พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า
( 釋迦牟尼佛 )
พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า (ปางนั่งบัลลังก์ดอกบัว-มือถือดอกบัว)
พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า หรือ พระโคตมพุทธเจ้า (เซ็กเกียหม่อนี้ฮุก หรือ เสกเกียเหมานีฮุก หรือ สิกแกเหม่านี้ฮุดโจ๊ว) โดยในรูปแบบนี้ถือว่าพระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่ง พระนิรมาณกาย
พระศากยมุนีพุทธเจ้า ของทางฝ่ายมหายานออกเสียงพระนามทับศัพท์ว่า เสก เกีย (釋迦) คือ ศากยะ และ เมา นี ( 牟尼) คือ มุนี รวมเป็น ศากยมุนี ซึ่งก็คือ พระมหาสมณโคดม หรือเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ประสูติในสวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศเนปาล) ตรัสรู้ใต้ร่มโพธิพฤกษ์ ริมแม่น้ำเนรัญชรา (พุทธคยา) และเสด็จดับขันธ์สู่ห้วงมหาปรินิพพานใต้ควงไม้สาละ ที่เมืองกุสินาราพระองค์เดียวกัน
ทรงเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวกันกับพระพุทธเจ้าของทางฝ่ายเถรวาทเรา พระองค์นั้นทรงประกาศพระศาสนาเพื่อยังประโยชน์แก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวง ซึ่งพอจะสรุปคำสอนได้ว่า “การงดการกระทำบาปทั้งปวง กระทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” พระพุทธองค์ทรงยังประโยชน์และตรัสแสดงพระธรรมเทศนาแบ่งเป็น ๓ หมวด หรือพระไตรปิฎกอันมี
แบ่งย่อยเป็นข้อธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งล้วนแต่เป็นอุบายธรรมที่ใช้ขัดเกลาสรรพสัตว์ที่เหมาะสมแต่ละบุคคล พระศากยมุนีพุทธเจ้า ตามแบบมหายานโดยมากจะทรงถือดวงแก้วมณีที่พระหัตถ์ทั้งสอง ซึ่งจะวาดเป็นสีแดง บางที่ก็จะทรงอุ้มบาตรอันแสดงถึงการเป็นพระนิรมาณกาย ที่ยังต้องกินต้องอยู่เหมือนคนธรรมดาบางที่จะถือดวงแก้วเพียงพระหัตถ์เดียว ส่วนพระหัตถ์ขวาจะทรงท่ารัตนตรัยมุทรา หรือ ท่าประทานเทศนา หรือ ประทานพร อันสาธุชนสามารถ ศึกษาพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ได้ตามฉบับของฝ่ายเถรวาท
พระโพธิสัตว์คู่บารมี พระศากยมุนีพุทธเจ้า
พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระองค์ประทับบนคชสารเผือก ๖ งา โดยพระมัญชุศรีอยู่บนสิงโตเขียวส่วนพระสมันตภัทรอยู่บนช้างสีขาว ในจีน ท่านมีชื่อว่า โผ่วเฮี่ยง
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นชายหนุ่ม อายุราว ๑๖ ปี นั่งบนดอกบัว มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือดอกบัว หรือคัมภีร์ใบลาน มีกายเป็นสีเหลือง ในจีน ท่านมีชื่อว่า บุ่งซู้ มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่มากกว่าภาพลักษณ์ในทิเบต
โดยจะมักพบเห็นการจัดวางของพระประธานในวัดนิกายมหายาน ซึ่งอาจจะจัดวางให้พระไวโรจนะพุทธเจ้าหรือพระศรีศากยมุนีประดิษฐานอยู่ตรงกลางเป็นองค์ประธาน แล้วมีพระมัญชุศรีโพธิสัตว์กับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ประดิษฐานอยู่เบื้องซ้าย – ขวา ของพระประธาน อันในคัมภีร์อวตังสกะสูตร จะเรียกการจัดวางแบบนี้ว่า “ พระมหาอริยเจ้าทั้ง ๓ แห่งอวตังสกะ (華嚴三聖) ”
คัดย่อข้อมูลจาก : Facebook โรงเจโผ้วทอเกง (บางแค)
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250