ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านมาเกิดในวรรณะแพศย์ เป็นบุตรของสุมนเศรษฐี ผู้เป็นน้องชายของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในนครสาวัตถี ท่านเป็นผู้มีลักษณะดี ผิวพรรณผ่องใส สะอาด สวยงาม จึงได้นามว่า “สุภูติ” ซึ่งถือว่าเป็นมงคลนาม มีความหมายว่า “ผู้เกิดดีแล้ว” เหตุการณ์ที่ชักนำให้ท่าน ได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็เนื่องมาจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นลุง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขณะประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน เมืองราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรมเทศนา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเพื่อเสด็จกรุงสาวัตถี เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงรับอาราธนาแล้ว รีบเดินทางกลับมาสู่กรุงสาวัตถี ได้จัดซื้อที่ดิน อันเป็นราชอุทยานของเจ้าชายเชตราช สร้างซุ้มประตูพระอาราม เจ้าชายเชตราชกุมาร จึงขอมอบพื้นที่และจัดสร้างให้ โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ ไว้ที่ซุ้มประตูพระอารามนั้น“เชตวัน”ดังนั้นระอารามนี้จึงได้นามว่า“พระเชตวันมหาวิหาร” ในวันที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จัดการฉลองพระวิหารเชตะวันนั้น ได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหาร สุภูติกุฎุมพี ผู้เป็นหลาน ได้ติดตามไปร่วมพิธีช่วยงานนี้ด้วย ครั้นได้เห็นพระฉัพพรรณรังสี ที่เปล่งออกจากพระวรกาย ของพระบรมศาสดา สวยงามเรืองรองไปทั่วบริเวณ ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใส
อนุโมทนาทาน สุภูติกุฎุมพี ได้ฟังแล้วยิ่งเกิดศรัทธามากขึ้น จึงกราบทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย
ครั้นได้อุปสมบทสมความปรารถนาแล้ว ได้ศึกษาพระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกจนเชี่ยวชาญ จากนั้น ได้เรียนพระกรรมฐานจากพระบรมศาสดา แล้วหลีกออกไปบำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสสนากรรมฐานอยู่ในป่า ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลสิ้นกิเลสาสวะเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในพระศาสนา พระสุภูติเถระ โดยปกติแล้ว มักจะเข้าฌานสมาบัติ เพื่อแสดงหาความสุข อันเกิดจากการสิ้นกิเลส ท่านประกอบด้วยคุณสมบัติ 2 ประการ คือ:-
1. อรณวิหารธรรม คือเจริญฌานประกอบด้วยเมตตาหรือเป็นอยู่อย่างไม่มีข้าศึก(อรณวิหารีนํ)
2. ทักขิเณยยบุคคล คือเป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน(ทกฺขิเณยฺยานํ) ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงยกย่องท่าน ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย 2 ทาง คือ ในทางเจริญฌานประกอบด้วยเมตตา (อรณวิหารี) และในทางเป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน (ทกฺขิเณยฺยานํ)
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250