Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu
๕๑

พระสภิยเถระ

ท่านพระสภิยเถระ มีชาติภูมิอยู่ที่ไหน เป็นบุตรของใคร ไม่ปรากฏในตำนาน ปรากฏแต่ว่าท่านเป็นปริพาชก ชื่อว่า สภิยะ 
สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นกลันทกนิวาปสถาน ในกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เทวดาที่เคยเป็นญาติ สายโลหิตกันมาแต่ชาติก่อน ได้ผูกปัญหา ให้แก่สภิยปริพาชก แล้วสั่งความว่า ดูก่อนสภิยะ สมณพราหมณ์ผู้ใด แก้ปัญหาที่ท่านถามนี้ได้แล้วท่านพึงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณพราหมณ์ผู้นั้น สภิยปริพาชก เรียนเอาปัญหาในสำนักของเทวดานั้น จำได้แล้ว เที่ยวถามสมณพราหมณ์ ผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ มียศปรากฏ ชื่อเสียงในครั้งนั้น มีครูทั้งหก คือ ปูรณกัสสปะ, มักขลิโคศาล, อชิตเกสกัมพล, ปกุทธกัจจายนะ, สัญชัยเวฬัฏฐบุตร และนิคันถนาฏบุตร เป็นต้น
ครูเหล่านั้น ก็พากันแก้ไม่ได้ แม้สักคนเดียว ซ้ำยังกลับพูดเยาะเย้ยสภิยปริพาชก มีประการต่างๆเสียอีก 

ครั้งนั้น สภิยปริพาชก เมื่อถูกครูทั้งหลาย เยาะเย้ยแล้ว ก็เกิดความท้อใจ คิดจะกลับไปเป็นคนเลว บริโภคกามคุณ ครั้นมาหวนคิดถึงพระสมณโคดมขึ้นได้ จึงตกลงใจนะไปเฝ้า แต่ยังมีความสงสัยในใจว่า พวกสมณพราหมณ์ มีครูทั้งหกเป็นต้น ก็เป็นคนผู้เฒ่าผู้แก่ บวชมาเป็นเวลานาน เป็นคณาจารย์สั่งสอน แก่หมู่ศิษย์มาก ยังแก้ปัญหานี้

ไม่ได้ แล้วไฉนพระสมณโคดม ยังเป็นเด็กอยู่ทั้งบวชใหม่ด้วยจะแก้ปัญหานี้ได้เทียวหรือ และได้บรรเทาความสงสัย ด้วยตนเองว่า ถึงแม้พระสมณโคดม จะยังเด็กเล็กอยู่ก็จริง แต่พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มาอานุภาพใหญ่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ที่เวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์ กราบทูลขอโอกาสถามปัญหา  เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ได้ทูลถามปัญหาหลายหมวด หลายตอน ในที่สุดแห่งการพยากรณ์ปัญหาสภิยปริพาชกเกิดความเลื่อมใสแล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ รับสั่งให้อยู่ติตถิรปริวาส (วิธีอยู่กรรม สำหรับเดียรถีย์ ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา) ครบกำหนด 4 เดือนแล้ว ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ในพระพุทธศาสนา หลีกอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท อุตส่าห์บำเพ็ญเพียร ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคล นับเข้าในพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่ง

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post