Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา

โซนที่ ๘ ประวัติพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า

เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา

เอตทัคคะ แปลว่า “นั่นเป็นยอด”, “นี่เป็นเลิศ”, ได้แก่ บุคคลหรือสิ่งที่ยอดเยี่ยม ดีเด่น หรือ เป็นเลิศ ในทางใดทางหนึ่ง เช่น ในพุทธพจน์ (องฺ.เอก.๒๐/๑๔๖/๓๑) ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว มม สาวกานํ ภิกฺขูนํ รตฺตญฺญูนํ ยทิทํ อญฺญาโกณฺฑญฺโญ” (ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้รัตตัญญู อัญญาโกณฑัญญะนี่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม), (องฺ.เอก.๒๐/๗๘/๑๗) ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว วุฑฺฒีนํ ยทิทํ ปญฺญาวุฑฺฒิ” (ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญทั้งหลายความเจริญเพิ่มพูนปัญญานี่ เป็นเยี่ยม), (องฺ.นวก.๒๓/๒๐๙/๓๗๗) ว่า “เอตทคฺคํ ภิกฺขเว ทานานํ ยทิทํ ธมฺมทานํ” (ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาทานทั้งหลาย ธรรมทานนี้เป็นเลิศ)

ตามปกติ มักหมายถึง พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม เป็นต้น

ดังนั้น เอตทัคคะ จึงหมายถึง ผู้ประเสริฐสุดในทางใดทางหนึ่ง เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแต่งตั้ง ให้พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถ เด่นกว่าท่านอื่นๆ ในด้านนั้นๆ และแต่ละตำแหน่ง พระพุทธองค์ประทานแต่งตั้งเพียง รูปเดียว ท่านเดียวเท่านั้น

เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพุทธบริษัททั้ง ๔ ไว้ในตำแหน่ง คือ 

      ๑. ได้รับการยกย่องตามเรื่องที่เกิดขึ้น ( อัตถุปปัตติโต ) ได้แสดงความ สามารถให้ปรากฏ โดยสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

      ๒. ได้รับการยกย่องตามที่ได้สะสมบุญมาในอดีตชาติ ( อาคมันโต ) ได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้นมาตั้งแต่อดีตชาติ พร้อมทั้งตั้งจิต ปราถนาเพื่อบรรลุตำแหน่งนั้นด้วย

      ๓. ได้รับการยกย่อง ตามความเชี่ยวชาญ ( จิณณวสิโต ) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษ

 ๔. ได้รับการยกย่องตามความสามารถเหนือผู้อื่น ( คุณาติเรกโต ) มีความสามารถ ในเรื่องที่ทำให้ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ เหนือกว่าผู้อื่นที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน

 

เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา

๑. ภิกษุบริษัท ๔๑ ท่าน

๒. ภิกษณีบริษัท ๑๓ ท่าน

๓. อุบาสกบริษัท ๑๐ ท่าน

๔. อุบาสิกาบริษัท ๑๐ ท่าน

หมวด อุบาสกบริษัท ๑๐ ท่าน

๑. ตปุสสะ-ภัลลิกะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงสรณะก่อน

๒. อนาถะปิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก

๓. จิตตะคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก

๔. หัตถกคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔

๕. พระเจ้ามหานามศากยะ เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายทานมีรสอันประณีต

๖. อุคคะคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ให้ของเจริญจิต

๗. อุคคตะคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์

๘. สูรอัมพัฏฐะอุบาสก เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว

๙. ชีวกะโกมารภัจ เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล

๑๐.นกุลบิดาคฤหบดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคย

หมวด อุบาสิกาบริษัท ๑๐ ท่าน

๑. นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน

๒. นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา

๓. นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม

๔. นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา

๕. นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน

๖. พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต

๗. นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้

๘. นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง

๙. นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทะคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา

๑๐.นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา

หมวด ภิกษุบริษัท ๔๑ ท่าน

๑. พระอัญญาโกณฑัญญะเถระ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู

๒. พระอุรุเวลกัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก

๓. พระสารีบุตรเถระ (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา

๔. พระมหาโมคคัลลานะเถระ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์

๕. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก

๖. พระกาฬุทายีเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส

๗. พระนันทเถระ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์

๘. พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

๙. พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย

๑๐.พระภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง

๑๑.พระอนุรุทธเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ

๑๒.พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก

๑๓.พระโมฆราชเถระ เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง

๑๔.พระปิณโฑลภารทวาชเถระ เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท

๑๕.พระมหากัจจายนเถระ เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร

๑๖.พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก

๑๗.พระโสณกุฏิกัณณเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ

๑๘.พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์

๑๙.พระราธเถระ เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย

๒๐.พระลกุณฏกภัททิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ

๒๑.พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ

๒๒.พระพากุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ

๒๓.พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ

๒๔.พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุ

๒๕.พระอุปเสนเถระ เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใส

๒๖.พระเรวตขทิรวนิยเถระ เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า

๒๗.พระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทางอรณวิหารและทักขิเณยยบุคคล

๒๘.พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา

๒๙.พระวังคีสเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ

๓๐.พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร

๓๑.พระโสภิตเถระ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ

๓๒.พระนันทกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาสภิกษุณี

๓๓.พระกังขาเรวตเถระ เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ

๓๔.พระมหาปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา

๓๕.พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

๓๖.พระกุณฑธานเถระ เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง

๓๗.พระรัฐปาลเถระ เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา

๓๘.พระกุมารกัสสปเถระ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร

๓๙.พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔

๔๐.พระสาคตเถระ เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ

๔๑.พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

หมวด ภิกษณีุบริษัท ๑๓ ท่าน

๑. พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู

๒. พระเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา

๓. พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์

๔. พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย

๕. พระนันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เพ่งด้วยฌาน

๖. พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก

๗. พระโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร

๘. พระสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ

๙. พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน

๑๐.พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

๑๑.พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา

๑๒.พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

๑๓.พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

และ http://www.84000.org

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post