Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

3.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)

โซนที่ ๗ สมเด็จพระสังฆราชฯ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

3.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)

องค์ที่ ๓

3.สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2362

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

 

ดำรงพระยศ พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2362

สมณุตตมาภิเษก พ.ศ. 2359

สถิต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

นิกาย มหานิกาย

ประสูติ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2293

สิ้นพระชนม์ 11 เมษายน พ.ศ. 2362

พระชนมายุ 69 พรรษา 

 

พระประวัติในเบื้องต้น

สมเด็จพระสังฆราช (มี)  ทรงเป็นพระราชาคณะในราชทินนามที่ พระวินัยรักขิต เป็นรูปแรก พ.ศ. 2337 ในรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2  เมื่อสมเด็จพระพนรัตน วัดโพธาราม (วัดพระเชตุพน) ถึงมรณภาพราวต้นรัชกาล จึงทรงตั้งเป็น สมเด็จพระพนรัตน 

 

สมณทูตไปลังกาครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพนรัตน สมเด็จพระสังฆราช (มี)  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นผู้จัดสมณทูต เพื่อออกไปยังลังกาทวีปครั้งนี้  เป็นการรื้อฟื้นศาสนไมตรีระหว่างไทยกับลังกา  มีการติดต่อสัมพันธ์กันใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ในทางพระศาสนาในเวลาต่อมาเป็นอันมาก

 

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงตั้ง สมเด็จพระพนรัตน (มี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามว่า “สมเด็จพระอริยวงษญาณ” เมื่อ  พ.ศ. 2369  กระทั่งถึงรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแก้ราชทินนามนี้เป็น  "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ"  และใช้พระนามนี้สำหรับสมเด็จพระสังฆราชสืบมาจนปัจจุบัน

 

เกิดธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ

รัชกาลที่ 2   ทรงโปรดให้แห่สมเด็จพระสังฆราช (มี) จากพระอารามเดิมมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ  เป็นการเริ่มต้นธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราช   วัดมหาธาตุก็ได้เป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนตลอดรัชกาลที่ 2 

 

เกิดอธิกรณ์ครั้งสำคัญ

เกิดมีเถระผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังของคณะสงฆ์ ต้องอธิกรณ์เมถุนปาราชิกพร้อมกันถึง 3 รูป  ปี พ.ศ. 2359   3 รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิก    เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้จัดสมณทูตไปลังกาเมื่อต้นรัชกาล สมเด็จพระสังฆราช (มี) ขณะยังเป็นที่ สมเด็จพระพนรัตน  ที่เป็นผู้จัดการเรื่องสมณทูตไปลังกา เป็นที่เรียบร้อย สมพระราชประสงค์  และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อมาเกิดอธิกรณ์ขึ้นเช่นนี้  คงตกเป็นภาระของสมเด็จพระสังฆราชนั่นเอง ที่จะต้องสะสางและปรับปรุงการคณะสงฆ์ให้ดีขึ้น 

 

พิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2360 สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชได้ถวายพระพร ให้ทรงกระทำการสักการะบูชาพระศรีรัตนตรัยในวันวิสาขบูชา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดให้กำหนดพิธีวิสาขบูชาขึ้น เป็นธรรมเนียม นั้นเป็นต้นมา และเป็นครั้งแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

 

ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม

โปรดให้ปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อให้ภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้เป็นบาเรียน  โดยขยายการศึกษาออกไปเป็น 9 ประโยค ผู้สอบไล่ได้ตั้งแต่ 3 ประโยคขึ้นไปจึงเรียกว่าเป็นบาเรียน (หรือเปรียญ) ชั้นบาเรียนที่ปรับปรุงใหม่ในรัชกาลที่ 2 ดังกล่าวนี้ ก็มีอัตราเทียบได้กับชั้นบาเรียนอย่างเก่าคือ   3 ประโยค จัดเป็นบาเรียนตรี    4, 5, 6 ประโยค จัดเป็นบาเรียนโท

7, 8, 9 ประโยค จัดเป็นบาเรียนเอก  หลักสูตรพระปริยัติธรรม คือ       ประโยค 1, 2, 3 แปล ธัมมปทัฏฐกถา    ประโยค 4 แปล มังคลัตถทีปนี บั้นต้น      ประโยค 5 แปล บาลีมุตตกวินัย วินิจฉัย สังคหะ / สารัตถสังคหะ       ประโยค 6 แปล มังคลัตถทีปนี บั้นปลาย        ประโยค 7 แปล ปฐมสมันตัปปาสาทิกา        ประโยค 8 แปลวิสุทธิมัคคปกรณ์        ประโยค 9 แปล สารัตถทีปนี   หลักสูตรพระปริยัติธรรม  ได้ใช้เป็นแบบแผนการศึกษาพระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทย สืบมาจนปัจจุบัน พระ 

 

พระอวสานกาล

สมเด็จพระสังฆราช (มี) ทรงดำรงตำแหน่งมหาสังฆปรินายกอยู่เพียง 3 ปี กับ 1 เดือน  พระองค์สิ้นพระชนม์ ตรงกับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2362 ในรัชกาลที่ 2 พระชนมายุ 69 พรรษา  

 

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post