Language
 - 
Afrikaans
 - 
af
Albanian
 - 
sq
Amharic
 - 
am
Arabic
 - 
ar
Armenian
 - 
hy
Azerbaijani
 - 
az
Basque
 - 
eu
Belarusian
 - 
be
Bengali
 - 
bn
Bosnian
 - 
bs
Bulgarian
 - 
bg
Catalan
 - 
ca
Cebuano
 - 
ceb
Chichewa
 - 
ny
Chinese (Simplified)
 - 
zh-CN
Chinese (Traditional)
 - 
zh-TW
Corsican
 - 
co
Croatian
 - 
hr
Czech
 - 
cs
Danish
 - 
da
Dutch
 - 
nl
English
 - 
en
Esperanto
 - 
eo
Estonian
 - 
et
Filipino
 - 
tl
Finnish
 - 
fi
French
 - 
fr
Frisian
 - 
fy
Galician
 - 
gl
Georgian
 - 
ka
German
 - 
de
Greek
 - 
el
Gujarati
 - 
gu
Haitian Creole
 - 
ht
Hausa
 - 
ha
Hawaiian
 - 
haw
Hebrew
 - 
iw
Hindi
 - 
hi
Hmong
 - 
hmn
Hungarian
 - 
hu
Icelandic
 - 
is
Igbo
 - 
ig
Indonesian
 - 
id
Irish
 - 
ga
Italian
 - 
it
Japanese
 - 
ja
Javanese
 - 
jw
Kannada
 - 
kn
Kazakh
 - 
kk
Khmer
 - 
km
Korean
 - 
ko
Kurdish (Kurmanji)
 - 
ku
Kyrgyz
 - 
ky
Lao
 - 
lo
Latin
 - 
la
Latvian
 - 
lv
Lithuanian
 - 
lt
Luxembourgish
 - 
lb
Macedonian
 - 
mk
Malagasy
 - 
mg
Malay
 - 
ms
Malayalam
 - 
ml
Maltese
 - 
mt
Maori
 - 
mi
Marathi
 - 
mr
Mongolian
 - 
mn
Myanmar (Burmese)
 - 
my
Nepali
 - 
ne
Norwegian
 - 
no
Pashto
 - 
ps
Persian
 - 
fa
Polish
 - 
pl
Portuguese
 - 
pt
Punjabi
 - 
pa
Romanian
 - 
ro
Russian
 - 
ru
Samoan
 - 
sm
Scots Gaelic
 - 
gd
Serbian
 - 
sr
Sesotho
 - 
st
Shona
 - 
sn
Sindhi
 - 
sd
Sinhala
 - 
si
Slovak
 - 
sk
Slovenian
 - 
sl
Somali
 - 
so
Spanish
 - 
es
Sundanese
 - 
su
Swahili
 - 
sw
Swedish
 - 
sv
Tajik
 - 
tg
Tamil
 - 
ta
Telugu
 - 
te
Thai
 - 
th
Turkish
 - 
tr
Ukrainian
 - 
uk
Urdu
 - 
ur
Uzbek
 - 
uz
Vietnamese
 - 
vi
Welsh
 - 
cy
Xhosa
 - 
xh
Yiddish
 - 
yi
Yoruba
 - 
yo
Zulu
 - 
zu

หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส

zSpecial

หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส

หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส

วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

ชาติกำเนิด และชีวิตปฐมวัย

ท่านพระครูปัญญาวิสุทธิ์ มีนามเดิมว่า บัวพา แสงศรี เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2454 เป็นบุตรคนโต (ในจำนวน 7 คน) ของนายหยาดและนางทองสา แสงศรี มีอาชีพทำนาทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันนี้ขึ้นกับจังหวัดยโสธร) ต่อมาบิดามารดาได้อพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่บ้านกุดกุง ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร อุปนิสัยของเด็กชายบัวพา แสงศรี เป็นคนพูดน้อย มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นคนว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาทของบิดามารดาเมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าเรียนหนังสือ ก็เข้าโรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้าน จนจบหลักสูตรของการศึกษาในสมัยนั้น

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ครั้นนายบัวพา แสงศรี อายุได้ 21 ปี บิดามารดาเห็นว่า สมควรจะบวชได้แล้ว จึงจัดเตรียมกองบวชให้ลูกชาย และจัดการอุปสมบทในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2475 ณ สีมาน้ำวัดบ้านกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันนี้ขึ้นกับจังหวัดยโสธร) โดยมีพระอาจารย์ม่อน ยโสธโร เป็นพระอุปัชฌาย์

หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ก็ได้จำพรรษาอยู่วัดบ้านกุดกุง ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้วเพื่อนสหธรรมิกมาชวนไปปฏิบัติกรรมฐานออกธุดงค์ในป่าเพื่อทดลองดูว่า จิตใจจะยึดมั่นในทางปฏิบัติได้หรือไม่

ด้วยความใฝ่ใจในการฝึกฝนอบรมจิต พระบัวพา ปญฺญาภาโส จึงไปฝึกปฏิบัติพระกรรมฐานกับเพื่อนสหธรรมิกาที่วัดป่าบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี พระภิกษุที่ไปด้วยกันคราวนั้น เมื่อปฏิบัติกรรมฐานไปได้ระยะหนึ่งก็เกิดศรัทธาปสาทะ จึงขอทำทัฬหิกรรมญัตติเป็นพระธรรมยุตหมดทุกรูป แต่ตอนนั้นพระภิกษุบัวพา ปญฺญาภาโส ยังไม่พร้อมที่จะขอญัตติเป็นพระธรรมยุต ยังพิจารณาว่า จะควรทำหรือไม่ เพราะยังไม่ได้บอกลาอุปัชฌาย์อาจารย์

พระภิกษุบัวพาเห็นว่าควรลองปฏิบัติกรรมฐานไปเรื่อยๆ ก่อน ถ้าเห็นว่าเหมาะว่าควร จึงจะขอทำทัฬหิกรรม ญัตติเป็นพระธรรมยุตในภายหลัง ประกอบกับครูบาอาจารย์อยากให้ท่านเรียนปริยัติธรรม ด้านสนธิและมูลกัจจายนะ พอให้

มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมเสียก่อน แล้วค่อยออกปฏิบัติกรรมฐานในโอกาสต่อไป

ดังนั้นพระภิกษุบัวพา จึงไปเรียนหนังสือที่วัดบ้านไผ่ใหญ่ อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ 1 พรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วจึงยังย้อนกลับมาอยู่กับ พระอาจารย์ม่อน ยโสธโร ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านคือ วัดบ้านปอแดง และได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนสนธิและมูลกัจจายนะเพิ่มเติมอีก

พอว่างจากการเรียนหนังสือ พระภิกษุบัวพาก็ชอบอยู่ในที่สงัดเช่น ตามโคนต้นไม้ ตามป่า เป็นต้น ซึ่งในสมัยนั้นหาได้ง่าย ท่านมีใจใฝ่ในการปฏิบัติกรรมฐานตลอดมา ฉันมื้อเดียวเป็นประจำ พอออกพรรษาแล้ว มีเพื่อนชวนไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดป่าบ้านโนนทัน พระที่ไปด้วยกันได้ขอทัฬหิกรรมญัตติเป็นพระธรรมยุตหมด ยังเหลือแต่พระภิกษุบัวพา ปญฺญาภาโสที่ยังไม่พร้อมที่จะญัตติเป็นพระธรรมยุต เหมือนเช่นเคย เนื่องจากยังไม่ได้บอกลาพระอุปัชฌาย์

ในปีนั้นท่านได้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่วัดป่าบ้านโนนทัน กับท่านพระอาจารย์ทอง ฝึกหัดนั่งสมาธิ เดินจงกรมบำเพ็ญเพียรในอิริยาบถต่างๆ รู้สึกว่าจิตใจสงบร่มเย็นขึ้นโดยลำดับ ตั้งแต่นั้นต่อมาท่านก็เลยเลิกเรียนปริยัติ มุ่งหน้าแต่ด้านปฏิบัติกรรมฐานเพียงอย่างเดียว

ด้วยเหตุที่มีจิตใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติกรรมฐาน พระภิกษุบัวพา จึงออกเดินทางไปวัดสีฐาน อำเภอมหาชนะชัยเพื่อฝึกอบรมกรรมฐานให้ได้ผล และแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความชำนาญในการสอนกรรมฐาน

ในช่วงนั้นชื่อเสียงและปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ทางด้านการสอนกรรมฐานกำลังเลื่องลือและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป พระภิกษุบัวพาก็อยากจะพบเห็น เพื่อจะได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ทั้งสอง จึงได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมิกเดินทางไปยังจังหวัดสกลนคร

การเดินทางในสมัยนั้นลำบากมากเพราะไม่มีถนน ไม่มีรถยนต์ ต้องเดินทางไปตามทางเกวียน ผ่านป่าดงหนาทึบข้ามภูเขาหลายลูก คณะของพระภิกษุบัวพาจึงออกเดินทางจากอำเภอมหาชนะชัย ไปจังหวัดสกลนคร

ในขณะเดียวกันก็มีคณะพระภิกษุสามเณรจะเดินทางไปอำเภอบัวขาว จังหวัดกาฬสินธุ์ และจะต่อไปยังสกลนคร พระภิกษุบัวพาจึงขอเดินทางร่วมไปด้วย เมื่อไปถึงสกลนคร ก็ได้เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลที่วัดป่าสุทธาวาส ขอฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของท่าน

เมื่อฝึกปฏิบัติกรรมฐานไปได้ระยะหนึ่ง จิตใจของท่านรู้สึกสงบเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ท่านจึงตกลงใจว่า สมควรที่จะขอทำทัฬหิกรรมญัตติเป็นพระธรรมยุตได้แล้ว

ดังนั้นหลวงปู่เสาร์จึงสั่งการให้จัดเตรียมบริขารเป็นต้นว่า ผ้าจีวร ผ้าสังฆาฏิและผ้าสบง เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว หลวงปู่เสาร์จึงสั่งให้พระภิกษุ 2 รูป นำคณะของพระภิกษุบัวพาเดินทางไปขอทำทัฬหิกรรมญัตติเป็นพระธรรมยุตที่จังหวัดนครพนม

พิธีการอุปสมบทเป็นพระธรรมยุต ครั้งนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม โดยมีพระครูสารภาณมุนี (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาพรหมา โชติโก ป.ธ.5. น.ธ. เอก (ต่อมาเป็นพระราชสุทธาจารย์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 

ต่อจากนั้นพระภิกษุบัวพาและคณะจึงได้เดินทางกลับไปยังสกลนครอยู่ปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นับว่าพระภิกษุบัวพาได้ครูบาอาจารย์ที่ชำนาญในพระกรรมฐานเป็นผู้แนะนำพร่ำสอน สมความมุ่งหวังที่ท่านตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก

ท่านได้ตั้งใจปฏิบัติกรรมฐานอย่างเต็มที่ และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่อุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่เสาร์เรื่อยมา จนถึงกาลสุดท้ายของหลวงปู่เสาร์

เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว หลวงปู่เสาร์มักจะพาหมู่คณะออกธุดงค์ เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านรู้จักอดทนและยึดมั่นในหลักไตรสิกขา พระภิกษุบัวพาก็ได้ติดตามหลวงปู่เสาร์ไปในที่ต่างๆ รู้สึกว่าได้ประโยชน์มากมาย สถานที่ที่หลวงปู่เสาร์พาลูกศิษย์ออกไปแสวงหาวิเวกนั้นส่วนมากก็จะเป็นป่าเขา ลำเนาไพร ซึ่งไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากเกินไป พอจะไปภิกขาจารได้

หลวงปู่เสาร์พาหมู่คณะเดินธุดงค์ไปถึงนครพนมแล้ว เข้าพักอาศัยอยู่วัดป่าอรัญญิกาวาสประมาณสองเดือน จึงลงเรือล่องมาตามแม่น้ำโขงมาขึ้นที่พระธาตุพนม ไปพักที่วัดเกาะแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ได้สร้างไว้ พักอยู่ที่นั้นประมาณเดือนกว่า พอดีญาติโยมทางอุบลฯ ไปนิมนต์หลวงปู่เสาร์ให้ไปโปรดประชาชนทางอุบลฯ บ้าง เมื่อหลวงปู่เสาร์รับนิมนต์แล้ว จึงได้คัดเลือกเอาพระภิกษุ 2 รูป สามเณร 1 รูป และอุบาสก (คือชีปะขาว) 1 คน เดินทางไปด้วย ในจำนวนนั้นมีพระภิกษุบัวพาอยู่ด้วย โดยที่หลวงปู่เสาร์ได้ปรารภว่า

"คุณรูปหนึ่งละที่ต้องไปกับฉัน เพราะเป็นคนทางเดียวกัน เมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วยจะได้ดูแลกัน"

นับว่าเป็นนิมิตหมายอันสำคัญยิ่งที่หลวงปู่เสาร์พูดปรารภความเจ็บป่วยให้พระภิกษุบัวพาช่วยดูแล ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น เพราะต่อมาพระภิกษุบัวพาก็ได้ตามอุปัฏฐากดูแลหลวงปู่เสาร์อย่างใกล้ชิด จนถึงวันหลวงปู่เสาร์มรณภาพ

คณะของหลวงปู่เสาร์ได้ออกเดินทางโดยรถยนต์ที่ญาติโยมชาวอุบลฯ นำไปรับพักค้างคืน 1 คืน ที่อำเภออำนาจเจริญ เนื่องจากถนนหนทางในสมัยนั้นไม่ดี ใช้เวลาเดินทาง 2 วันจึงถึงจังหวัดอุบลราชธานี ไปพักอยู่วัดบูรพา

ต่อมาหลวงปู่เสาร์ได้ไปสร้างวัดใหม่ (วัดป่าหนองอ้อ) เป็นป่าปู่ตา ใกล้หนองอ้อ บ้านข่าโคม อำเภอเขื่องใน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่เสาร์ ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดสร้างใหม่นี้ 3 พรรษา ต่อจากนั้นก็ได้ออกธุดงค์แสวงหาวิเวกไปทางอำเภอพิบูลมังสาหาร พักบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ที่ดอนธาตุ บ้านทรายมูลซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำมูล มีต้นยางใหญ่ร่มรื่นสงบสงัด เหมาะแก่การเจริญสมณธรรม

หลวงปู่เสาร์พร้อมด้วยพระภิกษุบัวพาจึงได้จัดสร้างวัดลงที่นั่น เป็นวัดมั่นคงตราบเท่าทุกวันนี้ มีชื่อว่าวัดดอนธาตุ หลวงปู่เสาร์กับพระภิกษุบัวพาได้อยู่ที่นั้น 3 พรรษา

หลังออกพรรษาแล้วทุกปี หลวงปู่เสาร์ก็จะพาพระสงฆ์ออกธุดงค์ไปทางนครจำปาศักดิ์ ลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุอีก

เมื่อ พ.ศ. 2482 บ่ายวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่เสาร์นั่งสมาธิอยู่โคนต้นยางใหญ่ พอดีมีเหยี่ยวตัวหนึ่งบินโฉบลงมาเอารวงผึ้งอยู่บนต้นไม้ที่หลวงปู่เสาร์นั่งสมาธิอยู่ รวงผึ้งขาดตกลงมาใกล้ๆ กับที่หลวงปู่นั่งอยู่ ตัวผึ้งได้รุมกัดต่อยหลวงปู่ จนต้องหลบเข้าไปในมุ้งกลดมันจึงพากันหนีไป นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่เสาร์ก็อาพาธเรื่อยมา โดยมีพระภิกษุบัวพาเป็นผู้อุปัฏฐากดูแลอย่างใกล้ชิด

ต่อมาหลวงปู่เสาร์พาพระภิกษุบัวพาไปเดินธุดงค์ทางปากเซ จำปาศักดิ์ไปประเทศลาว ในระยะนี้หลวงปู่เสาร์อาพาธหนักจึงสั่งให้พระภิกษุบัวพา นำท่าน

กลับมาที่วัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ ล่องเรือมาตั้งแต่เช้าจนค่ำ นอนบนแคร่ในเรือประทุน หลวงปู่เสาร์หลับตานิ่งมาตลอดเมื่อถึงนครจำปาศักดิ์แล้วท่านก็ลืมตาขึ้นพูดว่า "ถึงแล้วใช่ไหม- ? ให้นำเราไปยังพระอุโบสถเลย เราจะไปตายที่นั่น"

พระภิกษุบัวพาจึงได้นำหลวงปู่เสาร์เข้าไปในโบสถ์ หลวงปู่เสาร์สั่งให้เอาผ้าสังฆาฎิมาใส่ ท่านกราบพระ 3 ครั้งแล้วนั่งสมาธิไม่ขยับเขยื้อนนานเท่านานจนผิดสังเกต พระภิกษุบัวพาซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ เอามือไปแตะที่จมูก ปรากฏว่าหลวงปู่เสาร์ได้หมดลมหายใจไปแล้ว เลยไม่ทราบว่า ท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปในเวลาใดกันแน่

ข่าวการมรณภาพของหลวงปู่เสาร์ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ชาวนครจำปาศักดิ์ขอให้ตั้งศพไว้บำเพ็ญกุศลอยู่ 3 วันเพื่อบูชาหลวงปู่ ครั้นวันที่ 4 ชาวอุบลจึงได้ไปเชิญศพของท่านไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ในปีต่อมาคือ พ.ศ. 2484 จึงมีพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เสาร์

ครั้นเสร็จจากงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เสาร์แล้ว พระภิกษุบัวพา ปญฺญาภาโส ซึ่งตอนนั้นมีพรรษาได้ 9 พรรษา ได้รับนิมนต์จากญาติโยมวัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ให้กลับไปจำพรรษาที่นั่น ท่านจึงได้โปรดญาติโยมที่วัดดอนธาตุ 1 พรรษา ครั้นออกพรรษาแล้ว ท่านก็ออกเดินธุดงค์ลงมาทางบ้านเดิม ซึ่งโยมบิดามารดาทำมาหากินอยู่ที่นั่น คือ บ้านกุดกุง ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ท่านไปโปรดโยมมารดา และชาวบ้าน จนมีคนเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก

ต่อมาพระภิกษุบัวพา ปญฺญาภาโส ได้ขึ้นไปจำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านโคก อำเภอเมือง จังหวัดสกลนครกับพระอาจารย์กงมา ช่วงนั้นหลวงปู่มั่นจำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านนามนซึ่งไม่ห่างไกลจากวัดป่าบ้านโคก ดังนั้นในพรรษา พระอาจารย์กงมากับพระภิกษุบัวพาก็จะพากันไปฝึกอบรมกรรมฐานและฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น 3 วันต่อ 1 ครั้งทำให้พระภิกษุบัวพาได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น เพลิดเพลินในหลักภาวนา

เมื่อออกพรรษาแล้ว จึงกราบลาหลวงปู่มั่นออกเดินธุดงค์แสวงหาความสงบวิเวกไปเรื่อยๆ จนถึงวัดป่าบ้านกุดแห้งแล้วพักจำพรรษาอยู่กับพระอาจารย์ดี ฉนฺโน 1 พรรษา

หลังจากออกพรรษาแล้วก็เดินธุดงค์ไปโปรดญาติโยมพี่น้องซึ่งอพยพมาจากอุบลฯ มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีและจำพรรษาอยู่ 1 พรรษา โดยมี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นหัวหน้าคณะ

ออกพรรษาแล้วท่านได้กลับไปโปรดญาติโยมบ้านกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ตอนนั้นโยมมารดาของท่านได้บวชเป็นชี และได้ติดตามท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาท บ้านหนองยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ท่านได้อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรและญาติโยมให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย และฝึกอบรมในการปฏิบัติกรรมฐาน

เมื่ออกพรรษาแล้ว ในปี พ.ศ.- 2490 ท่านได้พาแม่ชีที่เป็นมารดาพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรจำนวนหนึ่งออกธุดงค์ เดินทางจากวัดพระพุทธบาท บ้านหนองยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ผ่านจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี แล้วเข้าเขตจังหวัดหนองคายไปพักอยู่ที่วัดป่าพระสถิตย์ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนตราบเท่าทุกวันนี้

เดิมทีเดียวนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นเพียงโคกหรือป่าช้า อันเป็นที่เลี้ยงโคกระบือของชาวบ้านและยังเป็นวัดร้างอีกด้วย หลังจากที่พระภิกษุบัวพา และคณะได้มาปักหลักอยู่ที่นี่ก็มีชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา ช่วยกันพัฒนาที่อยู่ที่อาศัยจัด สร้างเสนาสนะและพระอุโบสถ จนเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองแล้วตั้งชื่อเป็น "วัดป่าพระสถิตย์"

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา ทางสำนักพระราชวังได้นิมนต์หลวงปู่บัวพาไปในงานพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลของสำนักพระราชวัง เป็นประจำทุกปี ส่วนมากหลวงปู่บัวพาจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พร้อมกับท่านเจ้าคุณพระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) หลวงปู่บัวพาได้บำเพ็ญศาสนกิจ ฝึกอบรมสานุศิษย์เรื่อยมา

ครั้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528 หลวงปู่บัวพาได้รับนิมนต์ไปในพระราชพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในพระราชวัง หลวงปู่บัวพาได้เป็นลมอาพาธกะทันหันในงานพระราชพิธีนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จึงรับสั่งให้แพทย์หลวงถวายการรักษา และนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลวิชัยยุทธ และได้รับหลวงปู่บัวพาไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และเสด็จไปเยี่ยมในขณะที่หลวงปู่อยู่โรงพยาบาลถึง 3 ครั้ง จนกระทั่งอาการของหลวงปู่บัวพาดีขึ้นจึงได้ออกจากโรงพยาบาลในปลายเดือน กันยายน 2528

พ.ศ. 2519 หลวงปู่บัวพาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นตรีที่ พระครูปัญญาวิสุทธิ์ เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านหม้อ เขต 2 อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ได้แนะนำสั่งสอนประชาชนให้ตั้งมั่นอยู่ในหลักศีลธรรม ถือหลักกตัญญูกตเวทีเป็นสำคัญ ทางด้านการปกครองคณะสงฆ์ในฐานะที่หลวงปู่เป็นเจ้าคณะตำบล ท่านได้อบรมแนะนำพร่ำสอนให้พระภิกษุสามเณรเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เคารพกฎระเบียบของคณะสงฆ์ วางตนให้อยู่ในฐานะอันเหมาะสม

ธรรมโอวาท

หลักธรรมที่หลวงปู่บัวพาเทศนาอบรมสั่งสอนมักจะเป็นเรื่องการฝึกฝนอบรมจิตใจและการรู้จักสภาพที่แท้จริงของจิต ท่านสอนว่า

"ธรรมชาติของปกติจิต คือพื้นที่ของภวังคจิต เป็นจิตที่ผ่องใสไพโรจน์ จิตที่แปรผันออกจากพื้นที่ของมันเพราะตัวอวิชชา คือ ความไม่รู้เท่าทันต่อโลก ไม่รู้เท่าทันต่ออารมณ์ จิตจึงได้ผันแปรออกจาก "ความปกติ" (หมายถึงความสงบ) แล้วกลายเป็นบุญหรือกลายเป็นบาป

บุญก็ดีบาปก็ดีท่านเรียกว่า "เจตสิกธรรม" ซึ่งมีอยู่ประจำโลก เป็นกลางๆ ไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ บุญหรือบาปไม่ได้วิ่งเข้าไปหาใครมีแต่ตัวบุคคลเท่านั้นที่วิ่งเข้าไปหาบุญแลบาป บุญนั้นมีผลเป็นความสุข ส่วนบาปมีผลเป็นความทุกข์

อารมณ์ 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ จึงเปรียบเหมือนลม 6 จำพวก ทวาร 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และหทัยวัตถุ เปรียบเหมือนฝั่งมหาสมุทร จิตใจของคนเราก็เปรียบเหมือนน้ำในมหาสมุทร เมื่อลม 6 จำพวก เกิดเป็นพายุใหญ่ในเวลาฝนตกทำให้น้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นแล้วระลอกใหญ่โตเรือ แพ หลบไม่ทันก็ล่มจมเสียหายขึ้นนี้ฉันใด อุปมัยดังพาลชนไม่รู้เท่าทันโลก ไม่รู้เท่าทันอารมณ์ปล่อยให้โลกเข้ามาประสมธรรมปล่อยให้อารมณ์เข้ามาประสมจิต จึงเกิดราคะ โทสะ โมหะ

ถ้าอยากเห็นวิมุตติ ก็ให้เพิกถอนสมมุติออกให้หมดเพราะโลกบังธรรม อารมณ์บังจิตฉันใด สมมุติก็บังวิมุตติฉันนั้น คนเราควรใช้สติปัญญาเป็นกล้องส่องใจจะได้รู้ว่าสภาพที่แท้จริงของจิตเป็นอย่างไร"

 

ปัจฉิมบท

หลวงปู่บัวพาได้บำเพ็ญสมณธรรม ปฏิบัติศาสนกิจ อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย และสำเหนียกในไตรสิกขา อันเป็นแนวทางแห่งอริยมรรค จนในที่สุดสรีระร่างกายของหลวงปู่ก็เป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คือ เกิดมาแล้วก็มีอันเสื่อม สิ้นไปเป็นธรรมดา

หลวงปู่บัวพาได้มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2535 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันมหาปวารณาออกพรรษาพอดี หลวงปู่ได้ละกายสังขารอันเป็นภาระหนักและทรมาน ที่อาพาธมานานไปโดยอาการอันสงบเมื่อเวลา 20.45 น. สิริรวมอายุได้ 81 ปี 11 เดือน 11 วัน นับพรรษาได้ 61 พรรษา

คณะสงฆ์พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ได้จัดงานฌาปนกิจศพ โดยขอพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 ณ เมรุวัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
post