Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

โซนที่ ๒ พระธรรม

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

โซนที่ ๒ พระธรรม

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

ได้รวบรวมหลักธรรมที่สำคัญ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง โดยจะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับอริยสัจ 4 คือ ทุกข์อริยสัจ สมุทัยอริยสัจ นิโรธอริยสัจ มรรคอริยสัจ, ไตรลักษณ์ หรือ สามัญลักษณะ คือ กฏของธรรมชาติ 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, ปฏิจจสมุปบาท กระบวนการเกิดขึ้นและกระบวนการดับไปแห่งความทุกข์, ไตรสิกขา และอริยมรรค์มีองค์แปด เป็นต้น

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ตอนที่ 1

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ตอนที่ 2 

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร – อวิชชา

พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร – ปฏิจจสมุปบาท

1. จากการเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าในการค้นหาทางดับทุกข์ให้แก่มวลมนุษย์ พระองค์ค้นพบความจริงอันประเสริฐสี่ประการ หรือเรียกย่อๆ ว่า
“อริยสัจสี่”
2. อริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์)  มรรค (ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์)
3. กฎธรรมชาติที่สำคัญที่พระองค์ค้นพบคือ “พระไตรลักษณ์”  : อนิจจัง (ความไม่เที่ยง) ทุกขัง (ความทุกข์)  อนัตตา (เป็นอนัตตา)
4. อริยสัจข้อที่ 1 : ทุกข์
ชีวิตคือขันธ์ 5  :  ขันธ์ 5  เป็นไตรลักษณ์
อุปาทานขันธ์ 5  เป็นทุกข์
5. กฎธรรมชาติอีกอย่างที่พระพุทธองค์ค้นพบ คือ “หลักปฏิจจสมุปบาท : กระบวนการเกิดและดับของความทุกข์”
6. ปฏิจจสมุปบาท :  สมุทัยอริยสัจ กระบวนการเกิดของความทุกข์เป็น “อริยสัจข้อที่ 2 : สมุทัย”
7. ปฏิจจสมุปบาท :  นิโรธอริยสัจ กระบวนการดับของความทุกข์เป็น “อริยสัจข้อที่ 3 : นิโรธ”
8. ค้นพบหลักปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ คือ มัชฌิมาปฏิปทา : ทางสายกลาง หรือ “อริยมรรคมีองค์ 8” เรียกย่อๆ คือ “มรรค”  เป็นอริยสัจข้อที่ 4 : มรรค
9. ธรรมปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ตามหลัก  ไตรสิกขา :  ศีล (ละชั่ว)   สมาธิ (ทำดี)   ปัญญา (ทำใจให้บริสุทธิ์)
“ไตรสิกขา”  ก็คือ “อริยมรรคมีองค์ 8”  กล่าวคือ :
1) ศีล (ละชั่ว)– สัมมาวาจา  (วาจาชอบ)
– สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ)
– สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ)
2) สมาธิ (ทำดี)– สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ)
– สัมมาสติ  (ความระลึกชอบ)
– สัมมาสมาธิ  (ตั้งใจมั่นชอบ)
3) ปัญญา (ทำใจให้บริสุทธิ์)– สัมมาทิฎฐิ  (ความเห็นชอบ)
– สัมมาสังกัปปะ  (ความดำริชอบ)

มัชฌิมาปฏิปทา  :  ทางสายกลาง(อริยมรรคมีองค์ 8)

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “อริยสัจสี่”  และ
  2. ความสัมพันธ์ระหว่าง อริยมรรคมีองค์ 8   (มัชฌิมาปฏิปทา) และไตรสิกขา  (ศีล สมาธิ ปัญญา)

อริยสัจสี่  :  ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

อริยสัจข้อที่  1ทุกข์  (ความทุกข์)
อริยสัจข้อที่  2สมุทัย  (เหตุแห่งทุกข์)
คู่ที่ 1
อริยสัจข้อที่  3 นิโรธ  (ทุกข์ดับ)
อริยสัจข้อที่  4 มรรค  (ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์)
คู่ที่ 2

อริยสัจสี่  :  ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

ชีวิตคือขันธ์ 5

ความทุกข์มาจากการเกิดแก่ เจ็บ ตาย สูญเสียของรัก ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาอุปาทานขันธ์ 5 นำมาซึ่งความทุกข์ การฝืนกฎของพระไตรลักษณ์นำมาซึ่งความทุกข์

อริยสัจข้อที่  1: ทุกข์

อริยสัจข้อที่ 1 :  ทุกข์  ขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ และอุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์

1.  ชีวิตคืออะไร?  :  อายตนะ 12  และขันธ์ 5

  • 1.1 อายตนะ 12

อายตนะภายใน 6

ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ
กายใจ = จิต

อายตนะภายนอก 6      

รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสธรรมารมณ์
  • 1.2 ขันธ์ 5  (รูปขันธ์  เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์)
1)ตา        +   รูป1)=  จักษุวิญญาณ  (เห็น)
2)หู          +   เสียง2)=  โสตวิญญาณ  (ได้ยิน)
3)จมูก      +   กลิ่น3)=  ฆะนะวิญญาณ  (ได้กลิ่น)
4)ลิ้น        +    รส4)=  ชิวหาวิญญาณ  (รู้รส)
5)กาย       +   สัมผัส5)=  กายวิญญาณ  (รู้สิ่งต้องกาย)
6)ใจ (จิต)   +   ธรรมารมณ์6)=  มโนวิญญาณ / จิตวิญญาณ
(2) เวทนาขันธ์    (3) สัญญาขันธ์   (4) สังขารขันธ์ (นามขันธ์)
ขันธ์  5  =   รูปขันธ์  (1)  +  นามขันธ์  (4)
               =   รูปขันธ์   +  (เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์  วิญญาณขันธ์)
ขันธ์ 5  รวมเรียกว่า  “รูปร่างกาย”
“ความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ 5  เกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่ออาการ 5 อย่าง (ขันธ์) เหล่านั้นดับไป เป็นความดับไปแห่งขันธ์ทั้ง 5”

1.3 ดังนั้น สมการชีวิตคืออะไร?
ชีวิต       =    ขันธ์  5   +  ใจ (จิต)
                    (รูปร่างกาย)   +  ใจ (จิต)

สำหรับ มโนวิญญาณหรือจิตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ)  เวียนว่ายตายเกิด เริ่มชีวิตตั้งแต่มีปฏิสนธิและจากร่างกายไปเมื่อรูปขันธ์ดับ (ตาย)

2. ชีวิตเป็นอย่างไร?  :  ไตรลักษณ์

2.1 ขันธ์ 5เป็นไตรลักษณ์  (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)  ไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา

2.2 พุทธพจน์เกี่ยวกับขันธ์ 5 เป็นไตรลักษณ์ (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

“ภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง         สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์        สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า   “นั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”

2.3 ใจ (จิต)เป็นอมตะ   ไม่ตาย  เวียนว่ายตายเกิด หากยังไม่บรรลุขั้นพระนิพพาน โดยจิตวิญญาณจะออกจากร่างกาย (ขันธ์ 5)  เมื่อรูปขันธ์ดับ (ตาย) ไปเกิดใหม่ตามกรรมที่สร้างไว้

ชีวิต  =  กาย  +  จิต

กาย  =  ขันธ์ 5  (ไม่เที่ยง) เป็นไตรลักษณ์  (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

จิต  =  ใจ   =  จิตเป็นอมตะ (เที่ยง) ไม่ตาย

จิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและจิตของพระอรหันต์ “เที่ยง” เป็นอมตะจิต จิตไม่เคยตาย ไม่มีการเกิดอีกแล้ว (สำหรับองค์พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์) แต่มนุษย์ที่ยังไม่บรรลุการเป็นพระอรหันต์ จิตของทุกคนก็เป็นอมตะแต่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด

เพื่อความเข้าใจความหมายของ “จิต” ตามคำอธิบายของหลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน ที่ได้แสดงเทศนาธรรมให้แก่พระสงฆ์ (ณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ) เป็นดังนี้

” จิต เข้าถึงธรรมชาติแท้ คือ จิตนี้เป็นธรรมชาติ เป็นมหาวิมุตติ เป็นมหานิพพาน เป็นธรรมชาติ เป็นอมตะจิต เป็นอมตะธรรม สมกับว่าจิตนี้ไม่เคยตาย จิตนี้ไม่เคยตายที่สุดแห่งความไม่เคยตายของจิตคืออะไร คือ ธรรมธาตุ จิตถึงวิมุตติหลุดพ้นเรียกว่าถึงธรรมธาตุแล้ว ที่สุดแห่งสมมุติทั้งหลายจะสุดสิ้นที่ตรงนั้น วิมุตติผ่าง (ปรากฏ) ขึ้นมาแล้วจิตบริสุทธิ์ไม่มีสมมุติแม้นิดหนึ่งปรากฏเลย จิตดวงที่บริสุทธิ์ จิตดวงที่เคยเกิดเคยตายมาเหมือนกับสัตว์ทั้งหลายทั่วแดนโลกธาตุนี้ ขาดสะบั้นลงไปในขณะที่จิตอวิชชาขาดลงไปจากใจ จิตครองวิมุตติ หลุดพ้น ไม่มีสมมุติใดๆ เข้าไปเกี่ยวข้อง

เพราะฉะนั้นจิตของพระพุทธเจ้า จิตของพระอรหันต์ ท่านจึงไม่เคยมีทุกข์ ตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ธรรม หรือบรรลุธรรมขึ้นมาเป็นพระอรหันต์ในเวลานั้นแล้ว จากนั้นไปเป็นอนันตกาลตั้งกัปตั้งกัลป์ เรียกว่า “เที่ยง” ท่านไม่เคยทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นไม่ได้ตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้คือสังหารกิเลส พอกิเลสนี้ขาดซึ่งเป็นตัวสร้างทุกข์นี้ขาดสะบั้นลงไปจากจิตใจแล้ว ไม่มีสมมุติในใจเลย แล้วทุกข์ก็ไม่มี กิเลสไม่มี ความทุกข์ไม่มี ความทุกข์ในใจของพระอรหันต์จึงไม่มี ตั้งแต่ในขณะท่านตรัสรู้แล้ว”

หมายเหตุ :     ฟังธรรมเทศนาเพิ่มเติม : จิตเที่ยง (จิตไม่เคยตาย)  โดย:

  1. หลวงปู่อุทัย  สิริธโร  “จิตไม่เคยตาย”
  2. หลวงปู่สิม  พุทธาจาโร   “จิตเป็นของไม่ตาย”

รูป-นาม(ขันธ์ 5) ตาย (ไม่เที่ยง)

แต่จิตไม่เคยตาย (เที่ยง)

จิตไม่มีตัวตน เหมือนอากาศ

2.4 อุปาทานขันธ์ 5  คืออะไร?  ก็คือ ขันธ์ 5 ที่มีอุปาทานยึดถือยึดครอง ท่านใช้คำแบบทางการว่า “ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน จะว่าขันธ์ 5 ที่เกิดจากอุปาทานเป็นที่วุ่นวายของอุปาทาน หรือที่รับใช้อุปาทานก็ได้ทั้งนั้น เป็นเรื่องของอวิชชาตัณหาอุปาทาน อันนี้แหละคือ ทุกข์ที่เป็นข้อ 1 ในอริยสัจ 4  เมื่อได้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่จะมองแล้ว ก็มาศึกษาพุทธพจน์ที่ตรัสในเรื่องความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ 5 กับอุปาทานขันธ์ 5

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5  และอุปาทานขันธ์ 5  เธอทั้งหลายจงฟัง”

ขันธ์ 5 เป็นไฉน?   รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม….เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ 5

“อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน?    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ (สาสวะ) เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยะ)  เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ 5

2.5 ความทุกข์  ใครไปยึดขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานั้นเข้า ก็กลายเป็นอุปาทานขันธ์ 5  เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา

อริยสัจข้อที่  2  :    สมุทัย  (เหตุแห่งทุกข์)

ปฏิจจสมุปบาท   – ทุกขสมุทัย   :  กระบวนการ (ห่วงโซ่)  ที่ทำให้เกิดทุกข์

ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์คือ ตัณหา และอุปาทาน

ตัณหา  :      เป็นความอยากมีอยากเป็น อยากไม่มี อยากไม่เป็น (กามตัณหา   ภวตัณหา  วิภวตัณหา)        ไม่ได้สมความอยาก (ความต้องการ) ก็ทกุข์  ได้สมความอยาก แต่ไม่รู้จักพอ (โลภ) ก็ทุกข์  สูญเสียสิ่งที่รักก็ทุกข์ ฯลฯ

อุปาทาน  :   เป็นความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ  (กามุปาทาน  ทิฎฐุปาทาน  สีลัพพตุปาทาน  อัตตวาทุปาทาน

โดยอุปาทานยึดกับขันธ์ 5   เรียกว่า  อุปาทานขันธ์ 5  ซึ่งนำความทุกข์มาให้แก่เจ้าของขันธ์ 5  ทั้งนี้เพราะทุกสิ่งที่ถูกยึดมั่นถือมั่น เข้ากฎพระไตรลักษณ์ทั้งหมด คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โดยเฉพาะขันธ์ 5  ก็เป็นไตรลักษณ์  ดังนั้นไม่ว่าอะไรก็ตามที่ไปยึดติดกับขันธ์ 5  ก็ล้วนแต่เป็นไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน ดังนั้น ตัณหา และอุปาทาน จึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์

  • ทุกขสมุทัย  (กระบวนการเกิดทุกข์)
  • ทุกขนิโรธ  (กระบวนการดับทุกข์)

พุทธพจน์ กล่าวไว้ว่า :

ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท  ผู้นั้นเห็นธรรม
ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมที่สำคัญมากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ เพราะเป็นกระบวน (ห่วงโซ่) การเกิดความทุกข์และการดับทุกข์ของมนุษย์

ห่วงโซ่ของเหตุปัจจัยของการเกิดความทุกข์ของมนุษย์เริ่มต้นจากอวิชชา (ความไม่รู้ ไม่เข้าใจ เกี่ยวกับ (1) อริยสัจ 4  (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค),  (2) ความไม่รู้ในขันธ์ 5  ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต,  (3)  ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท)  จนกระทั่งชรามรณะ

ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ก็ต้องพบกับความทุกข์ ถึงแม้จะเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหมก็มีความทุกข์ เพียงแต่มีความสุขมากกว่าทุกข์เท่านั้นเอง

ทุกห่วงโซ่ของ “ปฏิจจสมุปบาท” นำมาซึ่งความทุกข์ ห่วงโซ่ที่นำมาซึ่งความทุกข์ที่มักจะกล่าวถึงกันบ่อย

หลักทั่วไป
ก. อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ                       เมื่อสิ่งนี้มี                    สิ่งนี้จึงมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ        เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น       สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ข. อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ                 เมื่อสิ่งนี้ไม่มี                สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ           เพราะสิ่งนี้ดับไป         สิ่งนี้ก็ดับ (ด้วย)

พิจารณาตามรูปพยัญชนะ หลักทั่วไปนี้ เข้ากับชื่อที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา

ปฏิจจสมุปบาท :  ทุกขสมุทัย  (กระบวนการเกิดทุกข์)

อวิชฺชาปจฺจยาสงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี
สงฺขารปจฺจยาวิญฺญาณํเพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมี
วิญฺญาณปจฺจยานามรูปํเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปจึงมี
นามรูปปจฺจยาสฬายตนํเพราะนามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะจึงมี
สฬายตนปจฺจยาผสฺโสเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยผัสสะจึงมี
ผสฺสปจฺจยาเวทนาเพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมี
เวทนาปจฺจยาตณฺหาเพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมี
[1]  หลวงปู่มั่น  ภูริทัตตเถร   :  ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา 
[2] สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)  :  พุทธธรรม

ตณฺหาปจฺจยา                อุปาทานํ                เพราะตัณหาเป็นปัจจัย                 อุปาทานจึงมี

อุปาทานปจฺจยา       ภโว                        เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย              ภพจึงมี

ภวปจฺจยา                 ชาติ                       เพราะภพเป็นปัจจัย                       ชาติจึงมี

ชาติปจฺจยา              ชรามรณํ                เพราะชาติเป็นปัจจัย                     ชรามรณะจึงมี

……………………………………………………………………………………………………………………………

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงมีพร้อม

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ ด้วยประการฉะนี้

หัวข้อและโครงรูป

ลำดับขั้นตอนการเกิดความทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นดังนี้

อวิชชา > สังขาร > วิญญาณ > นามรูป > สฬายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปาทาน > ภพ > ชาติ > ชรามรณะ  +  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์  โทนัส  อุปายาส  =  ทุกขสมุทัย

อนึ่ง  โดยที่กระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนเป็นวัฎฎะ หรือวงจร ไม่มีดเริ่มต้น ไม่มีจุดจบ ไม่มีเบื้องต้นเบื้องปลาย จึงควรเขียนเสียใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในแง่นี้ ดังนี้

ก่อนแสดงคำจำกัดความและความหมายตามแบบ จะให้คำแปลและความหมายง่ายๆ ตามรูปศัพท์ เป็นพื้นฐานความเข้าใจไว้ชั้นหนึ่งก่อน ดังนี้

1. อวิชชา           ความไม่รู้แจ้ง คือ ไม่รู้ความจริง หรือไม่รู้ตามเป็นจริง

2. สังขาร            ความคิดปรุงแต่ง เจตจำนงและทุกสิ่งที่จิตได้สะสมไว้

3. วิญญาณ        ความรู้ต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ คือ การเห็น-ได้ยิน-ฯลฯ-รู้เรื่องในใจ

4. นามรูป          นามธรรมและรูปธรรม ชีวิตทั้งกายและใจ

5. สฬายตนะ     อายตนะ คือ ช่องทางรับรู้ 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

6. ผัสสะ             การรับรู้ การประจวบกันของอายตนะ+อารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้)+วิญญาณ

7. เวทนา            ความเสวยอารมณ์ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ

8. ตัณหา            ความทะยานอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากไม่เป็น

9. อุปาทาน        ความยึดติดถือมั่น การยึดถือค้างใจ การยึดถือเข้ากับตัว

10. ภพ               ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ สภาพชีวิต ผลรวมกรรมทั้งหมดของบุคคล

11. ชาติ             ความเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายที่ยึดถือเอาเป็นตัวตน

12. ชรามรณะ   ความแก่-ความตาย คือ ความเสื่อมอินทรีย์-ความสลายแห่งขันธ์

ต่อไปนี้ คือ คำจำกัดความองค์ประกอบ หรือหัวข้อทั้ง 12 ตามแบบ (2)

1. อวิชชา       = ความไม่รู้ทุกข์ – สมุทัย – นิโรธ – มรรค (อริยสัจ 4) และ (ตามแบบอภิธรรม)

                        ความไม่รู้หนก่อน – หนหน้า – ทั้งหนก่อนหนหน้า – ปฏิจจสมุปบาท

2. สังขาร        = กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

                        และ (ตามนัยอภิธรรม) ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร

3. วิญญาณ    = จักขุ∼ โสต∼ ฆาน∼ ชิวหา∼ กาย∼ มโนวิญญาณ (วิญญาณ 6)

4. นามรูป      = นาม (เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ) หรือตามแบบอภิธรรม (เวทนาขันธ์

                        สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) + รูป (มหาภูต 4 และรูปที่อาศัยมหาภูต 4)

5. สฬายตนะ = จักขุ – ตา โสตะ – หู ฆานะ – จมูก ชิวหา – ลิ้น กาย – กาย มโน – ใจ

6. ผัสสะ         = จักขุสัมผัส โสต∼ ฆานะ∼ ชิวหา∼ กาย∼ มโนสัมผัส (สัมผัส 6)

7. เวทนา        = เวทนาเกิดจากจักขุสัมผัส จากโสต∼ ฆาน∼ ชิวหา∼ กาย∼ และมโนสัมผัส

                           (เวทนา 6)

8. ตัณหา        = รูปตัณหา (ตัณหาในรูป) สัททตัณหา (ในเสียง) คันธตัณหา (ในกลิ่น) รสตัณหา (ในรส)

                           โผฏฐัพพตัณหา (ในสัมผัสทางกาย) ธัมมตัณหา (ในธรรมารมณ์) (ตัณหา 6)

9. อุปาทาน    = กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ต่างๆ)

                           ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ คือ ความเห็น ข้อยึดถือ ลัทธิ ทฤษฎี ต่างๆ)

                           สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต ว่าจะทำให้คนบริสุทธิ์ได้)

                           อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในอัตตา สร้างตัวตนขึ้นยึดถือไว้ด้วยความหลงผิด)

10. ภพ         = กามภพ รูปภพ อรูปภพ อีกนัยหนึ่ง

                        = กรรมภพ (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร)

                           กับ อุปปัตติภพ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภพ

                           เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ)

11. ชาติ          = ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้มาซึ่งอายตนะต่างๆ

                           หรือความเกิด ความปรากฏขึ้นของธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ

12. ชรามรณะ = ชรา (ความเสื่อมอายุ ความหง่อมอินทรีย์) กับ

                           มรณะ (ความสลายแห่งขันธ์ ความขาดชีวิตินทรีย์) หรือ

                           ความเสื่อมและความสลาย

แห่งธรรมต่างๆ เหล่านั้นๆ

ตถาคตไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองข้างนั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆ ว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ”

“ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่าสุขทุกข์เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น) อาศัยอะไร? อาศัยผัสสะ”

“เมื่อกายมีอยู่ อาศัยความจงใจทางกายเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้ เมื่อวาจามีอยู่ อาศัยความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้ เมื่อมโนมีอยู่ อาศัยมโนสัญเจตนาเป็นเหตุ สุขทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้นได้”

“เพราะอวิชชานั่นแหละเป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่งกายสังขารขึ้นเอง เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง เนื่องจากผู้อื่น (ถูกคนอื่นหรือตัวการอื่นๆ กระตุ้นหรือชักจูง) จึงปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง รู้ตัวอยู่ จึงปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง ไม่รู้ตัวอยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายในบ้าง จึงปรุงแต่งวจีสังขาร…มโนสังขารขึ้นเองบ้าง…เนื่องจากผู้อื่นบ้าง…โดยรู้ตัวบ้าง…โดยไม่รู้ตัวบ้าง เป็นปัจจัยให้เกิดสุขทุกข์ภายใน ในกรณีเหล่านี้ อวิชชาเข้าแทรกอยู่แล้ว(ทั้งนั้น)” “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวกเห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรม (สิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท) เหล่านี้ ชัดเจนตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญาแล้วเมื่อนั้น การที่อริยสาวกนั้นจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างต้นว่า “ในอดีต เราได้เคยมีหรือไม่หนอ? ในอดีต เราได้เป็นอะไรหนอ? ในอดีต เราได้เป็นอย่างไรหนอ? ในอดีต เราเป็นอะไรแล้วจึงได้มาเป็นอะไรหนอ?” หรือจะแล่นเข้าหาที่สุดข้างปลายว่า “ในอนาคต เราจักมีหรือไม่หนอ? ในอนาคต เราจักเป็นอะไรหนอ? ในอนาคต เราจักเป็นอย่างไรหนอ? ในอนาคต เราเป็นอะไรแล้วจักได้เป็นอะไรหนอ?” หรือแม้แต่จะเป็นผู้มีความสงสัยกาลปัจจุบันเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า “เรามีอยู่หรือไม่หนอ? เราคืออะไรหนอ? เราเป็นอย่างไรหนอ? สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักไป ณ ที่ไหนอีก?” ดังนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร? ก็เพราะว่า อริยสาวกได้เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ และปฏิจจสมุปบันธรรมเหล่านี้ ชัดเจนแล้วตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา”

ก็คือ ตัณหา และอุปาทาน   ทั้งนี้เพราะ ตัณหาคือ ความอยากทุกชนิดเป็นกิเลส  (โลภะ โทสะ โมหะ)   สำหรับอุปาทานก็ต้องการยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตัวเอง อยากเป็นเจ้าของไม่อยากปล่อยวาง

ทั้งตัณหา และอุปาทาน ทำให้ทุกข์  เมื่อไม่ได้สมหวัง หรือสูญเสียสิ่งที่รักและทำให้ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิด  เพราะทั้งห่วง  หวง  ยึดติด ไม่ยอมปล่อยวาง ทำให้เกิดทุกข์ข้ามภพข้ามชาติ จึงทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด (ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่า “ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้”)

การเกิดความทุกข์  :  เกิดตัณหา และอุปาทาน
ลำดับขั้นการเกิดตัณหา และอุปาทาน (เป็นเพียงบางส่วนของกระบวนการเกิดทุกข์ตามหลัก
ปฏิจจสมุปบาท) เป็นดังนี้

อริยสัจข้อที่3  :  นิโรธ (ความดับทุกข์)

อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราค
นิโรธา สงฺขารนิโรโธ
 เพราะอวิชชาสำรอกดับไป
ไม่เหลือ สังขารจึงดับ
สงฺขารนิโรธาวิญฺญาณนิโรโธเพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ
วิญฺญาณนิโรธานามรูปนิโรโธเพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ
นามรูปนิโรธาสฬายตนนิโรโธเพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ
สฬายตนนิโรธาผสฺสนิโรโธเพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ
ผสฺสนิโรธาเวทนานิโรโธเพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ
เวทนานิโรธาตณฺหานิโรโธเพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ
ตณฺหานิโรธาอุปาทานนิโรโธเพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ
อุปาทานนิโรธาภวนิโรโธเพราะอุปาทานดับภพจึงดับ
ภวนิโรธาชาตินิโรโธเพราะภพดับชาติจึงดับ
ชาตินิโรธาชรามรณํเพราะชาติดับชรามรณะ (จึงดับ)

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ปฏิจจสมุปบาท  :  ทุกขนิโรธ  –  กระบวนการ (ห่วงโซ่)  ของความดับทุกข์
เป้าหมายของชีวิต  :  การดับทุกข์ที่ถาวรโดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาท
 “ปฏิจจสมุปบาท (ทุกขนิโรธ)   :  กระบวนการ (ห่วงโซ่) ของการดับทุกข์

ดังนั้น     การดับตัณหา  จะต้องดับที่เวทนา หรือที่ผัสสะ  (สักแต่ว่า…)

               การดับอุปาทาน  จะต้องดับที่ตัณหาต้องการหมดทุกข์  ต้องตัดห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาท  จะเป็นจุดใดของห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาทก็ได้ ซึ่งจะทำให้กระบวนการเกิดทุกข์หยุดทำงาน  อันจะทำให้ทุกข์ดับ

ตัดตัณหา  และอุปาทาน
ด้วย ทาน ศีล ภาวนา (สมาธิ ปัญญา)

ที่สุดของการดับทุกข์  คือ ดับอวิชชา  ซึ่งเป็นลำดับแรกของห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาท  ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยสัจสี่  (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)  หรือ ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)

อริยสัจข้อที่  4:  มรรค  (มัชฌิมาปฏิปทา) และไตรสิกขา

คนส่วนใหญ่ชอบเดินทางเก่า อันได้แก่ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

  • กามสุขัลลิกานุโยค คือ การทำตนให้เป็นผู้หมกมุ่นติดอยู่ในกามสุข
  • อัตตกิลมถานุโยค คือ การปฏิบัติผิด แม้ประพฤติเคร่งครัดทำตนให้ลำบากสักเพียงไร ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ ซึ่งมรรค ผล นิพพาน

ความสุขมี  2 ชนิด คือ

  1. อามิสสุข  คือ สุขมีประมาณน้อย ได้แก่ สุขซึ่งเกิดแต่ความยินดีในกาม
  2. นิรามิสสุข  คือ สุขอันไพบูลย์ ได้แก่ ฌาน วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน

ธรรมปฏิบัติที่จะให้ถึงสุขอันไพบูลย์ ต้องปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8  (มัชฌิมาปฏิปทา = ทางสายกลาง)

1) สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ)
2) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
(3) ปัญญา  (ทำใจให้บริสุทธิ์)
3) สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
4) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)
5) สัมมาอาชีวะ  (อาชีพชอบ)
(1) ศีล  (การละชั่ว)
6) สัมมาวายามะ  (ความเพียรชอบ)
7) สัมมาสติ  (ความระลึกชอบ)
8) สัมมาสมาธิ  (จิตตั้งมั่นชอบ)
(2) สมาธิ  (ทำความดี)

ตารางข้างต้น เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอริยมรรคและไตรสิกขา  ข้อสังเกตก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8  เริ่มต้นจาก สัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ)  เป็นความเห็นชอบเกี่ยวกับเรื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค  หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ “อริยสัจ 4  และมีความเชื่อมั่นในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นคำสอนที่ประเสริฐแท้เกี่ยวกับ ทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์และสร้างสุขอย่างแท้จริง ดังคำกล่าว “นิพพานัง ปรฺมัง สุขัง”  (นิพพาน เป็นสุขยิ่งนัก หรือนิพพานเป็นความสุขสูงสุด เพราะหมดสิ้นซึ่งกิเลสทั้งปวง ไม่มีการเกิดอีกแล้ว ไม่ว่าจะเกิดเป็นภพภูมิใดก็ตาม)

               สัมมาทิฎฐิ ตรงกับหมวด “ปัญญา” ของไตรสิกขา

               ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามไตรสิกขา ต้องปูพื้นด้านการรักษาศีลก่อน

  1. “ศีล”  รักษาศีลก่อน เพราะต้องทำให้กาย และวาจาบริสุทธิ์ก่อน (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ) เมื่อกายและวาจาบริสุทธิ์  (ละการทำชั่วทางกายและวาจา) ก็ดำเนินเรื่องต่อด้าน “สมาธิ” (การทำความดี)
  2. “สมาธิ”  การเจริญสมาธิ จะต้องมีบาทฐานของการรักษาศีลที่ดีและมั่นคง เพื่อที่มุ่งหน้าละชั่ว ทำดี โดยการเดินตามอริยมรรคด้าน สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ  โดยเฉพาะสัมมาวายามะ เป็นความเพียรด้านการละชั่ว และทำความดี เพื่อให้ใจพร้อมที่จะปฏิบัติธรรมขั้นต่อไปคือ สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ)
  3. “ปัญญา”  เมื่อผ่านขั้นตอนการการเจริญสมาธิแล้ว ก็ดำเนินเรื่อง “ปัญญา”  ซึ่งเป็นเรื่องการทำใจให้บริสุทธิ์ โดยมีอริยมรรคที่สำคัญเพื่อการปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุด มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ)  และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)  เพราะสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นการแก้ไข “อวิชชา”  (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)  เพื่อให้เกิด “วิชชา”  เมื่อเกิด “วิชชา” (รู้ตามความเป็นจริง)  “อวิชชา” ก็หายไป (ดับ)  ห่วงโซ่ของปฏิจจสมุปบาท : ทุกขนิโรธก็ขาดลงทั้งหมด ซึ่งก็หมายถึง ความทุกข์ก็ดับลงทั้งหมด เป็นการบรรลุพระนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา- สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)  เป็นหลักธรรมที่ออกจากกาม (ละกามราคะ)  ซึ่งเป็นสังโยชน์ที่สำคัญของการบรรลุขั้นพระอนาคามี  ความดำริในการไม่เบียดเบียนและความดำริในการไม่พยาบาท ก็หลักธรรมที่สำคัญในการปฏิบัติเพื่อการบรรลุการเป็นพระอริยบุคคล

(1) พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตตเถร  :  ปฎิปัตติปุจฉาวิสัชนา

ศีล สมาธิ ปัญญา  :  เป้าหมายสูงสุดคือ
บรรลุพระนิพพาน  หรือบรรลุการเป็นพระอรหันต์
หมายเหตุ :
ระดับโลกีย์ : ทำศีล สมาธิ ปัญญา  ปัญญาที่เกิดขึ้นยังไม่เห็นอริยสัจ 4  สังโยชน์ 3  ยังละไม่ได้
ระดับโลกุตตร :  ทำศีล สมาธิ ปัญญา  โดยปัญญาเห็นอริยสัจ 4 แล้ว  และละสังโชน์ 3  ได้แล้ว
Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post