ที่ เมื่อภิกษุโสดาบันโยนิโสมนสิการ…(อย่างนี้) จะพึงประจักษ์แจ้งสกทาคามิผล
พระมหาโกฏฐิตะ: ภิกษุสกทาคามีล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน?
พระสารีบุตร: แม้ภิกษุที่เป็นสกทาคามี ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะเป็นไปได้ที่ เมื่อภิกษุสกทาคามีโยนิโสมนสิการ…(อย่างนี้) จะพึงประจักษ์แจ้งอนาคามิผล
พระมหาโกฏฐิตะ: ภิกษุอนาคามีล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน?
พระสารีบุตร: แม้ภิกษุที่เป็นอนาคามี ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ มีฐานะเป็นไปได้ที่ เมื่อภิกษุอนาคามีโยนิโสมนสิการ…(อย่างนี้) จะพึงประจักษ์แจ้งอรหัตตผล
พระมหาโกฏฐิตะ: พระอรหันต์ล่ะท่าน ควรโยนิโสมนสิการธรรมจำพวกไหน?
พระสารีบุตร: แม้พระอรหันต์ก็ควรโยนิโสมนสิการอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้นแหละ โดยอาการที่เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ, พระอรหันต์ไม่มีกิจซึ่งจะต้องทำยิ่งขึ้นไปอีก หรือจะต้องสั่งสมกิจที่กระทำไว้แล้ว (ก็จริง) ก็แต่ว่าธรรมเหล่านี้ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรม-สุขวิหาร (การมีที่พักใจอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) และเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ”
6.5 โลกุตตรภูมิ
ทักขิไณยบุคคล 8 หรือ อริยบุคคล 8
เกณฑ์แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้ก่อน “สังโยชน์” แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี 10 อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) 5 อย่าง คือ
1. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง784
2. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา
3. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แค่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค
4. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ
5. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง หรือขั้นละเอียด) 5 อย่าง คือ
6. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุขความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น
7. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น
8. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียมเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น
9. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป
10. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจทักขิไณยบุคคล หรือพระอริยบุคคล 8 นั้น ว่าโดยระดับหรือขั้นตอนใหญ่แล้ว ก็มีเพียง 4 และสัมพันธ์กับการละสังโยชน์ ดังนี้
ก. พระเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) หรือ สอุปาทิเสสบุคคล (ผู้ยังมีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่) คือ
1. พระโสดาบัน ผู้ถึงกระแสคือเข้าสู่มรรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยมรรคอย่างแท้จริงแล้ว เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส
2. พระสกทาคามี ผู้กลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวก็จะกำจัดทุกข์ได้สิ้น เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในขั้นศีล ทำได้พอประมาณในสมาธิ และทำได้พอประมาณในปัญญา นอกจากละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้แล้ว ยังทำราคะ โทสะ และโมหะ ให้เบาบางลงไปอีกต่อจากขั้นของพระโสดาบัน
3. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ผุดเกิดขึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในศีล ทำได้บริบูรณ์ในสมาธิ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์ได้อีก 2 ข้อ คือ กามราคะ และปฏิฆะ (รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ครบ 5 ข้อ)
ข. พระอเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) หรือ อนุปาทิเสสบุคคล (ผู้ไม่มีเชื้อคืออุปาทานเหลืออยู่เลย) คือ
4. พระอรหันต์ ผู้ควร (แก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษ) หรือผู้หักกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสาม คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีกทั้ง 5 ข้อ (รวมเป็นละสังโยชน์หมดทั้ง 10)
พระเสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษา คือยังมีกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนที่จะต้องทำต่อไปอีก จึงได้แก่ ทักขิไณยบุคคล 3 ระดับต้น ซึ่งจะต้องปฏิบัติในสิกขา เพื่อละสังโยชน์ และบรรลุธรรมสูงขึ้นต่อไป จนถึงเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระอเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษา คือทำกิจเกี่ยวกับการฝึกฝนอบรมตนเสร็จสิ้นแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่ต้องปฏิบัติในสิกขาต่อไป ไม่มีกิเลสที่ต้องพยายามละต่อไป และไม่มีภูมิธรรมสูงกว่านั้นที่จะต้องขวนขวายบรรลุอีก จึงได้แก่พระอรหันต์
สอุปาทิเสสบุคคล คือผู้ยังมีอุปาทิเหลืออยู่ คือยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ซึ่งก็หมายถึงยังมีกิเลสเหลืออยู่บ้างนั่นเอง จึงได้แก่ทักขิไณยบุคคล 3 ระดับต้น ส่วนอนุปาทิเสสบุคคล คือผู้ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ คือไม่มีอุปาทานเหลือ ซึ่งก็หมายถึงว่าไม่มีกิเลสเหลืออยู่เลยนั่นเอง จึงได้แก่พระอรหันต์
ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล 8 ก็คือ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ใน 4 ระดับข้างต้นนั้นเอง ที่แบ่งซอยออกไประดับละคู่ ดังนี้
1. โสดาบัน (ท่านผู้ทำให้แจ้ง คือบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว)
2. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
3. สกทาคามี (ท่านผู้ทำให้แจ้งสกทาคามิผลแล้ว)
4. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล1
5. อนาคามี (ท่านผู้ทำให้แจ้งอนาคามิผลแล้ว)
6. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล1
7. อรหันต์ (ท่านผู้ทำให้แจ้งอรหัตตผลแล้ว)
8. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล1
ทักขิไณยบุคคล 8 จัดเป็น 4 คู่ ชุดนี้นี่แล ที่ท่านหมายถึงว่าเป็น สาวกสงฆ์ หรือพระสงฆ์สาวกของ
พระพุทธเจ้า ที่เป็นอย่างหนึ่งในพระรัตนตรัย หรือเป็นชุมชนในอุดมคติของพระพุทธศาสนา ดังคำในบทสวดสังฆคุณว่า “ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ, อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา, เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ” (ได้แก่คู่บุรุษ 4 ตัวบุคคล 8 พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้…) และสาวกสงฆ์นี้แล ที่ต่อมานิยมเรียกกันว่า อริยสงฆ์
เพื่อมองเห็นชัดเจนขึ้น จะแสดงทักขิไณยบุคคล พร้อมด้วยไตรสิกขาที่บำเพ็ญ และสังโยชน์ที่ละได้ให้ดูดังนี้
สรุปตามบาลี อรรถกถา และฎีกา
ประเภทของพระอรหันต์
พระอรหันต์ ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเภทนั้น แยกออกไปโดยคุณสมบัติพิเศษ ที่ได้ และไม่ได้ พร้อมทั้งความหมายสรุปอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
1. พระปัญญาวิมุต คือ ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ท่านผู้มุ่งหน้าบำเพ็ญแต่วิปัสสนา อาศัยสมถะเพียงใช้สมาธิเท่าที่จำเป็น พอเป็นบาทฐานของวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขยญาณเท่านั้น ได้สมถะไม่เกินรูปฌาน 4 ไม่มีความสามารถพิเศษ เช่น เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ไม่ได้โลกิยอภิญญา 5 เป็นต้น จำแนกได้ ดังนี้
ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌาน ต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค
ข. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌาน 4 อย่างน้อยขั้นหนึ่งก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาที่ให้บรรลุอรหัตผล
ค. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 คือ ได้ปัญญาแตกฉาน 4 ประการ
1) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ หรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย
2) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก
3) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา
4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ
2. พระอุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง คือ หลุดพ้นจากรูปกายด้วย อรูปสมาบัติและหลุดพ้นจากนามกาย ด้วยอริยมรรค เป็นการหลุดพ้น 2 วาระ คือ ด้วยวิกขัมภนะ (ข่มกิเลสไว้ด้วยกำลังสมาธิของฌาน) หนหนึ่ง และด้วยสมุจเฉท (ตัดกิเลสถอนรากเหง้าด้วยปัญญา) อีกหนหนึ่ง จำแนกได้ ดังนี้
ก. พระอุภโตภาควิมุต คือพระอรหันต์ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยหนึ่งขั้น แต่ไม่ได้โลกิยวิชชา
โลกิยอภิญญา
ข. พระเตวิชชะ พระอรหันต์ผู้ได้วิชชา 3 คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้วิชชา 3 ด้วย คือ
1) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณเป็นเหตุระลึกได้ซึ่งขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในก่อน แปลกันง่ายๆ ว่า
ระลึกชาติได้
2) จุตูปปาตญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม ถือกันว่าตรง
กับทิพพจักขุ หรือทิพยจักษุ
3) อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หรือความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
ค. พระฉฬภิญญะ พระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้อภิญญา 6 ด้วย คือ
1) อิทธิวิธา หรืออิทธิวิธิ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
2) ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์
3) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ คือทายใจเขาได้
4) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
5) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์
6) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
ง. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ พระอรหันต์อุภโตภาควิมุต ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น
เมื่อรวมเข้าเป็นชุดเดียวกัน และเรียงลำดับตามชื่อที่ใช้เรียก มี 6 นาม ดังนี้
1. สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน
2. ปัญญาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา (ที่นอกจากสุกขวิปัสสก)
3. อุภโตภาควิมุต ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน
4. เตวิชชะ ผู้ได้วิชชา 3
5. ฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา 6
6. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระอรหันต์องค์ใด เป็นทั้งฉฬภิญญะ และปฏิสัมภิทัปปัตตะ ย่อมเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนบริบูรณ์ ครอบคลุมทั้งหมด.
6.6 ความหมายของ ฌาน
ฌานที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ (รูปฌาน) ท่านนิยมแบ่งออกเป็น 4 ระดับ มีองค์ประกอบที่ใช้กำหนดระดับ ดังนี้
1. ปฐมฌาน (ฌานที่ 1) มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
2. ทุติยฌาน (ฌานที่ 2) มีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
3. ตติยฌาน (ฌานที่ 3) มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา
4. จตุตถฌาน (ฌานที่ 4) มีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตา
ฌานที่สูงขึ้นไปกว่านี้ คือ อรูปฌาน ก็มีองค์ 2 คือ อุเบกขา และเอกัคคตา เหมือนจตุตถฌาน แต่กำหนดอรูปธรรม
เป็นอารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ ตามอารมณ์ที่กำหนด
4.1.3 และ 6.7
ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร?
หลักการสำคัญ
ของการบรรลุนิพพาน
หลักทั่วไป
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้ อาศัยทุติยฌานก็ได้ ตติยฌานก็ได้ จตุตถฌานก็ได้ อากาสานัญจายตนะก็ได้ วิญญาณัญจายตนะก็ได้ อากิญจัญญายตนะก็ได้ เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ได้ (สัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้)”
“ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว? (คือ) ภิกษุในธรรมวินัยนี้…บรรลุปฐมฌาน, เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ สิ่งที่เป็นรูป สิ่งที่เป็นเวทนา สิ่งที่เป็นสัญญา สิ่งที่เป็นสังขาร สิ่งที่เป็นวิญญาณ อันมีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์…โดยความเป็นของสูญ โดยความเป็นอนัตตา, เธอยังจิตให้ยั้งหยุด (หันกลับ คือคลายหรือไม่อยากได้ ไม่ติด) จากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วเธอย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต กล่าวคือ…นิพพาน เธอดำรงอยู่ใน (ปฐมฌาน) นั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
“ถ้ายังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ, เพราะ (ยังมี) ธรรมราคะ…ก็จะเป็นโอปปาติกะ เป็นผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา (คือเป็นพระอนาคามี)…”
พระอรรถกถาจารย์ จัดแบ่งพระอรหันต์ออกไปเป็น 10 ประเภท เป็นพระอุภโตภาควิมุต 5 พระปัญญาวิมุต 5 จัดเรียงจากสูงลงไปดังนี้ (อันดับที่ 1–9 เป็นสมถยานิก อันดับที่ 10 เป็นวิปัสสนายานิก หรือสุทธวิปัสสนายานิก)
ก. พระอุภโตภาควิมุต
1. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ
2. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
3. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ
4. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
5. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ข. พระปัญญาวิมุต
6. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้จตุตถฌาน
7. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ตติยฌาน
8. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ทุติยฌาน
9. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ปฐมฌาน (ได้ก่อนทำวิปัสสนา)
10. พระปัญญาวิมุต ผู้เป็นสุกขวิปัสสก (พระวิปัสสนายานิก)
หลักสมถะที่เป็นฐาน
สำนวนที่ 1 เป็นแบบที่พบบ่อย และคุ้นตากันที่สุด แสดงฌาน 4 ต่อด้วยวิชชา 3 “ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล (ฉันอาหารหยาบ ให้กายได้กำลังแล้ว) สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน…บรรลุทุติยฌาน…บรรลุตติยฌาน…บรรลุจตุตถฌาน…อยู่
“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีฝ้ามัว ปราศจากอุปกิเลส เป็นของนุ่มนวล ควรแก่งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ญาณที่ให้ระลึกถึงขันธ์อันเคยอาศัยอยู่ในก่อนได้ – ระลึกชาติได้)…(วิชชาที่ 1 นี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว…)
“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ…อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ (ณาณกำหนด
รู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม)…(วิชชาที่ 2 นี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว…แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว…)
“เรานั้น ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ…อย่างนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ = ตรัสรู้), เรานั้น รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธ คามินีปฏิปทา, รู้ชัดตามที่มันเป็นว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา, เรานั้น เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
“เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว, เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่มี; (วิชชาที่ 3 นี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว…แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว…)”
สำนวนแบบที่ 1 ซึ่งบรรยายลำดับการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมของสาวกโดยทั่วไป ก็มีข้อความอย่างเดียวกันนี้ ต่างแต่เพียงไม่มีข้อความในวงเล็บ
หลักวิปัสสนาที่เป็นมาตรฐาน
การพิจารณาสังขารให้เกิดความเห็นแจ้งเข้าใจชัด รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะที่เป็นจริง ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าวิปัสสนานั้น เป็นส่วนสาระสำคัญของการตรัสรู้หรือบรรลุมรรคผล ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นสมถยานิกหรือวิปัสสนายานิก ไม่ว่าจะเป็นวิธีปฏิบัติแบบใดในวิธีทั้ง 4 มี สมถปุพพังคมวิปัสสนา และวิปัสสนาปุพพังคมสมถะ เป็นต้น จะต้องผ่านการปฏิบัติส่วนนี้ทั้งสิ้น
คำบรรยายสรุปเหล่านี้ ก็เป็นสำนวนแบบเช่นเดียวกัน และมีหลายสำนวน อยู่ในต่างแห่งต่างที่ ขอยกมาให้พิจารณา ดังนี้
• “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ญาณทัศนะตามเป็นจริงของเรา ซึ่งมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 อย่างนี้ ในอริยสัจ 4 ประการเหล่านี้ หมดจดแจ่มชัดดีแล้ว, เมื่อนั้นแหละ เราจึงปฏิญาณในโลก…ว่า เราได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็แลญาณทัศนะ เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า เจโต-วิมุตติของเราเป็นอกุปปา นี้เป็นอันติมชาติ บัดนี้ ภพใหม่อีก ไม่มี”
• “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะ (คุณ, ส่วนดี) ของอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ โดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนพ (โทษ, ส่วนเสีย) โดยความเป็นอาทีนพ และซึ่งนิสสรณะ (ภาวะรอดพ้น, ทางออก, ความเป็นอิสระ) โดยความเป็นนิสสรณะ, เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณในโลก…ว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ…บัดนี้ ภพใหม่อีก ไม่มี”
• “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของอายตนะภายในทั้ง 6 เหล่านี้ โดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนพโดยความเป็นอาทีนพ ซึ่งนิสสรณะโดยความเป็นนิสสรณะ, เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณในโลก…ว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ…บัดนี้ ภพใหม่อีก ไม่มี”
• “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งสมุทัย ความอัสดง อัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะ ของอินทรีย์ทั้ง 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) เหล่านี้, เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณในโลก…ว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ…บัดนี้ ภพใหม่อีก ไม่มี”
• “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งสมุทัย ความอัสดง อัสสาทะ อาทีนพและนิสสรณะ ของอินทรีย์ทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เหล่านี้, เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณในโลก…ว่าเราได้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ…บัดนี้ ภพใหม่อีก ไม่มี”
• “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก…ภิกษุทั้งหลาย ดังที่เป็นมา แม้เราเอง ก่อนสัมโพธิ ยังมิได้ตรัสรู้ เป็นโพธิสัตว์ ก็ดำรงอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นอันมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นอันมาก กายก็ไม่เหนื่อย จักษุก็ไม่เหนื่อย และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น”
• “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ…ปัญญา…วิชชา…แสงสว่าง…เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มิเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า “เวทนา คือดังนี้…สมุทัยแห่งเวทนา เป็นดังนี้…ปฏิปทาที่นำไปสู่สมุทัยแห่งเวทนา เป็นดังนี้…นิโรธแห่งเวทนา เป็นดังนี้…ปฏิปทาที่นำไปสู่นิโรธแห่งเวทนา เป็นดังนี้…อัสสาทะแห่งเวทนา เป็นดังนี้…อาทีนพแห่งเวทนา เป็นดังนี้…นิสสรณะแห่งเวทนา เป็นดังนี้”
• “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ…ปัญญา…วิชชา…แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มิเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า “กาเย กายานุปัสสนา คือดังนี้…ก็ กาเย กายานุปัสสนานั้น เป็นธรรมควรเจริญ…กาเย กายานุปัสสนานั้น เราเจริญแล้ว…เวทนาสุ เวทนานุปัสสนา คือดังนี้…ก็เวทนาสุ เวทนานุปัสสนานั้น เป็นธรรมควรเจริญ…เวทนาสุ เวทนานุปัสสนานั้น เราเจริญแล้ว…จิตเต จิตตานุปัสสนา คือดังนี้…ก็จิตเต จิตตานุปัสสนานั้น เป็นธรรมควรเจริญ…จิตเต จิตตานุปัสสนานั้น เราเจริญแล้ว…ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสนา คือดังนี้…ก็ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสนานั้น เป็นธรรมควรเจริญ…ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสนานั้น เราเจริญแล้ว”
• “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ…ปัญญา…วิชชา…แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มิเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า “อิทธิบาท (ข้อที่ 1) คือดังนี้…ก็อิทธิบาท (ข้อที่ 1) นั้น เป็นธรรมควรเจริญ…อิทธิบาท (ข้อที่ 1) นั้น เราเจริญแล้ว…อิทธิบาท (ข้อ2-3-4) คือดังนี้…ก็อิทธิบาท (ข้อ 2-3-4) นั้น เป็นธรรมควรเจริญ…อิทธิบาท (ข้อ 2-3-4) นั้น เราเจริญแล้ว”
• “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่สัมโพธิ เมื่อยังไม่ตรัสรู้ เป็นโพธิสัตว์อยู่ เราได้มีความคิดว่า “โลกนี้ประสบความทุกข์ยากเสียนัก ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติ แต่ทั้งที่เป็นเช่นนั้น ก็หารู้จักนิสสรณะ (ธรรมเป็นที่สลัดออก, ภาวะหลุดรอดปลอดพ้น, ความเป็นอิสระ, ทางออก) แห่งทุกข์คือชรามรณะนี้ไม่ เมื่อไรเล่า นิสสรณะแห่งทุกข์คือชรามรณะนี้ จักปรากฏ?”
“เราได้มีความคิดดังนี้ว่า “เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะจึงมี, เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี?” เพราะโยนิโสมนสิการ เราก็มีความรู้ชัดจำเพาะลงไป (อภิสมัย) ด้วยปัญญาว่า “เมื่อชาติมีอยู่ ชรามรณะจึงมี, เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี…เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชาติจึงมี…เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ภพจึงมี…อุปาทานจึงมี…ตัณหาจึงมี…เวทนาจึงมี…ผัสสะจึงมี…สฬายตนะจึงมี…นามรูปจึงมี…วิญญาณจึงมี? เพราะโยนิโสมนสิการ เราได้มีความรู้ชัดจำเพาะลงด้วยปัญญาว่า “เมื่อนามรูปมีอยู่ วิญญาณจึงมี, เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”.
“เราได้มีความคิดว่า “วิญญาณย่อมวกกลับ (เพียงแค่นี้) ไม่พ้นเลยไปจากนามรูปได้; ด้วยเหตุผลเพียงเท่านั้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุบัติ อันได้แก่ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ, เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป, เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ, เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ..เวทนา…ตัณหา…อุปาทาน..ภพ…ชาติ…ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้;
“จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ..ปัญญา..วิชชา…แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มิเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า ‘สมุทัย สมุทัย’ ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดดังนี้ว่า “เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะจึงไม่มี, เพราะอะไรดับ ชรามรณะจึงดับ”? เพราะโยนิโสมนสิการ เราได้มีความรู้ชัดจำเพาะลงไป (อภิสมัย) ด้วยปัญญาว่า “เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะก็ไม่มี, เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ…เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชาติจึงไม่มี…เมื่ออะไรไม่มีหนอ ภพจึงไม่มี…อุปาทานจึงไม่มี…ตัณหาจึงไม่มี…เวทนาจึงไม่มี…ผัสสะจึงไม่มี…สฬายตนะจึงไม่มี…นามรูปจึงไม่มี…วิญญาณจึงไม่มี เพราะโยนิโสมนสิการ เราจึงได้มีความรู้ชัดจำเพาะลงไปด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปไม่มี วิญญาณก็ไม่มี, เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ”.
“เราได้มีความคิดว่า เราได้บรรลุมรรคาเพื่อความตรัสรู้นี้แล้ว กล่าวคือ เพราะนามรูปดับวิญญาณจึงดับ, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ, เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ…ผัสสะ…เวทนา…ตัณหา…อุปาทาน…ภพ…ชาติ…ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ, ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้;
“จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณ…ปัญญา…วิชชา…แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่มิเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า ‘นิโรธ นิโรธ’ ดังนี้
“ภิกษุทั้งหลาย…เราได้เห็นมรรคาเก่า หนทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปางก่อนทั้งหลายเคยเสด็จไปแล้ว…ได้แก่มรรคามีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐนี้เอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ…เราได้ดำเนินตามมรรคานั้น เมื่อเดินตามมรรคานั้น จึงได้รู้ชัดซึ่งชรามรณะ รู้ชัดซึ่งสมุทัยแห่งชรามรณะ รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งชรามรณะ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันนำไปสู่นิโรธแห่งชรามรณะ …รู้ชัดซึ่งชาติ รู้ชัดซึ่งสมุทัยแห่งชาติ รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งชาติ รู้ชัดซึ่งปฏิปทา อันนำไปสู่นิโรธแห่งชาติ ฯลฯ (ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ) รู้ชัดซึ่งสังขารทั้งหลาย รู้ชัดซึ่งสมุทัยแห่งสังขาร รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งสังขาร รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันนำไปสู่นิโรธแห่งสังขาร;
“ครั้นรู้ชัดความนั้นแล้ว จึงบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย, พรหมจรรย์ (ชีวิตประเสริฐ=ไตรสิกขา=พระศาสนา) จึงเจริญแพร่หลาย แผ่ขยาย เป็นที่รู้ของพหูชน เป็นปึกแผ่นจนเทวะและมนุษย์ทั้งหลายประกาศกันได้เป็นอย่างดี”