กว่างมู่เทียนหวาง ( 广目天王 ) : ท้าววิรูปักษ์มหาราช ปกครองประจำตำแหน่งทิศตะวันตก คอยพิทักษ์ปกป้องประชาราษฏร์ สัญลักษณ์ของท่านคือ มังกรแดง
ท้าววิรูปักษ์มหาราช หรือกว่างมู่เทียนหวาง (广目天王)ปกครองประจำตำแหน่งทิศตะวันตก คอยพิทักษ์ปกป้องประชาราษฎร์ สัญลักษณ์ของท่านคือ มังกรแดงท้าววิรูปักษ์มหาราช (Virupaksa) หรือกว่างมู่เทียนหวาง (广目天王) หมายถึง มหาราชาผู้พิทักษ์ปกป้องอาณาประชาราษฎร์นามเดิมของท่านคือ ผีหลิวปอชา (毗留播叉) หรือบ้างเรียกในชื่ออสูรว่า หมอหลี่หง (魔礼) ภายหลังจากที่ท้าววิรูปักษ์มหาราชได้ปวารณาตัวเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ได้ทรงหมายหน้าที่ให้ท่านมีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลอาณาประชาราษฎรให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดี ด้วยท่านเป็นผู้ที่มีดวงตาที่สาม จึงสามารถมองเห็นได้กว้างไกลนับพันลี้ และสามารถล่วงรู้การกระทำของมนุษย์โลกทุกรูปนาม โดยท้าววิรูปักษ์มหาราชได้ปกครองประจำตำแหน่งประจิม (ทิศตะวันตก) ของเขา ซวีหมีซาน (เขาสุเมรุ) บนผืนแผ่นดินแห่งเงินขาว
ลักษณะของท้าววิรูปักษ์มหาราชนั้น แต่งกายด้วยชุดนักรบสวมชุดเกราะดั่งแม่ทัพใหญ่ มีพระพักตร์สีแดงรอบ ๆ แขนเสื้อของพระกรข้างขวา จะมีมังกร
สีแดงรัดพันอยู่โดยรอบ (บ้างมีการสร้างรูปเคารพของท่านให้เป็นงูสีแดงแทน) ส่วนพระกรข้างซ้ายจะยกชูขึ้นเสมอในฝ่าพระหัตถ์จะมีไข่มุก (อัญมณี) วิเศษที่ส่องประกายแวววาว (ความหมายของไข่มุกที่มีลักษณะทรงกลม ยังเปรียบแทนโลกมนุษย์เช่นกัน) กล่าวกันว่าด้วยเพราะท่านมีสายตากว้างไกล จึงล่วงรู้การกระทำของมนุษย์ว่า ผู้ใดบ้างที่ดูหมิ่นดูแคลนพระพุทธศาสนา มังกร (งู) สีแดง ที่เลื้อยอยู่บนพระกรจะพุ่งเข้าไปรัดพันและจับตัวผู้นั้นมาลงทัณฑ์ ต่อมามีผู้เห็นว่าลักษณะของมังกรหรืองูไม่น่าดู จึงเปลี่ยนมาเป็น "เชือกสีแดง" แทน นอกจากนี้ ในบันทึกโบราณที่กล่าวถึงท้าววิรูปักษ์มหาราชจะจับตัวจิ้งจอกลายชนิดหนึ่งเอาไว้ เรียกว่าตัว "หูเตียว" (狐) และในภาษาโบราณสัตว์ตัวนี้จะเรียกว่า "เซิ่น" (屋)ทำให้ในเวลาต่อมา อักษรตัว "เซิ่น" ถูกมองว่า มีเสียงคล้ายคลึงกับตัว "ซุ่น" ที่หมายถึงสะดวกราบรื่น จึงถูกนำมาใช้ผสมรวมกับคำอื่นๆ จนกลายมาเป็นอักษรมงคลดังกล่าว
ดังนั้น อักษรมงคลคำว่า เฟิงเถียวอวี่ซุ่น (风调雨顺) ที่หมายถึง สะดวกราบรื่นและสำเร็จดั่งใจหมาย นั้นอักษร "ซุ่น" ในที่นี้ จึงหมายถึง ท้าววิรูปักษ์มหาราช (กว่างมู่เทียนหวาง) ตำนานเกี่ยวกับท้าววิรูปักษ์มหาราช มีปรากฎในเทพนิยายอิงพงศาวดารเรื่อง เฟิงเสินเอี่ยนอี้ (พงศาวดารประกาศิตสวรรค์ตั้งเทพเจ้า) และเรื่อง ไซอิ๋ว (บันทึกท่องตะวันตก) เช่นเดียวกับท้าวจตุโลกบาลองค์อื่นๆ
คัดย่อข้อมูลจาก : http://www.chinatalks.co/ chinesegods/ท้าวจตุโลกบาล/
41 ซอยพัฒนาการ 64 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250